โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จอร์จ แม็คคาร์ทนีย์ เอิร์ลแม็คคาร์ทนีย์ที่ 1

ดัชนี จอร์จ แม็คคาร์ทนีย์ เอิร์ลแม็คคาร์ทนีย์ที่ 1

จอร์จ แม็คคาร์ทนีย์, เอิร์ลแม็คคาร์ทนีย์ที่ 1 KB (George Macartney, 1st Earl Macartney, 14 พฤษภาคม 1737 — 31 พฤษภาคม 1806) นักการทูตและรัฐบุรุษชาวอังกฤษเป็นที่รู้จักจากการเป็นทูตชาวอังกฤษคนแรกที่เดินทางมายังจีนในรัชสมัย จักรพรรดิเฉียนหลง หมวดหมู่:ชาวอังกฤษ.

2 ความสัมพันธ์: จักรพรรดิเฉียนหลงเลมูเอล ฟรานซิส แอ็บบอท

จักรพรรดิเฉียนหลง

มเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) (เฉียนหลง) จักรพรรดิองค์ที่ 6 ของราชวงศ์ชิง ประสูติเมื่อ ปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) เดิมมีพระนามว่าหงลี่ (ภาษาจีน: 弘曆) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิยงเจิ้ง และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา ทรงพระนามว่า ชิงเกาจงฮ่องเต้ และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" ส่วนเรื่องคำกล่าวที่ว่าสมเด็จพระพันปีหลวงซึ่งเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงไม่โปรดพระมเหสีหรง ถึงขั้นสั่งประหาร ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสู่สวรรคาลัยไปก่อนพระมเหสีหรงเฟยถึง11ปี ฉะนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงจึงมาสั่งประหารไม่ได้แน่นอน จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่ง ชื่อ เหอเซิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิเฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดเหอเซินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งให้เป็นคู่หมั้นของลูกชายเหอเซินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเซินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการจับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่พระชายาหยู (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน พระโอรสองค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ทรงปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซีผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังก์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น พระบิดาหลวง หรือ จักพรรดิสูงสุด (ไท่ซั่งหวง, 太上皇帝) ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริง และพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเซินทันที และบังคับให้เขาฆ่าตัวตาย หลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมมากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหาต่างๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิหย่งเจิ้นให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ ดังที่ปรากฏในเรื่อง จอมใจจอมยุทธ์และ เรื่องราวในรัชสมัยพระองค์ยังถูกนำมาแสดงเป็นภาพยนตร์เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ซึ่งเป็นเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งดัดแปลงมาจากพระธิดาบุญธรรมขององค์จักรพรรดิมาเป็นองค์หญิงหวนจู.

ใหม่!!: จอร์จ แม็คคาร์ทนีย์ เอิร์ลแม็คคาร์ทนีย์ที่ 1และจักรพรรดิเฉียนหลง · ดูเพิ่มเติม »

เลมูเอล ฟรานซิส แอ็บบอท

ลมูเอล ฟรานซิส แอ็บบอท (Lemuel Francis Abbott) (ราว ค.ศ. 1760 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1802) เป็นจิตรกรภาพเหมือนชาวอังกฤษของคริสต์ศตวรรษที่ 18 แอ็บบอทมีชื่อเสียงจากการเขียนภาพเหมือนของโฮราชิโอ เนลสัน ไวส์เคานท์เนลสันที่ 1 ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร และภาพเหมือนของนายทหารเรือคนสำคัญๆ ของอังกฤษของคริสต์ศตวรรษที่ 18 แอ็บบอทผู้เกิดในแคว้นเลสเตอร์เชอร์ในอังกฤษราวปี ค.ศ. 1760 เป็นบุตรของนักบวชเลมูเอล แอ็บบอท และภรรยาแมรี แอ็บบอทมาเป็นลูกศิษย์ของฟรานซิส เฮย์แมน และพำนักอยู่ในลอนดอน แม้ว่าจะมีผลงานแสดงที่ราชสถาบันศิลปะแอ็บบอทก็ไม่เคยเป็นนักการศึกษา เมื่ออายุได้ 40 ปีแอ็บบอทก็มีอาการเสียสติและได้รับการรักษาโดยนายแพทย์ทอมัส มันโรผู้เชี่ยวชาญทางโรงประสาทแห่งโรงพยาบาลเบ็ธเล็ม นายแพทย์มันโรเป็นนายแพทย์คนเดียวกันกับนายแพทย์ที่ถวายการรักษาอาการทางประสาทของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1738–ค.ศ. 1820) แอ็บบอทเสียชีวิตในลอนดอนเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1802.

ใหม่!!: จอร์จ แม็คคาร์ทนีย์ เอิร์ลแม็คคาร์ทนีย์ที่ 1และเลมูเอล ฟรานซิส แอ็บบอท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จอร์จ แม็คคาร์ทนีย์, เอิร์ล แม็คคาร์ทนีย์ คนที่ 1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »