โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรราศีและปฏิทินสุริยคติไทย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรราศีและปฏิทินสุริยคติไทย

จักรราศี vs. ปฏิทินสุริยคติไทย

รื่องหมายจักรราศีของโหราศาสตร์สากลราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 แกะจากแม่พิมพ์ไม้ ภาพสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในจอร์เจียเป็นรูปจักรราศีที่มีพระเยซูอยู่ตรงกลาง เครื่องหมายจักรราศีที่ใช้ในโหราศาสตร์สากลในปัจจุบัน จักรราศี (zodiac มาจากภาษากรีก ζῳδιακός หมายถึง "สัตว์") เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถี. ปฏิทินสุริยคติไทย คือปฏิทินอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นระบบปฏิทินสุริยคติอ้างวันเดือนปีตรงตามปฏิทินเกรกอเรียนที่มีจำนวนวัน 365 หรือ 366 วันในแต่ละปี โดยปรับเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติไทยเดิมเมื่อ พ.ศ. 2431 (จุลศักราช 1240) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อเดือนในภาษาไทยทั้งสิบสองในปฏิทินตั้งชื่อโดยกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ในปฏิทินไทยจะมีการแสดงปีปฏิทินสุริยคติไทยเป็นหลักแสดงในรูปแบบปีพุทธศักราช และในหลายปฏิทินมักจะมีการแสดงวันพระ วันข้างขึ้น ข้างแรม ปีจีน และคริสต์ศักราชคู่กัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรราศีและปฏิทินสุริยคติไทย

จักรราศีและปฏิทินสุริยคติไทย มี 15 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มกราคมราศีพฤษภราศีพิจิกราศีกรกฎราศีกันย์ราศีกุมภ์ราศีมกรราศีมีนราศีสิงห์ราศีธนูราศีตุลราศีเมษราศีเมถุนดวงอาทิตย์ปฏิทิน

มกราคม

มกราคม เป็นเดือนแรกของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมกราคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมกร และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมกราคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู และไปอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเลในปลายเดือน เดือนมกราคมในภาษาอังกฤษ January มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า ยานุส (Janus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งประตูทางผ่าน การเริ่มต้น และการสิ้นสุด ปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคมมีเดือนเพียง 10 เดือน (304 วัน) โดยไม่มีเดือนในช่วงฤดูหนาว ต่อมาได้มีการเพิ่มเดือน 2 เดือน คือ เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ทำให้ 1 ปีมี 12 เดือน ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมกราคมในปี..

จักรราศีและมกราคม · ปฏิทินสุริยคติไทยและมกราคม · ดูเพิ่มเติม »

ราศีพฤษภ

ราศีพฤษภ (Taurus จากtaurus แปลว่า "วัวตัวผู้") เป็นราศีที่ 2 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีเมษกับราศีเมถุน มีสัญลักษณ์เป็นวัว ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพฤษภนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 เมษายน ถึง 21 พฤษภาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม ถึง 15 มิถุนายน.

จักรราศีและราศีพฤษภ · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีพฤษภ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีพิจิก

ราศีพิจิก หรือ ราศีพฤศจิก (Scorpius, Scorpio จากscorpius, scorpiō แปลว่า "แมงป่อง") เป็นราศีที่ 8 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีตุลกับราศีธนู มีสัญลักษณ์เป็นแมงป่อง (บางตำราเป็นนกอินทรีหรืองู) ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพิจิกนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม ถึง 22 พฤศจิกายน ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม.

จักรราศีและราศีพิจิก · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีพิจิก · ดูเพิ่มเติม »

ราศีกรกฎ

ราศีกรกฎ (Cancer จากcancer แปลว่า "ปู") เป็นราศีที่ 4 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีเมถุนกับราศีสิงห์ มีสัญลักษณ์เป็นปูหรือกุ้ง ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกรกฎนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน ถึง 22 กรกฎาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม ถึง 15 สิงหาคม.

จักรราศีและราศีกรกฎ · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีกรกฎ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีกันย์

ราศีกันย์ (Virgo จากvirgō แปลว่า "หญิงพรหมจรรย์") เป็นราศีที่ 6 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีสิงห์กับราศีตุล มีสัญลักษณ์เป็นหญิงพรหมจรรย์ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกันย์นั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม ถึง 23 กันยายน ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 กันยายน ถึง 15 ตุลาคม.

จักรราศีและราศีกันย์ · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีกันย์ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีกุมภ์

ราศีกุมภ์ (Aquarius จากaquārius แปลว่า "คนขนส่งน้ำ" (อาชีพในสมัยโบราณ)) เป็นราศีที่ 11 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีมกรกับราศีมีน มีสัญลักษณ์เป็นผู้ชายแบกหม้อน้ำ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกุมภ์นั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 มกราคม ถึง 19 กุมภาพันธ์ ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 14 มีนาคม.

จักรราศีและราศีกุมภ์ · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีกุมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีมกร

ราศีมกร หรือ ราศีมังกร (Capricorn, Capricornus จากCapricornus แปลว่า "แพะมีเขา") เป็นราศีที่ 10 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีธนูกับราศีกุมภ์ มีสัญลักษณ์เป็นครึ่งแพะภูเขาครึ่งปลา ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีมกรนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม ถึง 20 มกราคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 มกราคม ถึง 14 กุมภาพัน.

จักรราศีและราศีมกร · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีมกร · ดูเพิ่มเติม »

ราศีมีน

ราศีมีน (Pisces จากpiscēs แปลว่า "ปลา" (พหูพจน์)) เป็นราศีสุดท้ายตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีกุมภ์กับราศีเมษ มีสัญลักษณ์เป็นปลา 2 ตัว ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีมีนนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ถึง 20 มีนาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึง 14 เมษายน.

จักรราศีและราศีมีน · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีมีน · ดูเพิ่มเติม »

ราศีสิงห์

ราศีสิงห์ (Leo จากleō แปลว่า "สิงโตตัวผู้") เป็นราศีที่ 5 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีกรกฎกับราศีกันย์ มีสัญลักษณ์เป็นสิงโต ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีสิงห์นั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 22 สิงหาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม ถึง 15 กันยายน.

จักรราศีและราศีสิงห์ · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีสิงห์ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีธนู

ำหรับ Sagittarius ความหมายอื่น ดูที่: กลุ่มดาวคนยิงธนู และนกเลขานุการ ราศีธนู (Sagittarius จากsagittārius แปลว่า "นักยิงธนู") เป็นราศีที่ 9 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีพิจิกกับราศีมกร มีสัญลักษณ์เป็นเซนทอร์กำลังยิงธนู ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีธนูนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน ถึง 21 ธันวาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ถึง 14 มกราคม.

จักรราศีและราศีธนู · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีธนู · ดูเพิ่มเติม »

ราศีตุล

ราศีตุล หรือ ราศีดุล (Libra จากlībra แปลว่า "คันชั่ง, ตราชู") เป็นราศีที่ 7 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีกันย์กับราศีพิจิก มีสัญลักษณ์เป็นคันชั่งหรือตราชู ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีตุลนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 24 กันยายน ถึง 23 ตุลาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 ตุลาคม ถึง 15 พฤศจิกายน.

จักรราศีและราศีตุล · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีตุล · ดูเพิ่มเติม »

ราศีเมษ

ราศีเมษ (Aries จากaries แปลว่า "แกะตัวผู้") เป็นราศีแรกตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีมีนกับราศีพฤษภ มีสัญลักษณ์เป็นแกะตัวผู้ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีเมษนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ถึง 20 เมษายน ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 เมษายน ถึง 15 พฤษภาคม.

จักรราศีและราศีเมษ · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีเมษ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีเมถุน

ราศีเมถุน หรือ ราศีมิถุน (Gemini จากgeminī แปลว่า "ฝาแฝด" (พหูพจน์)) เป็นราศีที่ 3 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีพฤษภกับราศีกรกฎ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีเมถุนนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม ถึง 21 มิถุนายน ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน ถึง 15 กรกฎาคม สัญลักษณ์ของราศีนี้มีที่มาจากพี่น้องฝาแฝดแคสเตอร์และพอลลักซ์ในเทพปกรณัมกรีกและโรมัน.

จักรราศีและราศีเมถุน · ปฏิทินสุริยคติไทยและราศีเมถุน · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

จักรราศีและดวงอาทิตย์ · ดวงอาทิตย์และปฏิทินสุริยคติไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทิน

ปฏิทินโบราณของฮินดู ปฏิทิน คือระบบที่ใช้ในการเรียกชื่อช่วงระยะเวลา เช่น วัน เป็นต้น วันจะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่วัตถุทางดาราศาสตร์ เราสามารถแสดงปฏิทินได้ในหลายรูปแบบ ส่วนมากมักเป็นกระดาษ เช่น แบบฉีก แบบแขวน แบบตั้งโต๊ะ เป็นต้น.

จักรราศีและปฏิทิน · ปฏิทินและปฏิทินสุริยคติไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรราศีและปฏิทินสุริยคติไทย

จักรราศี มี 117 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปฏิทินสุริยคติไทย มี 71 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 15, ดัชนี Jaccard คือ 7.98% = 15 / (117 + 71)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรราศีและปฏิทินสุริยคติไทย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »