โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จังหวัดตีโมกซูรีเกา

ดัชนี จังหวัดตีโมกซูรีเกา

ังหวัดตีโมกซูรีเกา (ซูรีเกา: Probinsya nan Surigao del Sur; เซบัวโน: Habagatang Surigao) เป็นจังหวัดในเขตคารากา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักชื่อว่า ตันดัก จังหวัดนี้ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของเกาะมินดาเนา ติดกับทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก มีร่องลึกฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นหนึ่งในร่องลึกที่ลึกที่สุดในโลก ส่วนทางทิศตะวันตกมีแนวเทือกเขาดีวาตา ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นออกจากจังหวัดอื่น ๆ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตกตีนุยอัน หรือ "น้ำตกไนแอการาน้อยแห่งฟิลิปปินส์" เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สามชั้น สูง 55 เมตร กว้าง 95 เมตร.

18 ความสัมพันธ์: บารังไกย์ภาษาฟิลิปีโนภาษากามาโยภาษาอังกฤษภาษาซูรีเกาภาษาเซบัวโนมินดาเนาร่องลึกฟิลิปปินส์ร่องลึกก้นสมุทรจังหวัดฮีลากังอากูซันจังหวัดฮีลากังซูรีเกาจังหวัดตีโมกอากูซันจังหวัดซีลางังดาเบาทะเลฟิลิปปินซังกูเนียงปันลาลาวีกันประเทศฟิลิปปินส์น้ำตกไนแอการาเขตคารากา

บารังไกย์

รังไกย์ เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นของรัฐบาลที่เล็กที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นคำที่ชาวฟิลิปปินส์พื้นเมืองสำหรับหมู่บ้านตำบลหรือวอร์ด ในการใช้งานเป็นภาษาพูดคำที่มักจะหมายถึงเขตเมืองชั้นในย่านชานเมืองหรือย่านชานเมือง คำว่าบารังไกย์คำมาจาก Balangay ชนิดของเรือที่ใช้โดยกลุ่มของประชาชนออสโตรนีเชียน เมื่อพวกเขาอพยพไปอยู่ในฟิลิปปินส์ ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองที่มีองค์ประกอบของเกส์และพวกเขาอาจจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า Purok (ไทย:เขต) และ Sitio ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ภายในวงล้อมรังเกย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท ณ วันที่ 30 กันยายน 2012 จำนวนบารังไกย์มีจำนวน 42,028 บารังไกย์ทั่วฟิลิปปิน.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและบารังไกย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟิลิปีโน

ษาฟิลิปปินส์ หรือ ภาษาฟิลิปีโน (Filipino) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีการใช้เป็นภาษาเขียนมากที่สุดมาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2504 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2515.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและภาษาฟิลิปีโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากามาโย

ภาษากามาโย เป็นภาษาที่มีผู้พูดไม่มากนักใน เมืองบิสลิก ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ อยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียน กลุ่มย่อยวิซายัน กามาโย.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและภาษากามาโย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซูรีเกา

ษาซูรีเกา (ฟิลิปีโนและSurigaonon) เป็นภาษาท้องถิ่นในฟิลิปปินส์ ใช้พูดในจังหวัดซูรีเกาเดลนอร์เตและบางส่วนของจังหวัดอากูซันเดลนอร์เต ใกล้เคียงกับภาษาบูตัวนอนและภาษาเตาซุก.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและภาษาซูรีเกา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเซบัวโน

ษาเซบู (Cebuano; Sebwano; เซบู: Sinugboanon) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในฟิลิปปินส์ 18 ล้านคน ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากชื่อเกาะเซบู รวมกับปัจจัยจากภาษาสเปน -ano หมายถึง ที่เกี่ยวกับเชื้อชาต.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและภาษาเซบัวโน · ดูเพิ่มเติม »

มินดาเนา

มินดาเนา (Mindanao) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 และตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศฟิลิปปินส์ มีลักษณะภูมิประเทศที่มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ชายฝั่งเว้าแหว่ง มีอ่าวขนาดใหญ่และเล็กจำนวนมาก มีเทือกเขาซึ่งมียอดเขาหลายแห่งที่มีความสูงมากกว่า 1,500 เมตร ยอดสูงสุดชื่อ อาโป สูง 2,954 เมตร มีระบบแม่น้ำหลัก 2 ระบบ คือ ระบบแม่น้ำอากูซันทางตะวันออก และระบบแม่น้ำมินดาเนาทางใต้และกลาง ผลิตผลสำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวเจ้า มะพร้าว ไม้ซุง กาแฟ ป่านอะบากา ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่เข้าไปในเกาะ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ซึ่งเดินเรือให้แก่กษัตริย์สเปนได้เดินทางมาถึงเกาะนี้ ใน..

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและมินดาเนา · ดูเพิ่มเติม »

ร่องลึกฟิลิปปินส์

ร่องลึกฟิลิปปินส์ (Philippine Trench) ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีความยาวประมาณ 1,320 กิโลเมตร กว้างโดยประมาณ 30 กิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดลึกประมาณ 10,540 เมตร หมวดหมู่:ร่องลึกบาดาล หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศฟิลิปปินส์ หมวดหมู่:มหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและร่องลึกฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ร่องลึกก้นสมุทร

ปลือกโลกใต้มหาสมุทรจะเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทรขณะที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจะถูกมุดกลับเข้าไปในชั้นฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร ร่องลึกก้นสมุทร (oceanic trench) เป็นร่องหลุมลึกของพื้นผิวท้องทะเลที่มีลักษณะภูมิประเทศยาว แคบ และโค้ง และถือว่าเป็นส่วนของมหาสมุทรที่ลึกที่สุด ร่องลึกก้นสมุทรถือเป็นหนึ่งในขอบเขตทางธรรมชาติที่สำคัญที่สุดบนพื้นผิวในส่วนที่เป็นของแข็งของโลกระหว่างแผ่นเปลือกโลกสองแผ่น ขอบเขตระหว่างแผ่นธรณีภาคชั้นนอกมี 3 ประเภท คือ ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว (divergent boundary) (เป็นขอบเขตที่เกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร) ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (convergent boundary) (เป็นขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจมลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่งกลับลงไปสู่ชั้นเนื้อโลก) และขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกเคลื่อนที่ผ่านซึ่งกันและกัน (transform boundary) ร่องลึกก้นสมุทรเป็นลักษณะของขอบเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่โดดเด่นชัดเจน โดยเป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เข้าหากันด้วยอัตราการลู่เข้าหากันที่แปรผันจากปีละไม่กี่มิลลิเมตรจนไปถึงสิบเซนติเมตรหรือมากกว่า ร่องลึกก้นสมุทรหนึ่งๆเป็นตำแหน่งที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกหนึ่งมีการโค้งมุดลงไปใต้แผ่นธรณีภาคชั้นนอกอีกแผ่นหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วร่องลึกก้นสมุทรจะขนานไปกับแนวหมู่เกาะรูปโค้ง (volcanic arc) และอยู่ห่างจากแนวหมู่เกาะรูปโค้งออกไปประมาณ 200 กิโลเมตร โดยทั่วไปร่องลึกก้นสมุทรจะมีความลึกประมาณ 3 ถึง 4 กิโลเมตรลงไปจากพื้นมหาสมุทรรอบข้าง ส่วนที่ลึกที่สุดอยู่ที่ร่องลึกชาลเลนเจอร์ของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียน่าซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรใต้ระดับทะเล แผ่นธรณีภาคชั้นนอกใต้มหาสมุทรจะเคลื่อนที่หายเข้าไปในร่องลึกก้นสมุทรด้วยอัตราประมาณ 10 ตารางเมตรต่อวินาที.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและร่องลึกก้นสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฮีลากังอากูซัน

ังหวัดฮีลากังอากูซัน (บูตูอาโนน: Probinsya hong Agusan del Norte; เซบัวโน: Amihanang Agusan) เป็นจังหวัดในเขตคารากา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักชื่อว่าคาบัดบารัน อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฮีลากังซูรีเกาทางทิศเหนือ ติดกับจังหวัดตีโมกซูรีเกาทางทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดตีโมกอากูซันทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับจังหวัดคันลูรังมีซามิสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และติดกับอ่าวบูตูอันทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตอนกลางของจังหวัดเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำอากูซัน ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวอันดับที่สามของประเทศ ปากแม่น้ำตั้งอยู่ที่อ่าวบูตูอัน ภูมิประเทศรอบ ๆ แม่น้ำเป็นที่ราบ ส่วนภูเขาปรากฏในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตก จังหวัดมีทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ ชื่อว่า ทะเลสาบมาอีนิต ตั้งอยู่ทางตอนเหนือใกล้กับเขตจังหวัดฮีลากังซูรีเก.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและจังหวัดฮีลากังอากูซัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฮีลากังซูรีเกา

ังหวัดฮีลากังซูรีเกา (ซูริเกานอน: Probinsya nan Surigao del Norte; เซบัวโน: Amihanang Surigao; สเปน: Provincia de Surigao del Norte) เป็นจังหวัดในเขตคารากา เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักชื่อว่าซูรีเกาซิตี ตัวจังหวัดประกอบด้วยเกาะซีอาร์เกา, เกาะบูคัสแกรนเดในทะเลฟิลิปปิน และพื้นที่ปลายสุดทางตะวันออกเฉียงเหนือของมินดาเนา มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฮีลากังอากูซันและจังหวัดตีโมกซูรีเกาทางทิศใต้ จังหวัดฮีลากังซูรีเกาเป็นจังหวัดที่อยู่เกือบเหนือสุดของมินดาเนา และเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญระหว่างวิซายัสและมินดาเนา โดยจะมีเรือข้ามฟากให้บริการผ่านทางช่องแคบซูรีเก.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและจังหวัดฮีลากังซูรีเกา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตีโมกอากูซัน

ังหวัดตีโมกอากูซัน (บูตัวนอน: Probinsya hong Agusan del Sur; เซบัวโน: Habagatang Agusan) เป็นจังหวัดในเขตคารากา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักชื่อว่าโปรสเปอรีดัด มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฮีลากังอากูซัน, ตีโมกซูรีเกา, ซีลางังดาเบา, ลัมบักนางโคมโปสเตลา, ฮีลากังดาเบา, บูคิดโนน และซีลางังมีซามิส ชื่อ "อากูซัน" เพี้ยนมาจากสำเนียงภาษาถิ่นที่ออกเสียงว่า อากาซัน แปลว่า "ดินแดนที่น้ำไหล" ซึ่งสื่อถึงแม่น้ำอากูซัน มีความยาว 250 กิโลเมตร และไหลลงสู่อ่าวบูตูอัน เป็นแม่น้ำที่ใหญ่เป็นอันดับที่สามของประเทศ และเป็นเส้นทางเดินเรือของชาวสเปนไปยังพื้นที่ตอนในของมินดาเนาตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและจังหวัดตีโมกอากูซัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดซีลางังดาเบา

ังหวัดซีลางังดาเบา (เซบัวโน: Sidlakang Dabaw) เป็นจังหวัดในเขตดาเบา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองศูนย์กลางคือมาตี เป็นจังหวัดที่อยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศ โดยจุดตะวันออกสุดคือแหลมปูซัน ตั้งอยู่ที่เทศบาลคารากา แหลมนี้ติดกับทะเลฟิลิปปินในมหาสมุทรแปซิฟิก จังหวัดซีลางังดาเบามีชื่อเสียงสำหรับแหล่งเพาะปลูกมะพร้าวรายใหญ่ของประเทศ จนได้รับสมญาว่า เมืองแห่งมะพร้าวของฟิลิปปิน.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและจังหวัดซีลางังดาเบา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลฟิลิปปิน

ทะเลฟิลิปปิน ทะเลฟิลิปปิน (Dagat Pilipinas; Philippine Sea) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ มีร่องลึกได้แก่ ร่องลึกฟิลิปปินเทรนซ์และมาเรียนาเทรนซ์ ที่เป็นจุดลึกที่สุดในโลก.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและทะเลฟิลิปปิน · ดูเพิ่มเติม »

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน (Sangguniang Panlalawigan; Provincial Council) หรือ โปรวินเชียลบอร์ด เป็นคำภาษาฟิลิปีโนที่ใช้เรียกแทนสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์ อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัตินี้ ถูกกำหนดโดย ประมวลรัฐบาลท้องถิ่น ตั้งแต..

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและซังกูเนียงปันลาลาวีกัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตกไนแอการา

น้ำตกไนแอการา (Niagara Falls; les Chutes du Niagara.) เป็นน้ำตกขนาดใหญ่หลายแห่งประกอบกัน ตั้งอยู่บนแม่น้ำไนแอการาทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ บนพรมแดนระหว่างประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกา น้ำตกไนแอการาประกอบด้วยน้ำตกสามแห่งที่แยกออกจากกัน คือ "น้ำตกเกือกม้า" (Horseshoe Falls บางครั้งก็เรียก "น้ำตกแคนาดา") สูง 57 เมตร น้ำตกอเมริกา (American Falls) สูงระหว่าง 21–34 เมตร และน้ำตกขนาดเล็กกว่าที่อยู่ติดกัน คือน้ำตก Bridal Veil แม้น้ำตกไนแอการาจะไม่สูงอย่างโดดเด่น แต่ก็กว้างมาก น้ำตกไนแองการามีจุดชมวิวที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของทั้ง 2 ประเทศมานานกว่าศตวรรษ แม่น้ำไนแอการาไหลมาจากทะเลสาบอีรีไหลผ่านน้ำตกไนแอการาลงสู่ทะเลสาบออนแทรีโอ เมืองสองฝั่งของน้ำตกในสองประเทศนั้นเป็นเมืองแฝด โดยในฝั่งแคนาดาคือ ไนแอการาฟอลส์ ออนแทรีโอ ส่วนในฝั่งสหรัฐอเมริกาคือ ไนแอการาฟอลส์ รัฐนิวยอร์ก.

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและน้ำตกไนแอการา · ดูเพิ่มเติม »

เขตคารากา

ตคารากา หรือ เขตบริหารคารากา หรือ เขตที่ 13 เป็นเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะมินดาเนา เขตนี้ถูกก่อตั้งโดย กฎหมายสาธารณรัฐที่ 7901 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพัน..

ใหม่!!: จังหวัดตีโมกซูรีเกาและเขตคารากา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Surigao del Sur

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »