โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิเอากุสตุส

ดัชนี จักรพรรดิเอากุสตุส

อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส (IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS AVGVSTVS; 23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 19 สิงหาคม ค.ศ. 14) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน..

17 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 517พ.ศ. 557การลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์มาร์กุส วิปซานิอุส อากริปปามาร์กุส อันโตนิอุสมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุสยุทธนาวีที่อักติอูงราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุสสาธารณรัฐโรมันผู้เผด็จการโรมันจักรพรรดิติแบริอุสจักรพรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันจูเลียส ซีซาร์โรมเอากุสตุสแห่งปรีมาปอร์ตาเผด็จการทหาร

พ.ศ. 517

ทธศักราช 517 ใกล้เคียงกับ 27 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและพ.ศ. 517 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 557

ทธศักราช 557 ใกล้เคียงกับ คริสต์ศักราช 14.

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและพ.ศ. 557 · ดูเพิ่มเติม »

การลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์

ภาพวาดการลอบสังหารซีซาร์ โดยฌอง-เลออง เจอโรม การลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์เป็นผลแห่งการคบคิดโดยสมาชิกวุฒิสภาโรมันหลายคน มีไกอัส แคสซัส ลอนไจนัสกับมาร์คัส จูนิอัส บรูตัสเป็นผู้นำ สมาชิกวุฒิสภาเหล่านี้ใช้มีดแทงจูเลียส ซีซาร์จนเสียชีวิต ณ ที่ติดกับโรงละครปอมปีย์ในวันไอดส์มีนาคม (15 มีนาคม) 44 ปีก่อนคริสตกาล ขณะนั้นซีซาร์เป็นผู้เผด็จการแห่งสาธารณรัฐโรมัน โดยวุฒิสภาเพิ่งประกาศให้เป็นผู้เผด็จการตลอดกาล (dictator perpetuo) การประกาศดังกล่าวทำให้สมาชิกวุฒิสภาหลายคนเกรงว่าซีซาร์ต้องการโค่นล้มวุฒิสภาแล้วเป็นทรราชแทน ทว่าผู้คบคิดไม่สามารถฟื้นฟูสาธารณรัฐโรมัน ผลของการลอบสังหารนี้นำไปสู่สงครามกลางเมืองผู้ปลดปล่อย และการกำเนิดจักรวรรดิโรมันในบั้นปลาย หมวดหมู่:สาธารณรัฐโรมัน หมวดหมู่:การลอบสังหาร หมวดหมู่:พ.ศ. 500.

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและการลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กุส วิปซานิอุส อากริปปา

มาร์กุส วิปซานิอุส อากริปปา (Marcvs Vipsanivs Agrippa; ประมาณ 23 ตุลาคมหรือพฤศจิกายน 64/63 ปีก่อน ค.ศ. – 12 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษและแม่ทัพโรมัน เขาเป็นพระสหายสนิท พระชามาดา (ลูกเขย) ผู้แทนและรัฐมนตรีกลาโหมของอ็อกตาวิอุส (จักรพรรดิเอากุสตุสในอนาคต) และเป็นพระสสุระ (พ่อตา) ในจักรพรรดิติแบริอุส เขาเป็นผู้รับผิดชอบต่อชัยชนะทางทหารส่วนใหญ่ของอ็อกตาวิอุส ที่โดดเด่นที่สุดคือ ชนะยุทธนาวีที่อักติอูงเหนือกองกำลังของมาร์ก แอนโทนี และพระนางคลีโอพัตราที่ 7 แห่งอียิปต.

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและมาร์กุส วิปซานิอุส อากริปปา · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กุส อันโตนิอุส

มาร์กุส อันโตนิอุส มาร์กี ฟีลิอุส มาร์กี แนโปส (MARCVS ANTONIVS MARCI FILIVS MARCI NEPOS, M·ANTONIVS·M·F·M·N; 14 มกราคม 83 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 1 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หรือที่เรียกทั่วไปว่า มาร์ก แอนโทนี (Mark Antony) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพของสาธารณรัฐโรมัน ในฐานะผู้บัญชาการทหารและผู้ปกครอง เขาเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญและเพื่อนผู้ภักดีของลูกพี่ลูกน้องของมารดา จูเลียส ซีซาร์ หลังการลอบสังหารซีซาร์ แอนโทนีตั้งพันธมิตรทางการเมืองอย่างเป็นทางการกับอ็อกตาวิอานุส (หรือจักรพรรดิเอากุสตุสในเวลาต่อมา) กับมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส ซึ่งนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า คณะสามผู้นำที่สอง (Second Triumvirate) คณะสามผู้นำแตกเมื่อ 33 ปีก่อน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและมาร์กุส อันโตนิอุส · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส

เหรียญที่ปรากฎรูปของแลปิดุส มาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส (Marcvs Aemilivs Lepidvs, 89 ปีก่อนคริสตกาล – 13 ปีก่อนคริสตกาล) แพทริเซียนผู้เป็นหนึ่งในคณะสามผู้นำที่สอง (Second Triumvirate) ร่วมกับ มาร์ก แอนโทนี และ ซีซาร์ ออกัสตัส ซึ่งแลปิดุสนั้นเป็นพันธมิตรที่สนิทกับจูเลียส ซีซาร์ หมวดหมู่:กงสุลสาธารณรัฐโรมัน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนาวีที่อักติอูง

ภาพวาดยุทธนาวีที่อักติอูงในยุคบาโรค ยุทธนาวีที่อักติอูง (Battle of Actium) การเผชิญหน้าครั้งสุดท้ายก่อนเกิด สงครามครั้งสุดท้ายของสาธารณรัฐโรมัน ระหว่างกองทัพของ ออคเตเวียน และกองทัพผสมของ มาร์ก แอนโทนี และ คลีโอพัตรา เมื่อวันที่ 2 กันยายน 31 ปีก่อนคริสตกาล ที่ ทะเลไอโอเนียน ใกล้เมือง อักติอูง หมวดหมู่:สาธารณรัฐโรมัน หมวดหมู่:โรมันโบราณ หมวดหมู่:31 ปีก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:พ.ศ. 531.

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและยุทธนาวีที่อักติอูง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส

ราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส (Julio-Claudian dynasty; 27 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 68) เป็นราชวงศ์แรกที่ปกครองจักรวรรดิโรมัน มีจักรพรรดิปกครองทั้งสิ้น 5 พระองค์ ปฐมจักรพรรดิคือ จักรพรรดิเอากุสตุส และจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายคือ จักรพรรดิแนโร (ค.ศ. 54–68) หมวดหมู่:ก่อตั้งในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐโรมัน

รณรัฐโรมัน (Res pvblica Romana) (อังกฤษ: Roman Republic)เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและสาธารณรัฐโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เผด็จการโรมัน

ในสาธารณรัฐโรมัน ผู้เผด็จการ คือ "แมจิสเทรตวิสามัญ" (magistratus extraordinarius) โดยมีอำนาจเด็ดขาดในการดำเนินภาระนอกเหนือจากแมจิสเทรตสามัญ (magistratus ordinarius) ตำแหน่งผู้เผด็จการเป็นการประดิษฐ์กฎหมายที่เดิมชื่อ Magister Populi (นายประชาชน) คือ นายแห่งกองทัพพลเมือง คำนี้มาจากคำว่า dicto หมายถึง สั่งการ วุฒิสภาโรมันผ่านกฤษฎีกาวุฒิสภา (senatus consultum) อนุญาตกงสุลให้เสนอชื่อผู้เผด็จการ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นเดียวของหลักมีผู้ดำรงตำแหน่งเดียวกันหลายคน (collegiality) และความรับผิดชอบ (ความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง) ตามกฎหมายโรมัน มีผู้ได้รับแต่งตั้งคนเดียว และเป็นแมจิสเทรตสูงสุด ไม่มีความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง มีลิกเตอร์ (องครักษ์) 24 คนรับใช้ อนุญาตให้มีผู้เผด็จการได้คนเดียว เนื่องจากมีอำนาจสิทธิ์ขาดใหญ่ (imperium magnum) ซึ่งสามารถลบล้าง ปลดหรือประหารชีวิตคุรูเลแมจิสเทรต (curule magistrate) ซึ่งถืออำนาจสิทธิ์ขาดได้ มีผู้เผด็จการหลายแบบแตกต่างกันตามสาเหตุการสถาปนา รูปแบบที่พบบ่อยที่สุด และที่สัมพัน์กับผู้เผด็จการโรมันมากที่สุด คือ rei gerundae causa "เพื่อจัดการปัญหา" ซึ่งแทบทุกครั้งเกี่ยวข้องกับการนำกองทัพเข้าสู่สมรภูมิและเจาะจงข้าศึกให้รบ มีผู้เผด็จการอย่างน้อยหนึ่งคนได้รับกำหนดให้เป็น seditionis sedandae et rei gerundae causa "เพื่อกำราบการกบฏและจัดการปัญหา" ผู้เผด็จการยังได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ปกครองหรือทางศาสนา เช่น จัดการเลือกตั้ง (omitiorum habendorum causa เป็นรูปแบบผู้เผด็จการที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับสอง) หรือการตอกตะปูเข้าเทวสถานจูปิเตอร์อ็อปติมัสแม็กซิมัสเพื่อยุติโรคติดต่อร้ายแรง (clavi figendi causa) โรมันเลิกตั้งผู้เผด็จการหลังยุคสงครามพิวนิกครั้งที่สอง มีการฟื้นฟูตำแหน่งระหว่างสงครามกลางเมืองโรมันโดยลูเซียส คอร์นีเลียส ซุลลา เฟลิกซ์ จูเลียส ซีซาร์ยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เผด็จการในหลายโอกาส จักรพรรดิโรมันเลี่ยงการใช้ยศดังกล่าวเพื่อเลี่ยงคำตำหนิที่ตามมาซึ่งเป็นผลของผู้เผด็จการสองคนหลังสุดนี้.

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและผู้เผด็จการโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิติแบริอุส

ติแบริอุส ไกซาร์ ดีวี เอากุสตี ฟีลิอุส เอากุสตุส (TIBERIVS CAESAR DIVI AVGVSTI FILIVS AVGVSTVS) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันพระองค์ที่สองต่อจากจักรพรรดิเอากุสตุส ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 14 ถึง ค.ศ. 37 ติแบริอุสมีชื่อเกิดว่า ติแบริอุส เกลาดิอุส แนโร (TIBERIVS CLAVDIVS NERO) เขามาจากตระกูลเกลาดิอุส เป็นบุตรชายของติแบริอุส เกลาดิอุส แนโร กับลีวิอา ดรูซิลลา ลีวิอาหย่ากับติแบริอุส แนโร แล้วมาแต่งงานกับอ็อกตาวิอานุส (ภายหลังเป็นจักรพรรดิเอากุสตุส) เมื่อ 39 ปีก่อนคริสต์ศักราช ติแบริอุสจึงกลายเป็นลูกเลี้ยงของอ็อกตาวิอานุส ต่อมาติแบริอุสแต่งงานกับยูลิอา ลูกสาวของเอากุสตุส จากนั้นเอากุสตุสได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรมด้วย ทำให้เขากลายเป็นสมาชิกตระกูลยูลิอุสอย่างเป็นทางการและได้นามใหม่ว่า ติแบริอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (TIBERIVS IVLIVS CAESAR) นักประวัติศาสตร์เรียกตระกูลผสมนี้ว่าราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส จักรพรรดิโรมันต่อมาอีกสามสิบปีจะมาจากราชวงศ์นี้ ติแบริอุสเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถมากที่สุดคนหนึ่งของสมัยโรมันโบราณ พระองค์ได้ทำการรณรงค์ในพันโนเนีย, แดลเมเชีย, ไรติอา และบางส่วนของแกร์มานิอา ซึ่งเป็นการวางรากฐานของพรมแดนทางด้านเหนือของจักรวรรดิ แต่ติแบริอุสมาเป็นที่รู้จักกันในฐานะจักรพรรดิผู้มีอารมณ์หม่นหมอง ไม่ชอบสุงสิงกับผู้ใด และไม่มีความต้องการเป็นจักรพรรดิ พลินีผู้อาวุโสขนานพระนามพระองค์ว่า "ผู้ที่เศร้าหมองที่สุดในหมู่มนุษย์" (TRISTISSIMVS HOMINVM) หลังจากการเสียชีวิตของดรูซุส ยูลิอุส ไกซาร์ (DRVSVS IVLIVS CAESAR) บุตรชายในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและจักรพรรดิติแบริอุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโรมัน

จักรพรรดิโรมัน เป็นผู้ที่ปกครองจักรวรรดิโรมันตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสตกาล ถึง ค.ศ. 476 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันตก และปี ค.ศ. 1453 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันออก.

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและจักรพรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและโรม · ดูเพิ่มเติม »

เอากุสตุสแห่งปรีมาปอร์ตา

อากุสตุสแห่งปรีมาปอร์ตา (Augustus of Prima Porta; Augusto di Prima Porta) เป็นประติมากรรมสูง 2.04 เมตรของจักรพรรดิเอากุสตุสที่พบเมื่อวันที่ 20 เมษายน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและเอากุสตุสแห่งปรีมาปอร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

เผด็จการทหาร

ระบอบเผด็จการทหาร (military dictatorship) คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับกองทัพ ถือได้ว่าเป็นการปกครองแบบคณาธิปไตยลัทธิอำนาจนิยมอย่างหนึ่ง เผด็จการทหารต่างจากเผด็จการพลเรือนด้วยหลายสาเหตุ คือ แรงจูงใจของการยึดอำนาจ สถาบันซึ่งใช้จัดระเบียบการปกครอง และหนทางสละอำนาจ เผด็จการทหารมักมองว่าตนกำลังช่วยให้ประเทศชาติพ้นจากนักการเมืองพลเรือนที่ฉ้อฉลหรือวิสัยทัศน์คับแคบ และอ้างฐานะของตนเป็นผู้ชี้ขาด "คนกลาง" บนฐานสมาชิกภาพในกองทัพ ผู้นำทหารมักปกครองเป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยเลือกหนึ่งในพวกตนเป็นหัวหน้.

ใหม่!!: จักรพรรดิเอากุสตุสและเผด็จการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AugustusOctavianออกัสตัสออกัสตัส ซีซาร์ออกัสตุสออกัสตุส ซีซาร์ออกุสตุสออกุสตุส ซีซาร์ออกุสตุส ซีซาร์ อ็อกตาเวียนออกเตเวียนออคตาเวียนออคเตเวียนอ็อกตาเวียนอ็อคเทเวียนจักรพรรดิออกัสตัสจักรพรรดิออกุสตุสซีซาร์ ออกัสตัสซีซาร์ ออกุสตุสเอากุสตุส ซีซาร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »