โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาวสเปน

ดัชนี ชาวสเปน

วสเปน (Spanish people หรือ Spaniards; españoles) มีสองความหมาย ความหมายทั่วไปคือ คนพื้นเมืองที่อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศสเปน นอกจากนั้นยังมีความหมายด้านกฎหมาย คือบุคคลที่ถือสัญชาติสเปน ในประเทศสเปนนั้นมีชนเผ่าและผู้นับถือศาสนาที่หลากหลาย สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ความซับซ้อนของประเทศ ภาษาอย่างเป็นทางการคือ ภาษาสเปน (คาสตีล) ซึ่งเป็นภาษาของสเปนแถบเหนือ-กลาง แต่ละท้องถิ่นมีภาษาเฉพาะกลุ่ม ภาษาที่พูดในสเปนนั้นเป็นกลุ่มภาษาโรมานซ์ (ยกเว้นภาษาบาสก์) ส่วนชาวสเปนนอกประเทศสเปนที่อพยพออกไปจากสเปนนั้น โดยมากมักอยู่ในลาตินอเมริก.

28 ความสัมพันธ์: ชาวฝรั่งเศสชาวยิวเซฟาร์ดีชาวอิตาลีชาวโปรตุเกสฟรันซิสโก โกยาพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปนกลุ่มภาษาโรมานซ์ภาษาบาสก์ภาษากาลิเซียภาษากาตาลาภาษาสเปนมิเกล เด เซร์บันเตสลาตินอเมริกาลุยส์ บุญญูเอลศาสนาพุทธศาสนาฮินดูสมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีลอันตอนี เกาดีอิบน์ รุชด์อิกเนเชียสแห่งโลโยลาอเทวนิยมจักรพรรดิฮาดริอานุสดิเอโก เบลัซเกซซานเตียโก รามอน อี กาฮาลประเทศสเปนปาโบล ปีกัสโซแซแนกาผู้ลูกเอลซิด

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: ชาวสเปนและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ชาวยิวเซฟาร์ดี

วยิวเซฟาร์ดี (Sephardi Jews; ספרדי; ฮิบรูมาตรฐาน: Səfardiไทบีเรีย Səp̄arədî; พหูพจน์ ספרדים, ฮิบรูใหม่: Səfaradim ไทบีเรีย: Səp̄arədîm; Sefardíes; Sefarditas, Σεφάρδοι, Sefarad, จูเดโอ-สเปน: Sefardies) เป็นชนกลุ่มย่อยของกลุ่มชนยิวที่มาจากคาบสมุทรไอบีเรีย และ แอฟริกาเหนือ ที่มักจะกล่าวว่าคู่กับชาวยิวอัชเคนาซิ (Ashkenazi Jews) หรือ ชาวยิวมิซราฮิ (Mizrahi Jews).

ใหม่!!: ชาวสเปนและชาวยิวเซฟาร์ดี · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอิตาลี

วอิตาลี (italiani, Italians) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ที่มีวัฒนธรรม และ การสืบเชื้อสายร่วมกัน และพูดภาษาอิตาลีเป็นภาษาแม่ ภายในอิตาลีการเป็นชาวอิตาลีคือการถือสัญชาติอิตาลีไม่ว่าจะสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดหรือมาจากประเทศใด ซึ่งแตกต่างจากผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวอิตาลี และทางประวัติศาสตร์จากผู้มีเชื้อสายอิตาลีที่ไม่ได้อยู่ในดินแดนที่เป็นของอิตาลีบนคาบสมุทรอิตาลี เพราะการอพยพหลายครั้งออกจากอิตาลีที่เป็นชนพลัดถิ่น มีชาวอิตาลีสัญชาติอิตาลีที่อาศัยอยู่นอกอิตาลี 4 ล้านคน และมีมากกว่า 70 ล้านคนที่มีเชื้อสายเต็มหรือบางส่วน โดยมากแล้วอาศัยอยู่ในอเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ และส่วนอื่นของยุโรป.

ใหม่!!: ชาวสเปนและชาวอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ชาวโปรตุเกส

วโปรตุเกส (os portugueses; Portuguese people) คือชนชาติและกลุ่มชาติพันธุ์จากประเทศโปรตุเกส ทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตอนใต้-ตะวันตกของทวีปยุโรป ใช้ภาษาโปรตุเกส โดยมากนับถือโรมันคาทอลิก จากประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโปรตุเกสและการล่าอาณานิคมในแอฟริกา เอเชีย และทวีปอเมริกา เช่นเดียวกับการอพยพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทำให้มีสังคมชาวโปรตุเกสในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก.

ใหม่!!: ชาวสเปนและชาวโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซิสโก โกยา

ฟรันซิสโก โกยา ฟรันซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชื่อเต็ม ฟรันซิสโก โคเซ เด โกยา อี ลูเซียนเตส (Francisco José de Goya y Lucientes) 30 มีนาคม พ.ศ. 2289 (ค.ศ. 1746) - 16 เมษายน พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) จิตรกรและศิลปินภาพพิมพ์แนวศิลปะจินตนิยม (Romanticism) ชาวสเปน ได้รับการยกย่องว่าทั้งเป็น "Old Master" คนสุดท้ายและเป็นศิลปินแนวสมัยใหม่คนแรก เขาวาดทิวทัศน์งดงามในสไตล์โรโคโคได้อย่างสมบูรณ์แบบไม่เหมือนจิตรกรชาวสเปนท่านอื่น ฟรันซิสโก โกยา เป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นหลังในแนวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แนวสำแดงพลังอารมณ์ (Expressionist) หรือ แนวเหนือจริง (Surrealist) ต่างได้รับแรงบันดาลใจจากฟรานซิสโก เด โกยาทั้งสิ้น เขาถูกแต่งตั้งให้เป็นจิตรกรราชสำนักคนแรกของสเปน.

ใหม่!!: ชาวสเปนและฟรันซิสโก โกยา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน

ระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน (Felipe II de España; พ.ศ. 2070-พ.ศ. 2141) ทรงสืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์ฮับสบูร์กแห่งออสเตรีย ทรงดำรงฐานะเป็นทั้งกษัตริย์แห่งสเปนและโปรตุเกส โดยทรงเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสในพระนาม พระเจ้าฟีลีเปที่ 1 (Filipe I) รัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาที่สเปนสามารถดำรงฐานะความเป็นชาติมหาอำนาจที่ทรงอิทธิพลทางทะเลมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายขยายอำนาจของสเปนในรัชสมัยของพระอง.

ใหม่!!: ชาวสเปนและพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาโรมานซ์

ภาษาโรมาเนีย กลุ่มภาษาโรมานซ์ เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และเป็นกลุ่มภาษาที่กลายพันธุ์มาจากภาษาละติน ประกอบด้วย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส ภาษาโรมาเนีย และ ภาษากาตาลา เป็นต้น มีผู้พูดภาษาในกลุ่มนี้ทั่วโลกมากกว่า 700 ล้านคน รโมานซ์ หมวดหมู่:กลุ่มภาษาโรมานซ์.

ใหม่!!: ชาวสเปนและกลุ่มภาษาโรมานซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาสก์

ก์ (Basque) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวบาสก์ซึ่งอาศัยอยู่แถบเทือกเขาพีเรนีสในตอนกลางของภาคเหนือของประเทศสเปน รวมทั้งในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสที่มีอาณาเขตติดต่อกัน หรือลึกลงไปกว่านั้นคือ ชาวบาสก์ได้ครอบครองแคว้นปกครองตนเองที่มีชื่อว่าแคว้นประเทศบาสก์ (Basque Country autonomous community) ซึ่งมีวัฒนธรรมและอิสระในการปกครองตนเองทางการเมือง นอกจากนี้ก็ยังมีชาวบาสก์ที่อยู่ในเขตนอร์เทิร์นบาสก์ในฝรั่งเศสและแคว้นปกครองตนเองนาวาร์ในสเปนอีกด้วย ชื่อเรียกภาษาบาสก์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาตนเอง) คือ เออุสการา (euskara) ส่วนในรูปภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ เออุสเกรา (euskera) เอสกูอารา (eskuara) และ อุสการา (üskara) แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์จะถูกล้อมรอบด้วยภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แต่ภาษาบาสก์กลับจัดเป็นภาษาโดดเดี่ยว (language isolate) ไม่ใช่ภาษาในตระกูลดังกล่าว.

ใหม่!!: ชาวสเปนและภาษาบาสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากาลิเซีย

ภาษากาลิเซีย (Galician) เป็นภาษาหนึ่งในสาขาอิเบโร-โรมานซ์ตะวันตก พูดในกาลิเซีย (Galicia) ซึ่งเป็นแคว้นปกครองตนเองที่มีสถานะตามรัฐธรรมนูญเป็น "ชาติทางประวัติศาสตร์ (historic nationality)" ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสเปน กาลิเซีย หมวดหมู่:แคว้นกาลิเซีย.

ใหม่!!: ชาวสเปนและภาษากาลิเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากาตาลา

ษากาตาลา (català) หรือ ภาษาแคทาแลน (Catalan) เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาโรมานซ์ รวมทั้งเป็นภาษาประจำชาติของประเทศอันดอร์ราและภาษาราชการร่วมในแคว้นปกครองตนเองหมู่เกาะแบลีแอริก บาเลนเซีย (ในชื่อ ภาษาบาเลนเซีย) และกาตาลุญญาของประเทศสเปน มีผู้พูดหรือผู้รู้ภาษานี้ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งอาศัยทั้งในสเปน อันดอร์รา รวมไปถึงภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส (โดยเฉพาะในจังหวัดปีเรเน-ออเรียงตาล) และเมืองอัลเกโรบนเกาะซาร์ดิเนีย ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: ชาวสเปนและภาษากาตาลา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: ชาวสเปนและภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

มิเกล เด เซร์บันเตส

มิเกล เด เซร์บันเตส ซาอาเบดรา (Miguel de Cervantes Saavedra; 29 กันยายน ค.ศ. 1547 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นนักเขียนชาวสเปน มีผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ดอนกิโฆเต้ แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์นักฝัน.

ใหม่!!: ชาวสเปนและมิเกล เด เซร์บันเตส · ดูเพิ่มเติม »

ลาตินอเมริกา

นแดนลาตินอเมริกา ลาตินอเมริกา (América Latina; Amérique Latine; Latinoamérica, América Latina) คือ กลุ่มประเทศในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ที่พูดภาษากลุ่มโรมานซ์ เป็นหลัก ได้แก.

ใหม่!!: ชาวสเปนและลาตินอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ลุยส์ บุญญูเอล

ลุยส์ บุญญูเอล ปอร์โตเลส (Luis Buñuel Portolés) (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900 - 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1983) เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังระดับโลก เกิดในสเปน ต่อมาเปลี่ยนสัญชาติเป็นเม็กซิโก ทำงานในสเปน เม็กซิโก ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ถือเป็นผู้บุกเบิกแนวทางการทำภาพยนตร์ในรูปแบบศิลปะแนวเหนือจริง (Surrealism) ซึ่งผลงานภาพยนตร์ของบุญญูเอลล้วนมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง โดยเขามักจะนำแนวภาพยนตร์หลายแนวมาผสม ยั่วล้อ และสร้างเสริมรูปแบบงานใหม่ๆออกมา ความโดดเด่นของ งานบุญญูเอลทำให้ชื่อของเขาได้กลายเป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญของโลก.

ใหม่!!: ชาวสเปนและลุยส์ บุญญูเอล · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ชาวสเปนและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ชาวสเปนและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีล

มเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีล (Isabel I de Castilla; Isabella I of Castile22 เมษายน พ.ศ. 1994-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2047) เป็นพระราชินีนาถแห่งคาสตีลและเลออนในราชวงศ์ตรัสตามารา พระนางและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระราชสวามี ได้วางรากฐานในการรวมสเปนให้สืบต่อไปจนถึงรุ่นหลาน คือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสองได้เป็นขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในการยึดดินแดนสเปนกลับคืนมาจากพวกมัวร์และได้กระทำการรวมชาติสเปนเป็นปึกแผ่น พระนางทรงอนุมัติให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสไปแสวงหาดินแดนโพ้นทะเลและจนสำรวจพบทวีปอเมริกา พระนางจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ได้รับการกล่าวชื่อในประวัติศาสตร์ พระนางได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเจริญอย่างมากในสเปนและพระนางทำให้กรานาดาในการปกครองของมุสลิมมัวร์ยินยอมส่งเครื่องบรรณาการต่อพระองค์ ต่อมาพระนางได้ทำการยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี พ.ศ. 2055 แล้ว คำว่า สเปน (España) ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรคาสตีล ราชอาณาจักรอารากอน และราชอาณาจักรนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก.

ใหม่!!: ชาวสเปนและสมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีล · ดูเพิ่มเติม »

อันตอนี เกาดี

อันตอนี เกาดี อี กูร์แน็ต (Antoni Gaudí i Cornet; 25 มิถุนายน ค.ศ. 1852-10 มิถุนายน ค.ศ. 1926) เป็นสถาปนิกชาวคาตาลัน ประเทศสเปน ที่มีส่วนในการเคลื่อนไหวในแบบโมเดิร์นนิสโม (อาร์ตนูโว) และมีชื่อเสียงเรื่องงานออกแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์และเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง ตัวอย่างเช่น ซากราดาฟามีเลี.

ใหม่!!: ชาวสเปนและอันตอนี เกาดี · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ รุชด์

เมืองกอร์โดบา ประเทศสเปน อบูวาลิด มูฮัมมัด บิน อะห์หมัด อิบนิ รุชด์ หรือ อิบนุ รุชด์ (أبو الوليد محمد بن احمد بن رشد‎ หรือ ابن رشد‎, Averroes; 14 เมษายน ค.ศ. 1126 — 10 ธันวาคม ค.ศ. 1198) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาเวร์โรเอส (Averroes) เป็นแพทย์และนักปรัชญาชาวอาหรับ หมวดหมู่:แพทย์ หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวอาหรับ.

ใหม่!!: ชาวสเปนและอิบน์ รุชด์ · ดูเพิ่มเติม »

อิกเนเชียสแห่งโลโยลา

นักบุญอิกเนเชียสแห่งโลโยลาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 274 (Ignatius of Loyola; Ignacio de Loyola) เป็นบาทหลวง และนักบุญในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เกิดก่อนวันที่ 23 ตุลาคม..

ใหม่!!: ชาวสเปนและอิกเนเชียสแห่งโลโยลา · ดูเพิ่มเติม »

อเทวนิยม

หมายเปาโลถึงชาวเอเฟซัส (2:12) จากพาไพรัส 46ในศตวรรษที่ 3 ตอนต้น อเทวนิยม (atheism) คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า และเชื่อในกฎธรรมชาติ ตรงกันข้ามกับเทวนิยมEncyclopædia Britannica 2009 อเทวนิยมแตกต่างจากอไญยนิยม (agnosticism) ซึ่งเป็นมุมมองที่ว่ามนุษย์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ รวมถึงปรากฏการณ์ที่ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ทางผัสสะ คำว่า atheism ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีก ἄθεος (atheos) อันมีความหมายว่า "ปราศจากเทพ" ถือเป็นคำหยาบที่ใช้เรียกผู้ปฏิเสธเทพที่สังคมบูชากัน หลังจากที่มีความคิดอย่างอิสระ (freethought) ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์ (skeptical inquiry) และการวิจารณ์ศาสนา (criticism of religion) เพิ่มขึ้นแล้ว การใช้คำนี้ก็มีความหมายอย่างแคบลง บุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มถือว่าตนเป็นผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องพระเทพ โดยเรียกตนเองว่า "ผู้ถืออเทวนิยม" (atheist) นั้น ใช้ชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากเหตุที่ว่า ความหมายและความเข้าใจของอเทวนิยมนั้น มีความแตกต่างกัน ในปัจจุบันจึงทราบได้ยากว่าในโลกมีผู้ถืออเทวนิยมกี่คน อิงตามการคาดคะเนในปี..

ใหม่!!: ชาวสเปนและอเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮาดริอานุส

ักรพรรดิฮาดริอานุส หรือ ปูบลิอุส เอลิอุส ฮาดริอานุส (Hadrian; ชื่อเต็ม: Publius Aelius HadrianusInscription in Athens, year 112 AD: CIL III, 550) (24 มกราคม ค.ศ. 76 – 10 กรกฎาคม ค.ศ. 138) ฮาดริอานุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์เนอร์วัน-อันโตเนียนระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 117 ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 138 พระนามเมื่อเป็นจักรพรรดิคือ “Imperator Caesar Divi Traiani filius Traianus Hadrianus Augustus” และ “Divus Hadrianus” หลังจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเทพ ฮาดริอานุสเป็นจักรพรรดิองค์ที่สามในบรรดา “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) หรือองค์ที่สองของข้อเสนอของราชวงศ์อัลปิโอ-เอเลียนเมื่อไม่นานมานี้ นอกจากนั้นก็ยังทรงเป็นนักปรัชญาลัทธิสโตอิก (Stoicism) และ ลัทธิเอพิคิวเรียน (Epicureanism) ฮาดริอานุสมาจากตระกูลเอลิอุส (Aelius) ซึ่งเป็นตระกูลโรมันโบราณ.

ใหม่!!: ชาวสเปนและจักรพรรดิฮาดริอานุส · ดูเพิ่มเติม »

ดิเอโก เบลัซเกซ

อโก เบลัซเกซ ดิเอโก โรดริเกซ เด ซิลบา อี เบลัซเกซ (Diego Rodríguez de Silva y Velázquez; 6 มิถุนายน พ.ศ. 2142 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2203) เป็นจิตรกรชาวสเปน มีผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น Las Meninas, La Venus del espejo และ La Rendición de Breda.

ใหม่!!: ชาวสเปนและดิเอโก เบลัซเกซ · ดูเพิ่มเติม »

ซานเตียโก รามอน อี กาฮาล

ซานเตียโก รามอน อี กาฮาล (Santiago Ramón y Cajal) ForMemRS (1 พฤษภาคม 2395 – 18 ตุลาคม 2477) เป็นแพทย์ อาจารย์ พยาธิแพทย์ นักมิญชวิทยาและนักประสาทวิทยาศาสตร์ชาวสเปน ได้รับรางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี..1906 (พ.ศ. 2449) จากการศึกษาระบบประสาทด้วยการย้อมสี เป็นบุตรของ คุสโต รามอน กาซาซุส กับอันโตเนีย กาฮาล การสำรวจรุ่นบุกเบิกของเขาเกี่ยวกับโครงสร้างจุลทรรศน์ของสมอง เป็นงานต้นฉบับในประสาทวิทยาศาสตร์ จึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นบิดาของประสาทวิทยาศาสตร์ เขามีความชำนาญในการวาดรูปและภาพวาดเซลล์สมองเป็นร้อย ๆ ของเขาก็ยังถูกใช้ในการศึกษาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้.

ใหม่!!: ชาวสเปนและซานเตียโก รามอน อี กาฮาล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ชาวสเปนและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ปาโบล ปีกัสโซ

Signatur Pablo Picasso ปาโบล รุยซ์ ปีกัสโซ (Pablo Ruiz Picasso;;; 25 ตุลาคม ค.ศ. 1881 – 8 เมษายน ค.ศ. 1973) จิตรกรเอกของโลก เป็นบุคคลที่นิตยสาร TIME ยกย่องให้เป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ปีกัสโซเกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: ชาวสเปนและปาโบล ปีกัสโซ · ดูเพิ่มเติม »

แซแนกาผู้ลูก

รูปแกะสลักโบราณครึ่งตัวของแซแนกาผู้ลูก (พิพิธภัณฑ์โบราณคดี เบอร์ลิน) แซแนกาผู้ลูก มีชื่อเต็มว่า ลูกิอุส อันไนอุส แซแนกา (Lvcivs Annaevs Seneca; ประมาณ พ.ศ. 140 - พ.ศ. 608) เป็นนักเขียน เจ้าลัทธิสโตอิกโรมัน นักปรัชญา รัฐบุรุษ นักเขียนบทละคร และมีงานหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นนักเขียนเรื่องขำขัน บุรุษแห่งยุคเงินของวรรณกรรมละติน (Silver Age of Latin literature).

ใหม่!!: ชาวสเปนและแซแนกาผู้ลูก · ดูเพิ่มเติม »

เอลซิด

อนุสาวรีย์เอลซิดในเมืองบูร์โกส ดาบของเอลซิด ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน La Real Armería ภาพเอลซิด ขณะอยู่ในอิริยาบถขี่ม้า เอลซิด (El Cid) เป็นขุนศึกชาวสเปนผู้เก่งกาจคนหนึ่ง เกิดใน พ.ศ. 1586 (ค.ศ. 1043) ที่หมู่บ้านบีบาร์ ในเมืองบูร์โกส อาณาจักรคาสตีล เกิดในตระกูลขุนนางสเปน มีชื่อจริงว่า โรดรีโก ดีอัซ เด บีบาร์ (Rodrigo Díaz de Vivar) โรดรีโกได้รู้จักและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้าชายซานโช รัชทายาทแห่งอาณาจักรคาสตีลในฐานะเจ้านายและข้ารับใช้มาตั้งแต่เด็ก แต่ไม่นานทั้งคู่ก็สนิทสนมกันจนแทบจะเรียกว่าเป็นสหายกันก็ได้ โรดรีโกจงรักภักดีต่อเจ้าชายซานโชมาก ดังจะเห็นได้จากใน พ.ศ. 1606 (ค.ศ. 1063) อาณาจักรคาสตีลมีสงครามกับอาณาจักรอารากอน เพราะต้องการแย่งชิงดินแดนซาราโกซา สงครามครั้งนี้ไม่สามารถตัดสินได้ในสมรภูมิรบ เพราะต่างฝ่ายต่างเข้มแข็งจนไม่มีใครเอาชนะใครได้ จึงตกลงกันว่า ให้แต่ละฝ่ายส่งตัวแทนมา 1 คนมาประลองกันแบบ 1:1 ใครชนะจะได้ดินแดนซาราโกซาไป ฝ่ายคาสตีลนั้น โรดรีโกอาสาไปเป็นตัวแทนประลอง และในวันจริงนั้น แม้คู่ต่อสู้จากอารากอนจะมีร่างกายกำยำ แรงเยอะ และตัวโตกว่าโรดรีโกอย่างมาก แต่โรดรีโกก็สามารถชนะได้ ทำให้คาสตีลชนะในสงครามนี้ ทหารของคาสตีลจึงให้ฉายาจากการสร้างวีรกรรมของเขา คือ "เอลซิดกัมเปอาดอร์" (El Cid Campeador) โดย El Cid มีที่มาจากคำในภาษาอาหรับถิ่นอันดาลูเซียว่า "อัลซีด" (al-sīd) แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "The Lord" ส่วน Campeador นั้นเป็นภาษาสเปน แปลว่า "Champion" ซึ่งฉายาเอลซิดก็เป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ที่รู้จักโรดรีโกใช้เรียกเขามาจนถึงปัจจุบัน หลังจากสงครามกับอารากอนแล้ว อาณาจักรคาสตีลยังพบสงครามใหม่อีกครั้ง ครั้งนี้เป็นสงครามกับแขกมัวร์ (เป็นส่วนหนึ่งของการพิชิตดินแดนคืนหรือ Reconquista ของชาวคริสต์ในคาบสมุทรไอบีเรีย) ผลคือกองทัพคาสตีลภายใต้การนำของเจ้าชายซานโชที่ 2 และโรดรีโก ชนะแทบทุกครั้ง ทำให้คาสตีลมีเมืองขึ้นและแผ่ขยายอาณาเขตไปได้กว้างขวาง แต่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 กษัตริย์แห่งคาสตีลและพระชนก (พ่อ) ของเจ้าชายซานโชได้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1608 (ค.ศ. 1065) โดยที่ก่อนจะเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ทรงจัดสรรดินแดนให้พระโอรสและพระธิดาได้แบ่งกันไปปกครอง โดยเจ้าชายซานโช เจ้านายเอลซิดได้ขึ้นครองบัลลังก์คาสตีล แต่ไม่นาน พระเจ้าซานโชที่ 2 ทรงเห็นว่า พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 พระอนุชา (น้องชาย) ของพระองค์ที่ได้ไปปกครองอาณาจักรเลออนนั้น ขาดความสามารถในการปกครอง ประกอบกับคาสตีลมีสงครามกับแขกมัวร์ ควรรวมคาสตีลและเลออนเข้ากับคาสตีลดีกว่า เพื่อที่อาณาจักรคาสตีลจะได้เข้มแข็ง ดังนั้น พระเจ้าซานโชที่ 2 จึงทรงเปิดศึกแย่งชิงดินแดนเลออนกับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ใน พ.ศ. 1608 นั้นเอง ศึกแย่งชิงเลออนดำเนินมาจนถึง พ.ศ. 1615 (ค.ศ. 1072) พระเจ้าซานโชที่ 2 ทรงมีชัยต่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และผนวกอาณาจักรคาสตีลกับเลออนได้สำเร็จ ต่อไปก็ต้องทรงสังหารพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เพื่อให้กษัตริย์ของอาณาจักรคาสตีล-เลออนมีเพียงพระองค์เดียว คือพระเจ้าซานโชที่ 2 แต่ว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ทรงลี้ภัยไปยังอาณาจักรซาโมรา เพื่อขอความช่วยเหลือกับพระนางอูร์รากา พระกนิษฐา (น้องสาว) ของพระองค์ พระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 จึงสมคบคิดกันลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 เสียใน พ.ศ. 1615 นั้นเอง แผนการลอบสังหารในครั้งนี้ทรงมอบให้ทหารอาสาผู้ภักดีต่อพระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ทำอย่างลับ ๆ ทำให้ไม่มีใครรู้ว่าพระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 เมื่อพระเจ้าซานโชที่ 2 เสด็จสวรรคตแล้ว ก็ไม่มีใครเหมาะสมจะเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรคาสตีล-เลออนมากไปกว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และเข้าพิธีเพื่อสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งคาสตีล-เลออน แต่ในพิธีแต่งตั้งพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เอลซิดไม่คุกเข่าถวายพระพร เพราะเขาคลางแคลงใจว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 และขอร้องให้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 สาบานต่อหน้าพระคัมภีร์ว่า ทรงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 (แต่ความจริงแล้วพระองค์กับพระนางอูร์รากาทรงมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก) แต่พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ได้ทรงสาบานออกมาอย่างเต็มพิธี เอลซิดจึงยอมรับอำนาจและถวายตัวเข้าเป็นข้ารับใช้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เอลซิดแต่งงานกับคีเมนา เด โอเบียโด พระญาติของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ใน พ.ศ. 1617 (ค.ศ. 1074) มีบุตรด้วยกัน 3 คน ชื่อ กริสตีนา มารีอา และดีเอโก โรดรีเกซ เอลซิดรับใช้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 อย่างจงรักภักดีเรื่อยมา จนพระเจ้าอัลฟอนโซไว้วางใจดูแลเลี้ยงดูอย่างดี ทำให้ขุนนางอื่น ๆ เกิดความอิจฉาเอลซิด จึงกล่าวหาเอลซิด ว่ายักยอกเครื่องบรรณาการที่เก็บมาจากรัฐเซบียา พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 จึงสั่งเนรเทศเอลซิดออกจากอาณาจักรคาสตีล-เลออน เมื่อเอลซิดถูกเนรเทศจึงเดินทางไปยังซาราโกซา ซึ่งผู้ครองเมืองได้ให้การต้อนรับเอลซิดเป็นอย่างดี ขณะที่พำนักอยู่ที่เมืองนี้ ได้รับจ้างทำสงครามอยู่เรื่อย ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 1629 (ค.ศ. 1086) ปัญหาสงครามระหว่างแขกมัวร์กับอาณาจักรคาสตีล-เลออนหนักขึ้น พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เริ่มต้านแขกมัวร์ไม่อยู่ ใน พ.ศ. 1635 (ค.ศ. 1092) พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ได้ส่งสาส์นขอความช่วยเหลือให้เอลซิดกลับมาทำงานให้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และคำตอบจากเอลซิดคือ จะไม่รบให้กับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แต่จะรบให้อาณาจักรคาสตีล-เลออน โดยมีตนเป็นผู้นำและเจ้าของทัพเพียงคนเดียว ไม่ขึ้นต่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เริ่มช่วยรบใน พ.ศ. 1635 นั้นเอง การรบระหว่างแขกมัวร์ดำเนินไปเรื่อย ๆ แต่ส่วนใหญ่เอลซิดเป็นผู้ชนะ แต่ในที่สุด ในศึกครั้งหนึ่งที่เมืองบาเลนเซียซึ่งเขารบกับแขกมัวร์เพื่อรับใช้อาณาจักรคาสตีล-เลออนอยู่นั้น เอลซิดพลาดท่าถูกยิงได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 1642 แต่ภรรยาของเขาก็นำร่างของเขาขึ้นไปกับม้าคู่ใจ เพื่อไม่ให้ทหารรู้ว่าเอลซิดเสียชีวิตแล้ว เพราะอาจเสียขวัญ และก็ชนะ กษัตริย์อาหรับชื่อ เบน ยูซุฟ ในที่สุด ร่างของเอลซิดและภรรยา (คีเมนา) ถูกฝังไว้ที่มหาวิหารบูร์โกส หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1586 อเลซิด.

ใหม่!!: ชาวสเปนและเอลซิด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Spanish people

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »