โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวกัปไตน์

ดัชนี ดาวกัปไตน์

วกัปไตน์ เป็นดาวฤกษ์แคระแดงคลาส M1 อยู่ห่างกลุ่มดาวขาตั้งภาพไปทางตอนใต้ประมาณ 13 ล้านปีแสงจากโลก มีความส่องสว่างปรากฏที่ระดับ 9 สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน.

33 ความสัมพันธ์: บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์พ.ศ. 2432พ.ศ. 2459พ.ศ. 2557พารัลแลกซ์กระจุกดาวทรงกลมกลุ่มดาวขาตั้งภาพกลดดาราจักรกล้องสองตากล้องโทรทรรศน์การหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์การจัดประเภทดาวฤกษ์การตั้งชื่อดาวแปรแสงการเคลื่อนที่เฉพาะยาโกบึส กัปไตน์ลิปดาสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์จลนศาสตร์ดาวฤกษ์ทางช้างเผือกดาราจักรแคระดาวแคระแดงดาวแปรแสงดาวเบอร์นาร์ดความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ความส่องสว่างปรากฏความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)ซูเปอร์เอิร์ธปีแสงแถบลำดับหลักโลก (ดาวเคราะห์)โอเมกาคนครึ่งม้าโครโมสเฟียร์เคลวิน

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์

ันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟเป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2432

ทธศักราช 2432 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1889 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และพ.ศ. 2432 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2459

ทธศักราช 2459 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1916 เป็นปีอธิกสุรทินแรกของไทย ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และพ.ศ. 2459 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2557

ทธศักราช 2557 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2014 วันแรกของปีตรงกับวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2014 ตามกำหนดสากลศักราช และปีที่ 2557 ตามกำหนดพุทธศักร.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และพ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

พารัลแลกซ์

ำลองอย่างง่ายของการเกิดพารัลแลกซ์ของวัตถุกับฉากหลังที่อยู่ห่างออกไปเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งของผู้สังเกต เมื่อมองจาก "มุมมอง A" วัตถุจะอยู่หน้าฉากหลังสีน้ำเงิน แต่เมื่อเปลี่ยนไปเป็น "มุมมอง B" วัตถุจะไปปรากฏอยู่ข้างหน้าฉากหลังสีแดงแทน ภาพเคลื่อนไหวแสดงตัวอย่างของพารัลแลกซ์ เมื่อผู้สังเกตเคลื่อนจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง วัตถุที่อยู่ไกลกว่าจะดูเหมือนเคลื่อนที่ช้ากว่าวัตถุที่อยู่ใกล้ๆ พารัลแลกซ์ (Parallax) คือลักษณะการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งปรากฏ หรือความแตกต่างของตำแหน่งของวัตถุเมื่อมองผ่านมุมมองที่แตกต่างกัน สามารถวัดได้จากมุมของความเอียงระหว่างเส้นสังเกตทั้งสองเส้น คำนี้มีที่มาจากภาษากรีก παράλλαξις (parallaxis) หมายถึง "การเปลี่ยนแปลง" วัตถุที่อยู่ใกล้ผู้สังเกตจะมีพารัลแลกซ์มากกว่าวัตถุที่อยู่ไกล พารัลแลกซ์จึงสามารถใช้ในการประเมินระยะห่างได้ด้วย ในทางดาราศาสตร์ พารัลแลกซ์เป็นกระบวนการทางตรงทางเดียวที่สามารถใช้ในการประเมินระยะห่างของวัตถุ (คือดาวฤกษ์) ที่อยู่พ้นออกไปจากระบบสุริยะได้ ดาวเทียมฮิปปาร์คอสได้ใช้เทคนิคนี้ในการสังเกตการณ์ดาวฤกษ์ใกล้เคียงแล้วกว่า 100,000 ดวง นี่เป็นวิธีพื้นฐานในการตรวจวัดวัตถุห่างไกลในทางดาราศาสตร์ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า บันไดระยะห่างของจักรวาล ปรากฏการณ์พารัลแลกซ์ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อเครื่องมือสังเกตการณ์เชิงแสงหลายชนิด เช่น กล้องส่องทางไกล กล้องจุลทรรศน์ และกล้องแบบสะท้อนสองเลนส์ที่มองวัตถุจากมุมมองที่แตกต่างกันเล็กน้อย สัตว์หลายชนิดรวมถึงมนุษย์ มีตา 2 ตาที่เหลื่อมมุมสังเกตการณ์กันเล็กน้อย เพื่อให้สามารถใช้ปรากฏการณ์พารัลแลกซ์ในการประเมินความลึกของภาพได้ กระบวนการเช่นนี้เรียกชื่อว่า stereopsis.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และพารัลแลกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวทรงกลม

เมสสิเยร์ 80 กระจุกดาวทรงกลมในกลุ่มดาวแมงป่อง อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเรา 28,000 ปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์นับแสนดวง กระจุกดาวทรงกลม (Globular Cluster) เป็นแหล่งรวมของดวงดาวที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม โคจรไปรอบๆ แกนกลางดาราจักร ดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันค่อนข้างมาก ทำให้พวกมันรวมตัวเป็นกลุ่มทรงกลม มีความหนาแน่นของดาวค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในจุดศูนย์กลาง บางครั้งเรียกชื่อโดยย่อเพียงว่า globular กระจุกดาวทรงกลมมักพบอยู่ในกลดดาราจักร มีดวงดาวรวมตัวกันอยู่มากและมักมีอายุเก่าแก่กว่าส่วนที่เหลือของดาราจักร หรือกระจุกดาวเปิดซึ่งมักพบในจานดาราจักร ในดาราจักรทางช้างเผือกมีกระจุกดาวทรงกลมอยู่ราว 158 แห่ง และคาดว่ายังมีกระจุกดาวที่ยังค้นไม่พบอีกราว 10-20 แห่งAshman, Keith M.; Zepf, Stephen E. (1992).

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และกระจุกดาวทรงกลม · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวขาตั้งภาพ

กลุ่มดาวขาตั้งภาพ เป็นกลุ่มดาวขนาดเล็กในซีกฟ้าใต้ ตั้งชื่อโดยนิโกลา-ลุย เดอ ลากาย ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวขาตั้งภาพ.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และกลุ่มดาวขาตั้งภาพ · ดูเพิ่มเติม »

กลดดาราจักร

กลดดาราจักร (Galactic halo) หมายถึงบริเวณหนึ่งของดาราจักรที่มีรูปร่างค่อนข้างเป็นทรงกลม ขยายตัวออกมาจากส่วนหลักของดาราจักรที่มองเห็นได้ชัดเจน ห่อหุ้มดาราจักรเอาไว้ แต่ไม่ได้เคลื่อนที่ในแบบเดียวกับดาราจักร สามารถหมายถึงส่วนประกอบต่างๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้คือ.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และกลดดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

กล้องสองตา

A typical Porro prism binoculars design. '''1''' - Objective '''2-3''' - Porro prisms '''4''' Eyepiece กล้องสองตาแบบกาลิเลโอ กล้องสองตาแบบกาลิเลโอ กล้องสองตา (binoculars มาจากภาษาละติน bi- "สอง" และ oculus "ตา") คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่องดูวัตถุที่อยู่ห่างไกลให้มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยอาศัยเลนส์และปริซึม ปริซึมทำหน้าที่สะท้อนและหักเหแสง กลับภาพจากภาพหัวกลับให้เป็นภาพหัวตั้ง ภาพที่ได้จึงต่างจากที่เห็นในกล้องโทรทรรศน์ธรรมดา ข้อกำหนดของกล้องสองตาแต่ละกล้อง มักบอกด้วยตัวเลขสองตัวคั่นกลางด้วยกากบาท "×" เช่น "7×50" หมายถึงกล้องสองตานี้มีกำลังขยาย 7 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์วัตถุมีขนาด 50 มิลลิเมตร กล้องสองตามีขนาดตั้งแต่ 3×10 ที่มักใช้ในโรงละคร ขนาด 7×50 หรือ 10×50 ที่มักใช้ส่องดูกลางแจ้ง และอาจมีขนาดใหญ่ถึง 20×80 หรือ 20×140 กล้องขนาดใหญ่มีน้ำหนักมาก ทำให้เมื่อยแขนได้ จึงต้องอาศัยระบบขาตั้งกล้องที่ช่วยให้ภาพไม่สั่นไหว หมวดหมู่:ทัศนูปกรณ์ oc:Jumelles.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และกล้องสองตา · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และกล้องโทรทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

การหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์

วาดแสดงลักษณะของดาว Achernar ที่เกิดจากการหมุนด้วยความเร็วสูง การหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์ (Stellar rotation) คือการเคลื่อนที่เชิงมุมของดาวฤกษ์รอบแกนของตัวเอง อัตราการหมุนสามารถวัดได้จากสเปกตรัมของดาว หรือจากระยะเวลาของการเคลื่อนที่ของลักษณะใดๆ ที่ปรากฏบนผิวดาว การหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์ทำให้เกิดการโป่งพองบริเวณเส้นศูนย์สูตรอันเนื่องมาจากแรงสู่ศูนย์กลาง ดาวฤกษ์นั้นไม่ใช่วัตถุแข็ง มันจึงสามารถเกิดการหมุนได้หลายแบบแตกต่างกัน ดังนั้นเส้นศูนย์สูตรของดาวฤกษ์จึงอาจหมุนด้วยความเร็วเชิงมุมที่ต่างไปจากจากความเร็วในตำแหน่งละติจูดที่สูงกว่า ความแตกต่างเรื่องอัตราการหมุนในดาวฤกษ์นี้จึงอาจมีบทบาทสำคัญในการสร้างสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ด้วย สนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์นั้นมีอันตรกิริยากับลมดาวฤกษ์ ขณะที่ลมดาวฤกษ์เคลื่อนออกจากดาว อัตราความเร็วเชิงมุมของมันจะลดลง การที่สนามแม่เหล็กของดาวมีอันตรกิริยากับลมดาวฤกษ์ ทำให้หน่วงการหมุนของดาวฤกษ์ และทำให้ความเร็วเชิงมุมถูกถ่ายจากดาวไปยังลม เมื่อเวลาผ่านไปก็จะทำให้ดาวฤกษ์นั้นค่อยๆ หมุนช้าลง.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และการหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจัดประเภทดาวฤกษ์

ในวิชาดาราศาสตร์ การจัดประเภทของดาวฤกษ์ คือระบบการจัดกลุ่มดาวฤกษ์โดยพิจารณาจากอุณหภูมิพื้นผิวของดาวและคุณลักษณะทางสเปกตรัมที่เกี่ยวข้อง และอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ติดตามมาก็ได้ อุณหภูมิของดาวฤกษ์หาได้จาก กฎการแทนที่ของเวียน แต่วิธีการนี้ทำได้ค่อนข้างยากสำหรับดาวที่อยู่ห่างไกลออกไปมากๆ สเปกโตรสโกปีของดาวทำให้เราสามารถจัดประเภทดาวได้จากแถบการดูดกลืนแสง ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้เฉพาะในช่วงอุณหภูมิเฉพาะเจาะจงช่วงหนึ่ง การจัดประเภทของดาวฤกษ์แบบดั้งเดิมมีการจัดระดับตั้งแต่ A ถึง Q ซึ่งเป็นที่มาของการกำหนดรหัสสเปกตรัมในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และการจัดประเภทดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อดาวแปรแสง

วแปรแสง วี 838 ยูนิคอร์น การตั้งชื่อดาวแปรแสง (variable star designation) เป็นเกณฑ์การตั้งชื่อดาวแปรแสง ซึ่ง ณ ตอนนี้ เกณฑ์การตั้งชื่อมีดังนี้.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และการตั้งชื่อดาวแปรแสง · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนที่เฉพาะ

การเคลื่อนที่ของดาวเบอร์นาร์ด ทุกๆ 5 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1985 - 2005 การเคลื่อนที่เฉพาะ (proper motion) หรือ การเคลื่อนที่เฉพาะของดาวฤกษ์ คือการวัดค่าการเปลี่ยนตำแหน่งของดาวบนท้องฟ้าเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งหลังการเคลื่อนที่ไม่เฉพาะผ่านไประยะหนึ่ง แตกต่างจากความเร็วแนวเล็งซึ่งเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงระยะทางที่เคลื่อนเข้าหาหรือออกห่างจากผู้สังเกต เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ เป็นผู้ค้นพบการเคลื่อนที่เฉพาะในปี ค.ศ. 1718 เมื่อเขาสังเกตเห็นดาวซิริอุส ดาวดวงแก้ว และดาวตาวัวเคลื่อนไปประมาณครึ่งองศาจากตำแหน่งเดิมที่นักดาราศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ฮิปปาร์คัส เคยจัดทำเอาไว้เมื่อ 1850 ปีก่อนหน้านั้น งานวิจัยในปี..

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และการเคลื่อนที่เฉพาะ · ดูเพิ่มเติม »

ยาโกบึส กัปไตน์

กบึส กอร์เนลียึส กัปไตน์ (Jacobus Cornelius Kapteyn; 19 มกราคม ค.ศ. 1851 - 18 มิถุนายน ค.ศ. 1922) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากการศึกษาดาราจักรทางช้างเผือก โดยเป็นผู้แรกที่ค้นพบหลักฐานการหมุนตัวของดาราจักร ปี..

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และยาโกบึส กัปไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิปดา

ลิปดา (minute of arc, arcminute หรือ MOA) เป็นหน่วยหนึ่งในการวัดมุม มีค่าเท่ากับ ของหนึ่งองศา เนื่องจากหนึ่งองศาเท่ากับ ของวงกลม ดังนั้น 1 ลิปดาจึงเท่ากับ ของวงกลม หน่วยวัดขนาดเล็กเช่นนี้มักใช้ในการวัดค่าที่ละเอียดมากๆ เช่นในวิชาดาราศาสตร์หรือการกำหนดพิกัดการยิงอาวุธ ส่วน พิลิปดา (second of arc, arcsecond) (บ้างก็เขียนว่า วิลิปดา) เป็นหน่วยที่มีขนาดเป็น ของหนึ่งลิปดาอีกต่อหนึ่ง หรือเท่ากับ องศา หรือเท่ากับ ของวงกลม ลิปดาและพิลิปดาเป็นคำไทย การเขียน "ฟิลิปดา" ไม่ถูกต้องและมาจากความเข้าใจที่ผิดว่าคำนี้มาจากภาษาต่างประเทศ ตารางแสดงสัดส่วนและความสัมพันธ์ระหว่าง องศา ลิปดา พิลิปดา และมิลลิพิลิปดา แสดงได้ดังนี้.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และลิปดา · ดูเพิ่มเติม »

สนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์

นามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดมวลพลาสมาฉีดพุ่งออกมาจำนวนมหาศาล ภาพจาก ''NOAA'' สนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ (stellar magnetic field) คือสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของพลาสมาที่นำกระแสไฟฟ้าภายในดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักซึ่งเผาไหม้ด้วยออกซิเจน การเคลื่อนที่นี้เกิดขึ้นจากการพาความร้อน อันเป็นรูปแบบการถ่ายเทพลังงานอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ทางกายภาพของสสาร สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นส่งผลต่อพลาสมา ทำให้ยิ่งเพิ่มความดันขึ้นโดยไม่สมดุลกับความหนาแน่น ทำให้เกิดย่านแม่เหล็กเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับพลาสมาที่เหลือ จนกระทั่งถึงขอบเขตโฟโตสเฟียร์ของดาวฤกษ์ ซึ่งทำให้เกิดจุดบนดาวฤกษ์บนพื้นผิวดาว และเกิดปรากฏการณ์ coronal loop ตามมาด้ว.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

จลนศาสตร์ดาวฤกษ์

ลนศาสตร์ดาวฤกษ์ (Steller kinematics) คือการศึกษาการเคลื่อนที่ของกลุ่มดาวโดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่าการเคลื่อนที่นั้นเกิดขึ้นมาจากอะไร ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาพลศาสตร์ดาวฤกษ์ (stellar dynamics) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับผลกระทบจากแรงโน้มถ่วง การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์เทียบกับดวงอาทิตย์นั้นให้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาจุดกำเนิดและอายุของดาวฤกษ์ รวมถึงโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาราจักรโดยรอบ ในทางดาราศาสตร์ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ถือกำเนิดขึ้นในเมฆโมเลกุล ที่รู้จักในชื่อ แหล่งอนุบาลดาวฤกษ์ (stellar nurseries) ดาวฤกษ์ที่ก่อตัวในเมฆนี้เกิดเป็นกระจุกดาวเปิดที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์สมาชิกหลายพันดวง และจะกระจัดกระจายกันออกไปตามระยะเวลา ดาวฤกษ์ที่แยกตัวออกไปจากแกนกลางของกระจุกดาวจะเรียกชื่อรัหสว่าเป็นสมาชิกของ ชุมนุมดาว (stellar association) ถ้าส่วนที่เหลือของดาวเหล่านี้เคลื่อนที่ไปในดาราจักรด้วยความสัมพันธ์กัน ก็จะเรียกว่า กลุ่มเคลื่อนที่ (moving group).

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และจลนศาสตร์ดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทางช้างเผือก

ทางช้างเผือก คือดาราจักรที่มีระบบสุริยะและโลกของเราอยู่ เมื่อมองบนท้องฟ้าจะปรากฏเป็นแถบขมุกขมัวคล้ายเมฆของแสงสว่างสีขาว ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์จำนวนมากภายในดาราจักรที่มีรูปร่างเป็นแผ่นจาน ส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นทิศทางไปสู่ใจกลางดาราจักร แต่เดิมนั้น นักดาราศาสตร์คิดว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยธรรมดา แต่หลังจากผ่านการประเมินครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าทางช้างเผือกน่าจะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานเสียมากกว่า เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทางช้างเผือกขึ้นไปเหนือสุดที่กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย และลงไปใต้สุดบริเวณกลุ่มดาวกางเขนใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระนาบศูนย์สูตรของโลก ทำมุมเอียงกับระนาบดาราจักรอยู่มาก คนในเมืองใหญ่ไม่มีโอกาสมองเห็นทางช้างเผือกเนื่องจากมลภาวะทางแสงและฝุ่นควันในตัวเมือง แถบชานเมืองและในที่ห่างไกลสามารถมองเห็นทางช้างเผือกได้ แต่บางคนอาจนึกว่าเป็นก้อนเมฆในบรรยากาศ มุมมองของทางช้างเผือกไปทางกลุ่มดาวแมงป่อง (รวมถึงศูกย์กลางดาราจักร) เห็นได้จากการปนเปื้อในนเขตที่ไม่ใช่แสง (ทะเลทรายหินสีดำ, รัฐเนวาด้า, สหรัฐอเมริกา) เมื่อสังเกตเห็นท้องฟ้ายามค่ำคืนคำว่า "ทางช้างเผือก" ถูกจำกัดกลุ่มหมอกของแสงสีขาวบาง 30 องศา ลอยกว้างข้ามท้องฟ้า (แม้ว่าทั้งหมดของดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของดาราจักรทางช้างเผือก) แสงในแถบนี้มาจากดาวที่สลายและวัสดุอื่น ๆ ที่อยู่ภายในระนาบทางช้างเผือก บริเวณมืดภายในวง เช่น ระแหงดี และถุงถ่าน ที่สอดคล้องกับบริเวณที่มีแสงจากดาวไกลถูกบล็อกโดย ฝุ่นละอองระหว่างดวงดาว ดาราจักรทางช้างเผือก มีความสว่างพื้นผิวที่ค่อนข้างต่ำ การมองเห็นของมันสามารถลดน้อยลงโดยแสงพื้นหลังเช่น มลพิษทางแสงหรือแสงเล็ดลอดจากดวงจันทร์ เราสามารถมองเห็นได้อย่างง่ายดายเมื่อมีขนาด จำกัดคือ 5.1 หรือมากกว่า ในขณะที่แสดงการจัดการที่ดีของรายละเอียดที่ 6.1 ซึ่งทำให้ทางช้างเผือกมองเห็นได้ยากจากใด ๆ สถานที่ในเมืองหรือชานเมืองสดใสสว่าง แต่ที่โดดเด่นมากเมื่อมองจากพื้นที่ชนบทเมื่อดวงจันทร์อยู่ใต้เส้นขอบฟ้า ดาราจักรทางช้างเผือกผ่านส่วนในประมาณ 30 กลุ่มดาว ศูนย์กลางของดาราจักรที่อยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนู มันอยู่ที่นี่ว่าทางช้างเผือกเป็นที่สว่างที่สุด จากราศีธนู กลุ่มหมอกแสงสีขาวที่ปรากฏขึ้นจะผ่านไปทางทิศตะวันตกในทางช้างเผือกไปยังไม่ใช้ศูนย์กลางของทางช้างเผือกในกลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวแล้วยังไปทางทิศตะวันตกส่วนที่เหลือของทางรอบท้องฟ้ากลับไปกลุ่มดาวคนยิงธนู ข้อเท็จจริงที่ว่ากลุ่มแบ่งออกท้องฟ้ายามค่ำคืนเป็นสองซีกโลกเท่ากับแสดงให้เห็นว่าระบบสุริยะตั้งอยู่ใกล้กับระนาบทางช้างเผือก ระนาบทางช้างเผือก มีแนวโน้มเอียงประมาณ 60 องศาไปสุริยุปราคา (ระนาบของวงโคจรของโลก) เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตร ที่ผ่านเท่าทิศเหนือของกลุ่มดาวค้างคาว และเท่าทิศใต้ของกลุ่มดาวกางเขนใต้ แสดงให้เห็นความโน้มเอียงสูงของระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลกและระนาบสัมพันธ์สุริยุปราคากับระนาบทางช้างเผือก ขั้วโลกเหนือทางช้างเผือกที่ตั้งอยู่ที่ขวาขึ้น 12h 49m ลดลง +27.4° (B1950) อยู่ใกล้กับ Beta Comae Berenices และขั้วโลกทางช้างเผือกทิศใต้ที่อยู่ใกล้กับดาวอัลฟา ช่างแกะสลัก เนื่องจากการแนวโน้มเอียงสูง ขึ้นอยู่กับเวลากลางคืนและปี ส่วนโค้งของทางช้างเผือกจะปรากฏค่อนข้างต่ำหรือค่อนข้างสูงในท้องฟ้า สำหรับผู้สังเกตการณ์จากประมาณ 65 องศาเหนือถึง 65 องศาใต้บนพื้นผิวโลกทางช้างเผือกผ่านโดยตรงข้างบนวันละสองครั้ง ตาปลา โมเสกในดาราจักรทางช้างเผือก โค้งที่เอียงสูงทั่วท้องฟ้ายามค่ำคืนที่ถ่ายจากตำแหน่งที่ตั้งท้องฟ้ามืดใน ชิลี.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และทางช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรแคระ

ราจักร Sextans A ในกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงดาราจักรขนาดใหญ่ที่มีมวลมากคือแอนดรอเมดาและทางช้างเผือก ดาราจักรแห่งนี้อยู่ห่างออกไปราง 4 ล้านปีแสง ฉากหลังสีเหลืองสว่างคือทางช้างเผือก ดาราจักรแคระ (Dwarf Galaxy) คือดาราจักรขนาดเล็กที่มีดาวฤกษ์อยู่เพียงไม่กี่พันล้านดวง ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยหากเทียบกับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราที่มีดาวฤกษ์อยู่ราว 2-4 แสนล้านดวง ในบางครั้งเมฆแมเจลแลนใหญ่ซึ่งมีดาวฤกษ์อยู่ราว 3 หมื่นล้านดวง ก็ถูกนับว่าเป็นดาราจักรแคระด้วย ในกลุ่มท้องถิ่นของเรามีดาราจักรแคระอยู่หลายแห่ง ซึ่งมักโคจรไปรอบๆ ดาราจักรที่ใหญ่กว่า เช่น ทางช้างเผือก ดาราจักรแอนดรอเมดา และดาราจักรไทรแองกูลัม รายงานการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้ทราบว่าดาราจักรแคระเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากแรงไทดัลในระหว่างวิวัฒนาการช่วงแรกๆ ของทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนดรอเมดา ดาราจักรแคระที่ได้รับผลกระทบจากแรงไทดัลทำให้ดาราจักรแตกตัวและเกิดปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างกัน สายธารของสสารในดาราจักรถูกดึงออกจากดาราจักรต้นกำเนิดของมัน รวมถึงกลดของสสารมืดที่อยู่รอบๆ ดาราจักรทางช้างเผือกมีดาราจักรแคระโคจรอยู่รอบๆ จำนวน 14 ดาราจักร จากการค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่า กระจุกดาวทรงกลมที่ใหญ่ที่สุดในทางช้างเผือก คือ โอเมกาคนครึ่งม้า ที่จริงเป็นแกนกลางของดาราจักรแคระแห่งหนึ่งที่มีหลุมดำอยู่ที่ใจกลาง (ดูรายละเอียดเพิ่มที่ ทางช้างเผือก) ดาราจักรแคระสามารถมีรูปร่างได้หลายแบบ ได้แก.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และดาราจักรแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระแดง

วาดแสดงลักษณะของดาวแคระแดง ซึ่งเป็นดาวฤกษ์จำนวนมากที่สุดบนท้องฟ้า อธิบายตามไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ดาวแคระแดง (Red dwarf) คือดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กและมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างต่ำมาก เทียบกับบรรดาดาวฤกษ์บนแถบลำดับหลักทั้งหมด โดยมีค่าสเปกตรัมประมาณตอนปลายของประเภท K หรือ M ดาวฤกษ์ประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมด มีมวลน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ (หากต่ำถึง 0.075 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ จะเรียกว่า ดาวแคระน้ำตาล) และมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำกว่า 3,500 เคลวิน.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และดาวแคระแดง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแปรแสง

วแปรแสง (Variable Star) คือดาวฤกษ์ ที่มีความสว่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แตกต่างจากดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในท้องฟ้าที่มีสภาพส่องสว่างเกือบคงที่ ดวงอาทิตย์ของเรา เป็นตัวอย่างที่ดีของดาวฤกษ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของความสว่างน้อยมาก (โดยปกติเปลี่ยนแปลงประมาณ 0.1% ในวัฏจักรสุริยะ 11 ปี) ดาวแปรแสงมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงความสว่างจาก ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก ตัวอย่างดาวฤกษ์ดวงที่เห็นได้ชัดเจนคือ "ดาวบีเทลจุส" ในกลุ่มดาวนายพราน.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และดาวแปรแสง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเบอร์นาร์ด

วเบอร์นาร์ด (Barnard's Star) เป็นดาวแคระแดงมวลต่ำมาก อยู่ห่างจากโลกประมาณ 6 ปีแสงในกลุ่มดาวคนแบกงู เอ็ดเวิร์ด อีเมอร์สัน เบอร์นาร์ด นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันได้ตรวจวัดการเคลื่อนที่เฉพาะของดาวนี้ได้ค่าเป็น 10.3 พิลิปดาต่อปี เป็นดาวที่มีการเคลื่อนที่เฉพาะเทียบกับดวงอาทิตย์มากที่สุดกว่าดาวฤกษ์ดวงใด นอกจากนี้ดาวเบอร์นาร์ดยังเป็นดาวฤกษ์เพียงดวงเดียวในกลุ่มดาวคนแบกงูที่อยู๋ใกล้ที่สุดภายในระยะ 1.8 พาร์เซ็กหรือ 6 ปีแสง และเป็นระบบดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเป็นลำดับที่สอง และเป็นดาวฤกษ์เดี่ยวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเป็นลำดับที่สี่ (สามอันดับแรกคือดาวฤกษ์ในระบบดาว อัลฟาคนยิงธนู) ดาวเบอร์นาร์ดมีค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ 9 จึงจางแสงมากจนไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะสามารถมองเห็นได้สว่างชัดเจนขึ้นในคลื่นอินฟราเร.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และดาวเบอร์นาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์

ปัจจุบัน มีเพียงโลกเท่านั้นที่เป็นดาวเคราะห์ที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ คือการตรวจวัดศักยภาพของดาวเคราะห์หรือดาวบริวารของดาวเคราะห์ว่าสามารถรองรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่ ชีวิตดังกล่าวนี้อาจมีวิวัฒนาการขึ้นบนดาวเคราะห์หรือดาวบริวารนั้นเอง หรืออพยพมาจากแหล่งอื่นก็ได้ ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีความแน่ชัดใดๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนอกโลก ดังนั้นการศึกษาเรื่องความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์จึงใช้เงื่อนไขสภาวะแวดล้อมของโลก และคุณลักษณะของดวงอาทิตย์และระบบสุริยะเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้บนโลก การศึกษาวิจัยในสาขานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และเป็นสาขาเกิดใหม่ในทางชีวดาราศาสตร์ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สุดสำหรับชีวิต คือ แหล่งกำเนิดพลังงาน ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์มีความหมายพื้นฐานถึงลักษณะขอบเขตทางฟิสิกส์ธรณีวิทยา เคมีธรณีวิทยา และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่พอเหมาะพอดีในการเอื้อหนุนต่อสิ่งมีชีวิต องค์การนาซ่าได้นิยามขอบเขตพื้นฐานของความสามารถอยู่อาศัยได้ ว่า "ต้องมีน้ำในสถานะของเหลว เงื่อนไขที่ช่วยให้เกิดโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อน และมีแหล่งพลังงานพอสำหรับสร้างเมแทบอลิซึม".

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างปรากฏ

วามส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้ความส่องสว่างปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าความส่องสว่างปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2) ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นความส่องสว่างปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าความส่องสว่างปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และความส่องสว่างปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)

ในทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ความเป็นโลหะ (metallicity) ของวัตถุคือค่าสัดส่วนองค์ประกอบของสสารในวัตถุนั้นที่มีส่วนประกอบของธาตุทางเคมีชนิดอื่นมากกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม ทั้งนี้ ดาวฤกษ์ซึ่งเป็นวัตถุที่สามารถมองเห็นได้ชัดในเอกภพมักประกอบด้วยไฮโดรเจนกับฮีเลียม นักดาราศาสตร์จึงนิยมเรียกส่วนที่เหลือ (ในที่ว่างดำมืด) ว่าเป็น "โลหะ" เพื่อความสะดวกในการบรรยายถึงส่วนที่เหลือทั้งหมด จากคำนิยามนี้ เนบิวลาซึ่งมีส่วนประกอบของคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และนีออน อยู่อย่างล้นเหลือ จึงถูกเรียกว่าเป็น "วัตถุอุดมโลหะ" ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แม้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นไม่ได้เป็นโลหะจริงๆ ตามความหมายของเคมีดั้งเดิม จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องระมัดระวังไม่นำไปปะปนกับคำว่า "โลหะ" (metal หรือ metallic) โดยทั่วไป ความเป็นโลหะของวัตถุทางดาราศาสตร์อาจพิจารณาได้จากอายุของวัตถุนั้นๆ เมื่อแรกที่เอกภพก่อตัวขึ้นตามทฤษฎีบิกแบง มีองค์ประกอบของไฮโดรเจนอยู่อย่างมากมาย ซึ่งเมื่อผ่านช่วงนิวคลีโอซินทีสิสในยุคแรกเริ่มแล้ว จึงได้เกิดสัดส่วนฮีเลียมเพิ่มจำนวนมากขึ้น กับลิเทียมและเบริลเลียมอีกจำนวนเล็กน้อย แต่ยังไม่มีธาตุหนักเกิดขึ้น ดาวฤกษ์ที่อายุเก่าแก่จึงมักมีส่วนประกอบโลหะอยู่ค่อนข้างน้อย แต่ข้อเท็จจริงที่พบจากการเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์จำนวนมากและพบส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ด้วย ยังเป็นปริศนาที่ไขไม่ออก คำอธิบายในปัจจุบันจึงเป็นการนำเสนอข้อมูลการมีอยู่ของดาวฤกษ์ชนิด Population III เชื่อกันว่า ถ้าไม่มีโลหะ ก็มีแต่เพียงดาวฤกษ์ที่มีมวลมากอย่างมหาศาลเท่านั้นที่จะก่อตัวขึ้นมาได้ และในช่วงปลายอายุขัยของมันก็จะมีการสร้างธาตุ 26 ชนิดแรกไปจนถึงเหล็กในตารางธาตุ ผ่านกระบวนการนิวคลีโอซินทีสิส ในเมื่อดาวฤกษ์เหล่านี้มีมวลมหาศาล แบบจำลองในปัจจุบันจึงระบุถึงการสิ้นอายุขัยของมันในลักษณะซูเปอร์โนวา ซึ่งทำให้สสารภายในของดาวแตกกระจายและแผ่ออกไปในเอกภพ ทำให้เกิดเป็นดาวฤกษ์ในรุ่นถัดมาที่มีส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ดังที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ตามทฤษฎีเท่าที่มีในปี..

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์เอิร์ธ

วาดแสดงซูเปอร์เอิร์ธตามสมมุติฐาน 2 ดวง แต่ละดวงมีความหนาแน่นเฉลี่ยมากกว่าโลก แต่ทั้งสองดวงก็จัดว่าเป็น "ซูเปอร์เอิร์ธ" เพราะมีมวลมากกว่ามวลของโลก ซูเปอร์เอิร์ธ (super-Earth) หมายถึง ดาวเคราะห์คล้ายโลกที่มีมวลมากกว่าโลก แต่มีมวลน้อยกว่าดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ คำนี้จะใช้ในความหมายทางด้านมวลของดาวเคราะห์เท่านั้น ไม่มีความหมายในแง่เงื่อนไขด้านพื้นผิวของดาวหรือความสามารถในการอยู่อาศัยของดาวนั้นๆ กล่าวคือมันมิได้มีความหมายว่าดาวเคราะห์นั้นจะมีอุณหภูมิหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโลกแต่อย่างใด หากกล่าวตาม Valencia et al.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และซูเปอร์เอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

แถบลำดับหลัก

ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ที่พล็อตความสว่างแท้จริง (หรือความส่องสว่างสัมบูรณ์) ของดาวฤกษ์เทียบกับดัชนีสี แถบลำดับหลักจะมองเห็นเป็นแถบขวางโดดเด่นวิ่งจากด้านบนซ้ายลงไปยังด้านล่างขวา แถบลำดับหลัก (Main sequence) คือชื่อเรียกแถบต่อเนื่องและมีลักษณะพิเศษที่ปรากฏอยู่บนแผนภาพคู่ลำดับระหว่างสีของดาวฤกษ์กับความสว่าง แผนภาพคู่ลำดับสี-ความสว่างนี้รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ หรือ HR Diagram ซึ่งเป็นผลการศึกษาร่วมกันระหว่างเอจนาร์ แฮร์ทสชปรุง กับเฮนรี นอร์ริส รัสเซลล์ ดาวที่อยู่บนแถบนี้จะรู้จักกันว่า ดาวบนแถบลำดับหลัก หรือดาวฤกษ์แคระ หลังจากที่ดาวฤกษ์ก่อตัวขึ้นแล้ว มันจะสร้างพลังงานออกมาจากย่านใจกลางอันหนาแน่นและร้อนจัดโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันของอะตอมไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียม ระหว่างที่กระบวนการนี้ดำเนินไปในช่วงอายุของดาว จะสามารถระบุตำแหน่งบนแถบลำดับหลักได้โดยใช้มวลของดาวเป็นข้อมูลเบื้องต้น ประกอบกับข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีและปัจจัยอื่น ๆ อีก โดยทั่วไปยิ่งดาวฤกษ์มีมวลมากก็จะยิ่งมีช่วงอายุบนแถบลำดับหลักสั้นยิ่งขึ้น หลังจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แกนกลางถูกใช้จนหมดไป ดาวฤกษ์ก็จะเคลื่อนออกไปจากแถบลำดับหลัก บางคราวอาจพิจารณาแถบลำดับหลักออกเป็นแถบบนและแถบล่าง ขึ้นกับกระบวนการที่ดาวฤกษ์ใช้ในการสร้างพลังงาน ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยกว่า 1.5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์จะหลอมอะตอมไฮโดรเจนเข้าด้วยกันพร้อมกับกระบวนการสร้างฮีเลียม กระบวนการนี้เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่โปรตอน-โปรตอน ถ้าดาวฤกษ์มีมวลมากกว่านี้ ก็จะอยู่ในแถบลำดับหลักบน นิวเคลียร์ฟิวชันจะใช้อะตอมของคาร์บอน ไนโตรเจน และออกซิเจนเป็นสื่อกลางในการผลิตฮีเลียมจากอะตอมไฮโดรเจน เนื่องจากอุณหภูมิของดาวฤกษ์ที่แกนกลางกับที่พื้นผิวดาวนั้นมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ จึงมีการส่งผ่านพลังงานขึ้นมาอย่างต่อเนื่องผ่านชั้นดาวจนกระทั่งมันแผ่รังสีออกไปจากบรรยากาศของดาว กลไกสองประการที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานเหล่านี้คือ การแผ่รังสี และการพาความร้อน ในประเภทที่ขึ้นกับเงื่อนไขเฉพาะของดาวแต่ละดวง การพาความร้อนจะเกิดขึ้นในบริเวณที่อุณหภูมิมีความแตกต่างกันอย่างมาก หรือเป็นพื้นที่อับแสง หรือทั้งสองอย่าง เมื่อมีการพาความร้อนเกิดขึ้นในแกนกลาง มันจะกระตุ้นเศษเถ้าฮีเลียมขึ้น เป็นการรักษาระดับสัดส่วนของเชื้อเพลิงที่จะนำไปใช้ในปฏิกิริยาฟิวชัน หมวดหมู่:ดาวฤกษ์แถบลำดับหลัก หมวดหมู่:ประเภทของดาวฤกษ์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการของดาวฤกษ์.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และแถบลำดับหลัก · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

โอเมกาคนครึ่งม้า

อเมกาคนครึ่งม้า กระจุกดาวทรงกลมขนาดใหญ่ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า โอเมกาคนครึ่งม้า (Omega Centauri; หรือ เอ็นจีซี 5139) เป็นกระจุกดาวทรงกลมที่พบเห็นอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวคนครึ่งม้า ค้นพบโดย เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ เมื่อ..

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และโอเมกาคนครึ่งม้า · ดูเพิ่มเติม »

โครโมสเฟียร์

กการสังเกตดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่ใส่ฟิลเตอร์ H-alpha ภาพถ่ายโดย Luc Viatour ระหว่างสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1999 โครโมสเฟียร์ (chromosphere; แปลตรงตัวว่า "ทรงกลมสี") คือชั้นบรรยากาศบางๆ รอบดวงอาทิตย์ที่อยู่สูงกว่าโฟโตสเฟียร์ มีขนาดความลึกประมาณ 2,000 กิโลเมตร โครโมสเฟียร์มีลักษณะโปร่งแสงยิ่งกว่าโฟโตสเฟียร์ สาเหตุที่เรียกชื่อเช่นนี้ก็เนื่องมาจากสีของมันซึ่งเป็นสีแดง อันเกิดจากสเปกตรัมที่เกิดขึ้นจากเส้นสเปกตรัม H-alpha ของไฮโดรเจน เราสามารถมองเห็นลักษณะของทรงกลมสีนี้โดยตรงได้ด้วยตาเปล่าในระหว่างการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง โดยจะมองเห็นโครโมสเฟียร์เป็นเหมือนแสงสีสว่างวาบที่ขอบของโฟโตสเฟียร์ที่หายลับไปอยู่หลังดวงจันทร์ ด้วยเหตุผลบางอย่างซึ่งยังไม่เป็นที่เข้าใจ อุณหภูมิของโครโมสเฟียร์กลับสูงกว่าโฟโตสเฟียร์ แม้โฟโตสเฟียร์จะอยู่ใกล้พื้นผิวดวงอาทิตย์มากกว่า มีอุณหภูมิอยู่ประมาณ 4,000-6,400 เคลวิน แต่โครโมสเฟียร์กลับมีอุณหภูมิสูงถึง 4,500 ไปจนถึงกว่า 20,000 เคลวิน ทฤษฎีหนึ่งเสนอเกี่ยวกับความผันผวนของ sonic ในบริเวณนี้ที่เกิดจาก magnetohydrodynamic waves อาจเป็นเหตุให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และโครโมสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เคลวิน

ลวิน (kelvin, สัญลักษณ์: K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง และเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในเจ็ดของระบบเอสไอ นิยามให้เท่ากับ 1/273.16 เท่าของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกของจุดสามสถานะของน้ำ เคลวินตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแต่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ วิลเลียม ทอมสัน บารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน (William Thomson, 1st Baron Kelvin) ซึ่งชื่อบรรดาศักดิ์นี้ตั้งตามชื่อ แม่น้ำเคลวิน อีกทีหนึ่ง แม่น้ำสายนี้ตัดผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สกอตแลนด์ เคลวิน เป็นหน่วยของหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง ที่ลอร์เควิน ได้พัฒนาคิดสเกลขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K) หมวดหมู่:หน่วยฐานเอสไอ หมวดหมู่:หน่วยวัดอุณหภูมิ.

ใหม่!!: ดาวกัปไตน์และเคลวิน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »