โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จังหวัดเสียมราฐและนครธม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จังหวัดเสียมราฐและนครธม

จังหวัดเสียมราฐ vs. นครธม

ียมราฐ หรือ เสียมเรียบ (សៀមរាប) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ริมฝั่งทะเลสาบเขมร ห่างจากกรุงพนมเปญ 314 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 5 ชั่วโมง จังหวัดเสียมราฐเป็นที่ตั้งของนครวัดและกลุ่มปราสาทหินหลายแห่ง อาทิ หมู่ปราสาทหินจากอาณาจักรขอม ได้แก่ ปราสาทนครวัด, กลุ่มปราสาทนครธม, (ตาพรหม และบายน, บันทายศรี, บากอง, โลเลย, พนมบาเค็ง, พนมกุเลน และบารายตะวันตก เมืองหลักของจังหวัดนี้ (เทียบได้กับอำเภอเมืองในจังหวัดของไทย) ก็มีชื่อว่า เสียมราฐ เช่นกัน โดยเมืองเสียมราฐนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของประเทศกัมพูชา แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมนครวัดประมาณ 1,600,000 คน. อวโลกิเตศวร ที่ประตูด้านใต้ ประตูทางเข้านครธมด้านใต้ นครธม (អង្គរធំ) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ อีก 3 ด้าน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จังหวัดเสียมราฐและนครธม

จังหวัดเสียมราฐและนครธม มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จักรวรรดิขแมร์ปราสาทบายนนครวัด

จักรวรรดิขแมร์

ักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัย และแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13.

จักรวรรดิขแมร์และจังหวัดเสียมราฐ · จักรวรรดิขแมร์และนครธม · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบายน

หอสูง รูปหน้าบริเวณศูนย์กลางของปราสาทหินบายน หอใจกลางปราสาทบายนที่มีจำนวนหน้ามากกว่าบริเวณอื่น รูปสลักนูนต่ำหินทราย นางอัปสรร่ายรำ ปราสาทบายน (ប្រាសាទបាយ័ន) เป็นปราสาทหินของอาณาจักรเขมร อยู่ในบริเวณของใจกลางนครธม สร้างขึ้นเป็นวัดประจำสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อสร้างในราวปี พ.ศ. 1724-พ.ศ. 1763 หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7ทรงได้ชัยชนะจากการขับไล่กองทัพอาณาจักรจามปา นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้าหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 37 หอ ลักษณะโดยทั่วไปจะมี 4 หน้า 4 ทิศ แต่บางหออาจมี 3 หรือ 2 แต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีหลายหน้า ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะพยายามนับว่ามีกี่หน้า ลักษณทางสถาปัตยกรรมของบายนก็เช่นเดียวกับเรื่องความเชื่อ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาในหลาย ๆ สมัย กษัตริย์ในยุคหลัง ๆ พบว่าเป็นการง่ายกว่าที่จะปรับปรุงวัดแห่งนี้ แทนที่จะรื้อสร้างใหม่เช่นที่ทำกัน และใช้เป็นวัดประจำสมัยต่อเนื่องกันม.

จังหวัดเสียมราฐและปราสาทบายน · นครธมและปราสาทบายน · ดูเพิ่มเติม »

นครวัด

นครวัด (អង្គរវត្ត) เป็นหมู่ปราสาทในประเทศกัมพูชาและเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่รวมกว่า 162.6 เฮกเตอร์ (1.6 ล้านตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 402 เอเคอร์) แรกเริ่มนั้นสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 นครวัดสร้างขึ้นในช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 แห่งเมืองยโสธรปุระ (ในปัจจุบันคือเมืองพระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเทวลัยประจำรัฐและเป็นสุสานฝังพระศพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือในลัทธิไศวนิกายของกษัตริย์องค์ก่อนๆ เหตุเพราะนครวัดนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุแทนที่จะเป็นพระศิวะ และเนื่องจากเป็นปราสาทที่ได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดในบริเวณที่ตั้งโดยรอบ นครวัดจึงเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยนครวัดถือจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา มีการปรากฏอยู่บนธงชาติ และได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยว นครวัดได้รวมเอาการวางผังพื้นฐานในสถาปัตยกรรมเขมรสองแบบมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ได้แก่ ผังการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (ปราสาทบนฐานชั้น) และการสร้างปราสาทแบบมีระเบียงคดที่มีภาพสลัก การสร้างปราสาทรูปแบบนี้ได้สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สถิตของเทพเทวัญในปกรณัมของศาสนาฮินดู ด้านนอกมีคูน้ำและกำแพงล้อม ความยาวรวมกว่า 3.6 กิโลเมตร โดยตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดสี่เหลี่ยมที่มีภาพสลักทั้งหมดสามชั้น แต่ละชั้นตั้งอยู่สูงกว่าชั้นล่าง ตรงกลางของปราสาทคือพระปรางค์ที่มีทั้งหมด 5 ยอด นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทในพระนครปราสาทอื่นๆ เนื่องจากมีการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนักวิชาการต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไปในเรื่องนัยยะของการสร้างในลักษณะนี้ นครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม อาทิ ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก.

จังหวัดเสียมราฐและนครวัด · นครธมและนครวัด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จังหวัดเสียมราฐและนครธม

จังหวัดเสียมราฐ มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ นครธม มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 9.38% = 3 / (26 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จังหวัดเสียมราฐและนครธม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »