โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จอกศักดิ์สิทธิ์

ดัชนี จอกศักดิ์สิทธิ์

''How at the Castle of Corbin a Maiden Bare in the Sangreal and Foretold the Achievements of Galahad'': ภาพวาดโดย Arthur Rackham ค.ศ. 1917 จอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) เป็นภาชนะซึ่งเป็นแกนเรื่องสำคัญในวรรณกรรมอาเธอร์ ตำนานหลายเรื่องพรรณนาว่า เป็นถ้วย ชาม หรือศิลา ซึ่งมีอำนาจเหนือธรรมชาติบันดาลให้เกิดความสุข ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์ หรือชีวิตอมตะ คำว่า "จอกศักดิ์สิทธิ์" ยังมักใช้เรียกสิ่งของหรือเป้าหมายที่ไขว่คว้าหากันเพราะเชื่อว่า มีความสำคัญยิ่งยวด การกล่าวถึง "จอก" วิเศษ แม้ไม่ปรากฏชัดว่า ศักดิ์สิทธิ์ด้วยหรือไม่นั้น ปรากฏครั้งแรกในนิยายวีรคติเรื่อง แปร์เซอวัลเลอกงต์ดูกราล (Perceval, le Conte du Graal; "แปร์เซอวาลตำนานจอก") ผลงานซึ่งเขียนไม่เสร็จของเครเตียง เดอ ทรัว (Chrétien de Troyes) ในราว..

13 ความสัมพันธ์: พระเยซูพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์การตรึงกางเขนภาษากรีกภาษาละตินศาสนาคริสต์ตะวันออกสมัยกลางหีบแห่งพันธสัญญาอาหารค่ำมื้อสุดท้ายทวนศักดิ์สิทธิ์ประเทศอิหร่านโยเซฟชาวอาริมาเธียเครเตียง เดอ ทรัว

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248 หรือพิธีมหาสนิท(Eucharist; Holy Communion) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์บางคณะเรียกว่าศีลมหาสนิท เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต) การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน ในนิกายโปรเตสแตนต์ กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทตามพระวรสารนักบุญลูกา ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทเฉพาะตามที่พระศาสนจักรคาทอลิกกำหน.

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงกางเขน

นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” โดย คาราวัจโจ การตรึงกางเขน (crucifixion) เป็นวิธีการประหารชีวิตซึ่งผู้ถูกสั่งให้ประหารจะถูกผูกหรือตอกตะปูบนไม้กางเขนและปล่อยทิ้งไว้ให้ตาย วิธีการประหารชีวิตแบบนี้เป็นวิธีที่ใช้ในสมัยจักรวรรดิโรมันและในประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน และวิธีที่คล้ายคลึงกันในจักรวรรดิเปอร์เชีย การประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขนโดยจักรวรรดิโรมันมาจนถึงปี..

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และการตรึงกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ตะวันออก

นาคริสต์ตะวันออก เป็นกลุ่มคริสตจักรที่พัฒนาในคาบสมุทรบอลข่าน ยุโรปตะวันออก เอเชียไมเนอร์ และตะวันออกกลาง ซึ่งนิยมใช้เพื่อเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์ตะวันตกที่มีพัฒนาการในทวีปยุโรปตะวันตก การแยกระหว่างตะวันตก-ตะวันออกนี้มีมาตั้งแต่การแตกจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในบางครั้งก็นิยมเรียกคริสตจักรเหล่านี้ว่า "ออร์โธด็อกซ์" กลุ่มคริสตจักรที่อยู่ในจำพวกนี้ ได้แก.

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และศาสนาคริสต์ตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หีบแห่งพันธสัญญา

ูวากำลังผ่านแม่น้ำจอร์แดนพร้อมกับหีบแห่งพันธสัญญา ลักษณะหีบแห่งพันธสัญญาตามสันนิฐาน โดย ''James Tissot'' หีบแห่งพันธสัญญา หรือ หีบแห่งพระบัญญัติ (Ark of the Covenant; אָרוֹן הַבְּרִית ʾĀrôn Habbərît, ออกเสียง อะรอน ฮะบริท; Κιβωτός της Διαθήκης; تابوت العهد) เป็นหีบที่กล่าวถึงใน หนังสืออพยพ บรรจุแผ่นศิลาพระโอวาทที่ได้สลักบัญญัติ 10 ประการเอาไว้ และใน จดหมายถึงชาวฮีบรู ระบุว่า "หีบ‍พันธ‌สัญญา​หุ้ม​ด้วย​ทอง‍คำ​ทุก​ด้าน ภาย‍ใน​นั้น มี​โถ​ทอง‍คำ​บรร‌จุ​มานา มี​ไม้เท้าของอาโรนที่​ออก‍ดอก‍ตูม และ​มี​แผ่น​ศิลา​จา‌รึก​พันธ‌สัญญา" อย่างไรก็ตาม ใน หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ได้บันทึกไว้ว่า ในยุคของมหากษัตริย์ซาโลมอน หีบแห่งพันธสัญญาบรรจุไว้แค่ แผ่นศิลาพระบัญญัติจำนวนสองแผ่นเท่านั้น หนังสืออพยพ ยังอธิบายว่า หีบแห่งพันธสัญญาสร้างขึ้นรูปแบบที่พระยาห์เวห์ทรงชี้แนะต่อโมเสสที่ภูเขาซีนาย โมเสสสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าได้จากพลับพลานมัสการซึ่งบรรจุหีบใบนี้ โดยพระเจ้าจะทรงประทับบนพระที่นั่งกรุณาที่ทั้งสองข้างมีเครูบกางปีกปกไว้ คัมภีร์ไบเบิลระบุว่า ราวหนึ่งปีภายหลังชนชาวอิสราเอลได้อพยพจากอียิปต์ ก็ได้สร้างตัวหีบขึ้นตามรูปแบบที่พระเจ้าตรัสไว้ผ่านโมเสสในระหว่างที่พวกเขาตั้งค่ายที่เชิงเขาซีนาย (ตรงกับ 1513 ปีก่อนคริสตกาล) ต่อมา ปุโรหิตเผ่าเลวีหามหีบแห่งพันธสัญญานำขบวนอพยพของชนชาวอิสราเอลทิ้งระยะห่าง 2000 ศอก ทันทีที่เท้าของปุโรหิตผู้หามหีบแตะผิวน้ำของแม่น้ำจอร์แดนซึ่งอยู่ในฤดูน้ำหลาก สายน้ำก็แยกออกจากกันจนเหลือพื้นแห้งให้ขบวนอพยพเดินทางข้ามไปได้ เมื่อการมหัศจรรย์นี้แพร่กระจายออกไป ทำให้เหล่ากษัตริย์ชาวอาโมไรต์ทั้งหมดทางฟากตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนและกษัตริย์ชาวคานาอันทั้งหมดตามชายฝั่งทะเลต่างเกรงกลัวในอำนาจของพระเจ้า ประตูเมืองเยรีโคถูกสั่งปิดตายเนื่องจากเกรงกลัวชาวอิสราเอล พระเจ้าตรัสกับโยชูวาให้ปุโรหิตหามหีบเดินขบวนรอบเมืองวันละหนึ่งรอบเป็นเวลาหกวัน และหามวนเจ็บรอบในวันที่เจ็ดพร้อมเป่าเขาแกะ เมื่อครบเจ็ดรอบ ชาวอิสราเอลก็ส่งเสียงโห่ร้องและกำแพงของเมืองเยรีโคก็พังทลายลงมา กองทัพของชาวอิสราเอลบุกเข้าเมือง เข่นฆ่าทุกคนไม่เว้น ชาย หญิง คนชรา เด็ก สัตว์เลี้ยง และเผาเมืองจนพินาศสิ้น.

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และหีบแห่งพันธสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย

“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

ทวนศักดิ์สิทธิ์

ทวนศักดิ์สิทธิ์ทิ่มแทงพระวรกายของพระเยซู วาดโดยฟราอันเจลีโก ทวนศักดิ์สิทธิ์ (Holy Lance; Heilige Lanze), หอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Spear), ทวนลอนไจนัส (Lance of Longinus), หรือ หอกแห่งโชคชะตา (Spear of Destiny) ตามที่ระบุไว้ในพระวรสารนักบุญยอห์น เป็นทวนที่นายทหารโรมันนามลอนไจนัส ใช้แทงสีข้างพระเยซูขณะที่พระองค์ถูกตรึงกางเขน เพื่อตรวจว่าพระองค์สิ้นพระชนม์แล้วหรือยัง มีศาสนจักรและอารามมากมายในโลกที่อ้างว่าตนเองมีทวนเล่มนี้ไว้ในครอบครอง แต่ก็ไม่มีการพิสูจน์และตรวจสอบใด ๆ จนถึงทุกวันนี้ ในบรรดาทวนทั้งหมดที่มีการอ้าง มีเพียง 3 เล่มเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดว่า เล่มใดเล่มหนึ่งอาจเป็นทวนศักดิ์สิทธิ์ของจริง ทวนเล่มแรกอยู่ที่วาติกัน เล่มสองอยู่อาร์มีเนีย เล่มสามอยู่เวียนนา แม้ตำนานจะไม่ได้ระบุว่าทวนเล่มนี้มีพลังอานุภาพเหนือธรรมชาติใด ๆ แต่ผู้คนมากมายก็เชื่อว่าทวนเล่มนี้จะทำให้ผู้ครอบครองมีพลังอำนาจเกรียงไกร ดังนั้นทวนจึงเป็นที่หมายปองของบรรดาผู้นำประเทศในอดีต เช่น ใน..

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และทวนศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

โยเซฟชาวอาริมาเธีย

ซฟชาวอาริมาเธีย (Joseph of Arimathea) เป็นผู้จัดการฝังพระศพพระเยซูหลังจากทรงถูกตรึงที่กางเขน พระวรสารนักบุญมัทธิวระบุว่าเขาเป็นเศรษฐี และพระวรสารนักบุญมาระโกระบุว่าเขา "เป็นสมาชิกสภาและเป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย อีกทั้งยังเป็นคนที่กำลังคอยท่าแผ่นดินของพระเจ้า" และตามพระวรสารนักบุญยอห์นว่าโยเซฟเป็นสาวกของพระเยซูอย่างลับ ๆ เมื่อได้ข่าวว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์ โยเซฟก็รีบไปหาป็อนติอุส ปีลาตุสและขอพระศพของพระเยซู ตามความเห็นของผู้รู้อีกมุมหนึ่งกล่าวว่า “เป็นสิ่งที่ไม่คาด…โยเซฟนำพระเยซูเข้ามาในครอบครัวของตนเองหรือ?” เมื่อทหารโรมันมาบอกปีลาตุสว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์แล้ว ปีลาตุสก็อนุญาตให้โยเซฟไปเอาร่างพระเยซู โยเซฟก็รีบไปซึ้อผ้าลินินอย่างดี (มาร์ค 15:46) แล้วก็เดินทางไปกอลกอธา (Golgotha) ซึ่งเป็นที่ที่พระเยซูถูกตรึงกางเขนเพื่อทำการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน โดยมีนิโคเดอมัส (Nicodemus) เป็นผู้ช่วย ร่างที่นำลงมาก็ห่อด้วยผ้าลินินพรมด้วยของหอมที่นิโคเดอมัสนำติดตัวมา (จอห์น) เสร็จแล้วก็นำร่างไปไว้ในที่เก็บศพที่ถูกเตรียมไว้ก่อนหน้านั้นสำหรับตัวโยเซฟเอง ซึ่งเป็นที่เก็บศพที่ขุดเข้าไปในหินในสวนไม่ไกลนัก ผู้ที่เป็นพยานเมื่อโจเซฟวางร่างพระเยซูไว้ในที่เก็บศพก็คือมารีย์ชาวมักดาลา มารีย์ (มารดาพระเยซู) และสตรีคนอื่น ๆ แล้วก็เอาก้อนหินปิดก่อนจะกลับ (ลูค 23:53, 55) โยเซฟต้องรีบทำเพราะใกล้จะเป็นวันซับบัธ ในสมัยกลางมีตำนานหลายเรื่องที่เกี่ยวกับโยเซฟแห่งอาริมาเธียซึ่งโยงโยเซฟว่าเป็นผู้นำจอกศักดิ์สิทธิ์มายังประเทศอังกฤษ นอกจากนั้นโยเซฟแห่งอาริมาเธียยังมักจะปรากฏในจิตรกรรมหรือประติมากรรมเกี่ยวกับ “การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน”.

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และโยเซฟชาวอาริมาเธีย · ดูเพิ่มเติม »

เครเตียง เดอ ทรัว

รเตียง เดอ ทรัว เครเตียง เดอ ทรัว (Chrétien de Troyes) เป็นกวีชาวฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ไม่ทราบความเป็นมาเกี่ยวกับตัวเขามากนัก แต่ดูเหมือนจะมาจากเมืองทรัว หรือมีความเกี่ยวพันกับเมืองนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาทำงานรับใช้ผู้อุปถัมภ์ คือ เคาน์เตส มารี เดอ แชมเปญ บุตรีของเอเลียนอร์แห่งอควิไทน์ ระหว่าง..

ใหม่!!: จอกศักดิ์สิทธิ์และเครเตียง เดอ ทรัว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Holy Grail

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »