เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จิตวิทยาเกสทัลท์และฝัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จิตวิทยาเกสทัลท์และฝัน

จิตวิทยาเกสทัลท์ vs. ฝัน

ตวิทยาเกสตัลต์ (gestalt psychology หรือ gestaltism, Gestalt – แก่นหรือรูปทรงแห่งรูปแบบสมบูรณ์ของสิ่ง ๆ หนึ่ง") เป็นทฤษฎีจิตใจและสมองของสำนักจิตวิทยาเชิงทดลองกรุงเบอร์ลิน หลักการเชิงปฏิบัติการของจิตวิทยาเกสตัลต์ คือ สมองเป็นแบบองค์รวม ขนานและเป็นเชิงอุปมาน (analog) โดยมีแนวโน้มจัดระเบียบตนเอง หลักการนี้มีว่า ตามนุษย์มองวัตถุทั้งหมดก่อนค่อยรับรู้ส่วนย่อย เป็นการแนะนัยว่า องค์รวมนั้นโดดเด่นกว่าผลรวมของส่วนประกอบย่อย จิตวิทยาเกสตัลต์พยายามทำความเข้าใจกฎของความสามารถของมนุษย์ที่จะได้รับและธำรงความรับรู้ที่มั่นคงในโลกอันวุ่นวายนี้ นักจิตวิทยาเกสตัลต์กำหนดว่า การรับรู้เป็นผลของอันตรกิริยาซับซ้อนระหว่างสิ่งเร้าทั้งหลาย นัดจิตวิทยาเกสตัลต์มุ่งทำความเข้าใจการจัดระเบียบกระบวนการคิด ขณะที่นักพฤติกรรมนิยมทำความเข้าใจองค์ประกอบของกระบวนการคิด (Carlson and Heth, 2010) ปรากฏการณ์เกสตัลต์เป็นขีดความสามารถสร้างแบบของสัมผัสมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจดจำรูปทรงและแบบทั้งหมดด้วยตา แทนที่จะเป็นเพียงเส้นตรงและเส้นโค้งหลายเส้นรวมกัน ในวิชาจิตวิทยา จิตวิทยาเกสตัลต์มักค้านต่อโครงสร้างนิยม วลี "ทั้งหมดโดดเด่นกว่าผลรวมของส่วนย่อย" (The whole is greater than the sum of the parts) มักใช้เมื่ออธิบายทฤษฎีเกสตัลต์ แม้จะเป็นการแปลผิดจากวลีดั้งเดิมของคูร์ท คอฟฟ์คา ที่ว่า "ทั้งหมดเป็นคนละอย่างกับผลรวมของส่วนย่อย" (The whole is other than the sum of the parts) ทฤษฎีเกสตัลต์พิจารณาการแยกส่วนจากสถานการณ์รวมมาเป็นสิ่งที่เป็นจริง. 250px ฝัน เป็นลำดับภาพ ความคิด อารมณ์ และการรับรู้ที่เกิดขึ้นนอกเหนืออำนาจจิตใจในจิตระหว่างช่วงที่แน่นอนของการหลับ ยังไม่เข้าใจเนื้อหาและความมุ่งหมายของฝันนั้นแน่ชัด ฝันเกิดขึ้นในการหลับระยะ REM เป็นหลัก เมื่อกิจกรรมของสมองเพิ่มสูงขึ้นเสมือนว่ากำลังตื่นอยู่ การหลับระยะ REM สามารถบอกได้จากการกลอกไปมาของลูกตาขณะหลับ ทั้งนี้ ฝันสามารถเกิดได้ในการหลับขั้นอื่น แต่ฝันเหล่านั้นมีแนวโน้มสมจริงหรือผู้ฝันจำได้น้อยกว่ามาก ฝันกินระยะเวลาตั้งแต่ไม่กี่วินาทีไปจนถึงยี่สิบนาที บุคคลมักจำฝันได้มากกว่าเมื่อตื่นขึ้นหากฝันในระยะ REM โดยเฉลี่ย บุคคลมีฝัน 3 ถึง 5 ฝันต่อคืน ฝันมีแนวโน้มนานขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ระหว่างการหลับ 8 ชั่วโมง บุคคลจะใช้เวลากับการฝันสองชั่วโมง มีผู้มองว่า ฝันเชื่อมโยงกับจิตไร้สำนึก โดยมีตั้งแต่ปกติและสามัญไปจนถึงเหนือจริงหรือแปลกประหลาดเกิน ฝันสามารถมีได้หลายอารมณ์ เช่น กลัว ตื่นเต้น สนุกสนาน เศร้าโศก ผจญภัยหรือเกี่ยวกับเพศ เหตุการณ์ในฝันโดยทั่วไปอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ฝัน ยกเว้น lucid dream ที่ผู้ฝันรู้สึกตัว ฝันบางครั้งได้สร้างความคิดริเริ่มแก่บุคคลหรือให้ความรู้สึกถึงแรงบันดาลใ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จิตวิทยาเกสทัลท์และฝัน

จิตวิทยาเกสทัลท์และฝัน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จิตวิทยาเกสทัลท์และฝัน

จิตวิทยาเกสทัลท์ มี 1 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฝัน มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (1 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จิตวิทยาเกสทัลท์และฝัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: