โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จุลมงกุฎ

ดัชนี จุลมงกุฎ

ลมงกุฎของเอิร์ลแห่งสหราชอาณาจักร จุลมงกุฎ (Coronet) คือมงกุฎสำหรับผู้มีตำแหน่งรองจากพระมหากษัตริย์ที่มีเครื่องตกแต่งบนวงแหวนโลหะ จุลมงกุฎต่างจากมงกุฎตรงที่ส่วนใหญ่จะไม่มีโค้งเหนือมงกุฎเช่นที่เห็นในมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด คำว่า “Coronet” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า “Coronete” ที่มาจาก “Co(u)ronne” (Crown) จากคำว่า “Corona” ในภาษาละตินที่แปลว่าพวงหรีด จุลมงกุฎมิได้หมายความว่าเป็นมงกุฎขนาดเล็กเช่นมงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิคตอเรียซึ่งเป็นมงกุฎขนาดจิ๋ว แต่คำว่า “จุลมงกุฎ” เป็นมงกุฎที่แสดงตำแหน่งของผู้เป็นเจ้าของว่ารองจากพระมหากษัตริย์ ตามธรรมเนียมแล้วเช่นในภาษาเยอรมันของคำว่า “Adelskrone” (มงกุฎของขุนนาง) ใช้สำหรับขุนนางและเจ้าชายหรือเจ้าหญิงในตราอาร์ม แทนที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ที่จะใช้คำว่า “มงกุฎ” (Crown) ซึ่งเป็นคำที่ตามปกติจะใช้กับพระมหากษัตริย์ นอกจากจะเป็นมงกุฎเล็กแล้วก็ยังบอกฐานะหรือตำแหน่งของผู้สวมด้วย ฉะนั้นในภาษาเยอรมันจึงมีคำว่า “Rangkrone” (มงกุฎประจำตำแหน่ง) การเรียก “มงกุฎ” หรือ “จุลมงกุฎ” เป็นการบ่งฐานะอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปบางครั้งคำว่า “มงกุฎ” ก็จะใช้เรียกรวมๆ ระหว่างทั้ง “มงกุฎ” หรือ “จุลมงกุฎ” ในสหราชอาณาจักรขุนนางสืบตระกูลจะสวมจุลมงกุฎในโอกาสวันที่มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งเป็นโอกาสเดียวเท่านั้นขุนนางจะสวมมงกุฎได้.

6 ความสัมพันธ์: พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรพระเกี้ยวมงกุฎมงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรียมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดตราอาร์ม

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์สถานที่ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีราชาภิเษกพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร เป็นพระราชพิธีซึ่งพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ตลอดจนรัฐในเครือจักรภพ รวมทั้งคู่อภิเษกสมรสของพระองค์ จะทรงประกอบเพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดเหนือประเทศเหล่านั้น พระราชพิธีราชาภิเษกนี้มีจัดขึ้นในทุกประเทศที่ปกครองโดยมีระบบกษัตริย์เป็นประมุข แม้แต่พระสันตะปาปาแห่งนครรัฐวาติกันก็ทรงประกอบพิธีนี้เช่นกัน พระราชพิธีนี้โดยมากมักจะจัดขึ้นหลังจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนเสด็จสวรรคตไปแล้วพอสมควร เพื่อที่จะได้มีเวลาพอสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพสำหรับกษัตริย์พระองค์ก่อน และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับกษัตริย์พระองค์ใหม่ด้วย ดังเช่นสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 แต่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496, พระราชพิธีนี้มีอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นประธาน ในฐานะศาสนาจารย์อาวุโสสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษ พระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีของทุกประเทศจะเข้าร่วมในพระราชพิธีนี้ รวมทั้งอาจมีแขกของรัฐบาลอีกเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: จุลมงกุฎและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

พระเกี้ยว

ระราชลัญจกรพระจุลมงกุฎ ประจำรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงสวมพระเกี้ยวยอดในพระราชพิธีโสกันต์ พระเกี้ยวจำลอง ณ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ "มงกุฎ" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า "พระจอมเกล้าน้อย" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระอง.

ใหม่!!: จุลมงกุฎและพระเกี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎ

มงกุฎของพระเจ้าคริสเตียนที่ 4 แห่งเดนมาร์กปัจจุบันตั้งอยู่ที่ปราสาทโรเซ็นบอร์กในกรุงโคเปนเฮเกน '''มงกุฎ'''ของจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีที่ทรงสวมในวันราชาภิเษกของพระสวามี มงกุฎ (crown; สะกดด้วยตัว ฎ ชฎา) คือเครื่องสวมศีรษะที่เป็นสัญลักษณ์ที่สวมโดยพระมหากษัตริย์ หรือผู้นำทางศาสนาที่เป็นเครื่องหมายของความมีอำนาจทางการเมือง, ความมีสิทธิ, ความเป็นอมตะ, ความชอบธรรมในการเป็นกษัตริย์, ชัยชนะ, การฟื้นฟู, เกียรติยศ และความรุ่งโรจน์ของผู้สวม ทางด้านศิลปะมงกุฎอาจจะแสดงในภาพที่มีเทวดาประทานมงกุฎให้แก่มนุษย์ นอกจากมงกุฎที่สร้างกันตามปกติแล้ว อาจจะทำจากดอกไม้, ดาว, ใบไม้, หรือหนาม แต่มงกุฎประจำตำแหน่งแล้วส่วนใหญ่จะทำจากโลหะและอัญมณี.

ใหม่!!: จุลมงกุฎและมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรีย

มงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Small diamond crown of Queen Victoria) เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร เป็นมงกุฎองค์เล็ก (แต่ไม่ถือว่าเป็นจุลมงกุฎเพราะเป็นมงกุฏของกษัตรีย์) “มงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรีย” เป็นมงกุฏที่สร้างขึ้นตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ในปีค.ศ. 1870 และเป็นมงกุฎที่มีความสำคัญต่อพระองค์มากที่สุด เมื่อเสด็จสวรรคตก็มิใช่มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดหรือมงกุฎอิมพีเรียลสเตท ที่เป็นมงกุฏที่ได้วางบนหีบพระบรมศพแต่เป็น “มงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิคตอเรีย” ของพระองค์เอง.

ใหม่!!: จุลมงกุฎและมงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด (St.) เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและเป็นกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง และเป็นมงกุฎที่ใช้เป็นมงกุฎราชาภิเษก (Coronation crown) อย่างเป็นทางการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของสหราชอาณาจักร มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดมีลักษณะคล้ายกับมงกุฎองค์เดิม ซึ่งสร้างในปี..

ใหม่!!: จุลมงกุฎและมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ใหม่!!: จุลมงกุฎและตราอาร์ม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Coronet

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »