โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฆราวาสนิยม

ดัชนี ฆราวาสนิยม

ราวาสนิยม (secularism) คือ แนวปรัชญาที่ว่าสถาบันการปกครองหรือสถาบันการเมือง หรือ สถาบันในรูปอื่นควรจะดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากการอำนาจการควบคุมของสถาบันศาสนา และหรือความเชื่อทางศาสนา ในแง่หนึ่งสถาบันที่ดำเนินนโยบาย “ฆราวาสนิยม” จะเป็นสถาบันที่ยึดนโยบายดำรงความเป็นกลางในทางด้านความเชื่อทางศาสนาของประชาชนและ/หรือผู้อยู่ใต้การปกครอง, ดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากกฎและคำสอน หรือ ความเชื่อทางศาสนา, ไม่ใช้อำนาจตามหลักความเชื่อทางศาสนาในการบังคับประชาชน และ ไม่มีการมอบอภิสิทธิพิเศษหรือให้การช่วยเหลือแก่สถาบันศาสนา ส่วนในอีกแง่หนึ่ง “ฆราวาสนิยม” หมายถึงมุมมองที่เกี่ยวกับกิจกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมและการตัดสินใจทางการเมือง ว่าควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติอันเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา ฆราวาสนิยมในรูปแบบที่แท้จริงแล้วจะติเตียนความเป็นอนุรักษนิยมของศาสนา และมีความเห็นว่าศาสนาเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของมนุษย์เพราะเป็นสิ่งที่เน้นความเชื่องมงาย และ สิทธันต์ (dogma) เหนือเหตุผลและกระบวนการในสิ่งที่พิสูจน์ได้ (scientific method) พื้นฐานของปรัชญาฆราวาสนิยมมาจากหลักการคิดของนักปรัชญากรีกและโรมันเช่นมาร์คัส ออเรลิอัส และ เอพิคารัส, จากผู้รู้รอบด้านของปรัชญามุสลิมของยุคกลาง เช่น อิบุน รัชด์, จากนักคิดของยุคเรืองปัญญา เช่น เดอนีส์ ดิเดอโรต์, วอลแตร์, จอห์น ล็อก, เจมส์ แมดิสัน, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน และ ทอมัส เพน และ จากนักคิดเสรี (freethinkers), นักอไญยนิยม (Agnosticism) หรือ นักอเทวนิยม เช่น เบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์ และ โรเบิร์ต อิลเกอร์โซลล.

15 ความสัมพันธ์: การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรยุคเรืองปัญญาวอลแตร์อิบน์ รุชด์อไญยนิยมอเทวนิยมผู้รู้รอบด้านจอห์น ล็อกจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสทอมัส เจฟเฟอร์สันประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันโทมัส เพนเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์เจมส์ แมดิสันเดอนี ดีเดอโร

การแยกศาสนจักรกับอาณาจักร

การแยกศาสนจักรกับอาณาจักร (separation of church and state) เป็นแนวคิดทางปรัชญาและนิติปรัชญาที่กำหนดให้มีระยะห่างทางการเมืองในความสัมพันธ์ขององค์การศาสนาและรัฐชาติ โดยเนื้อหาแล้ว แนวคิดนี้หมายถึงการสร้างรัฐที่เป็นฆราวาส (ไม่ว่าจะมีการแบ่งแยกระหว่างฝ่ายศาสนากับฝ่ายรัฐไว้โดยชัดแจ้งตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม) รวมถึงการยุบเลิกหรือเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์มีอยู่อย่างเป็นทางการในระหว่างศาสนากับรัฐ ในสังคมหนึ่ง ๆ ระดับการแบ่งแยกทางการเมืองระหว่างศาสนากับรัฐนั้นย่อมกำหนดตามโครงสร้างทางกฎหมายและแนวคิดทางกฎหมายที่นิยมอยู่ในเวลานั้น เช่น หลักความยาวแขน (arm's length principle) ซึ่งนำเสนอรูปแบบความสัมพันธ์ที่ทั้งสองมีปฏิสัมพันธ์กันในฐานะหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ต่างหากจากกัน แนวคิดเรื่องการแยกศาสนจักรกับอาณาจักรนั้นเป็นปรัชญาคู่ขนานกับแนวคิดฆราวาสนิยม (secularism), คตินิยมยุบเลิกศาสนจักร (disestablishmentarianism), เสรีภาพทางศาสนา (religious liberty), และพหุนิยมทางศาสนา (religious pluralism) ซึ่งด้วยแนวคิดเหล่านี้ รัฐในยุโรปจึงรับเอาบทบาทบางอย่างในทางสังคมขององค์การศาสนามาเป็นของตน เป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ทางสังคมที่ก่อให้เกิดประชากรและพื้นที่สาธารณะที่เป็นฆราวาสในทางวัฒนธรรม ในทางปฏิบัติแล้ว การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ บางประเทศ เช่นฝรั่งเศส ใช้แนวคิดความเป็นฆราวาสอย่างเคร่งครัด บางประเทศแยกศาสนากับรัฐจากกันอย่างสิ้นเชิงโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น อินเดีย และสิงคโปร์ ขณะที่บางประเทศ เช่น เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และมัลดีฟส์ ยังยอมรับนับถือศาสนาประจำรัฐอยู่ในทางรัฐธรรมนูญ.

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

วอลแตร์

ฟร็องซัว-มารี อารูเอ (François-Marie Arouet) หรือเป็นที่รู้จักกันในนามปากกาว่า วอลแตร์ (Voltaire) เป็นปราชญ์, นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส เขาเป็นผู้โจมตีการจัดตั้งศาสนจักรคาทอลิกในฝรั่งเศส และยังสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการพูด และยังผลักดันให้มีการแบ่งแยกศาสนจักรออกจากรั.

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและวอลแตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ รุชด์

เมืองกอร์โดบา ประเทศสเปน อบูวาลิด มูฮัมมัด บิน อะห์หมัด อิบนิ รุชด์ หรือ อิบนุ รุชด์ (أبو الوليد محمد بن احمد بن رشد‎ หรือ ابن رشد‎, Averroes; 14 เมษายน ค.ศ. 1126 — 10 ธันวาคม ค.ศ. 1198) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาเวร์โรเอส (Averroes) เป็นแพทย์และนักปรัชญาชาวอาหรับ หมวดหมู่:แพทย์ หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวอาหรับ.

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและอิบน์ รุชด์ · ดูเพิ่มเติม »

อไญยนิยม

อไญยนิยม (agnosticism) เป็นมุมมองที่ว่าค่าความจริงของการอ้างบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ้างเกี่ยวกับการมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของพระเจ้าใด ๆ ตลอดจนการอ้างอภิปรัชญา ศาสนาอื่นๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเรื่องเหนือธรรมชาติอื่นๆ ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ หรือไม่สามารถหยั่งรู้ได้ ตามคำกล่าวของนักปรัชญา William L. Rowe ในสำนึกซึ่งเป็นที่นิยม พวกอไญยนิยมคือผู้ที่ไม่ได้เชื่อหรือไม่ได้ไม่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าองค์ใด ขณะที่พวกเทวนิยมและอเทวนิยมเชื่อและไม่เชื่อ ตามลำดับ ลัทธิอไญยนิยม คือ ทัศนะที่เชื่อว่ามนุษย์เราไม่อาจรู้หรือพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ คำว่า “อไญย” หมายความว่า “โดยปราศจากความรู้” ทัศนะอไญยนิยม คือ ทัศนะที่มีเหตุผลต่อยอดขึ้นมาจากลัทธิอเทวนิยม (Atheism) ลัทธิอเทวนิยมไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า – พิสูจน์ไม่ได้ – แต่ลัทธิอไญยนิยมบอกว่าการทรงดำรงอยู่ของพระเจ้าพิสูจน์ไม่ได้ ดังนั้นมันจึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้ว่าพระเจ้าทรงมีอยู่หรือไม่ พูดอีกอย่างคือ ลัทธิอไญยนิยมเชื่อว่าพระเจ้าอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ไม่ปักใจเชื่อว่ามี และไม่ปักใจเชื่อว่าไม่มี เนื่องจากการเชื่อความไม่มีอยู่ของพระเจ้าจึงสอดคล้องกับ ลัทธิซาตาน ในประเภทแบบเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีอยู่จริง ซึ่งมุ่งเน้น ความเป็นเอกบุคคลและอัตนิยมเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและอไญยนิยม · ดูเพิ่มเติม »

อเทวนิยม

หมายเปาโลถึงชาวเอเฟซัส (2:12) จากพาไพรัส 46ในศตวรรษที่ 3 ตอนต้น อเทวนิยม (atheism) คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า และเชื่อในกฎธรรมชาติ ตรงกันข้ามกับเทวนิยมEncyclopædia Britannica 2009 อเทวนิยมแตกต่างจากอไญยนิยม (agnosticism) ซึ่งเป็นมุมมองที่ว่ามนุษย์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ รวมถึงปรากฏการณ์ที่ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ทางผัสสะ คำว่า atheism ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีก ἄθεος (atheos) อันมีความหมายว่า "ปราศจากเทพ" ถือเป็นคำหยาบที่ใช้เรียกผู้ปฏิเสธเทพที่สังคมบูชากัน หลังจากที่มีความคิดอย่างอิสระ (freethought) ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์ (skeptical inquiry) และการวิจารณ์ศาสนา (criticism of religion) เพิ่มขึ้นแล้ว การใช้คำนี้ก็มีความหมายอย่างแคบลง บุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มถือว่าตนเป็นผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องพระเทพ โดยเรียกตนเองว่า "ผู้ถืออเทวนิยม" (atheist) นั้น ใช้ชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากเหตุที่ว่า ความหมายและความเข้าใจของอเทวนิยมนั้น มีความแตกต่างกัน ในปัจจุบันจึงทราบได้ยากว่าในโลกมีผู้ถืออเทวนิยมกี่คน อิงตามการคาดคะเนในปี..

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและอเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ผู้รู้รอบด้าน

ลโอนาร์โด ดา วินชี ถือกันว่าเป็น “คนเรอเนสซองซ์” และเป็น “ผู้รู้รอบด้าน” คนสำคัญที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคนหนึ่ง ผู้รู้รอบด้าน (πολυμαθήςThe term was first recorded in written English in the early seventeenth century, polymath) คือผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ในการใช้ที่ไม่เป็นทางการเท่าใดนัก ผู้รู้รอบด้านอาจจะหมายถึงผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญสูง นักวิทยาศาสตร์สมัยโบราณมักจะเป็น “ผู้รู้รอบด้าน” โดยมาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบัน คำว่า “คนเรอเนสซองซ์” (Renaissance man) หรือ “คนของโลก” (homo universalis) ซึ่งเป็นคำที่มีความนิยมน้อยกว่าที่มาจากภาษาละตินเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ผู้รู้รอบด้าน” ที่ใช้ในการบรรยายถึงผู้มีการศึกษาดีและมีความเชี่ยวชาญในวิชาการต่างๆ หลายวิชา ลักษณะนี้มักจะปรากฏในโลกของอาหรับ ต่อมาในยุโรปความคิดนี้ก็มานิยมกันในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีจากความคิดที่เขียนโดยผู้แทนผู้มีความสามารถของยุคนั้นชื่อลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ (ค.ศ. 1404 – ค.ศ. 1472) ผู้กล่าวว่า “มนุษย์จะทำอะไรก็ได้ถ้าตั้งใจ” ประโยคนี้เป็นปรัชญาพื้นฐานของลัทธิมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์ ที่ถือว่าอำนาจอยู่มือของมนุษย์ ความไม่มีขอบเขตของความสามารถและการวิวัฒนาการ และการนำไปสู่ความคิดที่ว่ามนุษย์ควรจะโอบอุ้มความรู้ทั้งหลายและพัฒนาตนเองให้เต็มความสามารถเท่าที่จะอำนวย ฉะนั้นผู้มีความสามารถในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาจึงแสวงหาการพัฒนาความรู้ความสามารถทุกด้าน การพัฒนาทางทางร่างกาย และการสร้างความสำเร็จในทางสังคมและทางศิลปะ ตัวอย่างของผู้ที่ถือว่าเป็น “ผู้รู้รอบด้าน” ก็ได้แก่ เลโอนาร์โด ดา วินชี, พีทาโกรัส, อริสโตเติล, อาร์คิมิดีส, จาง เหิง (Zhang Heng), โอมาร์ คัยยาม, โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ และ เราะชีด-อัล-ดิน-ฮามาดานี (رشیدالدین طبیب -Rashid-al-Din Hamadani) ในภาษาไทย มักจะอ้างถึงผู้รู้รอบด้านเป็นพหูสูตด้ว.

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและผู้รู้รอบด้าน · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ล็อก

อห์น ล็อก จอห์น ล็อก (John Locke; 29 สิงหาคม พ.ศ. 2175-28 ตุลาคม พ.ศ. 2247) เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้ แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติ แนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสงสว่าง.

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและจอห์น ล็อก · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส

ักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส (Marcus Aurelius หรือ Marcus Aurelius Antoninus Augustus) (ราว 26 เมษายน ค.ศ. 121Augustan History, "Marcus Aurelius" – 17 มีนาคม ค.ศ. 180) มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 161 ถึง ค.ศ. 169 โดยปกครองร่วมกับ ลูกิอุส เวรุส (Lucius Verus) พระอนุชาบุญธรรม จนเวรุสสิ้นพระชนม์ในปี 169; จากนั้นเอาเรลิอุสทรงปกครองต่อมาโดยลำพังพระองค์เองระหว่างปี ค.ศ. 169 ถึง ค.ศ. 177 และ ทรงปกครองร่วมกับ ก็อมมอดุส (Commodus) ผู้เป็นราชโอรสของพระองค์ ระหว่าง ค.ศ. 177 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 180 มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของ “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และถือกันว่าเป็นนักปรัชญาลัทธิสโตอิก (Stoicism) คนสำคัญคนหนึ่ง เหตุการณ์สำคัญในสมัยการปกครองของมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ได้แก่สงครามในเอเชียกับจักรวรรดิพาร์เธียน (Parthian Empire), และกับชนเผ่าเจอร์มานิคตามบริเวณพรมแดนโรมัน-เจอร์มานิคัส (LimesGermanicus) เข้าไปในกอลและข้ามแม่น้ำดานูบ และการปฏิวัติทางตะวันออกที่นำโดยอาวิเดียส คาสเซียส (Avidius Cassius) ที่ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากความสามารถในการสงครามแล้วมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ยังมีงานเขียน “Meditations” ที่เขียนเป็นภาษากรีกระหว่างที่ทำการรณรงค์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส เจฟเฟอร์สัน

ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) (เกิดวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1743 - วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1826)The birth and death of Thomas Jefferson are given using the Gregorian calendar.

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและทอมัส เจฟเฟอร์สัน · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สัน

แรมบรันด์ท พีล ค.ศ. 1800 ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สัน (Jeffersonian democracy) เป็นประเด็นของจุดประสงค์ทางการเมืองต่างๆ ที่ตั้งตามชื่อประธานาธิบดีทอมัส เจฟเฟอร์สัน ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันมีอิทธิพลเป็นอันมากต่อการเมืองอเมริกันระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1800 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1820 และเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตยแนวแจ็คสันที่มามีอิทธิพลต่อจากแนวเจฟเฟอร์สัน บุคคลสำคัญๆ ที่สนับสนุนรายละเอียดของประชาธิปไตยแนวนี้คือตัวเจฟเฟอร์สันเอง, แอลเบิร์ต กาลลาติน, จอห์น แรนดอล์ฟ โรอันโนค และ แนธาเนีย เมคอน หัวใจของประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันมีลักษณะที่ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ข้างล่างที่กลุ่มเจฟเฟอร์สันได้ทำการเสนอในรูปของสุนทรพจน์และกฎหมายต่างๆ.

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สัน · ดูเพิ่มเติม »

โทมัส เพน

โทมัส เพน โทมัส เพน 29 มกราคม พ.ศ. 2280 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2352, นิวยอร์กซิตี, สหรัฐอเมริกา) เป็น ผู้เขียนหนังสือเล่มเล็ก, นักปฏิวัติ, นักคิดสุดโต่ง ปัญญาชน, และ ผู้เชื่อถือในพระเจ้า. เกิดในบริตเตนใหญ่, แต่อาศัยอยู่ในอเมริกา, อพยพมาอยู่ในอาณานิคมอเมริกัน ในขณะที่มีสงครามการเมือง, เป็นผูเขียนหลักในหนังสือที่ทรงอิทธิพล และมีผู้อ่านมากมาย ในหนังสือสามัญสำนึก,common sense, เป็นหนังสือที่กล่าวแนะนำให้อาณานิคมอเมริกัน เป็นเอกราชต่อบริตรินใหญ่ เพนมีอิทธิพลมากต่อการ ปฏิวัติฝรั่งเศส. เขาเขียนหนังสือ สิทธิมนุษยชน (Right of Man) เป็นคำแนะนำแนวความคิดอันนำไปสู่ ยุค แสงสว่างทางปัญญา (Enlightenment).แต่เขาก็เริ่มมีชื่อเสียงไม่ดีเมื่อเขียนหนังสือ ยุคสมัยของเหตุผล (The Age of Reason), ซึ่งเกี่ยวกับการเชื่อถือในพระเจ้า และโจมตีคำสอนของชาวคริสต์ ในหนังสือ และในหนังสือ In ความยุติธรรมของเกษตรกร (Agrarian Justice), เขาก็เริ่มแนะนำแนวคิดที่คล้ายกับสังคมนิยม. หมวดหมู่:นักเขียนชาวอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2280 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2352 หมวดหมู่:บุคคลจากนครนิวยอร์ก หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลนอร์ฟอล์ก.

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและโทมัส เพน · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์

อร์ทรันด์ อาร์เทอร์ วิลเลียม รัสเซลล์ (Bertrand Arthur William Russell; 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2415 - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513) เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักตรรกวิทยา ที่มีอิทธิพลอย่างสูงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นนักปรัชญาการศึกษาหัวรุนแรงที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคนหนึ่งของอังกฤษ เป็นผู้ที่ได้สร้างผลงานด้านการศึกษาในแนวปฏิรูปไว้มากมายหลายแขนง ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีอิทธิพลต่อการศึกษาในปัจจุบันอย่างมาก บรรดานักปรัชญารู้จักเขาในฐานะของผู้ให้กำเนิดทฤษฎีความรู้ (Epistemology หรือ Theory of Knowledge) นักคณิตศาสตร์รู้จักรัสเซลในฐานะบิดาแห่งตรรกวิทยา ผู้เขียนตำราคลาสสิกทางคณิตศาสตร์ คือหนังสือชื่อ Principia Mathematica นักฟิสิกส์รู้จักเขาในฐานะของผู้แต่งตำรา ABC of Relativity สำหรับคนทั่วไปรู้จักรัสเซลล์ในฐานะของนักจิตวิทยา นักการศึกษา นักการเมือง และนักเขียนผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เมื่อปี..

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ แมดิสัน

มส์ แมดิสัน (James Madison) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 4 แห่งสหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1751 และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1809 โดยเข้ารับตำแหน่งต่อจากโธมัส เจฟเฟอร์สัน ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1817 ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1836 และยังเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและเจมส์ แมดิสัน · ดูเพิ่มเติม »

เดอนี ดีเดอโร

อนี ดีเดอโร (Denis Diderot; 5 ตุลาคม ค.ศ. 1713 - 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1784) นักปรัชญาและนักวิจารณ์ศิลปะชาวฝรั่งเศส ประมาณกลางศตวรรษที่ 18 ได้มีการจัดงานแสดงนิทรรศการด้านจิตรกรรม ประติมากรรม การวาดภาพ และการแกะสลักที่ Salon Carré, Louvre โดยสมาชิกของ l’Académie royale de peinture ในกรุงปารีส ซึ่งงานแสดงผลงานเหล่านี้จัดขึ้นทุก 2 ปี ดีเดอโรซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจต่อจิตรกรรมเป็นอย่างมากของยุคแห่งความรู้แจ้ง เขาจึงติดตามชมภาพเขียนต่าง ๆ ที่จิตรกรนำมาแสดงในงานแล้วเขียนเป็นบทวิจารณ์ลงในวารสาร La Correspondance littéraire ตามคำขอของเพื่อนสนิทของเขา Grimm ซึ่งบทวิจารณ์เหล่านั้นเรียกรวม ๆ ว่า “บทวิจารณ์ภาพเขียน” (Les Salons) ดีเดอโรเริ่มช่วยเขียนบทวิจารณ์ศิลปะตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ฆราวาสนิยมและเดอนี ดีเดอโร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Secularism

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »