โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนี

ดัชนี ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนี

ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนี (Suger de Saint-Denis) หรือ อธิการซูว์เฌ (Abbot Suger) (ราว ค.ศ. 1081 - 13 มกราคม ค.ศ. 1151) ผู้เป็นอธิการ-รัฐบุรุษชาวฝรั่งเศสคนสุดท้าย เป็นสถาปนิกคนแรกที่มีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก ประวัติเมื่อปฐมวัยของอธิการซูว์เฌไม่เป็นที่ทราบ ในบทเขียนของอธิการซูว์เฌเองกล่าวว่ามาจากฐานะที่ต่ำต้อย แต่ก็อาจจะเป็นเพียงการกล่าวถ่อมตนตามประเพณีการเขียนอัตชีวประวัติแบบโบราณ ในปี..

20 ความสัมพันธ์: ชาวฝรั่งเศสพ.ศ. 1624พ.ศ. 1694พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสมหาวิหารแซ็ง-เดอนีศิลปะกอทิกสมเด็จพระสันตะปาปากัลลิสตุสที่ 2สมเด็จพระสันตะปาปาเจลาซีอุสที่ 2สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมกอทิกสงครามครูเสดสงครามครูเสดครั้งที่ 2ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นอร์ม็องดีแคว้นอากีแตนโบสถ์คริสต์เอลิเนอร์แห่งอากีแตนเออร์วิน พานอฟสกี13 มกราคม

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1624

ทธศักราช 1624 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและพ.ศ. 1624 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1694

ทธศักราช 1694 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและพ.ศ. 1694 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส (Louis VI of France หรือ Louis the Fat หรือ Louis le Gros) (1 ธันวาคม ค.ศ. 1081 - 1 สิงหาคม ค.ศ. 1137) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเซียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1108 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1137 พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์กาเปเซียงองค์แรกที่ทรงมีบทบาทในการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1081 ที่ปารีส ในประเทศฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟิลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศสและพระนางเบอร์ธาแห่งฮอลแลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสพระชายาองค์แรก ตลอดยี่สิบปีที่ทรงครองราชย์พระองค์ต้องทรงต่อสู้กับขุนนางผู้มีอำนาจที่เป็นปัญหาทั้งต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและราชบัลลังก์อังกฤษในการครองอำนาจในนอร์ม็องดี แต่พระเจ้าหลุยส์ก็ทรงสามารถเพิ่มอำนาจของพระองค์เองขึ้นอีกมากและเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกผู้มีความแข็งแกร่งตั้งแต่การแยกจักรวรรดิการอแล็งเฌียง อธิการซูว์เฌแห่งมหาวิหารแซ็ง-เดอนีกล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นผู้ที่มีพระอุปนิสัยหนักแน่นที่ไม่เหมือนบรรพบุรุษของพระองค์ก่อนหน้านั้น เมื่อยังทรงพระเยาว์หลุยส์ต่อสู้กับโรเบิร์ต เคอร์โธส ดยุกแห่งนอร์ม็องดี (Robert Curthose) พระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ ขุนนางของดินแดนส่วนพระมหากษัตริย์อีล-เดอ-ฟรองซ์ หลุยส์ทรงกลายมาใกล้ชิดกับอธิการซูว์เฌ ผู้ต่อมากลายเป็นที่ปรึกษาในพระองค์ หลุยส์ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1108 ฟิลิปแห่งฝรั่งเศสพระอนุชาต่างพระมารดาทรงป้องกันไม่ให้หลุยส์ไปทำพิธีบรมราชาภิเษกที่แร็งส์ หลุยส์จึงทำทำพิธีราชาภิเษกที่ออร์เลอ็องโดย อาร์ชบิชอปแดงแบร์ตแห่งซองส์ ราล์ฟเดอะกรีนอาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์จึงส่งผู้แทนมาท้าความถูกต้องของการราชาภิเษกแต่ก็ไม่มีผล ในวันอาทิตย์ใบปาล์มของปี..

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Louis VII of France หรือ Louis VII the Younger หรือ Louis le Jeune) (ค.ศ. 1120 - 18 กันยายน ค.ศ. 1180) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1131 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1180 รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างอำนาจของขุนนางจากตระกูลต่างๆ โดยเฉพาะตระกูลอองชู (อองเฌแว็ง), เป็นช่วงของการเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอังกฤษ และการเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี ค.ศ. 1120 เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงได้รับขนานพระนามว่า “ผู้ลูก” และ พระราชินีอเดลแลด พระองค์ทรงได้รับการเลี้ยงดูเพื่อให้เข้าเป็นนักบวชเมื่อเจริญพระชนมายุขึ้น แต่เมื่อพระเชษฐาพระเจ้าฟิลิปผู้ครองราชบัลลังก์ร่วมกับพระราชบิดาเสด็จสวรรคตด้วยอุบัติเหตในปี..

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารแซ็ง-เดอนี

มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (Basilique Saint-Denis) เดิมเป็นแอบบีย์ชื่อ อารามแซ็ง-เดอนี ที่ตั้งอยู่ที่แซ็ง-เดอนีที่ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของปารีส ต่อมาถูกยกสถานะขึ้นเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลแซ็ง-เดอนีในปี ค.ศ. 1966 มหาวิหารแซ็ง-เดอนีมีความสำคัญทั้งทางสถาปัตยกรรมและทางประวัติศาสตร์ต่อประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารแซ็ง-เดอนีก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 บนที่ตั้งของที่ฝังศพของนักบุญเดนิสผู้เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศสองค์หนึ่งในสามองค์ มหาวิหารกลายเป็นสถานที่สำหรับการแสวงบุญและใช้เป็นที่บรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสเกือบทุกพระองค์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และบางพระองค์จากก่อนหน้านั้น (แต่ไม่ใช่สถานที่สำหรับพระราชพิธีราชาภิเษกที่ทำกันที่มหาวิหารแร็งส์ แต่พระราชพิธีราชาภิเษกพระราชินีมักทำกันที่นี่) มหาวิหารจึงกลายเป็นสิ่งก่อสร้างกลุ่มที่ซับซ้อน ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 อธิการซูว์เฌสร้างบางส่วนของมหาวิหารใหม่โดยใช้วิธีการก่อสร้างที่ล้ำสมัยสำหรับยุคนั้น และใช้การตกแต่งที่นำมาจากสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ การก่อสร้างครั้งนี้ถือกันว่าเป็นก่อสร้างสิ่งก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมกอทิกที่แท้จริงเป็นครั้งแรก นอกจากนั้นมหาวิหารก็ยังเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแรยอน็อง และกลายมาเป็นแบบการก่อสร้างของมหาวิหารและแอบบีย์อื่น ๆ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ต่อม.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและมหาวิหารแซ็ง-เดอนี · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะกอทิก

ลปะกอทิก (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาในการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอทิกนานาชาติ ศิลปะกอทิกนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร ศิลปะกอธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส) มหาวิหารนัวยง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารล็อง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารอามีแย็ง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์ (อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ) เป็นต้น มุขด้านตะวันออกของวิหาร Chartres Cathedral (ราว ค.ศ. 1145) รูปปั้นประกอบสถาปัตยกรรมนี้เป็นประติมากรรมศิลปะกอทิกตอนต้น ซึ่งแสดงวิวัฒนาการในรูปแบบเป็นแบบอย่างแก่ประติมากรรุ่นต่อมา ศิลปะกอทิกเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า"กอธิค" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนปลายของอิตาลี เรียกรูปแบบของศิลปะ ที่เกิดในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นผลงานของพวกกอท แฟรงก์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซัน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ ประการสำคัญ เป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมันและถึงพร้อมด้านศิลปวิทยาการ ดังนั้นถ้อยสำเนียงหรือนัยยะ ที่ใช้เรียกว่า "ศิลปะกอทิก" จึงเป็นการเรียกขานที่บ่งบอกไปในทางเย้ยหยันมากกว่าการชื่นชม เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าศิลปะแบบกรีก-โรมัน ที่มีกฎเกณท์ชัดเจน ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้รื้อฟื้นกลับมาปรับใช้ในยุคสมัยของตน จนเรียกชื่อยุคว่าเรอเนซองค์ หรือฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึงย้อนกลับไปรื้อฟื้นศิลปวิทยาการแบบกรีก-โรมันขึ้นมาอีกนั้น จึงยิ่งส่งผลให้มองศิลปกรรมอันเกิดจากฝีมือของผู้ทำลายอาณาจักรโรมันยิ่งดูไร้คุณค่าไร้รสนิยมยิ่งขึ้น จนนักวิจารณ์บางคนในยุคเรอเนซองส์ใช้คำกล่าวหาศิลปะกอธิคค่อนข้างรุนแรงว่าเป็นศิลปะที่ "ไร้รสนิยม" และ"วิตถาร" อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวยุโรปทั่วไปนอกจากอิตาลีแล้ว มักจะเรียกศิลปกรรมกอธิคอย่างยอมรับมากกว่าจะดูแคลน โดยพวกเขาจะเรียกศิลปะกลุ่มนี้เป็นภาษาละตินว่า Opus Modernum หรืองานสมัยใหม่ ศิลปกรรมกอทิกเป็นศิลปะที่มีคุณค่าในตนเองอีกลักษณะรูปแบบหนึ่งของโลก ส่งผลต่อกระแสการหวนกลับไปสู่การชื่นชมและสร้างงานศิลปกรรมกอธิคอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 ทั้งในยุโรปและอเมริกา จนกลายเป็นยุคที่เรียกว่า Gothic Revival.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและศิลปะกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปากัลลิสตุสที่ 2

สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 2 (อังกฤษ: Callixtus II) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1119 ถึง ค.ศ. 1124 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 11 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 คาลิกซ์ตุสที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นฟร็องช์-กงเต.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและสมเด็จพระสันตะปาปากัลลิสตุสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเจลาซีอุสที่ 2

สมเด็จพระสันตะปาปาเกลาซิอุสที่ 2 (อังกฤษ: Gelasius II) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1118 ถึง ค.ศ. 1119 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1060 กเลาซิอุสที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลัตซีโย.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและสมเด็จพระสันตะปาปาเจลาซีอุสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 2

“สภาสงครามครูเสดครั้งที่ 2” -- พระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี, พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 แห่งเยรูซาเลม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (Second Crusade) (ค.ศ. 1147-ค.ศ. 1149) เป็นสงครามครูเสด ครั้งสำคัญครั้งที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการเสียอาณาจักรเอเดสสาในปีก่อนหน้านั้น อาณาจักรเอเดสสาเป็นอาณาจักรครูเสดอาณาจักรแรกที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-ค.ศ. 1099) และเป็นอาณาจักรแรกที่ล่ม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 และเป็นสงครามครูเสดครั้งแรกที่นำโดยพระมหากษัตริย์ยุโรปที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้งสองพระองค์แยกกันเดินทางข้ามยุโรปไปยังตะวันออกกลาง หลังจากข้ามเข้าสู่ดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอานาโตเลียแล้ว กองทัพทั้งสองต่างก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อเซลจุคเติร์ก แหล่งข้อมูลของคริสเตียนตะวันตก--โอโดแห่งดุยล์ (Odo of Deuil) และคริสเตียนซีเรียคอ้างว่าจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงมีส่วนในความพ่ายแพ้ครั้งนี้โดยทรงสร้างอุปสรรคแก่การเดินหน้าของกองทัพทั้งสองโดยเฉพาะในอานาโตเลีย และทรงเป็นเป็นผู้สั่งการโจมตีของเซลจุคเติร์ก กองทัพที่ร่อยหรอที่เหลือของพระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าคอนราดก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเลม และในปี..

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและสงครามครูเสดครั้งที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (regent) เป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข เนื่องจากพระมหากษัตริย์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ หรือทรงพระประชวร หรือไม่ทรงอยู่ในประเทศ หรือทรงบริหารพระราชกิจไม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ทั้งนี้ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ยังมีขึ้นได้ในกรณีที่ระบอบพระมหากษัตริย์ยังมิได้มีพระมหากษัตริย์ที่เหมาะสม เช่น เมื่อประเทศฟินแลนด์ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิรัสเซียแล้วมีการสถาปนาราชอาณาจักรฟินแลนด์ขึ้น แต่ยังไม่มีเชื้อพระวงศ์ต่างประเทศพระองค์ใดเหมาะสม จึงให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทำหน้าที่ไปพลางก่อน จนรัฐสภาฟินแลนด์เลือกเจ้าชายเฟรเดอริก ชาร์ลแห่งเฮสส์ แห่งแคว้นเฮสส์จากจักรวรรดิเยอรมันขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฟินแลนด์ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จึงสิ้นสุดลง.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ม็องดี

นอร์ม็องดี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและนอร์ม็องดี · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอากีแตน

อากีแตน (Aquitaine) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นนูแวลากีแตน) ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกและเทือกเขาพิเรนีส ติดกับพรมแดนประเทศสเปน.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและแคว้นอากีแตน · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลิเนอร์แห่งอากีแตน

อเลเนอร์แห่งอาควิเตน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ หรือ เอเลเนอร์แห่งอากีแตน สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ดัชเชสแห่งอากีแตนและแกสโคนี และเคานทเทสแห่งปัวตู (ภาษาอังกฤษ: Eleanor of Aquitaine หรือ Aliénor) (ราว ค.ศ. 1122 - 1 เมษายน ค.ศ. 1204) พระราชินีเอเลเนอร์ประสูติเมื่อราว ค.ศ. 1122 ที่ปราสาทเบแล็ง ฝรั่งเศส เป็นพระธิดาของวิลเลียมที่ 10 ดยุกแห่งอากีแตนและดัชเชสเอเนอร์แห่งแชเทลเลโรลท์ เป็นพระราชินีของฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม..

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและเอลิเนอร์แห่งอากีแตน · ดูเพิ่มเติม »

เออร์วิน พานอฟสกี

ออร์วิน พานอฟสกี (Erwin Panofsky; 30 มีนาคม ค.ศ. 1892 - 14 มีนาคม ค.ศ. 1968) เออร์วิน พานอฟสกีเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลป์คนสำคัญชาวเยอรมันผู้อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับประติมานวิทยา งานเขียนหลายชิ้นของพานอฟสกียังคงได้รับการตีพิมพ์อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้รวมทั้ง “Studies in Iconology: Humanist Themes in the Art of the Renaissance” ที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและเออร์วิน พานอฟสกี · ดูเพิ่มเติม »

13 มกราคม

วันที่ 13 มกราคม เป็นวันที่ 13 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 352 วันในปีนั้น (353 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีและ13 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Abbot SugerSugerSuger de Saint-Denisอธิการซูว์เฌซูว์เฌเดอแซ็ง-เดอนีซูแฌร์ซูแฌร์เดอแซงต์เดอนีส์ซูแฌร์เดอแซ็ง-เดอนีแอ็บบ็อทซูแฌร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »