โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาวอียิปต์

ดัชนี ชาวอียิปต์

วอียิปต์ (Egyptians) เป็นผู้อยู่อาศัยหรือประชากรของประเทศอียิปต์ โดยชาวอียิปต์โบราณเป็นคนละกลุ่มชาติพันธ์กับชาวอียิปต์ในปัจจุบันที่พูดภาษาอาหรั.

12 ความสัมพันธ์: ฟาโรห์ฮูนิฟาโรห์ทุตอังค์อามุนฟาโรห์คาเฟรฟาโรห์แรเมซีสที่ 2ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 3ฟาโรห์แอเคนาเทนฟาโรห์โจเซอร์ภาษาอาหรับศาสนาอิสลามอันวัร อัสซาดาตประเทศอียิปต์นะญีบ มะห์ฟูซ

ฟาโรห์ฮูนิ

ฟาโรห์ฮูนิ เป็นพระมหากษัตริย์อียิปต์โบราณและฟาโรห์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ 3 ในช่วงสมัยราชอาณาจักร ตามรายชื่อของกษัตริย์แห่งตูริน พระองค์ทรงครองราชย์สมบัติประมาณ 24 ปี ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นที่สิ้นสุดของราชวงศ์ที่ 3.

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และฟาโรห์ฮูนิ · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน

ทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) เป็นฟาโรห์อียิปต์จากราชวงศ์ที่ 18 เสวยราชย์ตั้งแต่ราวปีที่ 1332 ถึง 1323 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์อียิปต์ที่เรียกว่า "อาณาจักรใหม่" พระองค์มีพระนามเดิมว่า "ทุตอังค์อาเท็น" (Tutankhaten) หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอาเท็น" ส่วนพระนาม "ทุตอังค์อามุน" หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอามุน" พระนามหลังนี้ในอักษรไฮเออโรกลิฟส์ (hieroglyphs) เขียนว่า "อาเมน-ทุต-อังค์" (Amen-tut-ankh) เพราะตามประเพณีแล้วต้องเอานามเทพยดาขึ้นก่อน นอกจากนี้ เป็นไปได้ว่า พระองค์คือ "นีบูร์เรเรยา" (Nibhurrereya) ดังที่เขียนไว้ด้วยอักษรอะมาร์นา และ "ราโททิส" (Rathotis) พระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์ที่ 18 ซึ่งมาเนโท (Manetho) นักประวัติศาสตร์ ระบุว่า เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ 9 ปี ในปี 1922 เฮาเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) กับจอร์จ เฮอร์เบิร์ต เอิร์ลที่ 5 แห่งคาร์นาวอน (George Herbert, 5th Earl of Carnarvon) ค้นพบสุสานของพระองค์ซึ่งอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ การค้นพบดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั่วโลก ทั้งยังก่อให้สาธารณชนกลับมาสนใจอียิปต์โบราณ และหน้ากากพระศพก็ได้รับการใช้เป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์โบราณมาจนทุกวันนี้ ข้าวของเครื่องใช้จากสุสานของพระองค์ยังได้รับการนำพาไปจัดแสดงทั่วโลก ครั้นเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ผลตรวจทางพันธุกรรมยืนยันว่า พระองค์เป็นพระโอรสฟาโรห์แอเคนาเท็น (Akhenaten) กับพระกนิษฐภคินีพระองค์ 1 ของแอเคนาเท็นซึ่งบัดนี้ยังไม่ทราบพระนามและพระศพได้รับการเรียกขานว่า "ท่านหญิงน้อย" (The Younger Lady).

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และฟาโรห์ทุตอังค์อามุน · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์คาเฟร

ฟาโรห์คาเฟร (อ่าน Khafre Khefren และ Chephren) เป็นกษัตริย์อียิปต์โบราณ (ฟาโรห์) แห่งราชวงศ์ที่ 4 ในสมัยอาณาจักรเก่า เขาเป็นบุตรชายของฟาโรห์คูฟู และผู้สืบทอดราชบัลลังก์แห่งฟาโรห์เจดีเฟร ฟาโรห์คาเฟรเป็นผู้สร้างปิรามิดแห่งกิซาที่ใหญ่เป็นอันดับสอง มุมมองที่จัดขึ้นโดยปัจจุบันอียิปต์มานุษยวิทยาที่ยังคงมีขนาดใหญ่ที่สฟิงซ์ใหญ่ถูกสร้างขึ้นในประมาณ 2500 ปีก่อนคริสตกาล สำหรับฟาโรห์คาเฟร ฟาโรห์คาเฟรยกเว้นรายงานทางประวัติศาสตร์ของเฮโรโดตุสผู้ซึ่งอธิบายว่าเขาเป็นผู้ปกครองที่โหดร้ายและนอกรีตซึ่งเก็บรักษาวัดของชาวอียิปต์ไว้หลังจากที่ฟาโรห์คูฟูปิดผนึกไว้.

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และฟาโรห์คาเฟร · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2

แรเมซีสที่ 2 หรือ แรมซีสที่ 2 (url หรือ Ramses II; ประสูติ ราว 1303 ปีก่อนคริสตกาล; สวรรคต กรกฏาคมหรือสิงหาคม 1213 ปีก่อนคริสตกาล; เสวยราชย์ 1279–1213 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 1276–1210 ปีก่อนคริสตกาล) สมัญญา แรเมซีสมหาราช (Ramesses the Great) เป็นฟาโรห์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ที่ 19 ของจักรวรรดิอียิปต์ เป็นกษัตริย์ที่ถือกันว่า ยิ่งใหญ่ ทรงอำนาจ และมีชื่อเสียงมากที่สุดของอียิปต์ ผู้ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์และชนอียิปต์รุ่นหลังขนานนามพระองค์ว่า มหาบรรพชน (Great Ancestor) ส่วนเอกสารกรีกออกนามพระองค์ว่า โอซีแมนเดียส (Ozymandias) ซึ่งมาจากการทับศัพท์ชื่อรัชกาลพระองค์ในภาษาอียิปต์ คือ Usermaatre Setepenre ("ความยุติธรรมของรานั้นทรงพลานุภาพ — ผู้ได้รับเลือกแห่งรา") ออกเป็นภาษากรีก ขณะที่พระองค์มีพระชนม์ได้ 14 ชันษา ฟาโรห์เซติที่ 1 (Seti I) พระบิดาของพระองค์ ทรงตั้งพระองค์เป็นเจ้าชายผู้สำเร็จราชการ (Prince Regent)Putnam (1990) พระองค์ทรงยกทัพเข้าลิแวนต์ (Levant) หลายครั้งเพื่ออ้างย้ำซึ่งอำนาจของอียิปต์ในการปกครองเคนัน (Canaan) ทั้งมีการยกพลลงใต้ไปนิวเบีย (Nubia) โดยจารึกไว้เป็นอนุสรณ์ไว้ที่เบตเอล-วาลี (Beit el-Wali) และเกิร์ฟฮุสเซน (Gerf Hussein) หลังขึ้นเสวยราชย์แล้ว ต้นรัชกาล เน้นการสร้างบ้านแปงเมือง ก่ออารามวิหาร สถาปนาอนุสรณ์สถาน ในการนี้ พระองค์ทรงตั้งเมืองเพีย-ราเมส (Pi-Ramesses) ขึ้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมไนล์ (Nile Delta) ให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของพระองค์ และเป็นฐานที่มั่นเตรียมการศึก รัชกาลของพระองค์ยังมีการฉลองเทศกาลเซด (sed festival) ถึง 14 ครั้ง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ และมากครั้งกว่าฟาโรห์พระองค์อื่นใด ตามธรรมเนียมแล้ว เทศกาลดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อกษัตริย์เสวยราชสมบัติครบ 30 ปี จากนั้นก็จัดอีกทุก 3 ปี เชื่อกันว่า พระองค์ขึ้นสู่ราชสมบัติเมื่อพระชนมายุเข้าสู่ปลายวัยรุ่นแล้ว เป็นที่รับรู้กันว่า ทรงปกครองอียิปต์ตั้งแต่ 1279 ถึง 1213 ปีก่อนคริสตกาล นักบวชแมนีโท (Manetho) ระบุว่า พระองค์ทรงครองราชย์ 66 ปี 2 เดือน นักวิทยาการอียิปต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เชื่อว่า พระองค์ขึ้นครองราชย์วันที่ 31 พฤษภาคม 1279 ปีก่อนคริสตกาล โดยอ้างอิงวันขึ้นครองราชย์ที่ตรวจทราบได้ว่า คือ วัน 27 ฤดูเก็บเกี่ยว 3 (III Shemu day 27) ส่วนพระชนม์ขณะสวรรคตนั้นมีการประมาณแตกต่างกันไป โดย 90 หรือ 91 ชันษาน่าจะเป็นไปได้ที่สุด เมื่อสวรรคตแล้ว พระศพของพระองค์ฝังไว้ที่หลุมแห่งหนึ่งในหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ภายหลัง ย้ายไปฝังยังอีกหลุมหนึ่ง ที่ซึ่งค้นพบใน..

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 3

แอเมนโฮเทปที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ แอเมนโฮเทปที่ 3 (/ˌæmɛnˈhoʊtɛp)(Amenhotep III) หมายถึง ความพอใจของเทพอามัน เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์ ทุตโมสที่ 4 (Thutmose IV)ที่ประสูติแต่ พระราชินีมัทเอมวีอา รัชกาลของพระองค์เป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองที่อียิปต์ถึงจุดสูงสุดของศิลปะและอำนาจระหว่างประเทศ เมื่อพระองค์สวรรคตในปีที่ 38 หรือ 39 ของการครองราชย์ของพระองค์ ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่4 ต่อมาเปลี่ยนพระนามเป็น แอเคนาเทน ได้ขึ้นครองราชเป็นฟาโรห์พระองค์ต่อม.

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์แอเคนาเทน

รูปสลักฟาโรห์แอเคนาเทน แอเคนาเทน (Akhenaten, Ikhnaton, Akhenaton, Ikhnaton, Khuenaten) หรือ แอเมนโฮเทปที่ 4 (Amenhotep IV) หรือ อาเมโนฟิสที่ 4 (Amenophis IV) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 แห่งราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ (Eighteenth dynasty) ฟาโรห์แอเคนาเทน มีพระมเหสีที่เป็นราชินีที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือ ราชินีเนเฟอร์ติติ (Nefertiti) และพระราชโอรสที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน คือ ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) ฟาโรห์แอเคนาเทน ขึ้นครองราชย์ระหว่าง 1350 ปีก่อนคริสต์ศักราช และครองราชย์อยู่นาน 17 ปี ปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า พระองค์เป็นฟาโรห์องค์แรกที่ปฏิวัติความเชื่อในอาณาจักรอียิปต์ พระองค์ทรงนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว คือ อาเตน (Aten) (สุริยเทพ สันนิษฐานว่าเป็นไปได้ว่าอาจเป็นองค์เดียวกับ รา) ถึงขนาดสร้างเมืองใหม่ที่ชื่อ อมาน่า (Amarna) ที่มีศาสนสถานขนาดใหญ่เพื่อบูชาเทพอาเตน พร้อมกับเปลี่ยนพระนามใหม่เป็น แอเคนาเทน ด้วย เพื่อให้เชื่อมโยงกับคำว่า อาเตน (แอเคนาเทน แปลว่า "มีประโยชน์ต่ออาเตน") ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า การที่นับถือเทพเจ้าเพียงองค์เดียวของพระองค์นั้น เป็นแรงบันดาลใจให้โมเสสเป็นกบฏต่อฟาโรห์แรเมซีสที่สอง (Ramesses II) ในอีกราว 50 ปี ต่อมา ที่วิหารและราชวังในเมือง อะมานา พระองค์ได้สร้างศิลปกรรมฝาผนังไว้อย่างงดงาม ที่มีบทสรรเสริญเทพอาเตน แต่เมื่อพระองค์สวรรคตลง เมืองอมาน่าแห่งนี้ก็ได้ถูกทิ้งร้างทันที ทายาทรุ่นหลังได้ทำลายวิหารและบทสรรเสริญเหล่านี้เสีย รวมทั้งได้ประนาณพระองค์และทำลายรูปสลักพระพักตร์ของพระองค์ด้วย ซึ่งเชื่อว่า ทั้งนี้เป็นเพราะต้องการทำลายหลักความเชื่อของการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว (Monotheism) ภาพฝาผนังที่แสดงถึงฟาโรห์แอเคนาเทน พระนางเนเฟอร์ติติ และพระธิดา 3 องค์ ที่แสดงถึงความนับถือต่อเทพอาเตน (เทพเจ้าทรงฉายแสงอยู่ข้างบน).

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และฟาโรห์แอเคนาเทน · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์โจเซอร์

ฟาโรห์โจเซอร์ (อังกฤษ: Djoser) เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่3 แห่งอียิปต์โบราณ ทรงครองราชในปี 2668-2649 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และฟาโรห์โจเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

อันวัร อัสซาดาต

มุฮัมมัด อันวัร อัสซาดาต (محمد أنور السادات; Muhammad Anwar al-Sadat; 25 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2524) นักการทหาร นักการเมืองและประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2513 - 6 ตุลาคม..

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และอันวัร อัสซาดาต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

นะญีบ มะห์ฟูซ

นะญีบ มะห์ฟูซ หรือ นะกีบ มะห์ฟูซ (نجيب محفوظ; 11 ธันวาคม ค.ศ. 1911 - 30 สิงหาคม ค.ศ. 2006) เป็นนักเขียนชาวอียิปต์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี..

ใหม่!!: ชาวอียิปต์และนะญีบ มะห์ฟูซ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »