โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชั้นโปรแกรมประยุกต์

ดัชนี ชั้นโปรแกรมประยุกต์

Application layer หรือ ชั้นโปรแกรมประยุกต์ เป็นชั้นลำดับที่ 7 จาก 7 ชั้น ใน OSI Model.

20 ความสัมพันธ์: บิตทอร์เรนต์ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตพ็อปยูอาร์แอลดีเอชซีพีดีเอ็นเอสแบบจำลองโอเอสไอแอลแดปโซปไออาร์ซีไอแมปเอชทีทีพีเอฟทีพีเอกซ์เอ็มพีพีเอสเอ็มทีพีเอสเอ็นเอ็มพีเอ็นทีพีเอ็นเอ็นทีพีเทลเน็ตSession Initiation Protocol

บิตทอร์เรนต์

ลโก้บิตทอร์เรนต์ บิตทอร์เรนต์ (BitTorrent) เป็นโพรโทคอลรูปแบบ peer-to-peer ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันโดยตรง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีต้นกำเนิดมาจากความคิดของนายแบรม โคเฮน (Bram Cohen) ที่ต้องการให้การส่งผ่านข้อมูลสามารถอำนวยประโยชน์ได้ทั้งขาเข้าและขาออก ซึ่งเขาเริ่มพัฒนามันขึ้นมาตั้งแต่เดือน เมษายน..

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และบิตทอร์เรนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต

รโทคอลอินเทอร์เน็ต เป็นมาตรฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน และติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยใช้แนวคิดของการแบ่งลำดับชั้นโปรโตโคล.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

พ็อป

กณฑ์วิธีที่ทำการไปรษณีย์ หรือ พ็อป (Post Office Protocol: POP) เป็นโพรโทคอลมาตรฐานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยทำงานอยู่บนชุดโพรโทคอล TCP/IP POP3 เป็นการพัฒนาจากโพรโทคอลรุ่นก่อนหน้านี้ คือ POP1 และ POP2 ในปัจจุบันคำว่า POP หมายความถึง POP3 POP3 ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้จำกัด (เช่น ต่ออินเทอร์เน็ตด้วยสายโทรศัพท์) ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลมาเก็บไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ตรงกันข้ามกับโพรโทคอลในการรับอีเมลที่ใหม่กว่า คือ Internet Message Access Protocol (IMAP) ที่สนับสนุนการอ่านอีเมลทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และพ็อป · ดูเพิ่มเติม »

ยูอาร์แอล

ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต หรือ โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล (Uniform Resource Locator, Universal Resource Locator) เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (URL) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ Tim Berners-Lee, Roy T. Fielding, Larry Masinter.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และยูอาร์แอล · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอชซีพี

กณฑ์วิธีตั้งค่าแม่ข่ายพลวัต หรือ ดีเอชซีพี (Dynamic Host Configuration Protocol: DHCP) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่าย-ลูกข่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจะทำการร้องขอข้อมูลที่จำเป็น ในการเข้าร่วมเครือข่ายจากแม่ข่าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้รวมถึงหมายเลขไอพีที่ใช้ภายในเครือข่าย ซึ่งคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเป็นฝ่ายกำหนดให้กับลูกข่าย DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และดีเอชซีพี · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอส

ระบบการตั้งชื่อโดเมน หรือ ดีเอ็นเอส (Domain Name System: DNS) เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน (โดเมนเนม) ซึ่งใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ คำว่าดีเอ็นเอสสามารถหมายถึง บริการชื่อโดเมน (Domain Name Service) ก็ได้ ส่วนเครื่องบริการจะเรียกว่า เครื่องบริการชื่อ หรือ เนมเซิร์ฟเวอร์ (name server) ประโยชน์ที่สำคัญของดีเอ็นเอส คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org).

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และดีเอ็นเอส · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองโอเอสไอ

แบบจำลองโอเอสไอ (Open Systems Interconnection model: OSI model) (ISO/IEC 7498-1) เป็นรูปแบบความคิดที่พรรณนาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสารโดยแบ่งเป็นชั้นนามธรรม และโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) แบบจำลองนี้จะทำการจับกลุ่มรูปแบบฟังก์ชันการสื่อสารที่คล้ายกันให้อยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่งในเจ็ดชั้นตรรกะ ชั้นใดๆจะให้บริการชั้นที่อยู่บนและตัวเองได้รับบริการจากชั้นที่อยู่ด้านล่าง ตัวอย่างเช่นชั้นที่ให้การสื่อสารที่ error-free ในเครือข่ายจะจัดหาเส้นทางที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันชั้นบน ในขณะที่มันเรียกชั้นต่ำลงไปให้ส่งและรับแพ็คเก็ตเพื่อสร้างเนื้อหาของเส้นทางนั้น งานสองอย่างในเวลาเดียวกันที่ชั้นหนึ่งๆจะถูกเชื่อมต่อในแนวนอนบนชั้นนั้นๆ ตามรูปผู้ส่งข้อมูลจะดำเนินงานเริ่มจากชั้นที่ 7 จนถึงชั้นที่ 1 ส่งออกไปข้างนอกผ่านตัวกลางไปที่ผู้รับ ผู้รับก็จะดำเนินการจากชั้นที่ 1 ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 7 เพื่อให้ได้ข้อมูลอันนั้น ตัวอย่างการทำงานของ OSI ชั้นที่ 5.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และแบบจำลองโอเอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

แอลแดป

กณฑ์วิธีเข้าถึงสารบบน้ำหนักเบา หรือ แอลแดป (Lightweight Directory Access Protocol: LDAP) เป็น Protocol ที่พัฒนามาจาก Protocol X.500 ซึ่งใช้ในการเข้าถึงและ Update ข้อมูลของ Directory ซึ่งDirectory ในทาง Computer ที่จริงก็อาจเรียกได้ว่าเป็น Database แบบพิเศษหรือ Data repository ที่บรรจุรายละเอียดของ Object ต่างๆ เช่น Users, Application, Files, Printer และอื่นๆ รวมทั้ง Security information ของ Object เหล่านี้ด้วย โดยข้อแตกต่างของ Directory กับ Database ปกติ หมวดหมู่:โพรโทคอลชั้นโปรแกรมประยุกต์ หมวดหมู่:บริการสารบบ หมวดหมู่:โพรโทคอลบนอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:มาตรฐานโอเพนกรุป.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และแอลแดป · ดูเพิ่มเติม »

โซป

ซป (SOAP: Simple Object Access protocol โพรโทคอลเข้าถึงอ็อบเจกต์อย่างง่าย) เว็บเซอร์วิซเป็นลักษณะในรูปแบบของการออกแบบโมเดลสื่อสาร ในลักษณะของการกระจาย,การติดต่อสื่อสารที่เป็นตัวกลาง โดยโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารคือ SOAP (Simple Object Access Protocol) เป็นโพรโทคอลในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเป็นโพรโทคอลการสื่อสาร ในระดับ Application Layer หรือในระดับ แอปพลิเคชันโดยอาศัยผ่านอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล อย่างเช่น HTTP, SMTP, FTP โพรโทคอลพัฒนารากฐานมาจาก XML โดยมาตรฐานของ SOAP ปัจจุบันอยู่เวอร์ชัน 1.2 เอกสารสามารถดูได้ที่ W3C 220px หมวดหมู่:เว็บเซอร์วิซ.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และโซป · ดูเพิ่มเติม »

ไออาร์ซี

ออาร์ซี (IRC - Internet Relay Chat) เป็นรูปแบบในการพูดคุยบนอินเทอร์เน็ต โดยมีรูปแบบในการสนทนาแบบกลุ่ม ใน 1 กลุ่มสนทนาเรียกว่า ช่อง (channel) แต่ก็ยังเปิดให้สนทนาแบบ หนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง ผ่านระบบส่งข้อความส่วนตัว IRC ถูกคิดค้นขึ้นโดย Jarkko Oikarinen ในปลายเดือน สิงหาคม..

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และไออาร์ซี · ดูเพิ่มเติม »

ไอแมป

กณฑ์วิธีเข้าถึงข้อความบนอินเทอร์เน็ต หรือ ไอแมป (Internet Message Access Protocol: IMAP) เป็นโพรโทคอลในอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการรับอีเมลการทำงานของ IMAP จะแตกต่างกับ POP3 เนื่องจาก IMAP เป็นโพรโทคอลแบบ on-line ขณะที่ POP3 เป็นโพรโทคอลแบบ off-line โดย IMAP และ POP3 เป็นสองโพรโทคอลรับอีเมลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน IMAP ออกแบบโดย Mark Crispin ใน ค.ศ. 1981 เพื่อใช้แทนโพรโทคอล POP ซึ่งมีความสามารถน้อยกว่า ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ IMAP4.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และไอแมป · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีทีพี

กณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้ ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme).

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอฟทีพี

อฟทีพี หรือ เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (FTP: File Transfer Protocol) เป็นโพรโทคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต เอฟทีพีถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกันระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์เอฟทีพีเริ่มแรกโต้ตอบกันด้วยเครื่องมือรายคำสั่ง สั่งการด้วยไวยากรณ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ขึ้นมาสำหรับระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปที่ใช้กันทุกวันนี้ เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดยอัตโนมัติสำหรับการทำงานภายในโปรแกรม เราสามารถใช้เอฟทีพีผ่านทางการพิสูจน์ตัวจริงด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือเข้าถึงด้วยผู้ใช้นิรนาม นอกจากนี้ยังมีทีเอฟทีพี (Trivial File Transfer Protocol) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเอฟทีพีที่ลดความซับซ้อนลง แต่ไม่สามารถควบคุมให้ทำงานประสานกันได้ และไม่มีการพิสูจน์ตัวจริง.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเอฟทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอ็มพีพี

อกซ์เอ็มพีพี (XMPP: Extensible Messaging and Presence Protocol โพรโทคอลรับส่งและแสดงข้อความขยายได้) เดิมชื่อ แจบเบอร์ (Jabber) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการส่งข้อความด่วน (instant messaging) ที่ใช้ภาษา XML เป็นหลัก ปัจจุบันใช้ในโปรแกรมส่งข้อความด่วน Google Talk รวมถึงโปรแกรมพูดคุยแบบ VoIP อย่าง Gizmo5.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเอกซ์เอ็มพีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอสเอ็มทีพี

กณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย หรือ เอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol: SMTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต SMTP เป็นโพรโทคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโพรโทคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS ปัจจุบันมี mail transfer agent กว่า 50 โปรแกรมที่สามารถใช้ SMTP ได้ โดยมีโปรแกรม Sendmail เป็นโปรแกรมแรกที่นำ SMTP ไปใช้ โปรแกรมตัวอื่นได้แก่ Postfix, qmail และ Microsoft Exchange เป็นต้น.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเอสเอ็มทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอสเอ็นเอ็มพี

SNMP ย่อมาจาก Simple Network Management Protocol ซึ่งเป็นโพรโทคอลที่อยู่ระดับบนในชั้นการประยุกต์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโพรโทคอล TCP/IP เครือข่ายอินทราเน็ตที่ใช้โพรโทคอล TCP/IP มีอุปกรณ์เครือข่ายแบบหลากชนิดและหลายยี่ห้อ แต่มาตรฐานการจัดการเครือข่ายที่ใช้งานได้ผลดีคือ SNMP ในการบริการและจัดการเครือข่ายต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มีส่วนของการทำงานร่วมกับระบบจัดการเครือข่าย ซึ่งเราเรียกว่า เอเจนต์ (Agent) เอเจนต์เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่อยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมอยู่ในเครือข่ายโดยมีคอมพิวเตอร์หลักในระบบหนึ่งเครื่องเป็นตัวจัดการและบริหารเครือข่ายหรือเรียกว่า NMS-Network Management System หมวดหมู่:อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเอสเอ็นเอ็มพี · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นทีพี

อ็นทีพี หรือ เกณฑ์วิธีเทียบเวลาข่ายงาน (Network Time Protocol: NTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับการปรับค่าเวลาของนาฬิกาในระบบคอมพิวเตอร์ โดย NTP ใช้พอร์ต 123 ของโพรโทคอล UDP เป็นพื้นฐาน มันถูกออกแบบมาให้รักษาความแม่นยำจากปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของเวลา NTPv4 สามารถรักษาความแม่นยำระดับ 10 มิลลิวินาที (1/100 วินาที) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือมากถึง 200 ไมโครวินาที (1/5000 วินาที) บนเครือข่ายภายในที่มีคุณสมบัติดีกว่า NTP เป็นโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งที่ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเอ็นทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเอ็นทีพี

เกณฑ์วิธีขนส่งข่าวบนเครือข่าย หรือ เอ็นเอ็นทีพี (Network News Transfer Protocol: NNTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการอ่านและเขียนกลุ่มข่าว (Usenet) และใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างแต่ละเซิร์ฟเวอร์กลุ่มข่าว โพรโทคอล NNTP พัฒนาต่อมาจากโพรโทคอล SMTP โดยใช้พอร์ต 119 ของโพรโทคอล TCP แต่ถ้าใช้การเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสด้วย SSL จะใช้พอร์ต 563 แทนและเรียกว่า NNTPS หมวดหมู่:โพรโทคอลชั้นโปรแกรมประยุกต์ หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:ยูสเน็ต.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเอ็นเอ็นทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เทลเน็ต

นา หมวดหมู่:โพรโทคอลชั้นโปรแกรมประยุกต์ หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:โพรโทคอลบนอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:Clear text protocols หมวดหมู่:ประวัติอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์เครือข่ายที่ใช้พื้นฐานจากอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์บริหารระยะไกล หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับเครือข่ายบนยูนิกซ์ หมวดหมู่:ผลิตภัณฑ์ที่ออกในปี พ.ศ. 2512.

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเทลเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

Session Initiation Protocol

Session Initiation Protocol (SIP) คือ โพรโทคอลหรือเกณฑ์วิธีเพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดีย เช่น การส่งข้อมูลเสียงหรือวีดีโอบนเครือข่าย IP ได้รับการพัฒนาโดย IETF และ SIP ถือว่าเป็นโพรโทคอลที่เหนือกว่าโพรโทคอลอื่นในแง่ของการที่สามารถปรับใช้และนำไปพัฒนาได้ง่ายกว่า โดยตัวโพรโทคอลเองมีความสามารถในการสร้าง (create), ปรับ (modify) และ ยกเลิก (terminate) การติดต่อสื่อสารระหว่างโหนดที่เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (unicast) หรือแบบกลุ่ม (multicast) ได้ ซึ่ง SIP สามารถปรับเปลี่ยนที่อยู่ (address), หมายเลขพอร์ต, เพิ่มสายผู้สนทนา และสามารถเพิ่มหรือลดการส่งข้อมูลมิเดีย (media stream) บางประเภทได้ ตัวอย่างของโปรแกรมประยุกต์ (application) ที่อาศัย SIP ในการเชื่อมต่อ เช่น การประชุมด้วยวิดีโอ (video conferencing), การกระจายข้อมูลภาพและเสียง (streaming multimedia distribution), การส่งข้อความด่วน (instant messaging), การส่งไฟล์ (file transfer) และ เกมออนไลน์ เป็นต้น SIP ถูกออกแบบโดยนาย Henning Schulzrinne และนาย Mark Handly ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ชั้นโปรแกรมประยุกต์และSession Initiation Protocol · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Application layer

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »