โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จูกัดเหลียง

ดัชนี จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

94 ความสัมพันธ์: บังทองพ.ศ. 724พ.ศ. 764พ.ศ. 777กวนอูมณฑลชานตงมณฑลส่านซีมณฑลหูเป่ย์มณฑลเสฉวนมณฑลเหอหนานม้าต้ายม้าเจ๊กยุทธการที่ผาแดงยุทธการที่ทุ่งพกบ๋องยุคสามก๊กราชวงศ์ชิงราชวงศ์ฮั่นราชวงศ์จิ้นรถถังลกซุนลั่วหยางลู่ อี้วรรณกรรมวิศวกรวุยก๊กสมุหนายกสามก๊กสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2553)สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือสุมาสูสุมาอี้สุมาเจียวสุมาเต๊กโชหมั่นโถวอองลองอุยเอี๋ยนอุ๋ยซีฮองตงผู้บัญชาการทหารจักรพรรดิฮั่นยฺเหวียนจักรพรรดิคังซีจักรพรรดิเว่ยหมิงจิวยี่จูกัดกิ๋นจูกัดสงจูกัดเกียวจูกัดเก๊กจูกัดเหลียงจูกัดเอี๋ยน...จูกัดเจี๋ยมจูล่งจูเก๋อ จฺวินจงโฮยจ๊กก๊กถัง กั๋วเฉียงทาเกชิ คาเนชิโระง่อก๊กตันฮกตันซิ่วตันเซ็กซุนฮูหยินประวัติศาสตร์ประเทศจีนนักการเมืองนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)แฮหัวตุ้นแผนหลงจงโว่หลงกังโจจิ๋นโจโฉโคมลอยโคยนต์ไฟเผาซินเอี๋ยเบ้งเฮ็กเกียงอุยเกงจิ๋วเล่าปี่เล่าเสี้ยนเล่าเจี้ยงเล่าเปียวเสียนหยางเจิ้ง เส้าชิวเจียวอ้วนเจ้าพระยาพระคลัง (หน)เตียวสงเตียวหยิมเตียวหุยเตียวหงีเตียวคับเตงงายเฉิงตู19 สิงหาคม23 สิงหาคม ขยายดัชนี (44 มากกว่า) »

บังทอง

ังทอง (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ผางถ่ง (สำเนียงจีนกลาง; Pang Tong; จีนตัวย่อ: 庞统; จีนตัวเต็ม: 龐統; พินอิน: Páng Tǒng) เป็นบุคคลที่หน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ แต่มีสติปัญญาเป็นเลิศ มีชื่อรองว่า "ซื่อหยวน" (士元) เกิดปีเดียวกับสุมาอี้ เป็นชาวเมืองเซียงหยาง เมืองใหญ่ในเมืองเกงจิ๋ว เป็นหลานอาของบังเต็กกง เพื่อนสนิทของสุมาเต็กโช สุมาเต็กโชรักใคร่บังทองมากเหมือนน้องชายตัวเอง บังทองเป็นผู้ที่สุมาเต็กโชแนะนำแก่เล่าปี่เมื่อครั้งหนีภัยจากการตามล่าของชัวมอว่า ปราชญ์ที่จะช่วยให้ท่านพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดินได้นั้นมี 2 คน คือ "ฮกหลง" (臥龍; Wòlóng; มังกรนิทรา–จูกัดเหลียง) กับ "ฮองซู" (鳯雛; Fèngchú; หงส์ดรุณ–บังทอง) เท่านั้น บังทอง ปรากฏตัวในสามก๊ก ด้วยเป็นปราชญ์ที่เร้นกายที่ง่อก๊ก โดยทำทีหลอกเจียวก้าน ทูตของโจโฉ ที่ถูกส่งตัวไปง่อก๊ก จนเจียวก้านเชื่อใจ นำพาไปพบโจโฉ โจโฉได้มอบหมายให้บังทองเป็นผู้วางอุบาย เอาชนะศึกง่อก๊ก บังทองแนะนำให้ผูกเรือของวุยก๊ก ต่อกันเป็นทอด ๆ ด้วยโซ่ เรียกว่า "ห่วงโซ่สัมพันธ์" โดยบังทองหลอกโจโฉว่า ทหารวุยก๊กไม่ถนัดการรบทางน้ำ เมื่อเจอคลื่นทำให้ทหารล้มป่วยได้ง่าย การผูกเรือเป็นเข้าด้วยกันด้วยโซ่ จะช่วยให้เรือไม่โคลงเคลง ซึ่งเป็นอุบายที่นำมาซึ่ง การเผาเรือวุยก๊กด้วยไฟ จากความร่วมมือกันของจิวยี่และจูกัดเหลียง ในศึกเซ็กเพ็ก (ศึกผาแดง) อันเป็นศึกที่โจโฉพ่ายแพ้อย่างย่อยยับที่สุด ต่อมา โลซกที่ปรึกษาซุนกวน เกรงว่าบังทองจะเข้าร่วมกับวุยก๊ก จึงได้ให้บังทองเข้าร่วมกับฝ่ายง่อก๊ก แต่ซุนกวนไม่ชอบใจในหน้าตา จึงไม่ให้ความสนใจ บังทองจึงเข้าร่วมกับฝ่ายจกก๊ก โดยจูกัดเหลียงเป็นผู้แนะนำไป แต่เมื่อเล่าปี่ เห็นหน้าตาของบังทองแล้วไม่ไว้วางใจ จึงให้ไปเป็นนายอำเภอเมืองลอยเอี๋ยง ที่ห่างไกล บังทองได้แสดงความสามารถทางสติปัญญา ให้เป็นที่ปรากฏ จึงได้เลื่อนชั้นขึ้น เป็นกุนซือคนหนึ่งของจกก๊ก เทียบเท่าจูกัดเหลียง บังทองมาสิ้นชีวิตที่เนินลกห้องโหที่ (เนินหงส์ร่วง) ด้วยลูกธนู ระหว่างเดินทางเข้าเสฉวนพร้อมกับเล่าปี่ บังทองออกอุบายให้เล่าปี่ สังหารเล่าเจี้ยงเพื่อยึดเมืองเสฉวนระหว่างกินเลี้ยง แต่เล่าปี่ไม่ยอมทำ ระหว่างเดินทางไปตีเมืองลกเสีย ได้แยกย้ายกับเล่าปี่ไปคนละเส้นทาง โดยเล่าปี่ได้ให้ม้าเต็กเลาที่ตนขี่ประจำแก่บังทอง ศัตรูจึงเข้าใจผิดว่าเป็นเล่าปี่ จึงรุมยิงบังทองตาย เมื่ออายุได้ 35 ย่าง 36 ปี.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและบังทอง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 724

ทธศักราช 724 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและพ.ศ. 724 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 764

ทธศักราช 764 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและพ.ศ. 764 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 777

ทธศักราช 777 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและพ.ศ. 777 · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานตง

มณฑลชานตง ใช้ตัวย่อว่า 鲁 (หลู่) ที่มาของชื่อมณฑลชานตงมาจากคำว่า ชาน (山, shān) ที่หมายถึงภูเขา และคำว่า ตง (东, dōng) ที่หมายถึงทิศตะวันออก มณฑลชานตงมีเมืองหลวง (เมืองใหญ่สุด) คือเมืองจี๋หนาน มณฑลนี้มีเนื้อที่ 156,700 ตารางกิโลเมตร (อันดับที่ 20 ของจีน) แต่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของจีน คือประมาณ 91,800,000 คน (2004) มีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 586 คนต่อตารางกิโลเมตร นับเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 5 ของจีน ตัวเลข GDP รวมในปี..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและมณฑลชานตง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลส่านซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ เจียบไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ชื่อย่อ: "ส่าน" (陕) หรือ "ฉิน" (秦)) เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ในเขตใจกลางประเทศแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) มีเมืองหลวงชื่อ ซีอาน มีเนื้อที่ 205,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 37,050,000 คน จีดีพี 288.4 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 7,780 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลส่านซีโดยมากมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายแอ่งอยู่ระหว่างภูเขาหลายแห่ง.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและมณฑลส่านซี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูเป่ย์

มณฑลหูเป่ย์ (จีน: 湖北省 Húběi Shěng) ชื่อย่อ เอ้อ (鄂) ตั้งอยู่ตอนกลาง ของประเทศ มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่ของแม่น้ำ 2 สายคือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และฮั่นเจียง เนื่องจากอยู่ ทางเหนือของทะเลสาบต้งถิงทางตอนกลางของแม่น้ำ ฉางเจียง จึงได้ชื่อว่า ‘หูเป่ย’ ซึ่งแปลว่า เหนือทะเลสาบ มีเมืองหลวงชื่อ อู่ฮั่น มีเนื้อที่ 185,900 ตร.ก.ม. มีประชากร 60,160,000 คน ความหนาแน่น 324/ตร.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและมณฑลหูเป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอหนาน

หอหนาน ตามสำเนียงกลาง หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือชื่อย่อ อวี้ และชื่อเดิม จงโจว หรือ จงหยวน เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตอนกลางเยื้องทางตะวันออกของประเทศ อยู่ทางตอนกลางส่วนล่างของ แม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ซึ่งไหลผ่านเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจีน มีเมืองเอกชื่อ เจิ้งโจว (郑州) มีเนื้อที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,170,000 คน ความหนาแน่น 582 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 881.5 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9070 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลเหอหนานมีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน ภูมิประเทศ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาทอดตัวยาวสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ทางตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 100 เมตร จุดที่สูงที่สุดของมณฑลอยู่ที่ยอดเหล่ายาช่า ในเมืองหลิงเป่า ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2413.8 เมตร ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น มีฤดู 4 ฤดูอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 13-15 องศาเซลเซียส เศรษฐกิจปี 2547 เหอหนันมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเท่ากับ 881,509 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 13.7 % อุตสาหกรรมเหอหนันถือเป็นฐานผลิตพลังงานที่สำคัญ มีธุรกิจถ่านหิน 65 ราย สามารถผลิตถ่านหินได้ปีละประมาณ 100 ล้านตัน เป็นที่ 2 ของจีน.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและมณฑลเหอหนาน · ดูเพิ่มเติม »

ม้าต้าย

ม้าต้าย (Ma Dai; ม้าต้าย (馬岱) เป็นขุนพลแห่งจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก ในอดีตนั้น เขาเป็นทหารเอกรับใช้ผู้เป็นลุง คือ ม้าเท้งและม้าเฉียว บุตรคนโตของม้าเท้ง เมื่อม้าเท้งเข้าเมืองหลวงตามคำเชิญของโจโฉ ม้าต้ายได้ติดตามไปด้วย เมื่อม้าเท้งถูกจับโดยกลลวงของโจโฉ เขาจึงหนีออกมาจากเมืองหลวง โดยการปลอมตัวได้สำเร็จ ม้าต้ายมีชื่อเสียงโด่งดังจากการสังหารกบฏอุยเอี๋ยน จากการวางแผนของขงเบ้งและเกียงอุย เมื่ออุยเอี๋ยนก่อกบฏ เขาลวงอุยเอี๋ยนโดยการแสร้งทำเป็นเข้าร่วมทัพกบฏ หลังจากนั้นเมื่อได้โอกาส เขาจึงลอบเข้าไปด้านหลังของอุยเอี๋ยนและสังหารเขาเสีย รางวัลที่เขาได้รับสำหรับการที่เขาสังหารอุยเอี๋ยนก็คือบรรดาศักดิ์ที่ริบมาจากอุยเอี๋ยนนั่นเอง หลังจากที่เล่าปี่ ฮ่องเต้แห่งเสฉวนสิ้นพระชนม์ ม้าต้ายนั้นเป็นแม่ทัพที่ซื่อสัตย์มากผู้หนึ่งของขงเบ้งและเขายังมีส่วนร่วมในชัยชนะสงครามม่านใต้ที่รบกับเบ้งเฮ็กอย่างมาก ไม่แพ้จูล่งและอุยเอี๋ยนเลยทีเดียว.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและม้าต้าย · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเจ๊ก

ม้าเจ๊ก (Ma Su;; ค.ศ. 190 — ค.ศ. 228) เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาหรือกุนซือและแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊ก.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและม้าเจ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ผาแดง

แผนที่บริเวณศึก ยุทธการที่ผาแดง หรือ ศึกผาแดง (Battle of Red Cliffs) หรือ ศึกเซ็กเพ็ก หรือ ศึกเปี๊ยะเชียะ หรือ ศึกชื่อปี้ (Battle of Chìbì) เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กในประเทศจีนในเวลาต่อมา ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นใน..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและยุทธการที่ผาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ทุ่งพกบ๋อง

ึกทุ่งพกบ๋อง หรือ ศึกเนินพกบ๋อง (The Battle of Bowang, 博望之戰) เป็นการศึกใน วรรณกรรมเรื่องสามก๊ก เมื่อ ค.ศ. 202 และเป็นการศึกครั้งแรกของขงเบ้งที่แสดงฝีมือให้เห็นประจักษ์ ทุ่งพกบ๋อง (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน) เป็นช่องเขาหลังเมืองซินเอี๋ย เป็นช่องทางหนึ่งที่จะเข้าเมืองได้ เป็นทางแคบ ทางซ้ายเป็นเขา ชื่อ เขาอีสัน ทางขวาเป็นป่าชื่อ ป่าอันหลิม เมื่อแฮหัวตุ้นยกทัพเรือนแสนมาหมายจะขยี้เมืองซินเอี๋ย และตั้งทัพอยู่ห่างจากเมืองเพียง 40 ลี้ ขงเบ้งได้รับกระบี่อาญาสิทธิ์จากเล่าปี่ ให้บัญชาการทัพได้เต็มที่ ขงเบ้งได้มอบหมายให้เล่าปี่และจูล่งยกทัพไปสู้กับแฮหัวตุ้นซึ่ง ๆ หน้า แต่ต้องแสร้งแพ้เพื่อล่อให้แฮหัวตุ้นยกทัพตามเข้ามาในทุ่งพกบ๋อง เพื่อที่กวนอูและเตียวหุยที่ซ่อนทัพในป่าและเขาด้านข้างใช้ไฟเผาทั้งเป็นตามแผน โดยแต่แรกนั้น กวนอูและเตียวหุยไม่เชื่อมั่นในตัวขงเบ้ง แต่เมื่อแผนการนี้สำเร็จ ทหารของแฮหัวตุ้นเสียชีวิตในการนี้หลายหมื่นคน กวนอูและเตียวหุยก็ได้ให้ความมั่นใจและศรัทธาในตัวขงเบ้ง และหลังจากนั้นไม่นาน โจโฉก็ยกทัพหลวงมาเองเพื่อที่จะแก้แค้นในการศึกนี้ โดยให้โจหยินเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกไปที่เมืองซินเอี๋ย ซึ่งขงเบ้งก็ใช้อุบายทำให้เมืองซินเอี๋ยเป็นเมืองร้าง และใช้ไฟเผาทัพของโจโฉอีกครั้ง เมื่อทหารที่หนีรอดมาได้ก็ถูกน้ำซัดอีกครั้ง จากกวนอูที่ทลายเขื่อนกั้นแม่น้ำแปะโห ศึกนี้เรียกกันว่า ไฟเผาซินเอี๋ย การศึก 2 ครั้งนี้เป็นสิ่งพิสูจน์ให้ประจักษ์ว่า ขงเบ้ง เป็นแม่ทัพที่เหนือแม่ทัพคนอื่น ๆ เพราะสามารถใช้พลังธรรมชาติ อันได้แก่ ไฟและน้ำ มาเป็นประโยชน์ในการทำลายทัพเรือนแสนได้ โดยไม่ต้องสูญเสียทหารฝ่ายตนมากนัก และอีกครั้งที่ขงเบ้งใช้เงื่อนไขของพลังธรรมชาติ คือ หมอกและลม คราวศึกเซ็กเพ็ก ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากนี้ จึงเป็นที่มาของฉายา "ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร".

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและยุทธการที่ทุ่งพกบ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จิ้น

ราชวงศ์จิ้น (คริสต์ศักราช 265 – คริสต์ศักราช 420) เป็นราชวงศ์หนึ่งของจีน สถาปนาในปี..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและราชวงศ์จิ้น · ดูเพิ่มเติม »

รถถัง

รถถัง Mark IV รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ รถถัง A7V ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่ อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะ ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่ ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือนๆ กัน.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและรถถัง · ดูเพิ่มเติม »

ลกซุน

ลกซุน (Lu Xun; จีนตัวเต็ม: 陸遜; จีนตัวย่อ: 陆逊; พินอิน: Lù Xùn) แม่ทัพคนสำคัญอีกคนของง่อก๊ก ผู้เผาทัพใหญ่ของเล่าปี่ในศึกอิเหลงจนย่อยยับ เล่าปี่ต้องหนีซมซานไปยังเมืองเป๊กเต้และตรอมใจตายในที่สุด ซึ่งก่อนหน้านั้นเล่าปี่ได้ดูถูกลกซุนว่าเป็น"เด็กอมมือ" เพราะขณะนั้นลกซุนอายุยังน้อย (39 ปี) และไม่มีชื่อเสียงนัก ลกซุนมีชื่อรองว่า "ป๋อเหยียน" (伯言) กำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก อาศัยอยู่กับลกคัง เจ้าเมืองโลกั๋ง ผู้เป็นลุง ต่อมาอ้วนสุดขอยืมเสบียงจากลกคัง แต่ลกคังไม่ยินยอม ทำให้อ้วนสุดสั่งซุนเซ็กโจมตีเมืองโลกั๋ง ลกคังจึงส่งลกซุนและครอบครัวมาหลบภัยที่กังตั๋ง ต่อมาลกซุนได้รับราชการกับง่อก๊ก โดยเริ่มต้นเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยในสังกัดของซุนกวน ลกซุนเป็นขุนนางบัณฑิตที่มีสติปัญญา ชำนาญพิชัยสงคราม มีผลงานในการปกครองและปราบโจร ซุนกวนชื่นชอบในความสามารถของลกซุน จึงเลื่อนตำแหน่งให้หลายครั้ง และให้แต่งงานกับบุตรสาวของซุนเซ็ก หลานสาวของตน ลกซุนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในแผนการยึดเกงจิ๋วของลิบอง ซึ่งแม้เป็นศึกใหญ่ครั้งแรกของลกซุน ก็สามารถลวงกวนอู (ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วในขณะนั้น) ให้ตายใจ แล้วเข้ายึดเกงจิ๋วไว้ได้ เป็นเหตุให้กวนอูถูกจับและประหารชีวิต ต่อมาลกซุนได้ผู้บัญชากองทัพง่อก๊กในศึกอิเหลง ป้องกันการบุกโดยทัพใหญ่ของเล่าปี่จำนวน 750,000 คน ซึ่งยกทัพมาแก้แค้นให้กวนอูและเตียวหุย (ซึ่งถูกลอบสังหารขณะจัดเตรียมทัพ) ลกซุนใช้ยุทธวิธีเผาค่ายเล่าปี่จนย่อยยับและรุกไล่ตามเล่าปี่ แต่กลับเข้าไปหลงอยู่ในกองหินค่ายกลที่ขงเบ้งสร้างไว้ก่อนหน้า ลกซุนหาทางออกไม่ได้ แต่ได้ฮองเซ็งหงัน พ่อตาของขงเบ้งผ่านมาช่วยเหลือและเปิดเผยว่า ขงเบ้งเคยบอกก่อนหน้านี้ว่า ต่อไปจะมีแม่ทัพง่อก๊กหลงเข้ามาในนี้ ขออย่าได้ช่วย แต่ฮองเซ็งหงันได้พาลกซุนออกมาอย่างปลอดภัย ลกซุนจึงเลิกทัพกลับกังตั๋ง แม้ลกซุนมีผลงานมากมาย แต่สุดท้ายขัดแย้งกับซุนกวนเพราะสนับสนุนรัชทายาทซุนโห ทำให้ซุนป๋าบุตรของซุนกวนอีกคนไม่พอใจ ใส่ร้ายลกซุนมากมาย จนซุนกวนปลดจากตำแหน่งและส่งคนมาตำหนิต่อว่า ทำให้ลกซุนโกรธและเสียใจจนตรอมใจต.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและลกซุน · ดูเพิ่มเติม »

ลั่วหยาง

thumb ลั่วหยาง หรือสำเนียงฮกเกี้ยนว่า ลกเอี๋ยง เป็นเมืองหนึ่งในประเทศจีน ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์เช่น ราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และราชวงศ์ถัง.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและลั่วหยาง · ดูเพิ่มเติม »

ลู่ อี้

ลู่ อี้ (Lu Yi) เป็นนักแสดงชาวจีน เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1976 ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ที่มาแรงในเรื่อง จอมนางวังต้องห้าม 3 และล่าสุด กำลังรับบท ขงเบ้ง ใน สามก๊ก 2010.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและลู่ อี้ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกร

วิศวกรกำลังดูแบบเครื่องจักร วิศวกร คือผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบและผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา เช่น วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมอากาศยาน วิศวกรรมการขนถ่ายวัสดุ วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเซรามิก วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมธรณี ฯลฯ.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและวิศวกร · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและวุยก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สมุหนายก

มุหนายก คือ อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นเจ้ากรมมหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ บรรดาศักดิ์ "เจ้าพญาจักรีศรีองครักษ์" คู่กับสมุหกลาโหม อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เจ้ากรมกลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ บรรดาศักดิ์ "เจ้าพญามหาเสนาบดีวิริยภักดีบดินทร์" หมวดหมู่:ขุนนางไทย หมวดหมู่:ยศศักดิ์ไทย ตั้งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา โปรดให้แบ่งหัวเมืองออกเป็น ฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ โดยให้สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการฝ่ายทหารและพลเรือน ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยตั้งกระทรวงขึ้นสิบสองกระทรวง มีเสนาบดีประจำทุกกระทรวง กรมมหาดไทยได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กระทรวงมหาดไทย สมุหนายกจึงถูกลดฐานะจากอัครมหาเสนาบดี ลงเป็นเสนาบดีเท่ากับเสนาบดีอื่น ๆ นับเป็นการสิ้นสุดตำแหน่ง สมุหนายก ในสมัยอยุธยาตอนต้น การปกครองภายในราชธานี มีตำแหน่งเสนาบดีสำคัญสี่ตำแหน่ง เรียกว่า จตุสดมภ์ คือ เสนาบดีกรมเมือง หรือเวียง เสนาบดีกรมวัง เสนาบดีกรมคลัง และเสนาบดี กรมนา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - 2031) ทรงปรับปรุงวิธีการปกครองส่วนกลาง โดยแบ่งขุนนางและไพร่พล ทั่วพระราชอาณาจักรออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร โปรดให้ตั้งกรมมหาดไทย ขึ้นโดยมีสมุหนายก เป็นเจ้ากรม และเป็นหัวหน้าข้าราชการฝ่ายพลเรือน มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายพลเรือน ในหัวเมืองต่าง ๆ ทุกเมือง รวมทั้งเสนาบดีจตุสมดภ์ด้วย ทรงตั้งกรมพระกลาโหม มีสมุหพระกลาโหม เป็นเจ้ากรม และหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายทหาร ในราชธานี และทุกหัวเมือง ทั้งสมุหนายก และสมุหกลาโหม มีฐานะเป็น อัครเสนาบดี และเป็นประธานในคณะลูกขุนฝ่ายทหารและพลเรือน ในยามศึกสงครามทั้งทหารและพลเรือน ต่างต้องทำหน้าที่ในการสู้รบป้องกันบ้านเมืองเช่นเดียวกัน ตำแหน่งสมุหนายก มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น "เจ้าพญาจักรี" ศักดินา 10,000 มีตราพระราชสีห์ และตราจักร เป็นตราประจำตำแหน่ง เมื่อประชุมเสนาบดีทั้งหมด สมุหนายกจะเป็นประธานในการประชุม เพราะมีฐานะเป็นประมุขของเสนาบดี สมุหนายก มีหน้าที่ติดต่อกับประเทศราช ในนามของพระมหากษัตริย์ แต่ไม่มีอำนาจปกครอง ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231 - 2246) มีการแบ่งหัวเมืองในราชอาณาจักร ออกเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ให้สมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ สมุหกลาโหม ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ในปลายสมัยอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275 - 2301) ได้มีการโอนอำนาจการปกครองหัวเมืองภาคใต้ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนให้แก่ เจ้าพระยาโกษาธิบดี เสนาบดีพระคลัง ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้โอนอำนาจการปกครองหัวเมืองภาคใต้ คืนให้สมุหกลาโหม ตั้งแต่หัวเมืองชายทะเลแปดเมือง รวมทั้งเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเดิมขึ้นกรมมหาดไทย รวมเป็นเก้าเมือง ให้เจ้าพระยาพระคลัง ปกครองโดยแบ่งหัวเมืองภาคใต้ฝ่ายตะวันตก ซึ่งขึ้นกับเจ้าพระยาพระคลัง สิบเก้าเมือง ขึ้นกับสมุหนายก หนึ่งเมืองคือ เพชรบุรี รวมยี่สิบเมือง มาขึ้นกับสมุหกลาโหม ในปี..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและสมุหนายก · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)

มพี่น้องร่วมสาบานแห่งสวนท้อ เตียวหุย (ซ้าย) เล่าปี่ (กลาง) กวนอู (ขวา) ในสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" เป็นภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นโดย สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ทีมงานสร้างภาพยนตร์ชุดนี้มีผู้กับกับระดับยอดเยี่ยมของจีนเป็นผู้กำกับ มีการการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญสาขาด้านต่างๆ จากทั่วประเทศ และด้วยความสนับสนุนกล้องของประเทศญี่ปุ่นใช้ในการถ่ายทำ โดยภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้นับว่าเป็นสื่อภาพยนตร์สามก๊กที่สมบูรณ์ที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้ได้รับการนำเข้ามาฉายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2537 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยบริษัทมีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด เวลาประมาณ 22.00 น. และทางช่องเอ็มวีทีวี วาไรตี้ แชนแนล เมื่อต้นปี..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2553)

มก๊ก ได้รับการสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกครั้ง โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2553) · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ

ใบปิดภาค 2 สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ เป็นภาพยนตร์จีนอิงประวัติศาสตร์ขนาดยาว ออกฉายพร้อมกันทั่วทวีปเอเชียในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เพื่อต้อนรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่จีนเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน สร้างจากวรรณคดีชิ้นเอกของจีนเรื่อง สามก๊ก ในตอน โจโฉ แตกทัพเรือ หรือ ศึกผาแดง อำนวยการสร้างและกำกับโดย จอห์น วู โดยภาพยนตร์เริ่มเปิดการถ่ายทำขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 ด้วยทุนสร้างกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนสร้างมากที่สุดในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์เอเชีย โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาคใหญ่ ๆ ด้วยกันเฉพาะในเอเชีย (ในภาค 2 ฉาย 22 มกราคม พ.ศ. 2552) ต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ส่วนประเทศอื่น ๆ จะฉายในตอนเดียวจบในระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและสามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ · ดูเพิ่มเติม »

สุมาสู

มเด็จพระจักรพรรดิจิ่งตี้ สุมาสู(ซือหม่าซือ)เป็นตัวละครหนึ่งในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและสุมาสู · ดูเพิ่มเติม »

สุมาอี้

มาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (司马懿; Sima Yi; ค.ศ. 179-251) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นคู่ปรับที่สำคัญของขงเบ้ง และเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับทายาทผู้สืบทอดตระกูลจนได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นพระจักรพรรดิ์องค์ใหม่ และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์จิ้น อันเป็นการสิ้นสุดยุคสามก๊กที่ดำเนินมานานถึง 111 ปี สามชั่วอายุคน.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและสุมาอี้ · ดูเพิ่มเติม »

สุมาเจียว

มเด็จพระจักรพรรดิอุ๋นตี้ หรือ สุมาเจียว (สำเนียงกลางเรียกว่า "ซือหม่าเจา") เป็นโอรสองค์ที่สองของสุมาอี้ มีฉายาว่า จื่อส้าง เป็นคนเหี้ยม ฉลาดแกมโกง มีความทะเยอทะยานอยู่เป็นนิจ หลังจากสุมาอี้ตาย พระเจ้าโจฮองแต่งตั้งให้เป็นเพียวฉีส้างเจียงจวิน (สามก๊กไทยเรียกว่า เตียวกี๋เซียงจงกุ๋น สามก๊กอังกฤษแปลว่า นายพลทหารม้า) เมื่อสุมาสูผู้เป็นพี่ชายถึงแก่กรรม สุมาเจียวที่อยู่เมืองฮูโต๋ เกรงว่าพระเจ้าโจมอจะตั้งคนอื่นขึ้นควบคุมประเทศ จึงเคลื่อนทัพไฟตั้งใกล้ลกเอี๋ยง พระเจ้าโจมอกลัวว่าสุมาเจียวจะโค่นราชบัลลังก์ จึงมอบอำนาจในการบริหาร ราชการแผ่นดินให้สุมาเจียว และพระราชทานยศ "ต้าเจียงจวิน" พอได้อำนาจในแผ่นดิน สุมาเจียวคิดแย่งพระราชสมบัติของพระเจ้าโจมอ แต่ถูกจูกัดเอี๋ยน ผู้บัญชาการทหารที่ห้วยหลำขัดขวางจนเกิดสงคราม จูกัดเอี๋ยนถูกฆ่าตายพร้อมทั้งตระกูล ต่อพระเจ้าโจมอทรงมีความรู้สึกกดดันที่อยู่ภายใต้อำนาจสุมาเจียวจึงแต่งกลอนเพื่อระบายความในใจออกมาแต่กลอนนี้กับหลุดไปถึงหูสุมาเจียว ทำให้เกิดความโมโหจึงบุกเข้าไปด่าทอพระเจ้าโจมอในท้องพระโรงต่อหน้าข้าราชบริพารและออกจากท้องพระโรงโดยไม่ทูลลา พระเจ้าโจมอก็พิโรธจึงคิดจะกำจัดสุมาเจียว แต่สุมาเจียวรู้ตัวจึงให้พรรคพวกฆ่าพระเจ้าโจมอเสียโดยให้เซงเจ (เฉิงจี้) เป็นคนกำจัด เมื่อพระเจ้าโจมอสิ้นพระชนม์ก็ได้แสร้งทำเป็นร้องไห้ต่อศพพระเจ้าโจมอว่าตนยังจงรักภักกีต่อพระเจ้าโจมอและประหารเซงเจในข้อหาลอบปลงพระชนม์เพื่อไม่ให้ใครครหานินทาตนว่าเป็นโจรกบฏชิงราชสมบัติ แล้วยกโจฮวน หลานโจโฉขึ้นเสวยราชย์สืบไป หลังจากนั้น สุมาเจียวไปอำนวยการรบกับจ๊กก๊ก จับตัวพระเจ้าเล่าเสี้ยนมาเป็นเชลยได้ จึงได้รวมอาณาจักรจ๊กก๊กไว้ในราชอาณาจักรวุยก๊ก ต่อมาคิดแย่งราชสมบัติจากพระเจ้าโจฮวน จึงตั้งตัวเป็นจีนอ๋อง ภายหลังเสียชีวิตด้วยการหัวเราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนต่อมาสุมาเอี๋ยนได้แย่งราชสมบัติจากพระเจ้าโจฮวนสำเร็จและสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้มีนามว่า พระเจ้าจิ้นหวู่แห่งราชวงศ์จิ้น และได้แต่งตั้งสุมาเจียว ผู้เป็นบิดาให้เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิอุ๋นตี้ในที.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและสุมาเจียว · ดูเพิ่มเติม »

สุมาเต๊กโช

มาเต๊กโช (Sima Hui) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก นักปราชญ์เต๋าผู้ได้รับการนับถืออย่างมากของนักปราชญ์คนสำคัญ ๆ ในสามก๊ก เช่น จูกัดเหลียง, ชีซีและบังทอง เป็นเพื่อนสนิทกับบังเต็กกง ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของบังทอง เป็นผู้ให้ฉายา "ฮองซู" แก่บังทอง และ "ฮกหลง" แก่ขงเบ้ง เป็นผู้ที่สามารถอ่านผู้คนและสถานการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ จนได้ฉายาว่า "ซินแสคันฉ่องวารี" และยังได้สมญานามจากยาขอบว่า "ผู้ชาญอาโปกสิณ" อาศัยในเขตเมืองซงหยง เป็นปราชญ์ที่ยึดติดกับธรรมชาติ ไม่ข้องเกี่ยวกับการเมือง.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและสุมาเต๊กโช · ดูเพิ่มเติม »

หมั่นโถว

หมั่นโถวสีขาว หมั่นโถว เป็นซาลาเปาที่ไม่มีไส้.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและหมั่นโถว · ดูเพิ่มเติม »

อองลอง

อองลอง (Wang Lang) มีชื่อรองว่า จิ่งซิง เป็นผู้คงแก่เรียน รับราชการมาตั้งแต่พระเจ้าเหี้ยนเต้ ราชวงศ์ฮั่น ถึงรัชสมัยพระเจ้าโจยอยแห่งวุยก๊ก เมื่อขงเบ้งบุกวุยก๊กครั้งที่ 1 เมื่อแฮหัวหลิมแตกพ่ายไป โจจิ๋นได้รับการตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับขงเบ้ง อองลองได้ติดตามไปด้วยในตำแหน่งกุนซือ อองลองอาสาจะพูดกับขงเบ้งให้ขงเบ้งยกทัพกลับ วันต่อมา ทัพโจจิ๋นกับขงเบ้งมาประจันหน้ากัน อองลองได้พูดเกลี้ยกล่อมให้ขงเบ้งยกทัพกลับไป แต่ขงเบ้งกลับด่าอองลองถึงความอกตัญญูของอองลองต่อราชวงศ์ฮั่น จนอองลองเจ็บใจตกม้าตาย ขณะอายุได้ 76 ปี แต่ในประวัติศาสตร์มิได้มีการบันทึกถึงการตายของอองลองด้วยคำด่าของขงเบ้งดังกล่าว คาดว่าเป็นเพียงเรื่องแต่ง.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและอองลอง · ดูเพิ่มเติม »

อุยเอี๋ยน

อุยเอี๋ยน (Wei Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊กรูปร่างสูงใหญ่ ชื่อรองบุ้นเตีย ใช้ง้าวคู่เป็นอาวุธ ปรากฏบทบาทครั้งแรกที่เมืองเกงจิ๋ว เมื่อเล่าปี่ได้อพยพราษฎรจากซินเอี๋ยและอ้วนเสียข้ามน้ำมาจากการตามล่าของโจโฉขอให้ชาวบ้านอยู่ในเมืองด้วย พวกทหารและเสนาธิการจะแยกไปทันที แต่ชัวมอที่บังคับเล่าจ๋องอยู่ไม่ยอมเปิดประตูให้ อุยเอี๋ยนซึ่งเป็นทหารเกงจิ๋วกลับนำทหารส่วนหนึ่งมาเปิดประตูให้เล่าปี่ยกเข้าเมือง แต่บุนเพ่งแม่ทัพคนหนึ่งของเกงจิ๋วได้ออกมาขัดขวาง พร้อมด่าว่า เจ้าจะเป็นกบฏหรือ อุยเอี๋ยนกับบุนเพ่งจึงได้สู้กัน เล่าปี่อนาถใจที่เห็นทั้งคู่มาสู้กันเอง จึงยกทัพแยกไป.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและอุยเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

อุ๋ยซี

อุ๋ยซี หรือที่รู้จักในชื่อจากนิยายและนิทานพื้นบ้านว่า หวงเยฺว่อิง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ภรรยาของจูกัดเหลียง บุตรสาวของอุยสิง่าน เป็นชาวเมืองซงหยง มณฑลหูเป่ย อุ๋ยซีมีรูปร่างขี้ริ้ว แต่มีความฉลาด ไหวพริบปฏิภาณเป็นเยี่ยม เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์ โหราศาสตร์และยุทธศาสตร์ มีบุตรชายกับจูกัดเหลียง 1 คน คือ จูกัดเจี๋ยม ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) อุ๋ยซีเป็นหญิงสาวรูปชั่วตัวดำ หน้าออกฝี มีลักษณะวิปริต ทั้งกายจะหางามสักสิ่งหนึ่งก็มิได้ แต่ทว่ามีสติปัญญาพาทีหลักแหลม รู้วิชาการในแผ่นดินและอากาศ ขงเบ้งเห็นดังนั้นจึงเลี้ยงเป็นภรรยา ได้บอกศิลปะทั้งปวงให้นางนั้นเป็นอันมาก ครั้งขงเบ้งถึงแก่ความตายก็เป็นม่ายอยู.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและอุ๋ยซี · ดูเพิ่มเติม »

ฮองตง

องตง Huang Zhong; เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพแห่งจ๊กก๊ก ฉายา ฮั่นสินแห่งหนานหยาง เป็นชาวเมืองหนานหยาง (บ้านเดียวกับขงเบ้ง) เชี่ยวชาญในการใช้ง้าวและเกาทัณฑ์ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก โดยฮองตงเป็นคนที่ 4 เดิมเป็นขุนพลที่รักษาเมืองเตียงสา ของเล่าเปียว เมื่อออกรบเคยพลาดท่าในสนามรบ และกวนอูไว้ชีวิต ในการต่อสู้ครั้งต่อมา จึงจงใจยิงเกาทัณฑ์พลาด เป็นการทดแทนบุญคุณกลับคืน แต่เจ้าเมืองเตียงสาเข้าใจว่า ฮองตงเอาใจข้างข้างฝ่ายเล่าปี่ จึงกล่าวหาว่าฮองตงเป็นกบฏ เมื่อเล่าปี่เข้าเมืองเตียงสาได้แล้ว ได้ไปพบฮองตงที่บ้านพัก พบฮองตงนอนเมาอยู่ด้วยความเสียใจที่ไม่สามารถรักษาเมืองได้ เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยทำการคาราวะฮองตงว่า เป็นนักรบที่มีฝีมือและคุณธรรมอย่างแท้จริง พร้อมเกลี้ยกล่อมให้มาเข้าร่วมด้วย ฮองตงจึงเข้าร่วมกับเล่าปี่เมื่ออายุได้ 60 ปี และได้เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก ฮองตงสร้างผลงานอีกครั้ง เมื่อแฮหัวเอี๋ยนยกทัพมา ขงเบ้งแสร้งพูดยั่ว โดยกล่าวว่าฮองตงแก่ชราแล้ว คงจะไม่มีเรี่ยวแรง ฮองตงจึงเกิดมานะ แสดงพละกำลังด้วยการหักคันธนูและรำง้าวให้ดู ฮองตงหนีไปตั้งหลักที่ยอดเขาเตงกุนสัน เพื่อให้แฮหัวเอี๋ยนที่อยู่ริมเขาตะโกนท้าทายให้ลงมาสู้ แต่ฮองตงก็ไม่ยอมสู้ เพราะการที่ฮองตงไม่ลงมาโจมตีนั้นเพราะหวดเจ้งยังไม่ยกธงแดง เมื่อยกธงแดงจึงฉวยโอกาสโจมตีในตอนที่แฮหัวเอี๋ยนอ่อนล้าเองในเวลาบ่าย ทหารทุกคนกำลังนอนหลับ ฮองตงจึงได้บุกลงมาจากเขา ในขณะที่แฮหัวเอี๋ยนกำลังใส่ชุดเกราะ ฮองตงขี่ม้าประชิดตัวและยกง้าวฟันลำตัวขาดทันที ฮองตงเสียชีวิต ณ ค่ายทหารฝ่ายจ๊กก๊ก หลังจากถูกยิงด้วยเกาทัณฑ์ของทหารฝ่าย ง่อก๊ก เข้าซอกคอ ครั้งเล่าปี่ยกทัพไปรบเพื่อล้างแค้นให้กวนอูในศึกอิเหลง เมื่ออายุได้ 75 ปี.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและฮองตง · ดูเพิ่มเติม »

ผู้บัญชาการทหาร

ผู้บัญชาการทหาร (Commander-in-chief) คือ ผู้ที่สามารถใช้อำนาจสูงสุดหรือกองกำลังทหารทั้งปวงในประเทศ โดยทั่วไปผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้คือประมุขของรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลซึ่งอาจเป็นพลเรือนก็ได้ สำหรับในประเทศไทยมีตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ จอมทัพ ซึ่งเรียกว่า จอมทัพไทย โดยจอมทัพไทยไม่ใช่ยศทหาร ผู้ที่ดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย คือ พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งเป็นทั้งประมุขและผู้นำทหารทั้งประเทศ ทรงดำรงพระยศ จอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอาก.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและผู้บัญชาการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นยฺเหวียน

ฮั่นยฺเหวียน (ปีที่ 75–33 ก่อนคริสตกาล) ชื่อตัวว่า หลิว ชื่อ (劉奭) เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนในราชวงศ์ฮั่น หลิว ชื่อ เป็นบุตรพระเจ้าฮั่นเซฺวียน พระเจ้าฮั่นเซฺวียนตายในปีที่ 49 ก่อนคริสตกาล หลิว ชื่อ จึงสืบบัลลังก์ต่อมา หลิว ชื่อ ส่งเสริมให้ลัทธิหรูเจีย (儒家) เป็นลัทธิประจำชาติ และตั้งสาวกหรูเจียเป็นข้าราชการ แต่ข้าราชการจำนวนมากที่หลิว ชื่อ ตั้งและไว้วางใจนั้นฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำให้กิจการบ้านเมืองมีปัญหา หลิว ชื่อ ตายในปีที่ 33 ก่อนคริสตกาล หลิว เอ้า (劉驁) บุตรของหลิว ชื่อ ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ถัดมา หมวดหมู่:จักรพรรดิราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจักรพรรดิฮั่นยฺเหวียน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคังซี

ักรพรรดิคังซี (Enkh Amgalan Khaan) หรือพระนามเต็ม อ้ายซินเจฺว๋หลัวเสฺวียนเย่ (愛新覺羅玄燁 Àixīn-Juéluó Xuányè) จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง เป็นพระโอรสของจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา จักรพรรดิคังซีมีพระปรีชาสามารถตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงฉายแววความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เด็ก โดยโปรดการเรียนรู้ศิลปะ วิทยาการต่าง ๆ ทั้งของในประเทศ และนอกประเทศ โดยพระองค์อยู่ภายใต้การอุปการะดูแลของไท่หวงไทเฮา ผู้เป็นพระอัยยิกาของพระองค์ ในรัชสมัยซุ่นจื่อปีที่ 18 เกิดโรคฝีดาษระบาดที่กรุงปักกิ่ง ได้ระบาดมาในนครต้องห้าม ช่วงนั้นองค์ซุนจื่อ ติดโรคร้ายนี้สวรรคต ก่อนสวรรคตได้ตั้งพระราชโอรสองค์ที่3 เสฺวียนเย เป็นองค์รัชทายาทและได้ตั้งองคมนตรี สี่คนซึ่งเป็นขุนนางที่ไว้ใจที่สุด สี่องคมนตรีได้แก่ เอ๋าไป้ สั่วหนี ซัวเค่อซ่าฮ่า เอ่อปี๋หลง เมื่อพระองค์ทรงออกว่าราชการเองเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา สั่วหนี ประธานองคมนตรีได้ถึงแก่กรรม เอ๋าไป้ (鳌拜) ซึ่งเป็นขุนนางที่รับราชการมาแต่ครั้งจักรพรรดิไท่จง จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ชิง เอ๋าไป้ เป็นขุนนางที่สำคัญตนว่าเป็นผู้นำองคมนตรีในตอนนั้นมีผู้ให้การยอมรับนับถือจำนานมาก จึงได้กระทำการอย่างไม่เหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลังพระองค์หลายครั้ง จนในที่สุดก็ก่อการกบฏขึ้น แต่แผนการทั้งหมดได้ถูกทำลายลงโดย อู๋หลิวยิ สั่วเอ๋อถู และกลุ่มขุนนางภักดี รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีนับเป็นระยะเวลาวิกฤตของราชวงศ์ชิง เพราะมีการต่อสู้ระหว่างชาวฮั่นที่ต้องการกู้ราชวงศ์หมิง รวมถึงชนเผ่าอื่น ๆ ที่ต้องการก่อกบฏ จักรพรรดิคังซีทำสงครามภายในประเทศยาวนานถึง 8 ปี จึงพิชิตแคว้นต่าง ๆ ได้ราบคาบ ก่อนที่พระองค์จะมีพระชนมายุ 30 พรรษา ทั้งขยายอาณาเขตถึงมองโกเลียและทิเบต หนึ่งในนโยบายสร้างความมั่นคงก็คือ สร้างสัมพันธ์กับชาวแมนจูที่อาศัยทางเหนือแต่เดิมให้แข็งแกร่ง ส่งอาวุธและกำลังพลไปรักษาชายแดนแถบนี้บ่อยครั้งเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่น อีกทั้งยังทรงออกทัพเอง และได้ทำสงครามกับรัสเซียในยุคสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และได้รับชัยชนะด้วย ซึ่งสงครามได้จบลงที่การสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน รวมถึงการยกทัพบุกพม่า ทำให้จีนในยุคนี้เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ริ้วขบวนบางส่วนของจักรพรรดิคังซีเสด็จนิวัติกรุงปักกิ่ง หลังจากเสด็จประพาสแดนใต้ ขณะเดียวกันเสด็จประพาสดินแดนทางใต้ถึง 6 ครั้ง เพื่อทอดพระเนตรความเจริญ รุ่งเรืองด้านศิลปะและวิชาการของแดนใต้ และสำรวจปัญหาน้ำท่วมไร่นาของชาวนา ซึ่งต่อมาทรงส่งเสริม การสร้างเขื่อนและให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรกับชาวนา จักรพรรดิคังซีฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร จักรพรรดิคังซีนับเป็นอัจฉริยบุคคล ทรงศึกษาความผิดพลาดของพวกมองโกล ช่วงที่ปกครองชาวฮั่น จึงเปลี่ยนจากวิธีการใช้ไม้แข็งเป็นไม้อ่อน เกลี้ยกล่อมให้เหล่าปราชญ์ราชบัณฑิตที่หนีภัยยุคต้นราชวงศ์สิ้นอำนาจกลับมารับราชการใหม่ ทรงสถาปนากรมจิตรกรรมที่รู้จักในนาม สถาบันจิตรกรรมหัวหยวน คล้ายที่เคยมีในสมัยราชวงศ์ซ่ง นอกจากนี้ทรงดูแลเหล่าปราชญ์และศิลปินอย่างเกษมสำราญ มอบหมายงานให้ทำอย่างเต็มที่ ไม่ว่าด้านสถาปัตยกรรมหรือประวัติศาสตร์ โดยชิ้นที่สำคัญที่สุด คือการจัดทำ พจนานุกรมรวบรวมภาษาจีน ที่เรียกกันว่า พจนานุกรมคังซี ชีวิตส่วนพระองค์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจักรพรรดินักรักพระองค์หนึ่ง มีพระสนมราว 35 คน พระโอรสและพระธิดาราว 55 องค์ จนปลายรัชสมัยเกิดการชิงบัลลังก์เป็นที่วุ่นวาย ผลสุดท้ายองค์ชาย 4 ได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิหย่งเจิ้งในเวลาต่อมา รัชสมัยของจักพรรดิคังซีตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและราชวงศ์บ้านพลูหลวงของอาณาจักรอยุธยา จักรพรรดิคังซีสวรรคตในปี พ.ศ. 2265 (ค.ศ. 1722) รวมระยะเวลาครองราชย์ยาวนานถึง 61 ปี นับเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาตร์จีน ในยุคสมัยของพระองค์มีเรื่องการเกิดขึ้นต่าง ๆ มากมายเช่น ในนวนิยายต่างๆ ระบุว่าพระองค์นั้นสวรรคตจากการปลงพระชนม์ขององค์ชายสี่ หรือหย่งเจิ้น แต่ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระองค์สวรรคตจากชราภาพเอง เป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมต่าง ๆ มากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น นิยาย ละครโทรทัศน์ หรือ ภาพยนตร์ ที่มีการจัดสร้างหลายต่อหลายครั้งแม้ในปัจจุบัน เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ นิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์ของ กิมย้ง เรื่อง อุ้ยเสี่ยวป้อ.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจักรพรรดิคังซี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเว่ยหมิง

ระเจ้าโจยอย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ผู้ครองวุยก๊กรุ่นที่ 3 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าโจผี พระราชนัดดาในพระเจ้าโจโฉ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 769 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจผี พระราชบิดา ด้วยวัยเพียง 21 พรรษา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยหยวงซง (元仲) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าโจยอยนับได้ว่า เป็นผู้นำที่เข้มแข็งทีเดียว เนื่องด้วยขงเบ้งเมื่อทราบข่าวว่า พระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์แล้ว โจยอย ราชบุตรขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุน้อย จึงยกทัพบุกขึ้นเหนือมา พระองค์ทรงส่งสุมาอี้เป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบกับขงเบ้ง อันเป็นการเปิดโอกาสให้สุมาอี้ได้แสดงฝีมือประชันกับขงเบ้งด้วย ซึ่งต่อมาทั้งคู่เป็นคู่ปรับที่ปรับมือกันมาตลอด ต่อมา ขงเบ้งได้ใช้แผนปล่อยข่าวลือในราชธานีลกเอี๋ยงว่า สุมาอี้คิดเป็นกบฏ เพราะต้องการให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งที่สุดก็เป็นไปตามแผนของขงเบ้ง จนกระทั่ง ขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจยอยทรงคิดไม่ตกว่า ใครจะรับมือกับขงเบ้งได้ ที่สุดมีผู้เสนอว่า ควรคืนตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ให้สุมาอี้ จึงทรงคืนตำแหน่งให้สุมาอี้โดยไม่วิตกกังวลใด ๆ อีก สุมาอี้ซึ่งอยู่นอกเมืองทราบข่าวนี้ซาบซึ้งเป็นอย่างมาก ถึงกับกราบแผ่นดินคาราวะและเอ่ยปากว่า ทรงเป็นจักรพรรดิที่ทรงพระปรีชาโดยแท้ นอกจากนี้แล้ว พระเจ้าโจยอยยังออกนำทัพด้วยพระองค์เอง ในการศึกครั้งนี้ด้วย เนื่องจากซุนกวน กษัตริย์ง่อก๊กได้ร่วมมือกับขงเบ้ง ยกทัพเปิดศึกสองสมรภูมิกับทางวุยก๊ก โดยพระเจ้าโจยอยได้เสด็จนำทัพวุยไปรับศึกฝ่ายง่อที่เมืองหับป๋า และทรงพระปรีชาสามารถรบชนะทัพง่อได้ ทำให้แผนตีกระหนาบของขงเบ้งและซุนกวนต้องล้มเหลวลง ฝ่ายสุมาอี้ซึ่งตั้งทัพรับมือขงเบ้งอยู่ในอีกแนวศึก ได้ใช้นโยบายไม่ออกรบแม้ขงเบ้งยั่วยุต่าง ๆ นานา ผิดกับแม่ทัพนายกองหลายคนของวุยก๊กที่ขัดเคืองใจกับการยั่วยุและอยากจะออกรบ แม้สุมาอี้จะมีคำสั่งเด็ดขาดห้ามออกไป แต่ก็รู้ดีว่านานวันเข้าคำสั่งอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ สุมาอี้จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลไปยังพระเจ้าโจยอย พร้อมอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ออกรบ ด้วยต้องการให้พระองค์มีพระบรมราชโองการมาสั่งห้ามออกรบ ซึ่งพระเจ้าโจยอยก็ตอบสนองความต้องการของสุมาอี้โดยทันที เมื่อพระบรมราชโองการมาถึง บรรดานายทหารที่อยากรบทั้งหมดนั้นจึงต้องปฏิบัติตามโดยดุสดี ซึ่งการที่สุมาอี้ตั้งทัพไม่ออกรบนี้ เป็นอุบายของสุมาอี้ที่ต้องการทำศึกยืดเยื้อ บังคับให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยไปเอง ซึ่งท้ายที่สุดขงเบ้งก็สิ้นชีวิตกลางสนามรบ ส่งผลให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยกลับในเวลาต่อมาจริง ๆ กล่าวได้ว่าด้วยการผสานใจร่วมมือของพระเจ้าโจยอยผู้เป็นนาย ซึ่งรู้ใจบ่าว คือสุมาอี้ เป็นอย่างดีนั้น ได้ช่วยรักษาให้วุยก๊กผ่านพ้นวิกฤติการณ์การสงครามครั้งนั้นไปได้ พระเจ้าโจยอย สิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มกราคม ปี พ.ศ. 782 ด้วยพระชนมายุ 34 พรรษา รวมระยะเวลาครองราชย์ 13 ปี ด้วยพระโรคที่รุมเร้าและสติวิปลาส เนื่องจากติดพระสนมองค์ใหม่และสั่งประหารพระมเหสีองค์เก่าสิ้น และเป็นโจฮอง ราชบุตรเพียงคนเดียวขึ้นครองราชย์แทน ซึ่งราชสกุลวุยจะตกต่ำต่อไปเรื่อ.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจักรพรรดิเว่ยหมิง · ดูเพิ่มเติม »

จิวยี่

วยี่ (Zhou Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของง่อก๊ก ขุนพลผู้ปราดเปรื่อง และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง เป็นชาวเมืองลู่เจียนซู เกิดในครอบครัวขุนนางเก่า มีชื่อรองว่า กงจิน (公瑾) ลักษณะเป็นบุรุษรูปงาม หน้าขาว เมื่อวัยเด็กได้เรียนรู้วิชาอย่างแตกฉาน ทั้งการทหาร และศิลปะแขนงต่าง ๆ โดยจิวยี่เป็นผู้ชำนาญทางดนตรี กล่าวกันว่า ถ้าใครดีดพิณผิดแม้นิดเดียว ใครต่อใครจับไม่ได้ แต่จิวยี่สามารถจับได้ จิวยี่เป็นผู้มีนิสัยโอบอ้อม มีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง ดังนี้ จึงมีผู้ที่เคารพนับถือเป็นมิตรสหายมากม.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจิวยี่ · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดกิ๋น

จูกัดกิ๋น (Zhuge Jin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นพี่ชายแท้ ๆ คนโตของขงเบ้ง รับราชการเป็นขุนนางฝ่ายบุ๋นอยู่กับ ซุนกวน ในตอนต้นของศึกเซ็กเพ็ก ระหว่างที่ขงเบ้งมาที่กังตั๋งเพื่อยุยงให้ซุนกวนและจิวยี่ออกรบ เพราะทัพของโจโฉยกมาตั้งที่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีเจตนาเพื่อจะมายึดครองกังตั๋ง จูกัดกิ๋นได้เกลี่ยกล่อมให้ขงเบ้งมาสวามิภักดิ์กับซุนกวนด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อพี่น้องจะได้อยู่ร่วมกัน แต่ก็ไม่สำเร็จ กลับเป็นฝ่ายโดนขงเบ้งเกลี้ยกล่อมมาให้มาฝ่ายเล่าปี่เสียเอง และหลังจากที่เล่าปี่ยึดเสฉวนได้แล้ว ซุนกวนได้สั่งให้จูกัดกิ๋นไปทวงเกงจิ๋วที่เล่าปี่เคยสัญญาไว้ว่า "ถ้ายึดเสฉวนเมื่อไหร่จะยกเกงจิ๋วให้ทันที" เล่าปี่ได้ยกเมืองคืนไป 3 เมือง คือเมือง เลงเหลง, ฮุยเอี๋ยงและเตียงสา โดยเล่าปี่ได้ให้หนังสือถึงกวนอูเพื่อให้กวนอูคืนเมืองทั้งสาม แต่เมื่อจูกัดกิ๋นไปถึงเกงจิ๋วกวนอูกับไม่ยอมคืนสามเมืองให้ จึงกลับหาซุนกวน ซุนกวนจึงต่อว่าจูกัดกิ๋นว่า "ท่านวิ่งกลับมาครั้งนี้ก็ด้วยอุบายของขงเบ้งทั้งสิ้น" ในตอนที่ขงเบ้งยกทัพบุกเขากิสานครั้งที่ 5 ได้มีหนังสือไปยังพระเจ้าซุนกวนเพื่อให้ยกทัพง่อก๊กไปตีวุยก๊กด้วยเป็นการประสานการโจมตีพร้อมกัน ก็เป็นจูกัดกิ๋นและลกซุนเป็นแม่ทัพใหญ่ที่ยกไป ร้อนถึงพระเจ้าโจยอยต้องยกทัพมาเองจากลกเอี๋ยงเพื่อต้านทัพ เพราะสุมาอี้ แม่ทัพใหญ่ก็ติดพันศึกอยู่กับขงเบ้งที่เขากิสาน ท้ายที่สุดทัพของพระเจ้าโจยอยก็ได้รับชัยชนะทำเอาขงเบ้งถึงกับตกใจ จูกัดกิ๋นมีบุตรชายชื่อจูกัดเก๊ก ซึ่งภายหลังได้เป็นราชครูและแม่ทัพใหญ่ของง่อก๊กในรัชสมัยพระเจ้าซุนเหลียง แทนจูกัดกิ๋นผู้เป็นบิดา จูกัดกิ๋นเสียชีวิตในปี พ.ศ. 784 รวมอายุได้ 67 ปี จูกัดกิ๋น จูกัดกิ๋น.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจูกัดกิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดสง

ูกัดสง (Zhuge Shang) ขุนศึกแห่ง จ๊กก๊ก ในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายคนโตของ จูกัดเจี๋ยม เป็นหลานปู่ของ จูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง อัครมหาเสนาบดีคนแรกของจ๊กก๊ก จูกัดสงเป็นขุนศึกที่มีความรู้ทางการทหารในช่วงก่อน การล่มสลายของจ๊กก๊ก เมื่อ..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจูกัดสง · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเกียว

ูกัดเกียว (Zhuge Qiao, ค.ศ. 199 — ค.ศ. 224) มีชื่อรองว่า จงเฉิน แต่ในภายหลังขงเบ้งหรือจูกัดเหลียงผู้เป็นพ่อบุญธรรมได้เปลี่ยนชื่อรองให้ใหม่เป็น โป๋สง เป็นเสนาบดีแห่ง จ๊กก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก จูกัดเกียวเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจูกัดเกียว · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเก๊ก

จูกัดเก๊ก (Zhuge Ke) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก บุตรชายคนโตของจูกัดกิ๋น ขุนพลเอกแห่งง่อก๊ก มีรูปลักษณ์พิเศษ คือใบหน้าที่ยาว แต่ก็มีเป็นคนมีสติปัญญา ไหวพริบ ทั้งยังมีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก ดังปรากฏเป็นเรื่องเล่า เมื่อครั้งยังเด็ก จูกัดกิ๋น ผู้บิดาได้พาจูกัดเก๊กเข้าเฝ้าพระเจ้าซุนกวนในวังหลวง พระเจ้าซุนกวนทอดพระเนตรเห็นว่า จูกัดเก๊กหน้ายาวเหมือนโล่ จึงได้นำโล่ทองคำหรือลา เข้ามาในงาน แล้วเขียนที่หน้าโล่ว่า "จูกัดเก๊ก" เป็นที่ขบขันของเหล่าขุนนางเป็นอันมาก แต่จูกัดเก๊กมิได้มีอารมณ์โกรธขึ้ง กลับวางท่านิ่งสงบ แล้วเขียนเพิ่มต่อข้อความลงในโล่นั้นว่า "โล่ของจูกัดเก๊ก" หรือ "ลาของจูกัดเก๊ก" เป็นการแสดงถึงสติปัญญา ไหวพริบที่น่าทึ่ง พระเจ้าซุนกวนจึงพระราชทานโล่ หรือลานั้นให้เป็นของจูกัดเก๊ก ทั้งยังโปรดปรานชุบเลี้ยงนับตั้งแต่บัดนั้น แต่ในท่ามกลางความน่ายินดีนั้น จูกัดกิ๋นผู้เป็นบิดากลับมีความกังวลใจถึงบุตรผู้นี้ และได้กล่าวว่า "บุตรคนนี้จะนำภัยพิบัตมาให้วงศ์ตระกูล" หลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคต ด้วยสติปัญญา ชื่อเสียงเป็นที่นับถือ จูกัดเก๊กก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราชควบด้วยตำแหน่งราชครูประจำราชสำนักของพระเจ้าซุนเหลียง ฮ่องเต้องค์ที่สองแห่งง่อก๊ก กองทัพวุยก๊ก ภายใต้การนำของ สุมาเจียว ฉวยโอกาสที่พระเจ้าซุนกวนสวรรรคต อันเป็นช่วงผลัดเปลี่ยนราชบัลลังก์บุกโจมตีง่อก๊ก จูกัดเก๊กได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ ร่วมผสานงานของขุนพลผู้เฒ่าเตงฮอง โจมตีกองทัพวุยก๊กแตกพ่ายกลับไปที่เมืองตังหิน จากนั้นฉวยโอกาสบุกโจมตีเข้าไปในดินแดนวุยก๊ก ประชิดด่านซินเสีย แต่ด้วยความมั่นใจจนเกินไป จนเป็นการตัดสินใจการศึกที่ผิดพลาดของจูกัดเก๊กเอง ทำให้กองทัพง่อก๊กต้องกลอุบายของแม่ทัพวุยก๊กจนต้องพ่ายยับเยินกลับมา เมื่อกลับมาถึงแคว้นพร้อมกับความอัปยศ จูกัดเก๊กโยนความผิด ปัดความรับผิดชอบในการทำศึกพ่ายแพ้ไปที่แม่ทัพนายกอง และที่ปรึกษา ให้พิจารณาสั่งประหารขุนพลไปหลายคน ทั้งยังเข้ากุมอำนาจเด็ดขาด แต่งตั้งญาติพีน้อง คนสนิทเข้ามามีอำนาจในราชสำนัก สร้างความไม่พอใจให้กับเชื้อพระวงศ์ ราชนิกูลของตระกูลซุน และขุนนางทั้งปวง รวมทั้งพระเจ้าซุนเหลียงเป็นอย่างมาก แม่ทัพทหารม้า ซุนจุ๋น และน้องชายซุนหลิม จึงวางแผนลวงจูกัดเก๊กมาสังหารในงานกินเลี้ยงภายในวังหลวงสำเร็จ ซุนจุ๋นประกาศโทษจูกัดเก๊กเป็นกบฏต่อราชบัลลังก์ ยังผลไปถึงญาติพี่น้องในตระกูลจูกัด ต้องถูกประหารถึงสามชั่วโคตร คำกล่าวของจูกัดกิ๋นจึงปรากฏเป็นจริงอย่างไม่ผิดเพี้ยน สมดังคำกล่าวที่ว่า "ไม่มีใครรู้จักบุตรได้ดีเท่ากับบิดา" นั่นเอง จูกัดเก๊ก จูกัดเก๊ก.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจูกัดเก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเอี๋ยน

ูกัดเอี๋ยน (Zhuge Dan, ? — ค.ศ. 258) ชื่อรองว่า กงซิว เป็นขุนศึกแห่งวุยก๊กในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก จูกัดเอี๋ยนเกิดที่ตำบลหยังตูเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ จูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง อัครมหาเสนาบดีและเสนาธิการแห่ง จ๊กก๊ก แต่จูกัดเอี๋ยนกลับไปรับใช้วุยก๊กจนได้รับพระราชทานยศเป็น เจิ้งตงต้าเจียงจวิน (จอมพลปราบภาคตะวันออก) บัญชาการทหารภาคห้วยหลำ ใน..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจูกัดเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเจี๋ยม

จูกัดเจี๋ยม เป็นบุตรชายของขงเบ้งหรือ จูกัดเหลียง เกิดจากนางอุ๋ยซี มีความรู้ความสามารถดี เป็นผู้คงแก่เรียน ชอบวาดรูป พระเจ้าเล่าเสี้ยนเอ็นดูมากถึงกับยกพระราชธิดาเป็นภรรยาด้วย และตั้งให้เป็นสมุหนายก ต่อมาพระเจ้าเล่าเสี้ยนหลงเชื่อคำของขันทีฮุยโฮ จนราชการแผ่นดินแปรปรวน จูกัดเจี๋ยมน้อยใจจึงแกล้งลาป่วย ไม่เข้าเฝ้าเป็นเวลานาน เมื่อเตงงาย แม่ทัพวุยก๊กยกทัพมาโจมตี พระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงให้จูกัดเจี๋ยมออกไปรบที่ด่านเกียมก๊กแล้วทำรูปหุ่นขงเบ้ง หลอกทัพวุยก๊กจนเสียขวัญ เตงงายจึงส่งจดหมายไปเกลี้ยกล่อมจูกัดเจี๋ยมให้สวามิภักดิ์ จูกัดเจี๋ยมไม่ยอม ออกสู้รบกับเตงงายถึงขั้นตะลุมบอน แต่ม้าของจูกัดเจี๋ยมถุกเกาทัณฑ์ล้มลง พอทหารของเตงงายกรูเข้ามาจับตัว จูกัดเจี๋ยมเห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงเอากระบี่เชือดคอตายอยู่ ณ ที่นั้น หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:จ๊กก๊ก หมวดหมู่:จูกัดเหลียง.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจูกัดเจี๋ยม · ดูเพิ่มเติม »

จูล่ง

ูล่ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริง ชื่อจริงว่า เตียวหยุน แม่ทัพคนสำคัญของเล่าปี่ และเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ จูล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสาน" เกิดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ประมาณปี..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจูล่ง · ดูเพิ่มเติม »

จูเก๋อ จฺวิน

จูเก๋อ จฺวิน (?–?) เป็นบุคคลในยุคสามก๊ก เป็นข้าราชการแห่งรัฐฉู่ (蜀) และเป็นน้องชายคนเล็กของ จูเก๋อ เลี่ยง (诸葛亮) และจูเก๋อ จิ่น (諸葛瑾) ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อเล่าปี่มาคำนับขงเบ้งเป็นครั้งที่ 2 แล้วเห็น จูเก๋อ จฺวิน ก็เข้าใจผิดคิดว่าเป็นขงเบ้งจึงเข้าไปคำนับแต่ จูเก๋อ จฺวิน ได้กล่าวปฏิเสธเล่าปี่ว่าตัวเองไม่ใช่ขงเบ้งเพราะพี่ชายของตนยังไม่กลับจากการท่องเที่ยว หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:จ๊กก๊ก.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจูเก๋อ จฺวิน · ดูเพิ่มเติม »

จงโฮย

งโฮย (Zhong Hui) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญแห่งวุยก๊กในยุคปลาย เกิดเมื่อปี ค.ศ. 225 มีชื่อรองว่าซื่อจี้ เป็นลูกชายคนรองของจงฮิว มีพี่ชายอีกคนชื่อว่าจงอี้ เป็นชาวตำบลฉางเช่อ เมืองอิงชวน มณฑลเ หอหนาน เป็นคนมีสติปัญญาและทะเยอทะยาน ได้ช่วยตระกูลสุมายึดอำนาจจากโจซองได้สำเร็จ เมื่อสุมาเจียวคิดตีจ๊กก๊กของพระเจ้าเล่าเสี้ยน จึงตั้งจงโฮยกับเตงงายขั้นเป็นแม่ทัพ แต่ทั้งสองไม่ถูกกันจึงแยกทัพกันไปตี เตงงายไปทางลัดจึงเข้ายึดราชธานีเฉิงตูได้ก่อน แต่เกียงอุยแม่ทัพใหญ่ฝ่ายจ๊กก๊กได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อจงโฮยและออกอุบายให้ฟ้องสุมาเจียวไปว่า เตงงายเป็นกบฏ สุมาเจียวจึงให้จงโฮยไปปราบเตงงาย เมื่อสำเร็จเกียงอุยจึงยุให้จงโฮยตั้งตัวเป็นใหญ่ในเสฉวน จึงเกิดการรบกับทหารสุมาเจียว ในที่สุดทั้งจงโฮยและเกียงอุยก็ถูกฆ่าตายในปี ค.ศ. 264.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจงโฮย · ดูเพิ่มเติม »

จ๊กก๊ก

กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและจ๊กก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ถัง กั๋วเฉียง

กบท ขงเบ้ง ถัง กั๋วเฉียง (Tang Guoqiang, จีน: 唐国强, พินอิน: Táng Guóqiáng) นักแสดงชาวจีน ผู้รู้จักบทบาทดีจากการรับบท ขงเบ้ง ในสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของ CCTV เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1952 ในครอบครัวที่เป็นแพทย์ ที่เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง เริ่มต้นอาชีพนักแสดงในปี ค.ศ. 1970 หลังสำเร็จการศึกษาระดับมัธยม ถัง กั๋วเฉียง มีบทบาทที่รู้จักดีจากการรับบทเป็น ขงเบ้ง จากสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของ CCTV และจากการรับทเป็น จักรพรรดิหย่งเจิ้น, จักรพรรดิหลี่ซื่อหมิน และ รับบท เหมาเจ๋อตุง หลายต่อหลายครั้ง เช่น The Founding Of A Republic ในปี ค.ศ. 2009 เป็นต้น ชีวิตส่วนตัว เคยผ่านการสมรสมาแล้ว 2 ครั้ง โดยมีลูกสาวเกิดกับภรรยาคนแรก และลูกชายกับภรรยาคนที่สอง.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและถัง กั๋วเฉียง · ดูเพิ่มเติม »

ทาเกชิ คาเนชิโระ

ทาเกชิ คาเนชิโระ หรือ จินเฉิง อู่ ในภาษาจีน (จีนและญี่ปุ่น: 金城武, อังกฤษ: Takeshi Kaneshiro, พินอิน: Jīnchéng Wǔ) เป็นนักแสดงและนายแบบลูกครึ่งไต้หวัน-ญี่ปุ่น โดยมารดาเป็นชาวไต้หวันส่วนบิดาเป็นชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและทาเกชิ คาเนชิโระ · ดูเพิ่มเติม »

ง่อก๊ก

ง่อก๊ก หรือ ตั้งอู๋ (東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและง่อก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ตันฮก

ีซี (Xu Shu) หรือตันฮก (Shan Fu) ได้รับฉายาจากยาขอบว่าเป็น "ผู้เผ่นผงาดเหนือเมฆ" มีชื่อรองว่า เหวียนจื่อ เป็นชาวเมืองเองจิ๋ว มณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัยร่ำเรียนวิชากระบี่ เติบใหญ่ขึ้นมาได้ศึกษาศิลปศาสตร์ ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จนชำนาญ โดยเป็นศิษย์ของสุมาเต็กโชได้ร่วมสำนักเดียวกับขงเบ้ง และบังทอง เมื่อยามว่างมักจะถกเถียง หารือกับขงเบ้งเสมอ ๆ ต่อมาเมื่อเกิดกลียุค ชีซีได้ฆ่าขุนนางชั่วผู้หนึ่งตาย จึงหลบหนีมาและปลอมชื่อว่าตันฮก.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและตันฮก · ดูเพิ่มเติม »

ตันซิ่ว

ตันซิ่ว (Chen Shou) หรือ เฉินโซ่ว เป็นนักประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์จิ้น และเป็นผู้แต่งจดหมายเหตุสามก๊ก เกิดที่เมืองหนานจง มณฑลเสฉวนในปี พ.ศ. 776 ซึ่งอยู่ยุคสามก๊ก และได้รับราชการกับจ๊กก๊ก ภายหลังวุยก๊กได้ยึดจ๊กก๊ก ตันซิ่วได้ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่วุยก๊ก ต่อมา สุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ จึงทรงให้ตันซิ่วเป็นผู้ชำระประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กในชื่อว่า จดหมายเหตุสามก๊ก.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและตันซิ่ว · ดูเพิ่มเติม »

ตันเซ็ก

ตันเซ็ก (Chen Shi) เป็นขุนพลคนหนึ่งของเล่าปี่ มีความสนิทสนมกับอุยเอี๋ยนเป็นอย่างมาก เป็นอาลักษณ์ในพระเจ้าเล่าเสี้ยนและเป็นพ่อของตันซิ่วผู้เขียนสามก๊กจี่(ซานกว๋อจื้อ)หรือจดหมายเหตุสามก๊กในยุคราชวงศ์จิ้น รัชสมัยพระเจ้าสุมาเอี๋ยน ตันเซ็กเป็นททารในสังกัดของฮองตงในศึกที่รบกับแฮหัวเอี๋ยนที่เขาเตงกุนสัน ตันเซ็กออกรบถูกแฮหัวซงหลานของแฮหัวเอี๋ยนจับได้ ต่อมาฮองตงออกรบจับตัวแฮหัวซงได้ แฮหัวเอี๋ยนได้เจรจาขอแลกตัวเชลยโดยให้ฮองตงนำแฮหัวซงมาแลกกับตันเซ็ก ตันเซ็กได้กลับเข้ากองทัพของตน ส่วนแฮหัวซงถูกฮองตงยิงเกาทัณฑ์เสียชีวิต ทำให้แฮหัวเอี๋ยนโกรธมากรบกับฮองตงจนในที่สุดแฮหัวเอี๋ยนก็ถูกฮองตงฆ่าตาย เมื่อขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กครั้งที่ 4 ขงเบ้งได้ให้อุยเอี๋ยนกับตันเซ็ก ไปตีโจจิ๋นที่รักษาด่านจำก๊ก แต่ทั้งสองไม่เชื่อฟัง อุยเอี๋ยนจึงให้ตันเซ็กไปตีด่านกิก๊กที่สุมาอี้รักษาอยู่แทน ตันเซ็กจึงถูกสุมาอี้ตีแตกพ่าย โชคดีที่อุยเอี๋ยนมาช่วยได้ทัน เมื่อกลับถึงค่าย ขงเบ้งได้พิจาณาโทษให้ตันเซ็กถูกประหาร ส่วนอุยเอี๋ยนยีงไว้ชีวิตเพราะเห็นว่ายังมีประโยชน์อยู่ หมวดหมู่:จ๊กก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและตันเซ็ก · ดูเพิ่มเติม »

ซุนฮูหยิน

ซุนฮูหยิน หรือเดิมชื่อ ซุนซ่างเซียง เป็นธิดาเพียงคนเดียวของซุนเกี๋ยนและนางง่อก๊กไท่ เป็นพระราชกนิษฐาต่างพระมารดาของพระเจ้าซุนกวน เมื่อยังเยาว์วัยชอบฝึกฝนอาวุธ เป็นลูกสาวที่ง่อก๊กไท่ไทเฮารักมาก เมื่อจิวยี่คิดยึดเมืองเกงจิ๋ว ได้คิดอุบายลวงเล่าปี่มาแต่งงานกับซุนฮูหยินและจับเล่าปี่เป็นตัวประกันแลกกับเกงจิ๋ว แต่ขงเบ้งแก้ลำจิวยี่ได้ เล่าปี่จึงได้นางซุนฮูหยินนเป็นภรรยา ตัวเล่าปี่เองก็ไม่ต้องถูกจับ เกงจิ๋วก็ปลอดภัย ทั้งจิวยี่ก็กระอักเลือดด้วยความแค้นจนสลบไป ต่อมา เล่าปี่ไปตีเสฉวนโดยทิ้งนางซุนฮูหยินไว้ที่เกงจิ๋ว ซุนกวนใช้จิวเสี้ยนไปลวงนางซุนฮูหยินว่าแม่ป่วยหนักมาก ให้กลับกังตั๋งไปเยี่ยมแม่และให้เอาอาเต๊าบุตรชายของเล่าปี่ไปด้วย ซุนฮูหยินจึงพาอาเต๊าขึ้นเรือไปกังตั๋ง แต่จูล่งและเตียวหุยมานำตัวอาเต๊าคืน นางซุนฮูหยินจึงเดินทางไปกังตั๋งเพียงผู้เดียว ต่อมาจึงรู้ภายหลังว่าถูกหลอก พระเจ้าซุนกวนได้สั่งให้กักตัวนางไว้ ต่อมา พระเจ้าเล่าปี่สวรรคต พระนางซุนฮูหยินรู้ข่าวจึงเสียพระทัยเป็นอันมาก พระนางจึงกระโดดน้ำสิ้นพระชนม์ตามพระเจ้าเล่าปี่ไป.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและซุนฮูหยิน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

นักการเมือง

นักการเมือง, ผู้นำทางการเมืองหรือบุคคลทางการเมือง (อังกฤษ: politician มาจากภาษากรีกโบราณ polis ที่แปลว่า "เมือง") เป็นบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการมีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะและการวินิจฉัยสั่งการ ซึ่งรวมผู้ดำรงตำแหน่งวินิจฉัยสั่งการในรัฐบาล และผู้ที่มุ่งดำรงตำแหน่งเหล่านั้น ไม่ว่าด้วยวิธีการเลือกตั้ง การสืบทอด รัฐประหาร การแต่งตั้ง การพิชิต หรือวิธีอื่น การเมืองไม่ใช่จำกัดอยู่เพียงวิธีการปกครองผ่านตำแหน่งสาธารณะเท่านั้น ตำแหน่งทางการเมืองอาจถืออยู่ในบรรษัทก็ได้.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและนักการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวตุ้น

แฮหัวตุ้น (Xiahou Dun) เป็นนายพลภายใต้ทัพวุยก๊กของโจโฉในยุคสามก๊กในประวัติศาสตร์จีน แฮหัวตุ้นยังเป็นญาติกับโจโฉโดยแต่เดิมโจโฉนามสกุล "แฮหัว" แต่ได้เปลี่ยนตามพ่อบุญธรรมเป็นสามสกุล "โจ" แฮหัวตุ้นเป็นแม่ทัพมือขวาและยังเป็นลูกพี่ลูกน้องที่โจโฉให้ความไว้วางใจมากที่สุดคนหนึ่ง และเขาก็เป็นคนที่อยู่กับโจโฉมาตั้งแรกเริ่มที่โจโฉเริ่มก่อการจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเขาได้โจโฉขยายอำนาจในการต่อสู้กับ เล่าปี่ ซุนกวน และ ลิโป้ แฮหัวตุ้นสูญเสียดวงตาข้างซ้ายในศึกเสียวพ่าย ในปี..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและแฮหัวตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

แผนหลงจง

วาดแสดงแผนที่ตามแผนหลงจง แผนหลงจง (Longzhong Plan; 隆中對) เป็นชื่อเรียกแผนยุทธศาสตร์ที่จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) นักยุทธวิธีและผู้ปกครองชาวจีนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นผู้เสนอ แผนดังกล่าวเป็นรากฐานสำหรับแผนใหญ่ของขุนศึกเล่าปี่ (หลิวเป้ย) และจ๊กก๊ก (รัฐฉู่) ในสมัยสามก๊กต่อมา ใจความสำคัญเล็งเห็นการยึดฐานภูมิภาคที่อยู่รอดได้ในภาคใต้ของจีน แล้วโจมตีสองง่ามเพื่อพิชิตภาคเหนือ แม้แผนดังกล่าวจะพุ่งเป้าไปยังวุยก๊ก (รัฐเว่ย์) ที่เข้มแข็ง แต่เป้าหมายบั้นปลายในการสร้างเอกภาพอีกครั้งซึ่งจักรวรรดิราชวงศ์ฮั่นที่ล่มสลายจำเป็นต้องทำลายง่อก๊ก (รัฐอู๋) ของซุนกวน (ซุนเฉวียน) ฝ่ายทิศตะวันออกด้วย จูกัดเหลียงเข้าร่วมกับหลิวเป้ยเป็นโหมวจึ้ (謀士) หรือที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ใน..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและแผนหลงจง · ดูเพิ่มเติม »

โว่หลงกัง

ทางเข้าวัดวู่โหฺว ที่โว่หลงกัง โว่หลงกัง ตามสำเนียงกลาง หรือ โงลังกั๋ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นทัศนียเขตทางวัฒนธรรมใน เมืองหนันหยาง มณฑลเหอหนัน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเสียงเป็นอันมากเนื่องจากจูเกอ เลี่ยง (ฮกเกี้ยนว่า จูกัดเหลียง) อัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐฉู่ฮั่นในสมัยสามอาณาจักร เคยพำนักอยู่เกือบสิบปี.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและโว่หลงกัง · ดูเพิ่มเติม »

โจจิ๋น

๋น (Cao Zhen) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญแห่งวุยก๊ก เป็นญาติของโจโฉ มีชื่อรองว่าจื่อตัน ซื่อสัตย์สุจริต มีนิสัยกล้าหาญ และเหี้ยมโหด ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับทหารในสนามรบอย่างใกล้ชิด บางครั้งค่าใช้จ่ายในกองทัพไม่พอ ก็เอาทรัพย์สินส่วนตัวออกจับจ่ายใช้สอย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ต้าซือหม่า (เสนาบดีว่าการกลาโหม).

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและโจจิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

โคมลอย

มข่งหมิงสมัยใหม่ บรรยากาศงานยี่เป็งในตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการปล่อยโคมลอย โคมลอยเป็นชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่งที่จุดไฟแล้วปล่อยให้ลอยไปในอกาศ เป็นบอลลูนลมร้อนขนาดเล็กอย่างหนึ่ง มักทำจากไม้ไผ่ตั้งเป็นโครงติดกระดาษสาทาน้ำมัน ข้างในใส่เทียนหรือเชื้อเพลิงแล้วจุด ความร้อนจะก่ออากาศภายในโคม โคมจึงเบาขึ้นจนค่อย ๆ ลอยไปในอากาศ เพราะฉะนั้น โคมลอยจึงลอยได้เท่าที่เพลิงยังไม่มอด เมื่อมอดแล้วก็ตกลงสู่พื้นโลกดังเดิม ในทวีปเอเชียและที่อื่นทั่วโลก มีการทำโคมลอยเป็นประเพณีมาหลายศตวรรษแล้ว เพื่อปล่อยสำหรับเล่นหรือเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลซึ่งมีมายาวนาน ชื่อ "โคมลอย" เป็นคำแปลของชื่อภาษาจีน เทียนเติง (天燈, 天灯) โคมลอยนั้น บางทีก็เรียก ไฟลอยหรือเทียนลอย แต่คำอย่างหลังนี้มักใช้หมายถึง ระเบิดที่ใช้กันในสงครามโลกครั้งที่สองมากกว.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและโคมลอย · ดูเพิ่มเติม »

โคยนต์

รูปถอดแบบโคยนต์ในพิพิธภัณฑ์รถม้าศึกโบราณในจือโป๋ ประเทศจีน โคยนต์ (木牛流馬) เป็นสิ่งประดิษฐ์ของจูเก่อเลี่ยง (จูกัดเหลียง) ขณะรับราชการสู่ฮั่น (จ๊กก๊ก) คาดว่าเป็น.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและโคยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟเผาซินเอี๋ย

หลังจากพ่ายศึกทุ่งพกบ๋อง โจโฉสั่งทัพใหญ่ห้าสิบหมื่นแบ่งเป็นห้าสาย เลือกฤกษ์งามยามดีคิดจะสยบภาคใต้ ตอนนั้นเล่าเปียวตายแล้ว เล่าจ๋องภายใต้การกำกับของญาติฝ่ายมารดาลอบยกเมืองให้โจโฉ ทัพโจโฉไม่มีสิ่งใดขัดขวางรุดหน้าสู่ซินเอี๋ย (ในศึกครั้งนี้ขงเบ้งใช้ทั้งไฟและน้ำในกลศึก).

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและไฟเผาซินเอี๋ย · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งเฮ็ก

มิ่ง ฮั่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ เบ้งเฮ็ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มณฑลยูนนาน เบ้งเฮ็กได้รับการสนับสนุนจากต้วนอี้ สมุหนายกของวุยก๊ก ทำให้สามารถผนึกกำลังกับ ยงคี เจ้าแคว้นเกียวเหล็ง จูโพ เจ้าแคว้นอวดจุ้น และชนเผ่าอื่นๆ เข้าตีเมืองเองเฉียง (ปัจจุบันคือ เขตเป่าซาน มณฑลยูนนาน) จึงทำให้ขงเบ้งต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเองแล้ววางแผนจับเบ้งเฮ็กถึง 6 ครั้ง แล้วก็ปล่อยไปทุกครั้ง เมื่อครั้งที่เจ็ดก็จับตัวเบ้งเฮ็กได้ก็เชิญไปรับประทานอาหาร เบ้งเฮ็กคิดว่าครั้งนี้ขงเบ้งคงไม่ปล่อยเราเป็นแน่ นี่คงเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของเรา แล้วขงเบ้งก็เอ่ยว่า เจ้าจงกลับไปตั้งทัพแล้วกลับมาสู้กับเราใหม่เถิด เมื่อได้ยินขงเบ้งพูดอย่างนั้นเบ้งเฮ็กถึงกับน้ำตาไหล เบ้งเฮ็กสำนึกในพระคุณของขงเบ้ง จึงยอมแพ้ ขงเบ้งให้อยู่ครองเมืองต่อโดยไม่ทิ้งทหารประจำการ สาเหตุที่ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กแล้วปล่อยไปแล้วถึงเจ็ดครั้ง เพราะเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำเผ่าภาคใต้ คนชนเผ่าให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าประหารเบ้งเฮ็กเสียก็จะทำให้ชนเผ่าแข็งข้อและจะก่อความวุ่นวายให้กับจ๊กก๊กในภายหลังได้ ดังนั้นขงเบ้งก็ได้ใช้แผนการจับเบ้งเฮ็กและปล่อยไปเพื่อเป็นการเอาใจเบ้งเฮ็กจนทำให้ยอมจำนนอย่างเต็มใจ และไม่คิดก่อกบฏอีกเลย คึกฤทธิ์ ปราโมช สันนิษฐานว่าเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำชนชาติ ไต-ไท หากในประวัติศาสตร์ทางการ เบ้งเฮ็กที่จริงแล้วเป็นพลเมืองของจักรวรรดิฮั่น แต่คนมักคิดว่าเบ้งเฮ้กเป็นผู้นำชนเผ่าป่าเถื่อนทางใต้เนื่องจากภาพที่บรรยายในนิยายสามก๊ก.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเบ้งเฮ็ก · ดูเพิ่มเติม »

เกียงอุย

กียงอุย หรือในสำเนียงจีนกลาง เจียงเหวย (Jiang Wei) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกียงอุย มีชื่อรองว่า ป๋อเยี่ยน เป็นชาวเมืองเทียนซุย ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลกานซู่ เป็นผู้ที่มีสติปัญญาหลักแหลม รอบรู้กลวิธีรบเป็นอย่างดี เชี่ยวชาญการศึก และเก่งกาจในเพลงอาวุธ แม้แต่จูล่งยังต้องกล่าวชื่นชม มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา หน้าตาดี ไม่ใฝ่ในทางโลภ เคยวางกลซ้อนทับขงเบ้ง จนขงเบ้งต้องหาทางจัดการ อุปนิสัยส่วนตัวซื่อสัตย์ มีน้ำใจดี กล้าหาญ พร้อมตายได้ทุกเมื่อ ใช้ทวนเป็นอาวุธคู่กาย เกียงอุยมีพ่อเป็นขุนนางคนหนึ่งของเทียนซุย แต่กำพร้าพ่อแต่ยังเด็ก จึงอาศัยอยู่กับแม่โดยลำพัง แต่เดิมนั้นเกียงอุยรับราชการอยู่กับม้าจิ้น เจ้าเมืองเทียนซุย ซึ่งอยู่ในแคว้นการปกครองของวุยก๊ก ขงเบ้งยกทัพมาเพื่อที่จะปราบวุยก๊ก ม้าจิ้นส่งเกียงอุยมารับมือกับขงเบ้ง ขงเบ้งเสียท่าเกียงอุย หลายครั้ง แต่ในที่สุดขงเบ้งวางแผนจับเกียงอุย โดยพาแม่ของเกียงอุยมาเลี้ยงดู และให้แม่เกียงอุยช่วยเกลี้ยกล่อม ด้วยเกียงอุยมีความกตัญญูต่อมารดานั้นเอง เกียงอุยจึงใจอ่อน ยอมอยู่ฝ่ายจ๊กก๊กกับขงเบ้ง เกียงอุยเป็นทหารคนสนิทใกล้ชิดขงเบ้งมากที่สุด ถ้าขงเบ้งไปที่ศึกไหนเกียงอุยย่อมอยู่ด้วยเสมอๆ ประกอบด้วยเกียงอุยเป็นคนสนิทและไว้ใจได้มากที่สุด ดังนั้นขงเบ้งจึงได้ถ่ายทอดวิชาที่เขารู้มากมาย ให้แก่เกียงอุย เกียงอุยจึงมีความรู้มากขึ้น ครั้นขงเบ้งรู้ตัวว่าชะตาตนเองไปไม่รอดแล้ว ก็มอบหมายให้เกียงอุยทำนุบำรุงแผ่นดินฮั่นแทนตน โดยให้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งเสฉวนแทน ซึ่งมีอำนาจทางการทหารทั้งหมด ต่อมาเกียงอุยก็ดำเนินรอยตามขงเบ้ง โดยที่ยกทัพจากเสฉวนเข้าตีวุยก๊ก ถึงหลายครั้งหลายคราแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาวุยก๊กยกทัพเข้าตีเสฉวน โดยจงโฮยและเตงงายแม่ทัพแห่งวุย แบ่งเป็น 2 ทัพตีเสฉวน เกียงอุยรับมือกับจงโฮยทำให้เตงงายไปตามทางลัดอิมเป๋ง เข้าตีเสฉวน ยังไม่ทันรบ พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมแพ้แก่เตงงายโดยเร็ว ทำให้เกียงอุยที่ได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพไม่พอใจยิ่งนัก พยายามหาทางกู้เอกราชกลับมาโดยใช้จงโฮยเป็นสะพาน แต่ก็ไม่สำเร็จ เกียงอุยถูกล้อมด้วยทหารวุยก๊ก เกียงอุยจึงใช้กระบี่เชือดคอตัวเองตาย พวกทหารของฝ่ายวุยก๊กจึงเอากระบี่ผ่าอกของเกียงอุยออกมาเห็นตับใหญ่คับหัวอกอยู่ มีดีใหญ่เท่าไข่ห่าน พวกทหารเหล่านั้นต่างคิดว่าเกียงอุยมีดีใหญ่กว่าคนธรรมดาทั่วไป จึงได้กล้าหาญเข้มแข็งสมเป็นทหารเอก ตอนที่เกียงอุยตายนั้นมีอายุ ได้ 63 ปี.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเกียงอุย · ดูเพิ่มเติม »

เกงจิ๋ว

กงจิ๋ว หรือ จังหวัดเกง หรือ จิ้งโจว (Jingzhou, Jing Province; 荆州; พินอิน: Jīngzhōu) เป็น 1 ใน 9 จังหวัดหรือมณฑลของประวัติศาสตร์จีนในอดีต โดยเป็นเขตการปกครองในช่วงของจักรพรรดิฮั่นอู่ (ก่อน ค.ศ. 141– ค.ศ. 87) ของราชวงศ์ฮั่น เป็นเมืองที่ติดกับแม่น้ำแยงซี ขึ้นชื่ออย่างยิ่งในยุคสามก๊ก และปรากฏในวรรณกรรมสามก๊ก.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเสี้ยน

ระเจ้าเล่าเสี้ยน หรือ หลิวส้าน หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิเซี่ยวหวย พระมหาจักรพรรดิผู้ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดของยุคสามก๊ก ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชสกุลเล.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเล่าเสี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเจี้ยง

ล่าเจี้ยง (Liu Zhang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเสฉวน เป็นบุตรของเล่าเอียง เล่าเจี้ยงเป็นคนที่โลเลและใช้คนไม่เป็น แต่เล่าเจี้ยงมีเหล่าที่ปรึกษาและขุนพลที่มีฝีมือมากมาย แต่ต่อมา เสฉวนถูกเล่าปี่ยึดครอง และส่งตัวเล่าเจี้ยงไปอยู่ที่เมืองกองอั๋นชายแดนเกงจิ๋ว เมื่อเกงจิ๋วถูกซุนกวนยึด เล่าเจี้ยงจึงถูกย้ายมาอยู่ที่กังตั๋งจนกระทั่งเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเล่าเจี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเปียว

ล่าเปียว (Liu Biao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเกงจิ๋ว มีบุตร 2 คน คือ เล่ากี๋และเล่าจ๋อง เมื่อซุนเกี๋ยนได้ตราแผ่นดินหยกมาครอบครอง อ้วนเสี้ยวได้สั่งให้เล่าเปียวไปตีซุนเกี๋ยนชิงเอาตราหยกมา ทำให้เล่าเปียวและซุนเกี๋ยนเป็นศัตรูกัน จนกระทั่งซุนเกี๋ยนเสียชีวิต.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเล่าเปียว · ดูเพิ่มเติม »

เสียนหยาง

ียนหยาง ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ห้ำเอี๋ยง ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน เป็นเมืองหลวงของประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ฉินZhongguo Gujin Diming Dacidian 中国古今地名大词典, 2005.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเสียนหยาง · ดูเพิ่มเติม »

เจิ้ง เส้าชิว

้ง เส้าชิว (Adam Cheng Siu-Chow, Adam Cheng) นักแสดงชายและนักร้องชื่อดังชาวฮ่องกง เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 ที่ฮ่องกง บิดามารดาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เจิ้ง เส้าชิว มีผลงานโดดเด่นมากทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่, ฮ่องกง และไต้หวันในยุคทศวรรษที่ 70 และ 80 สังกัด TVB โดยมีบทบาทการแสดงที่เป็นที่จำได้เป็นอย่างดี คือ ชอลิ้วเฮียง ในละครโทรทัศน์ชุด Chor Lau-heung ในปี ค.ศ. 1979 และ เตียบ่อกี้ ใน The Heaven Sword and Dragon Saber (ดาบมังกรหยก) ในปี ค.ศ. 1978 จากนั้นผลงานที่โดดเด่นในยุคทศวรรษที่ 90 ได้แก่ The Greed of Man (เจ้าพ่อตลาดหุ้น) ในปี ค.ศ. 1992 คู่กับ หลิว ชิงหวิน นักแสดงรุ่นน้อง ชีวิตส่วนตัว เจิ้ง เส้าชิวสมรสกับ เสิ่น เตี้ยนเสีย (เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี ค.ศ. 2008) นักแสดงหญิงร่างอ้วนอารมณ์ดีในปี ค.ศ. 1985 ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคน ที่ปัจจุบันเป็นนักแสดงอีกคน คือ เจิ้ง ซินอี้ แต่ต่อมาทั้งคู่ได้หย่าร้างกัน และต่อมา เจิ้ง เส้าชิวก็สมรสอีกครั้งกับ กุน ชิงวา ซึ่งเป็นภรรยาคนปัจจุบัน ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 3 คน.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเจิ้ง เส้าชิว · ดูเพิ่มเติม »

เจียวอ้วน

ียวอ้วน (Jiang Wan) เป็นเสนาบดีคนสำคัญแห่งจ๊กก๊ก มีชื่อรองว่า กงเหยี่ยน เป็นชาวบ้านเซียงเซียง เมืองหลิงหลิง มณฑลหูหนาน เป็นคนซื่อสัตย์ เมตตากรุณา ขงเบ้งมีความเชื่อถือในตัวเจียวอ้วนมาก เมื่อออกศึกก็มักจะให้เจียวอ้วนดูแลในแนวหลัง เมื่อขงเบ้งใกล้จะตายได้มอบหมายให้เจียวอ้วนดำรงตำแหน่งสมุหนายกแทนตนสืบต่อไป.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเจียวอ้วน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นขุนนางและ กวี เอกคนหนึ่งในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยา และถึงแก่ อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ 1..

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเจ้าพระยาพระคลัง (หน) · ดูเพิ่มเติม »

เตียวสง

รูปเตียวสงจากเกม ''Romance Of The Three Kingdoms XI'' เตียวสง (Zhang Song; จีนตัวเต็ม: 張松; จีนตัวย่อ: 张松) (? — ค.ศ. 213) ไม่ทราบว่าเป็นชาวเมืองใด มีฉายาว่า หย่งเหนียน ร่างเตี้ย ไม่ถึง 5 ฟุต หน้าฝากโหนก ศีรษะรี จมูกเฟ็ด ฟันเสี้ยม แต่สติปัญญาไหวพริบดี เล่ห์เหลี่ยมจัด ความจำดีมาก อะไรที่ผ่านสายตาแล้วจำได้หมด รับราชการอยู่กับเล่าเจี้ยง ผู้ครองแคว้นเอกจิว (เสฉวน) เล่าเจี้ยงเกรงเตียวฬ่อ เจ้าเมืองอันต๋ง ซึ่งเป็นคู่อริจะยกทัพมาโจมตี จึงให้เตียวสงเป็นทูตไปเจรจาขอกำลังจากโจโฉ เตียวสงไปแสดงความเปรื่องปราดกับโจโฉจนเกินตัว คืออ่านตำราพิชัยสงครามที่โจโฉแต่งเพียงเที่ยวเดียวก็จำได้หมด แล้วบอกว่าหนังสืออย่างนี้เหมือนเด็ก ๆ ในเสฉวนอ่านเล่นทั้งเมืองเพราะเป็นคำโบราณที่ผู้มีปัญญาแต่งไว้ พลางสาธยายข้อความในหนังสือของโจโฉ มิได้วิปลาสสักข้อ โจโฉถูกลบเหลี่ยมเช่นนั้นก็โกรธ ขับเตียวสงออกไปจากเมืองไป เตียวสงจึงไปหาเล่าปี่ โดยได้รับการรับรองเป็นอันดี จนเตียวสงหลงใหล เลยคิดทรยศต่อนาย ต้องการให้เล่าปี่ไปปกครองแคว้นเอกจิวแทนเล่าเจี้ยง ถึงกับมอบแผนที่ยุทธศาสตร์และให้ความลับต่าง ๆ แก่เล่าปี่ด้วย เมื่อเตียวเสียวกลับมาถึงเอกจิวแล้ว ก็ได้จูงใจให้เล่าเจี้ยงเชิญเล่าปี่มาอยู่เอกจิว และคุ้มครองให้พ้นจากการรุกรานของเตียวฬ่อ พอเล่าปี่ยาตราทัพเข้ามาแล้ว ความลับจึงแตกขึ้น โดยเตียวซก พี่ชายของเตียวสงจับจดหมายลับที่เตียวสงติดต่อให้เล่าปี่ได้ ก็นำความไปแจ้งแก่เล่าเจี้ยง เตียวสงกับบุตรภรรยาจึงถูกประหารชีวิต แต่ในที่สุดเล่าปี่ก็ยึดแคว้นเอกจิว และเล่าเจี้ยงถูกปลดจากตำแหน่งไป.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเตียวสง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหยิม

เตียวหยิม (Zhang Ren) เป็นขุนพลเอกของเล่าเจี้ยง เป็นผู้รอบคอบ จงรักภักดีต่อนาย และมีไหวพริบเป็นเลิศ เมื่อเล่าปี่ยกทัพยึดด่านแฮบังก๋วน เตรียมเข้ายึดเสฉวน เล่าเจี้ยงได้ให้เตียวหยิม เล่ากุ๋ย เหลงเปา เตงเหียน ไปรักษาเมืองลกเสียเพื่อสกัดเล่าปี่มิให้เข้าเสฉวน เล่าปี่ซึ่งมีบังทองเป็นที่ปรึกษา (ขณะนั้นขงเบ้งอยู่รักษาเกงจิ๋ว) มีชัยเหนือกองทัพของเล่าเจี้ยงหลายครั้ง สามารถสังหารเตงเหียนและประหารเหลงเปา ต่อมา จึงนำทัพเข้ายึดลกเสียโดยแบ่งเป็น 2 ทาง เล่าปี่ไปทางใหญ่ บังทองไปทางลัด(ลกห้องโห เนินหงส์ร่วง) ฝ่ายเตียวหยิมคาดว่าทัพของเล่าปี่ไปทางลัด จึงได้นำกำลังไปซุ่มที่ทางลัด เห็นบังทองขี่ม้าขาวนำทัพมา จึงสั่งให้ทหารระดมยิงเกาทัณฑ์ไปที่คนที่ขี่ม้าขาว โดยเข้าใจว่าเป็นเล่าปี่ (เล่าปี่มีม้าสีขาวชื่อเต็กเลา ซึ่งต่อมาได้มอบให้บังทองในการนำทัพเข้าทางเนินลกห้องโห) บังทองต้องเกาทัณฑ์เสียชีวิต ต่อมาเล่าปี่จึงได้เรียกตัวขงเบ้งมาช่วยในการศึก จนสามารถจับตัวเตียวหยิมได้ เล่าปี่พยายามเกลี้ยกล่อมเตียวหยิม แต่เตียวหยิมเป็นคนที่จงรักภักดีต่อเล่าเจี้ยงจึงไม่ยอมอยู่ด้วยเล่าปี่ เล่าปี่สั่งประหารเตียวหยิม และสรรเสริญคุณงามความดีของเตียวหยิม พร้อมจัดงานศพให้เป็นอย่างดี รูปเตียวหยิมจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ต.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเตียวหยิม · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหุย

ตียวหุย (เสียชีวิต ค.ศ. 221) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จางเฟย์ มีชื่อรองว่า เอ๊กเต๊ก หรือ อี้เต๋อ เป็นแม่ทัพในวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก เป็นบุคคลคนหนึ่งที่อยู่ในสังกัดห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊กเป็นคนที่ 2.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเตียวหุย · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหงี

ตียวหงี เป็นนายทหารของจ๊กก๊กในยุคสามก๊กในประวัติศาสตร์จีน เป็นบุคคลสำคัญในปราบปรามอนารยชนซึ่งกบฏต่อจ๊กก๊ก ถูกสังหารเมื่อครั้ง เกียงอุย นำทัพจ๊กตีทัพวุยก๊ก ขณะที่พยายามขัดขวางข้าศึกไม่ให้ขับไล่ตามเกียงอ.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเตียวหงี · ดูเพิ่มเติม »

เตียวคับ

ตียวคับ ยอดขุนพลแห่งวุยก๊ก ก่อนหน้าจะมาอยู่กับโจโฉ เคยเป็นทหารเอกของอ้วนเสี้ยว แต่ว่าขุนนางของอ้วนเสี้ยวแย่งความดีความชอบกัน จึงทำให้เตียวคับหนีไปสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ทำสงครามมีความดีความชอบมากมาย ตอนที่โจโฉเรืองอำนาจ เตียวคับเคยรบกับเตียวหุยแม้ทัพของเตียวคับจะพ่ายแพ้ แต่ในการสู้ตัวต่อตัวกับเตียวหุยกลับสูสี สมัยพระเจ้าโจยอย ตอนขงเบ้งยกทัพบุกกีสาน เตียวคับหลงกลขงเบ้งโดนล้อมแต่ก็สามารถตีฝ่าม้าต้าย กับ อุยเอี๋ยน หนีกลับค่ายไปได้ แม้เตียวคับจะมีฝีมือกล้าแข็งแต่ก็ต้องมาตายด้วยกลของขงเบ้งโดนเกาทัณฑ์รุมยิงในช่องเขาเสียชีวิตกลางสนามรบ ในข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บุคคลที่ยึดด่านเกเต๋งที่ม้าเจ็กคุมอยู่นั้น จนทำให้ขงเบ้งต้องแก้สถานการณ์ด้วยการขึ้นไปดีดพิณบนกำแพงเมือง มิใช่สุมาอี้ หากแต่เป็นเตียวคั.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเตียวคับ · ดูเพิ่มเติม »

เตงงาย

ตงงาย (Deng Ai) เป็นแม่ทัพคนสำคัญของฝ่ายวุยก๊ก ในยุคสามก๊กตอนปลาย มีชื่อรองว่าซื่อไจ่ เป็นชาวตำบลจี๋หยาง มณฑลเหอหนาน เป็นคนฉลาด ไหวพริบดี ชำนาญพิชัยสงคราม สุมาอี้เห็นปัญญาดีจึงเอาตัวมาส่งเสริม เมื่อเกียงอุย ขุนพลจ๊กก๊ก ลูกศิษย์ขงเบ้ง ยกทัพมาตีวุยก๊ก เตงงายก็สามารถยันทัพเกียงอุยไว้ได้ทุกครั้ง ในกาลนั้น พระเจ้าเล่าเสี้ยนปกครองจ๊กก๊ก ทรงลุ่มหลงสุรานารี ทำให้บ้านเมืองแหลกเหลว สุมาเจียวจึงให้เตงงายและจงโฮยยกทัพเข้าตีจ๊กก๊ก เตงงายเดินทัพลัดเลาะมาทางด่านอิมเป๋งและสามารถยึดเสฉวนได้ในที่สุด เตงงายถือว่าเป็นผู้พิชิตจ๊กก๊ก มีความดีความชอบใหญ่หลวง แต่สุมาเจียวกลับระแวงเตงงาย จึงให้จงโฮยกับอุยก๋วนปราบเตงงายและจับตัวส่งไปเมืองหลวง ระหว่างทางก็ให้สังหารเตงงายกับเตงต๋งผู้บุตรเสี.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเตงงาย · ดูเพิ่มเติม »

เฉิงตู

ฉิงตู (Chengdu) เป็นเมืองเอกของมณฑลเสฉวน ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำหมินใจกลางมณฑล ประชากรเมืองเฉิงตูมีราว 10 ล้านคน จัดเป็นอันดับ 3 ของประเทศจีน ในปัจจุบันเป็นทั้งศูนย์กลางด้านการเมือง การทหาร และด้านการศึกษาของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ คำว่าเฉิงตูมีความหมายว่า ค่อย ๆ กลายเป็นเมือง เนื่องจากย้อนไปเมื่อราว 2,000 ปีที่แล้ว ในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้มีการจัดการชลประทานขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดเป็นประจำทุกปี เมื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ ชาวนาชาวไร่เพาะปลูกได้ดี ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น คนจึงเริ่มอพยพมาที่เมืองนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้ชื่อว่าเฉิงตู ไฟล์:Jingjiang.JPEG|แม่น้ำจินเจียงและสะพาน Anshun ไฟล์:Chunxilu.jpeg|ถนนถนนชุนซี ไฟล์:Chengdu-calles-w03.jpg|การจราจรในเฉิงตู หมวดหมู่:เมืองในประเทศจีน หมวดหมู่:มณฑลเสฉวน หมวดหมู่:เมืองเอกของมณฑลในจีน.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและเฉิงตู · ดูเพิ่มเติม »

19 สิงหาคม

วันที่ 19 สิงหาคม เป็นวันที่ 231 ของปี (วันที่ 232 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 134 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและ19 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 สิงหาคม

วันที่ 23 สิงหาคม เป็นวันที่ 235 ของปี (วันที่ 236 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 130 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จูกัดเหลียงและ23 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Zhuge Liangจูเก๋อขงหมิงจูเก๋อเลี่ยงขงเบ้ง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »