โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จามาฮิริยา

ดัชนี จามาฮิริยา

มาฮิริยา (جماهيرية; Jamahiriya) เป็นคำในภาษาอารบิกซึ่งมีความหมายโดยทั่วไปว่า "รัฐของปวงชน" คำดังกล่าวเป็นคำสร้างใหม่ ประดิษฐ์ขึ้นโดยมูอัมมาร์ กัดดาฟี ในเดอะกรีนบุ๊ก ซึ่งมีเจตนาที่จะใช้เป็นคำทั่วไปซึ่งสามารถใช้คำว่า "สาธารณรัฐประชาชน" แทนได้ และอธิบายถึงรูปแบบความเป็นรัฐของลิเบีย ในปรัชญาการเมืองอย่างเป็นทางการของลิเบีย ระบบนี้ถือว่าแตกต่างจากประเทศอื่นในโลก ถึงแม้ว่าจะเป็นลักษณะที่เป็นจริงของทฤษฎีสากลที่สาม ซึ่งเสนอโดยกัดดาฟีซึ่งใช้กับโลกที่สามทั้งหมดก็ตาม คำดังกล่าวใช้กับลิเบียเท่านั้นในทางปฏิบัติ ถึงแม้ว่ากัดดาฟีจะไม่ถือครองตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ ก็ตาม เขาก็ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ภราดาผู้นำและผู้ชี้ทางแห่งการปฏิวัติ" หรือ "ผู้ชี้นำการมหาปฏิวัติวันที่ 1 กันยายน แห่งมหาสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย" ในแถลงการณ์ของรัฐบาลหรือสื่อทางการ.

6 ความสัมพันธ์: ภาษาอาหรับมูอัมมาร์ กัดดาฟีรัฐชาติประชาธิปไตยโดยตรงประเทศลิเบียโลกที่สาม

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: จามาฮิริยาและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

มูอัมมาร์ กัดดาฟี

มุอัมมัร อัลก็อษษาฟี (معمر القذافي) เป็นผู้นำประเทศลิเบียโดยพฤตินัย หลังรัฐประหารในปี..

ใหม่!!: จามาฮิริยาและมูอัมมาร์ กัดดาฟี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชาติ

การทำสัตยาบันในสนธิสัญญามึนสเตอร์ นำไปสู่สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมโนทัศน์ "รัฐชาติ" รัฐชาติ (nation state) หรือเดิมเรียก รัฐประชาชาติ (national state) เป็นรูปแบบหนึ่งอันแน่นอนของหน่วยการปกครองระดับประเทศในปัจจุบัน เป็นมโนทัศน์ทางรัฐศาสตร์ที่กำหนดว่าประเทศนั้นมีองค์ประกอบสามประการ คือ มีประชากรแน่นอน มีดินแดนแน่นอน และมีรัฐบาลหรือมีอำนาจอธิปัตย์แน่นอนเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่จำแนกประเทศในอดีตออกจากประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากในอดีตนั้นมโนทัศน์เช่นนี้หามีความแน่นอนไม่ อาทิ สยามเดิมมิได้มีอาณาเขตแน่นอน ขยายออกหรือหดเข้าได้ตามอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล กับทั้งประชากรก็ไม่แน่นอน ในยามชนะสงครามมักมีการอพยพเทครัวชนชาติอื่นเข้ามาในแว่นแคว้นของตัว เป็นต้น เนื่องจากความหลากความหมายของคำ "รัฐ" เช่น รัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีระดับเป็นหน่วยการปกครองย่อย ๆ จึงมีการประดิษฐ์คำ "รัฐชาติ" ขึ้นให้หมายถึงประเทศที่เป็นหน่วยการปกครองใหญ่ดังมีองค์ประกอบข้างต้นเท่านั้น หมวดหมู่:รัฐศาสตร์ หมวดหมู่:รัฐ.

ใหม่!!: จามาฮิริยาและรัฐชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยโดยตรง

การชุมนุมตามกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า Landsgemeinde ในแคนทอนกลารุสปี พ.ศ. 2549 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) หรือ ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (pure democracy.) เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนตัดสินการริเริ่มออกกฎหมาย/นโยบายต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะโดยออกเสียงลงคะแนนหรือลงประชามติเป็นต้น ซึ่งต่างจากรัฐประชาธิปไตยปัจจุบันโดยมากอันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ริเริ่มแล้วออกเสียงตัดสินนโยบายอีกทอดหนึ่ง ในระบอบนี้ ประชาชนอาจมีอำนาจการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร ริเริ่มแล้วตัดสินการออกกฎหมายทางฝ่ายนิติบัญญัติ เลือกตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ และดำเนินการทางฝ่ายตุลาการ ประชาธิปไตยโดยตรงมีรูปแบบหลัก ๆ สองอย่างคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ.

ใหม่!!: จามาฮิริยาและประชาธิปไตยโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลิเบีย

ลิเบีย (ليبيا) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ มีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อตริโปลี ประเทศลิเบียมีพื้นที่เกือบ 1,800,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา และประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 17 เมืองหลวง กรุงตริโปลี มีชาวลิเบียอาศัยอยู่ 1.7 ล้านคน จากทั้งประเทศ 6.4 ล้านคน ตามข้อมูลเมื่อปี..

ใหม่!!: จามาฮิริยาและประเทศลิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

โลกที่สาม

คำว่า "โลกที่สาม" กำเนิดระหว่างสงครามเย็น นิยามประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ทั้งนาโตหรือกลุ่มคอมมิวนิสต์ สหรัฐ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ชาติยุโรปตะวันตกและพันธมิตรเป็นโลกที่หนึ่ง ส่วนสหภาพโซเวียต จีน คิวบาและพันธมิตรเป็นโลกที่สอง คำนี้เป็นวิธีจำแนกประเทษในโลกออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ โดยยึดการแบ่งแยกทางการเมืองและเศรษฐกิจ ปกติโลกที่สามถูกมองว่ารวมหลายประเทศอดีตอาณานิคมในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา โอเชียเนียและเอเชีย บางครั้งถือเอาสมนัยกับประเทศในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในทฤษฎีพึ่งพาของนักคิดอย่างราอูล พรีบิช (Raúl Prebisch), วัลเทอร์ รอดนีย์ (Walter Rodney), ทีโอโตนีโอ ดอส ซานโตส (Theotonio dos Santos) และอังเดร กุนเดอร์ แฟรงค์ โลกที่สามเชื่อมกับการแบ่งเศรษฐกิจเป็นประเทศ "ขอบนอก" ในระบบโลกที่มีประเทศ "แกน" ครอบงำ เนื่องจากประวัติศาสตร์ความหมายและบริบทที่วิวัฒนาอย่างซับซ้อน จึงไม่มีบทนิยามของ "โลกที่สาม" อย่างชัดเจนหรือเป็นที่ยอมรับ บางประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์ เช่น คิวบา ถือว่าเป็น "โลกที่สาม" ่บ่อยครั้ง เพราะประเทศโลกที่สามยากจนทางเศรษฐกิจ ไม่เป็นอุตสาหกรรม จึงเป็นคำเหมาเรียกประเทศยากจนว่า "ประเทศโลกที่สาม" กระนั้น คำว่า "โลกที่สาม" ยังมักใช้รวมประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างบราซิล อินเดียและจีนซึ่งปัจจุบันเรียกเป็นส่วนหนึ่งของ BRIC ในอดีต ประเทศยุโรปบางประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและประเทศเหล่านี้ส่วนน้อยที่ร่ำรวยมาก ได้แก่ ไอร์แลนด์ ออสเตรีย สวีเดน ฟินแลนด์และสวิสเซอร์แลนด์ ในช่วงทศวรรษหลังนับแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการสิ้นสุดของสงครามเย็น มีการใช้คำว่า "โลกที่สาม" แทนประเทศด้อยพัฒนา โกลบอลเซาท์ และประเทศกำลังพัฒนา แต่มโนทัศน์ดังกล่าวล้าสมัยแล้วในปีล่าสุดเพราะไม่เป็นตัวแทนของสถานภาพการเมืองหรือเศรษฐกิจของโลกอีกต่อไป หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเมือง หมวดหมู่:การจำแนกหมวดหมู่ประเทศ หมวดหมู่:การเมืองแบ่งตามภูมิภาค หมวดหมู่:อภิธานศัพท์สงครามเย็น.

ใหม่!!: จามาฮิริยาและโลกที่สาม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Jamahiriya

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »