โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิบาบูร์และเชอร์ชาห์สุรี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดิบาบูร์และเชอร์ชาห์สุรี

จักรพรรดิบาบูร์ vs. เชอร์ชาห์สุรี

ซาฮีร์-อุด-ดิน มูฮัมมัด บาบูร์ หรือนิยมเรียกพระนามว่า จักรพรรดิบาบูร์ (نصیر الدین محمد همایون, Zahir-ud-din Muhammad Babur, พระบรมราชสมภพ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1483 - เสด็จสวรรคต 26 ธันวาคม ค.ศ. 1530) ทรงเป็นนักรบจากเอเชียกลางซึ่งมีชัยชนะและสถาปนาราชวงศ์โมกุลขึ้นบริเวณอนุทวีปอินเดีย และสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ แห่งจักรวรรดิโมกุล ทรงเป็นทายาทโดยตรงจากตีมูร์ผ่านทางพระราชบิดา และยังมีเชื้อสายของเจงกีส ข่านผ่านทางพระราชมารดา พระองค์เป็นผู้ที่นำอิทธิพลและวัฒนธรรมเปอร์เซียเข้าไปเผยแพร่ในอาณาจักรของพระองค์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการขยายอาณาจักรของโมกุลในเวลาต่อม. อร์ ชาห์ สุรี (ค.ศ. 1486 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1545) (ภาษาเปอร์เซีย/فريد خان شير شاہ سوري – Farīd Xān Šer Šāh Sūrī, พระนามเดิม ฟาริด คาน, หรือนิยมกล่าวพระนามว่า เชอร์ คาน, "กษัตริย์เจ้าพยัคฆา") เป็นกษัตริย์ผู้สถาปนาราชวงศ์ซูร์ ซึ่งปกครองจักรวรรดิซูร์ในอินเดียตอนเหนือ โดยมีเมืองหลวงที่เดลี โดยกำเนิดเป็นชาวอัฟกันพื้นเมือง โดยพระองค์สามารถยึดจักรวรรดิโมกุลมาเป็นของพระองค์ได้ในปีค.ศ. 1540 ต่อมาหลังจากสวรรคตอย่างกะทันหันในปีค.ศ. 1545 พระโอรสจึงได้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ในพระนามว่า "อิสลาม ชาห์ สุรี" ในช่วงแรกนั้นรับราชการเป็นพลทหารของจักรวรรดิโมกุล ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ และต่อมาได้เป็นผู้ปกครองพิหาร ในปีค.ศ. 1537 ในขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดิหุมายุนเสด็จแปรพระราชฐานต่างเมือง เชอร์ คานได้นำกองทัพเข้าบุกยึดครองรัฐเบงกอลและสถาปนาราชวงศ์ซูร์ขึ้น พระองค์ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาญาณหลักแหลมทางด้านการวางแผน ทรงเป็นทั้งผู้ปกครองและจอมทัพผู้เก่งกล้า การจัดระเบียบการปกครองภายในจักรวรรดิในรัชสมัยของพระองค์เป็นการปูรากฐานสำคัญของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุลในรัชสมัยต่อๆมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร ในระหว่างรัชสมัยของพระองค์ซึ่งกินเวลาเพียง 5 ปีนั้น ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองทั้งพลเรือนและการทหาร และยังเริ่มการใช้สกุลเงิน "รูปี" และยังจัดระเบียบการไปรษณีย์ของอินเดียอีกด้วย นอกจากนี้ยังทรงพัฒนาเมืองดินา-ปานาห์ ซึ่งสร้างโดยสมเด็จพระจักรพรรดิหุมายุน และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น "เชอร์การห์" และยังพัฒนาเมืองปาตลีบุตร ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานซึ่งกำลังอยู่ในช่วงตกต่ำตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา แล้วเรียกชื่อใหม่ว่า "ปัฎนา" พระองค์ยังเป็นที่จดจำจากการฆ่าเสือขนาดตัวเต็มวัยด้วยมือเปล่าในป่าของพิหาร ซึ่งเป็นที่มาของพระนามของพระองค์ พระองค์ยังเป็นผู้ที่ปรับปรุงและขยาย "แกรนด์ ทรังก์ โรด" ซึ่งเป็นถนนที่เก่าแก่และมีความยาวที่สุดในอนุทวีปอินเดีย กินระยะทางจากจิตตะกองในบังคลาเทศ ไปยังคาบูลในอัฟกานิสถาน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรพรรดิบาบูร์และเชอร์ชาห์สุรี

จักรพรรดิบาบูร์และเชอร์ชาห์สุรี มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อนุทวีปอินเดียจักรพรรดิหุมายูงจักรวรรดิโมกุล

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

จักรพรรดิบาบูร์และอนุทวีปอินเดีย · อนุทวีปอินเดียและเชอร์ชาห์สุรี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิหุมายูง

นะซีร์ อุดดีน มุฮัมมัด ฮุมายูน (نصیر الدین محمد همایون) หรือนิยมเรียกพระนามว่า จักรพรรดิหุมายูง (हुमायूँ; ہمایوں; ราชสมภพ 7 มีนาคม ค.ศ. 1508 - สวรรคต 17 มกราคม ค.ศ. 1556) เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์โมกุล ซึ่งทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา คือสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ ซึ่งปกครองอาณาจักรโมกุลอันกว้างขวางที่รวมถึงอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน และอินเดียทางตอนเหนือในปัจจุบัน ทรงปกครองจักรวรรดิทั้งหมดสองช่วงคือ ช่วงแรก ระหว่าง 26 ธันวาคม ค.ศ. 1530 - 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1540 และช่วงที่สอง ระหว่าง 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1555 จนกระทั่งสวรรคตเมื่อ 17 มกราคม ค.ศ. 1556 ซึ่งคล้ายกับกรณีของพระราชบิดาซึ่งเสียอาณาจักรในช่วงแรกของรัชสมัย แต่ด้วยความช่วยเหลือจากราชวงศ์ซาฟาวิดแห่งเปอร์เซีย พระองค์สามารถเอาชนะกลับคืนได้กว้างขวางกว่าเดิม ในขณะที่สวรรคต จักรวรรดิโมกุลได้ขยายอาณาบริเวณกว่าหนึ่งล้านตารางกิโลเมตร พระองค์ทรงครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในส่วนของอินเดียเมื่อปีค.ศ. 1530 ในขณะที่พระอนุชาต่างพระมารดา คือ คัมราน มีร์ซา (Kamran Mirza) ได้ปกครองคาบูล และละฮอร์ ซึ่งเป็นจักรวรรดิของพระราชบิดาทางตอนเหนือ สมเด็จพระจักรพรรดิหุมายูงขึ้นครองราชย์ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง 22 พระชันษา ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ค่อยเจนจัดด้านการปกครองอาณาจักรของพระองค์นัก พระองค์เสียอาณาจักรโมกุลให้แก่เชอร์ชาห์สุรี (Sher Shah Suri) ขุนนางเชื้อสายอัฟกัน และในภายหลังได้อาณาจักรกลับคืนมาด้วยความช่วยเหลือของราชวงศ์เปอร์เซียในอีก 15 ปีต่อมา โดยหลังจากเสด็จกลับจากลี้ภัยในเปอร์เซียแล้วได้เกณฑ์เหล่าขุนนาง และคหบดีจากเปอร์เซีย ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ธรรมเนียมในราชสำนักโมกุลนั้นได้รับอิทธิพลจากราชสำนักเปอร์เซีย รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ภาษา และวรรณคดีอีกด้วย นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ หลักศิลาจารึกต่าง ๆ นั้นได้ทำขึ้นเป็นภาษาเปอร์เซี.

จักรพรรดิบาบูร์และจักรพรรดิหุมายูง · จักรพรรดิหุมายูงและเชอร์ชาห์สุรี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโมกุล

ักรวรรดิโมกุล (เปอร์เซีย: سلطنت مغولی هند; อูรดู: مغلیہ سلطنت; Mughal Empire) เป็นจักรวรรดิซึ่งปกครองบริเวณอนุทวีปอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 จักรวรรดินี้สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์ตีมูร์ เริ่มก่อตั้งอาณาจักรในปี..

จักรพรรดิบาบูร์และจักรวรรดิโมกุล · จักรวรรดิโมกุลและเชอร์ชาห์สุรี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรพรรดิบาบูร์และเชอร์ชาห์สุรี

จักรพรรดิบาบูร์ มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ เชอร์ชาห์สุรี มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.52% = 3 / (16 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรพรรดิบาบูร์และเชอร์ชาห์สุรี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »