เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จักรพรรดิยงเจิ้งและพระที่นั่งเฉียนชิง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดิยงเจิ้งและพระที่นั่งเฉียนชิง

จักรพรรดิยงเจิ้ง vs. พระที่นั่งเฉียนชิง

มเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง ทรงพระราชสมภพเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิน, อิ้นเจวิน (ภาษาจีน: 胤禛) เล่ากันว่า พระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) องค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช" (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีแม้จะเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนได้เฉพาะฉบับที่เป็นตัวอักษรฮั่นเท่านั้น แต่ฉบับอักษรแมนจูที่มีการเขียนคู่กันด้วยไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ) เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำคือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาทจากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีตเป็นแต่งตั้งโดยเป็นความลับโดยเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรงและจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เองอีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคตแต่ในระหว่างที่ครองราชย์ต้องพบกับปัญหากบฏหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกันยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครองการบริหารเอาไว้หลายด้านกิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ ตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น รวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง) จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อ ซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน และนำไปเสริมเติมแต่งเพื่อสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง จักรพรรดิย่งเจิ้งสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2278 ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน โดยมีสาเหตุคล้ายกับการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีอ่องเต้ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังก์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนามเมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง. ระที่นั่งเฉียนชิง ที่ออกขุนนางในพระที่นั่ง พระที่นั่งเฉียนชิง (แมนจู: kiyan cing gung) แปลว่า พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ (Palace of Heavenly Purity) เป็นพระที่นั่งหลังหนึ่งในตอนเหนือของพระราชวังต้องห้าม กรุงเป่ย์จิง ประเทศจีน เป็นพระที่นั่งหลังใหญ่ที่สุดในบรรดาพระที่นั่งสามหลังแห่งฝ่ายใน อีกสองหลัง คือ พระที่นั่งเจียวไท่ หรือพระที่นั่งอนันตสมาคม (交泰殿) และพระที่นั่งคุนหนิง หรือพระที่นั่งภูมิเสถียร (坤寧宮) พระที่นั่งแห่งนี้เป็นอาคารมีจั่วสองชั้น ตั้งบนฐานหินอ่อนชั้นเดียว ในพระที่นั่งแบ่งเป็น 2 ส่วน มีห้องนอน 9 ห้อง มีเตียงทั้งหมด 27 หลัง พระมหากษัตริย์ราชวงศ์หมิงจะบรรทมสลับกันไปเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัย ธรรมเนียมนี้ประพฤติต่อมาถึงราชวงศ์ชิง แต่จักรพรรดิหย่งเจิ้งไม่ประสงค์จะใช้ห้องบรรทมเดียวกับจักรพรรดิคังซีพระบิดา จึงเสด็จไปประทับพระที่นั่งหยางซิน หรือพระที่นั่งจรุงจิต (养心殿) พระมหากษัตริย์นับแต่นั้นก็เสด็จบรรทมที่พระที่นั่งหยางซินสืบมา และเปลี่ยนพระที่นั่งเฉียนชิงเป็นที่ออกขุนนาง ประชุมกรมความลับทหาร (軍機處) และเลี้ยงโต๊ะ กลางพระที่นั่งมีราชอาสน์และโต๊ะทรงอักษรp 78, Yu (1984) เหนือราชอาสน์ติดตั้งรูปมังกรขดไว้บนเพดาน และมีป้ายพระอักษร 4 ตัวที่จักรพรรดิซุ่นจื้อทรงไว้ ความว่า "เจิ้งต้ากวงหมิง" (正大光明) แปลว่า "เที่ยงตรงโปร่งใส" นับแต่รัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้ง พระมหากษัตริย์ทรงออกราชโองการลับตั้งรัชทายาทไว้สองฉบับข้อความเหมือนกัน ฉบับหนึ่งซ่อนไว้หลังป้ายพระอักษรนี้ อีกฉบับทรงพกไว้กับพระองค์เสมอ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิยงเจิ้งและพระที่นั่งเฉียนชิง

จักรพรรดิยงเจิ้งและพระที่นั่งเฉียนชิง มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จักรพรรดิคังซีปักกิ่ง

จักรพรรดิคังซี

ักรพรรดิคังซี (Enkh Amgalan Khaan) หรือพระนามเต็ม อ้ายซินเจฺว๋หลัวเสฺวียนเย่ (愛新覺羅玄燁 Àixīn-Juéluó Xuányè) จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง เป็นพระโอรสของจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา จักรพรรดิคังซีมีพระปรีชาสามารถตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงฉายแววความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เด็ก โดยโปรดการเรียนรู้ศิลปะ วิทยาการต่าง ๆ ทั้งของในประเทศ และนอกประเทศ โดยพระองค์อยู่ภายใต้การอุปการะดูแลของไท่หวงไทเฮา ผู้เป็นพระอัยยิกาของพระองค์ ในรัชสมัยซุ่นจื่อปีที่ 18 เกิดโรคฝีดาษระบาดที่กรุงปักกิ่ง ได้ระบาดมาในนครต้องห้าม ช่วงนั้นองค์ซุนจื่อ ติดโรคร้ายนี้สวรรคต ก่อนสวรรคตได้ตั้งพระราชโอรสองค์ที่3 เสฺวียนเย เป็นองค์รัชทายาทและได้ตั้งองคมนตรี สี่คนซึ่งเป็นขุนนางที่ไว้ใจที่สุด สี่องคมนตรีได้แก่ เอ๋าไป้ สั่วหนี ซัวเค่อซ่าฮ่า เอ่อปี๋หลง เมื่อพระองค์ทรงออกว่าราชการเองเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา สั่วหนี ประธานองคมนตรีได้ถึงแก่กรรม เอ๋าไป้ (鳌拜) ซึ่งเป็นขุนนางที่รับราชการมาแต่ครั้งจักรพรรดิไท่จง จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ชิง เอ๋าไป้ เป็นขุนนางที่สำคัญตนว่าเป็นผู้นำองคมนตรีในตอนนั้นมีผู้ให้การยอมรับนับถือจำนานมาก จึงได้กระทำการอย่างไม่เหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลังพระองค์หลายครั้ง จนในที่สุดก็ก่อการกบฏขึ้น แต่แผนการทั้งหมดได้ถูกทำลายลงโดย อู๋หลิวยิ สั่วเอ๋อถู และกลุ่มขุนนางภักดี รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีนับเป็นระยะเวลาวิกฤตของราชวงศ์ชิง เพราะมีการต่อสู้ระหว่างชาวฮั่นที่ต้องการกู้ราชวงศ์หมิง รวมถึงชนเผ่าอื่น ๆ ที่ต้องการก่อกบฏ จักรพรรดิคังซีทำสงครามภายในประเทศยาวนานถึง 8 ปี จึงพิชิตแคว้นต่าง ๆ ได้ราบคาบ ก่อนที่พระองค์จะมีพระชนมายุ 30 พรรษา ทั้งขยายอาณาเขตถึงมองโกเลียและทิเบต หนึ่งในนโยบายสร้างความมั่นคงก็คือ สร้างสัมพันธ์กับชาวแมนจูที่อาศัยทางเหนือแต่เดิมให้แข็งแกร่ง ส่งอาวุธและกำลังพลไปรักษาชายแดนแถบนี้บ่อยครั้งเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่น อีกทั้งยังทรงออกทัพเอง และได้ทำสงครามกับรัสเซียในยุคสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และได้รับชัยชนะด้วย ซึ่งสงครามได้จบลงที่การสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน รวมถึงการยกทัพบุกพม่า ทำให้จีนในยุคนี้เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ริ้วขบวนบางส่วนของจักรพรรดิคังซีเสด็จนิวัติกรุงปักกิ่ง หลังจากเสด็จประพาสแดนใต้ ขณะเดียวกันเสด็จประพาสดินแดนทางใต้ถึง 6 ครั้ง เพื่อทอดพระเนตรความเจริญ รุ่งเรืองด้านศิลปะและวิชาการของแดนใต้ และสำรวจปัญหาน้ำท่วมไร่นาของชาวนา ซึ่งต่อมาทรงส่งเสริม การสร้างเขื่อนและให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรกับชาวนา จักรพรรดิคังซีฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร จักรพรรดิคังซีนับเป็นอัจฉริยบุคคล ทรงศึกษาความผิดพลาดของพวกมองโกล ช่วงที่ปกครองชาวฮั่น จึงเปลี่ยนจากวิธีการใช้ไม้แข็งเป็นไม้อ่อน เกลี้ยกล่อมให้เหล่าปราชญ์ราชบัณฑิตที่หนีภัยยุคต้นราชวงศ์สิ้นอำนาจกลับมารับราชการใหม่ ทรงสถาปนากรมจิตรกรรมที่รู้จักในนาม สถาบันจิตรกรรมหัวหยวน คล้ายที่เคยมีในสมัยราชวงศ์ซ่ง นอกจากนี้ทรงดูแลเหล่าปราชญ์และศิลปินอย่างเกษมสำราญ มอบหมายงานให้ทำอย่างเต็มที่ ไม่ว่าด้านสถาปัตยกรรมหรือประวัติศาสตร์ โดยชิ้นที่สำคัญที่สุด คือการจัดทำ พจนานุกรมรวบรวมภาษาจีน ที่เรียกกันว่า พจนานุกรมคังซี ชีวิตส่วนพระองค์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจักรพรรดินักรักพระองค์หนึ่ง มีพระสนมราว 35 คน พระโอรสและพระธิดาราว 55 องค์ จนปลายรัชสมัยเกิดการชิงบัลลังก์เป็นที่วุ่นวาย ผลสุดท้ายองค์ชาย 4 ได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิหย่งเจิ้งในเวลาต่อมา รัชสมัยของจักพรรดิคังซีตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและราชวงศ์บ้านพลูหลวงของอาณาจักรอยุธยา จักรพรรดิคังซีสวรรคตในปี พ.ศ. 2265 (ค.ศ. 1722) รวมระยะเวลาครองราชย์ยาวนานถึง 61 ปี นับเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาตร์จีน ในยุคสมัยของพระองค์มีเรื่องการเกิดขึ้นต่าง ๆ มากมายเช่น ในนวนิยายต่างๆ ระบุว่าพระองค์นั้นสวรรคตจากการปลงพระชนม์ขององค์ชายสี่ หรือหย่งเจิ้น แต่ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระองค์สวรรคตจากชราภาพเอง เป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมต่าง ๆ มากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น นิยาย ละครโทรทัศน์ หรือ ภาพยนตร์ ที่มีการจัดสร้างหลายต่อหลายครั้งแม้ในปัจจุบัน เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ นิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์ของ กิมย้ง เรื่อง อุ้ยเสี่ยวป้อ.

จักรพรรดิคังซีและจักรพรรดิยงเจิ้ง · จักรพรรดิคังซีและพระที่นั่งเฉียนชิง · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

จักรพรรดิยงเจิ้งและปักกิ่ง · ปักกิ่งและพระที่นั่งเฉียนชิง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดิยงเจิ้งและพระที่นั่งเฉียนชิง

จักรพรรดิยงเจิ้ง มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระที่นั่งเฉียนชิง มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 8.00% = 2 / (16 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดิยงเจิ้งและพระที่นั่งเฉียนชิง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: