โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชั้นพอลิพลาโคฟอรา

ดัชนี ชั้นพอลิพลาโคฟอรา

ระวังสับสนกับ: ลิ้นทะเล ชั้นพอลิพลาโคฟอรา (ชั้น: Polyplacophora) เป็นมอลลัสคาชั้นหนึ่ง มีชื่อเรียกในชื่อสามัญว่า ลิ่นทะเล หรือ หอยแปดเกล็ด (Chiton) อาศัยอยู่ในทะเล จัดเป็นมอลลัสคาจำพวกหนึ่งที่มีลักษณะแตกต่างไปจากมอลลัสคาชั้นอื่น ๆ กล่าวคือ แทนที่จะเปลือกหรือฝาเดียวหรือสองฝา แต่กลับมีมากถึง 7-8 ชิ้น ที่แยกออกจากกันแต่ก็ยึดเข้าไว้ด้วยกันทางด้านบนลำตัวเหมือนชุดเกราะ มีวิวัฒนาการที่ต้องแนบลำตัวดัดไปตามพื้นผิวแข็งขรุขระใต้ทะเลเพื่อแทะเล็มสาหร่ายทะเลและพืชทะเลที่เจริญเติบโตบนหิน ขณะที่ในบางชนิดก็ดักซุ่มรอกินเหยื่อตัวเล็ก ๆ ที่เคลื่อนผ่านไปมา ชั้นพอลิพลาโคฟอรานั้นวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่มีอายุยาวนานกว่า 500 ล้านปี โดยที่ในปัจจุบัน ก็มิได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปจากเดิมมากน้อยเท่าไหร่นัก โดยมีลำตัวเป็นวงรีคล้ายรูปไข่ มักพบอาศัยอยู่ตามโขดหินตามริมชายฝั่ง ปัจจุบันนี้พบแล้วทั้งหมด 900-1,000 ชนิด โดยศัพท์คำว่า "Polyplacophora" นั้น แปลได้ว่า "ผู้มีหลายเกล็ด".

16 ความสัมพันธ์: ชายฝั่งพ.ศ. 2364พ.ศ. 2554พืชพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์มกราคมมอลลัสกาลิ้นทะเลวิวัฒนาการสัตว์สปีชีส์ทรงรีทะเลไบลาทีเรียเกราะญี่ปุ่น

ชายฝั่ง

ฝั่งทางตะวันออกของบราซิล ชายฝั่ง คือแนวชายทะเลขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด มักมีลักษณะโค้งและเว้าแตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นหน้าผาหินสูงชัน และบางแห่งก็เป็นชายหาดระดับต่ำที่แผ่ขยายออกไปกว้างขวางแทรกสลับอยู่ระหว่างภูเขาและโขดหิน แรงที่ทำให้เกิดรูปร่างของชายฝั่งแบบต่างๆ เกิดจากแรงจากกระแสคลื่นและลมในทะเลที่ก่อให้เกิดขบวนการกัดกร่อน พัดพาและสะสมตัวของตะกอน เศษหินและแร่ที่เกิดจากขบวนการภายในโลกที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการยกตัวหรือจมตัว.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2364

ทธศักราช 2364 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1821.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและพ.ศ. 2364 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2554

ทธศักราช 2554 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2011 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและพ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

หน้าปกพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มกราคม

มกราคม เป็นเดือนแรกของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมกราคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมกร และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมกราคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู และไปอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเลในปลายเดือน เดือนมกราคมในภาษาอังกฤษ January มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า ยานุส (Janus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งประตูทางผ่าน การเริ่มต้น และการสิ้นสุด ปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคมมีเดือนเพียง 10 เดือน (304 วัน) โดยไม่มีเดือนในช่วงฤดูหนาว ต่อมาได้มีการเพิ่มเดือน 2 เดือน คือ เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ทำให้ 1 ปีมี 12 เดือน ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมกราคมในปี..

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและมกราคม · ดูเพิ่มเติม »

มอลลัสกา

มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้าบบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk).

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและมอลลัสกา · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้นทะเล

ระวังสับสนกับ: ลิ่นทะเล ลิ้นทะเล เต่าบกกินลิ้นทะเล ลิ้นทะเล หรือ กระดองปลาหมึก (Cuttlebone, Cuttlefish bone) เป็นส่วนที่เป็นของแข็งอยู่ภายในลำตัวของสัตว์ในไฟลัมมอลลัสคาจำพวกหมึก โดยเฉพาะอย่างกับหมึกกระดอง มีลักษณะเป็นแผ่นหินปูนแข็งรูปกระสวยแบนสีขาวเนื้อซุยแต่ด้านท้ายคม อีกด้านหนึ่งแข็งเป็น เปลือกหุ้มอยู่ ลิ้นทะเลมีช่องว่างภายในมีของเหลวและแก๊สบรรจุอยู่ ช่วยในการลอยตัวของหมึก มีความยาวประมาณ 3 หรือ 4 ฟุต ลิ้นทะเล พบได้ทั่วไปตามชายหาด ใช้ประโยชน์ในการแพทย์แผนไทยใช้บดเป็นผงทำเป็นตัวยาขัดและยาสีฟัน หรือใช้ผสมกับน้ำมะนาวทาหน้าทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งเช้าจึงล้างออก ใช้เป็นยาสรรพคุณกัดฝ้ากัดหัวสิว รวมถึงใช้เป็นยาป้ายลิ้นเด็กได้ อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งให้แคลเซียมสำหรับสัตว์เลี้ยงสวยงามหลายประเภท เช่น นก, แฮมสเตอร์, เครย์ฟิช, ปูเสฉวน หรือ เต่า ได้ด้วย นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอัญมณีหรือเครื่องประดับได้อีกด้ว.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและลิ้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

ทรงรี

ทรงรี วาดในซอฟต์แวร์นิวพลอต ทรงรี คือผิวกำลังสองชนิดหนึ่ง ในสามมิติ เทียบได้กับวงรีในสองมิติ รูปสมการมาตรฐานของทรงรี บนแกน x-y-z ในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน คือ ++.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและทรงรี · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ไบลาทีเรีย

ลาทีเรีย (Bilateria) คือ สัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง กล่าวคือมีด้านหน้า หลัง บน ล่าง ซ้ายและขวา ในทางตรงกันข้าม สัตว์ที่มีสมมาตรรัศมี เช่น แมงกะพรุน มีด้านบนและด้านล่าง แต่ไม่มีด้านหน้าและหลังที่แน่ชัด ไบลาทีเรียเป็นกลุ่มใหญ่ของสัตว์ ประกอบด้วยไฟลัมส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ฟองน้ำ ไนดาเรีย พลาโคซัว และทีโนฟอรา ตัวอ่อนของไบลาทีเรียมีไทรโพลบลาสตี คือ มีเนื้อเยื่อคัพภะสามชั้น ได้แก่ เอนโดเดิร์ม เมโซเดิร์ม และเอ็กโทเดิร์ม สิ่งมีชีวิตเกือบทุกตัวที่มีสมมาตรไบลาทีเรีย ยกเว้นอิคีเนอเดอร์เมอเทอ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยโตเต็มที่จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงสมมาตรรัศมี แต่เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีสมมาตรด้านข้าง สัตว์สมมาตรด้านข้างยกเว้นบางไฟลัม (เช่น หนอนตัวแบน) มีทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ และมีปากกับทวารหนักแยกออกจากกัน สัตว์ไบลาทีเรียบางตัวไม่มีช่องว่างระหว่างลำตัว.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและไบลาทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เกราะญี่ปุ่น

''เกราะญี่ปุ่นของซามูไรในสมัยโบราณ'' เกราะญี่ปุ่น คือเครื่องสวมใส่สำหรับป้องกันอันตรายจากอาวุธ ของนักรบซามูไรในสมัยโบราณและทหารเดินเท้า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักรบ ซามูไร ในการต่อสู้ ถูกเรียกว่า จิตวิญญาณแห่งเหล็กกล้า เกราะญี่ปุ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปประเภท คือ โยะโรย และ โดะมะรุ ซึ่ง โยะโรย คือเกราะสำหรับซามูไรขี่ม้า หรือแม่ทัพและไดเมียว ซึ่งลักษณะของเกราะจะมีน้ำหนักมากและมีแผงกำบังไหล่ สีสันฉูดฉาดสะดุดตา ส่วน โดะมะรุ คือเกราะสำหรับซามูไรเดินเท้า จะแตกต่างกับ โยะโรย ตรงที่เกราะจะมีน้ำหนักเบาและสวมพอดีตัวกับผู้สวมใส่ และสีสันค่อนข้างทึ.

ใหม่!!: ชั้นพอลิพลาโคฟอราและเกราะญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ChitonPolyplacophoraลิ่นทะเลหอยแปดเกล็ดโพลีพลาโคฟอรา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »