โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คโลนะเซแพม

ดัชนี คโลนะเซแพม

ลนะเซแพม (Clonazepam) เป็นยากันชักและรักษาโรคตื่นตระหนก และความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า อาการนั่งไม่ติดที่ (akathisia) เป็นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน --> ใช้โดยการรับประทาน มีผลภายในหนึ่ง ชม.

99 ความสัมพันธ์: ช่องไอออนพฤติกรรมกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริกกลูตาเมตกล้ามเนื้อการชักการลดขั้วการวินิจฉัยทางการแพทย์การทดลองทางคลินิกการควบคุมทางวิทยาศาสตร์การฆ่าตัวตายการตั้งครรภ์การติดการฉีดเข้าหลอดเลือดดำการนอนไม่หลับกาเฟอีนภาวะชักต่อเนื่องภาวะเสียความจำมนุษย์ยากันชักยาระงับอาการทางจิตยาหลอกยาแก้ซึมเศร้ารกระบบประสาทกลางระดับเชาวน์ปัญญาริสเพอริโดนริโตนาเวียร์รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบรีเฟล็กซ์ลอราเซแพมลิตรลิ้นวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์สมองสหรัฐสัตว์สารสื่อประสาทสารต้านฮิสตามีนสารเสพติดสิทธิบัตรหนูหนูหริ่งหน่วยรับความรู้สึกอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิสอาการท้องร่วงอาการไม่พึงประสงค์จากยาอิริโทรมัยซินฮอร์โมนจิตวิทยาบุคลิกภาพ...ดอลลาร์สหรัฐครึ่งชีวิตคลอรีนคลาริโทรมัยซินความพิการความจำความถี่ความดันโลหิตต่ำความง่วงความซึมเศร้า (อารมณ์)คาร์บามาเซพีนคีโตโคนาโซลตับประชานประสบการณ์ผิดธรรมดาประเทศกำลังพัฒนาปากนิติเวชศาสตร์น้ำเลือดแมวแอลดี 50โพรแลกตินโมลโรคลมชักโรควิตกกังวลโรคจิตโรคจิตเภทโรคตื่นตระหนกโรคซึมเศร้าโรคไมเกรนโคม่าโซเดียมฟลูออไรด์โปรตีนไอออนไดแอซิแพมไตไซเมทิดีนไนโตรเจนเบ็นโซไดอาเซพีนเฟนิโทอินเกรปฟรูตเกล็ดเลือดน้อยเมาค้างเมแทบอลิซึมเยื่อหุ้มเซลล์เอนไซม์เซลล์ประสาทเซลล์เกลียเซโรโทนิน ขยายดัชนี (49 มากกว่า) »

ช่องไอออน

ไอออนแชนเนล (Ion channel) เป็นโปรตีนผิวเซลล์อย่างหนึ่งซึ่งประกอบตัวเป็นท่อที่สามารถนำสารผ่านเข้าออก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านและควบคุมการไหลเข้าออกเซลล์ของสารประจุความต่างศักย์บนผิวเซลล์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประจุ หมวดหมู่:สรีรวิทยาไฟฟ้า หมวดหมู่:ไอออนแชนเนล.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและช่องไอออน · ดูเพิ่มเติม »

พฤติกรรม

ติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใ.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

กรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก

กรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (Gamma-Aminobutyric acid หรือ GABA) เป็นสารสื่อประสาทยับยั้งหลักในระบบประสาทส่วนกลางของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีบทบาทในการควบคุมภาวะกระตุ้นได้ของเซลล์ประสาทในระบบประสาท ในมนุษย์ GABA ยังมีหน้าที่ควบคุมความตึงของกล้ามเนื้อ.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก · ดูเพิ่มเติม »

กลูตาเมต

กลูตาเมต หรือ กรดกลูตามิค เป็นกรดอะมิโนชนิดที่พบมากที่สุดในโปรตีนตามธรรมชาติ กรดกลูตามิคจัดเป็นกรดอะมิโนชนิดที่ไม่จำเป็น ในทางเคมีนั้นกลูตาเมตเป็นไอออนลบของกรดกลูตามิก.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและกลูตาเมต · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การชัก

ัก (seizure) มีนิยามทางการแพทย์หมายถึงภาวะซึ่งมีภาวะกระตุ้นของเซลล์ประสาทในสมองอย่างมากผิดปกติ (abnormal excessive or synchronous neuronal activity in the brain) ซึ่งอาจแสดงอาการให้เห็นได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นการชักเกร็งกระตุกอย่างรุนแรง ไปจนถึงเพียงเหม่อลอยชั่วขณ.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและการชัก · ดูเพิ่มเติม »

การลดขั้ว

ในชีววิทยา การลดขั้ว (depolarization) เป็นความเปลี่ยนแปลงของศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ โดยความเป็นขั้วบวกมากขึ้น หรือเป็นขั้วลบน้อยลง ในเซลล์ประสาทหรือเซลล์อย่างอื่นบางอย่าง และถ้าการลดขั้วมีระดับที่สูงพอ ก็จะทำให้เกิดศักยะงานในเซลล์ได้ การเพิ่มขั้ว (Hyperpolarization) เป็นขบวนการตรงข้ามกับการลดขั้ว เป็นการยับยั้งหรือห้ามการเกิดขึ้นของศักยะงาน.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและการลดขั้ว · ดูเพิ่มเติม »

การวินิจฉัยทางการแพทย์

การวินิจฉัยทางการแพทย์เป็นวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งสาเหตุซึ่งเป็นโรคหรือความผิดปกติ รวมถึงความเห็นอันได้มาจากกระบวนการนั้น เกณฑ์การวินิจฉัยหมายถึงผลรวมระหว่างอาการ อาการแสดง และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แพทย์ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำวินิจฉัยที่ถูกต้อง.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและการวินิจฉัยทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองทางคลินิก

การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (clinical trials) คือชุดของกระบวนการในการวิจัยทางการแพทย์และการพัฒนายาที่ทำขึ้นเพื่อประเมินข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย (รวมทั้งผลไม่พึงประสงค์จากยาและผลข้างเคียงของวิธีการรักษา) และประสิทธิภาพของเครื่องมือต่างๆ ในการให้บริการสุขภาพ (เช่น ยา การตรวจ อุปกรณ์ วิธีการรักษา ฯลฯ) การวิจัยจะเริ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการศึกษาที่ไม่ใช่ทางคลินิกจนได้ข้อมูลที่น่าพอใจแล้ว และผ่านการรับรองขององค์กรจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ในการทำวิจัยเช่นนี้ผู้วิจัยจะรวบรวมอาสาสมัครทั้งที่มีสุขภาพปกติและ/หรือป่วยด้วยภาวะที่สนใจเข้ามาศึกษาในการวิจัยนำร่องขนาดเล็กก่อน จากนั้นจึงเริ่มการวิจัยขนาดใหญ่ต่อไป ส่วนใหญ่ทำโดยเปรียบเทียบของใหม่กับของเก่าที่ใช้อยู่ เมื่อศึกษาพบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว การวิจัยลำดับถัดไปจะเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยให้มากขึ้น การวิจัยเช่นนี้มีขนาดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อาจทำในศูนย์วิจัยแห่งเดียวหรือหลายศูนย์หลายประเทศพร้อมๆ กัน ก็มี หมวดหมู่:การวิจัยทางคลินิก หมวดหมู่:การออกแบบการทดลอง หมวดหมู่:เภสัชวิทยา หมวดหมู่:อุตสาหกรรมยา หมวดหมู่:วิทยาการระบาด หมวดหมู่:วิธีการประเมินผล หมวดหมู่:การค้นพบยาเสพติด หมวดหมู่:สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หมวดหมู่:การทดลองทางคลินิก หมวดหมู่:การวิจัยทางการพยาบาล.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและการทดลองทางคลินิก · ดูเพิ่มเติม »

การควบคุมทางวิทยาศาสตร์

แบ่งพืชเหมือนกันเป็นสองกลุ่มแล้วให้ปุ๋ยกับกลุ่มเดียว ถ้าเกิดความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้ปุ๋ย และ "กลุ่มควบคุม" ที่ไม่ได้ ความแตกต่างอาจจะเกิดจากปุ๋ย การควบคุมทางวิทยาศาสตร์ (scientific control) หรือ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์ เป็นการทดลอง หรือการสังเกตการณ์อันหนึ่ง ที่ทำเพื่อใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองว่า การกระทำหรือความต่างอย่างอื่นที่มีในกลุ่มทดลองแต่ไม่มีในกลุ่มควบคุม มีผลต่างต่อกลุ่มทดลองอย่างไร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นกลุ่มที่ทำเพื่อลดผลต่างของตัวแปรอื่น ๆ ยกเว้นตัวแปรอิสระเดียวที่เป็นประเด็นการศึกษา เป็นวิธีการที่เพิ่มความน่าเชื่อถือของผลต่างที่พบ (ที่ควรจะเกิดจากความต่างของตัวแปรอิสระอย่างเดียว) บ่อยครั้งโดยเปรียบเทียบค่าวัดจากกลุ่มควบคุมและค่าวัดในกลุ่มอื่น ๆ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างกลุ่มควบคุม (บางครั้งเรียกว่า กลุ่มควบคุมของการทดลอง) ที่ใช้ตรวจสอบผลของปุ๋ย โดยให้ปุ๋ยกับพืชเพียงครึ่งเดียวในแปลง พืชที่ไม่ได้รับปุ๋ยก็คือกลุ่มควบคุม เพราะว่าเป็นกลุ่มแสดงระดับการเติบโตพื้นฐาน ที่จะใช้เปรียบเทียบกับพืชที่ใส่ปุ๋ย ถ้าไม่มีกลุ่มควบคุม การทดลองจะไม่สามารถกำหนดได้ว่า พืชที่ใส่ปุ๋ย โตได้ "ดีกว่า" พืชที่ไม่ใส่หรือไม่ ในการทดลองสมบูรณ์แบบ ตัวแปรทั้งหมดจะมีการควบคุม (คือโดยเปรียบเทียบค่าวัดต่าง ๆ กับกลุ่มควบคุม) และดังนั้น ถ้าตัวแปรอื่น ๆ ควบคุมได้อย่างที่คาดหวัง ก็จะสามารถสรุปได้ว่า การทดลองนั้นดำเนินไปอย่างที่ตั้งใจ และผลที่พบในการทดลอง มาจากความต่างของตัวแปรอิสระที่เป็นประเด็นศึกษา ซึ่งก็คือ เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ทำงานอ้างได้ว่า "สถานการณ์ 2 อย่างเหมือนกันทุกอย่าง จนกระทั่งปัจจัย ก เกิดขึ้น และเนื่องจากปัจจัย ก เป็นความแตกต่างอย่างเดียวที่มีในสองสถานการณ์ ผลที่พบจึงเกิดจากปัจจัย ก".

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและการควบคุมทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตาย หรือ อัตวินิบาตกรรม เป็นการกระทำให้ตนเองถึงแก่ความตายอย่างตั้งใจ การฆ่าตัวตายมักเกิดจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โรคพิษสุรา หรือการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเช่นความลำบากทางการเงิน หรือปัญหากับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็มีส่วนเช่นกัน ความพยายามป้องกันการฆ่าตัวตายหมายรวมถึงการจำกัดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปืน และสารพิษ การรักษาอาการทางจิตและการใช้สารเสพติด และการปรับปรุงสถานะทางการเงิน แม้ว่าบริการที่ปรึกษาสายด่วนจะมีทั่วไป แต่แทบไม่มีหลักฐานว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ วิธีการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยที่สุดแตกต่างกันไปตามประเทศและส่วนหนึ่งจะขึ้นกับความเป็นไปได้ วิธีการทั่วไปได้แก่ การแขวนคอ การวางยาด้วยสารฆ่าสัตว์รังควาน และอาวุธปืน การฆ่าตัวตายคร่าชีวิตคน 842,000 คนใน..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและการฆ่าตัวตาย · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การติด

การติด (addiction) หมายถึง การแสดงพฤติกรรมหนึ่งซ้ำ ๆ แม้จะมีผลเสีย หรือมีความบกพร่องทางประสาทวิทยาอันนำไปสู่พฤติกรรมดังกล่าว การติด เช่น การติดสารเสพติด การติดอาหาร การติดออกกำลังกาย การติดคอมพิวเตอร์และการพนัน.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและการติด · ดูเพิ่มเติม »

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

การนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการPunnoose Ann, Golub Robert, E Alison.(2012)"Insomnia", "JAMA".

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและการนอนไม่หลับ · ดูเพิ่มเติม »

กาเฟอีน

กาเฟอีน (caféine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ, ชา, โคล่า กาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาต และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ กาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นในกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและกาเฟอีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะชักต่อเนื่อง

ภาวะชักต่อเนื่องหรือโรคลมชักชนิดต่อเนื่องคือภาวะที่เกิดอาการชักติดต่อกันนานเกิน 30 นาที หรือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการชักสั้นๆ แต่หลายครั้ง ติดต่อกันนานเกิน 30 นาที โดยระหว่างการชักแต่ละครั้งผู้ป่วยไม่ได้ฟื้นคืนสติเป็นปกติ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:โรคลมชัก หมวดหมู่:กุมารเวชศาสตร์.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและภาวะชักต่อเนื่อง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียความจำ

วะเสียความจำ (amnesia) เป็นการขาดความจำที่เกิดจากความเสียหายต่อสมอง โรคหรือการบาดเจ็บทางใจGazzaniga, M., Ivry, R., & Mangun, G. (2009) Cognitive Neuroscience: The biology of the mind.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและภาวะเสียความจำ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยากันชัก

แอนติอิพิเลปติก (อังกฤษ:antiepileptics) มีอีกชื่อว่า แอนติคอนวัลแซนต์ (anticonvulsants) เป็นยาต้านและป้องกันอาการชักเช่นอาการชักจากลมบ้าหมู กลไกการออกฤทธิ์คือการบล็อกโวลเตก-เซนซิตีพ โซเดียมแชแนล (voltage-sensitive sodium channel) ในสมอง.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและยากันชัก · ดูเพิ่มเติม »

ยาระงับอาการทางจิต

ระงับอาการทางจิต (Antipsychotic หรือ Neuroleptic) หรือ ยากล่อมประสาทหลัก (Major tranquilizer) เป็นยาประเภทหนึ่งที่ใช้รักษาโรคจิต (ได้แก่อาการหลงผิด, ประสาทหลอน, อาการจิตหวาดระแวง หรือ ความผิดปรกติในความคิด) โดยเฉพาะโรคจิตเภทและโรคอารมณ์สองขั้ว อย่างไรก็ตาม มีการใช้ยานี้เพื่อรักษาโรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคจิตเช่นกัน การใช้ยาประเภทนี้ติดต่อกันในระยะยาวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันได้แก่ การเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ, เต้านมโต, และโรคอ้วนลงพุง ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมจากการใช้ยาประเภทนี้.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและยาระงับอาการทางจิต · ดูเพิ่มเติม »

ยาหลอก

หลอก (placebo) เป็นการรักษาโรคหรืออาการอื่นทางการแพทย์ที่ไม่แท้หรือไม่มีผลทางการแพทย์ โดยตั้งใจให้หลอกผู้รับการรักษา บางครั้ง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปลอมจะมีการพัฒนาของอาการทางการแพทย์ที่รับรู้หรือแท้จริง ปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยทั่วไปเรียกว่า ปรากฏการณ์ยาหลอก ในการวิจัยทางการแพทย์ มีการให้ยาหลอกเป็นการรักษาควบคุมและขึ้นอยู่กับการหลอกที่ควบคุมได้ ยาหลอกสามัญรวมถึง ยาเม็ดเฉื่อย การผ่าตัดหลอก และกระบวนการอื่นที่ใช้สารสนเทศเท็จ อย่างไรก็ดี ยาหลอกสามารถมีผลทางบวกอย่างน่าประหลาดใจต่อผู้ป่วยที่ทราบว่า การรักษาที่ให้แก่ตนนั้นปราศจากยาออกฤทธิ์ใด ๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ทราบว่าไม่ได้รับยาหลอก.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและยาหลอก · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้ซึมเศร้า

แผงยาโปรแซ็ก (ฟลูอ๊อกซิติน) ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) โครงสร้างทางเคมีของ venlafaxine ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) เป็นยาเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอื่น ๆ รวมทั้ง dysthymia, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder), ความเจ็บปวดเรื้อรัง, ความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain), และในบางกรณี อาการปวดระดู การกรน โรคไมเกรน โรคสมาธิสั้น การติด การติดสารเสพติด และความผิดปกติในการนอน โดยสามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือรวมกับยาชนิดอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง กลุ่มยาแก้ซึมเศร้าที่สำคัญที่สุดรวมทั้ง selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs), serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs), tricyclic antidepressants (TCAs), monoamine oxidase inhibitors (MAOIs), reversible monoamine oxidase A inhibitors (rMAO-A inhibitors), tetracyclic antidepressants (TeCAs), และ noradrenergic and specific serotonergic antidepressant (NaSSAs) โดยมียาสมุนไพรจากพืช Hypericum perforatum (St John's wort) ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าเหมือนกัน.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

รก

ตำแหน่งของรกในครรภ์ รก คืออวัยวะพิเศษที่สร้างขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกและกำจัดของเสีย ด้านหนึ่งของรกต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของทารก อีกด้านของรกจะเกาะกับผนังมดลูก เลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่มีการแลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ระหว่างกัน หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ หมวดหมู่:คัพภวิทยา หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและรก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ระดับเชาวน์ปัญญา

ระดับเชาวน์ปัญญา หรือ ไอคิว (IQ ย่อจาก Intelligence quotient) หมายถึง ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง ไอคิว เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก ไอคิว สามารถวัดออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลขที่แน่นอนได้.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและระดับเชาวน์ปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ริสเพอริโดน

ริสเพอริโดน (Risperidone) หรือชื่อทางการค้าคือ ไรสเปอร์ดัล (Risperdal) เป็นยาระงับอาการทางจิต ใช้โดยหลักเพื่อรักษาโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว และความหงุดหงิดของคนไข้โรคออทิซึม --> เป็นยาที่ใช้รับประทานหรือฉีดในกล้ามเนื้อ โดยแบบฉีดมีฤทธิ์ยาวนานประมาณ 2 อาทิตย์ ผลข้างเคียงที่สามัญรวมทั้งปัญหาการเคลื่อนไหว (extrapyramidal symptoms) ความง่วง ปัญหาในการมองเห็น ท้องผูก และน้ำหนักเพิ่ม ผลข้างเคียงหนักอาจรวมความพิการทางการเคลื่อนไหวแบบถาวรคืออาการยึกยือเหตุยา (tardive dyskinesia) กลุ่มอาการร้ายจากยารักษาโรคจิต (neuroleptic malignant syndrome) โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้น และภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก (hyperglycemia) ในผู้สูงอายุที่มีอาการโรคจิต (psychosis) เนื่องจากภาวะสมองเสื่อม อาจจะเพิ่มโอกาสเสียชีวิต --> ยังไม่ชัดเจนว่ายาปลอดภัยที่จะใช้ระหว่างมีครรภ์หรือไม่ --> ริสเพอริโดนเป็นยากลุ่ม atypical antipsychotic --> กลไกการออกฤทธิ์ของมันยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าเกี่ยวกับความเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบโดพามีน (dopamine antagonist) งานศึกษาเกี่ยวกับยาเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และได้รับอนุญาตให้ขายในสหรัฐอเมริกาในปี..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและริสเพอริโดน · ดูเพิ่มเติม »

ริโตนาเวียร์

ริโตนาเวียร์ (Ritonavir) หมวดหมู่:ยาหลักขององค์การอนามัยโลก หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:ยาต้านไวรัส.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและริโตนาเวียร์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

รีเฟล็กซ์

รีเฟล็กซ์ หรือ ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (Reflex) เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกการควบคุมของจิตใจ (involuntary) ที่เกิดขึ้นอย่างแทบฉับพลันทันที (instantaneous) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น (stimulus) โดยปกติและเมื่อหมายถึงรีเฟล็กซ์ของมนุษย์แล้ว รีเฟล็กซ์จะเกิดผ่านระบบการนำกระแสประสาทที่เรียกว่า วงรีเฟล็กซ์ (reflex arc) ซึ่งเมื่อกล่าวถึงสัตว์ประเภทอื่นๆ คำว่ารีเฟล็กซ์อาจมีรายละเอียดของความหมายที่แตกต่างกันออกไปได้.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและรีเฟล็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอราเซแพม

ลอราเซแพม (Lorazepam) หรือชื่อทางการค้าคือ อะทีแวน (Ativan) เป็นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ใช้เพื่อรักษาโรควิตกกังวล, การนอนไม่หลับ ตลอดจนกลุ่มอาการชักอย่าง ภาวะชักต่อเนื่อง, โรคสั่นเพ้อเหตุขาดสุรา และอาการคลื่นไส้-อาเจียนจากการให้เคมีบำบัด ยาลอราเซแพมอาจถูกใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะเสียความจำ และใช้เป็นยานอนหลับสำหรับผู้ป่วยที่เครื่องช่วยหายใจ อาจมีการยานี้เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่ส่วนใหญ่แล้วมักนิยมใช้ยามิดาโซแลมมากกว่า นอกจากนี้ อาจมีการใช้ลอราเซแพมเป็นยาควบคู่ในการรักษากลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจากการเสพโคเคน สามารถรับยานี้ได้โดยวิธีรับประทาน, ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การฉีดหนึ่งครั้งสามารถออกฤทธิได้ทั้งวัน ผู้รับยาโดยวิธีฉีดควรอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้แก่อาการอ่อนแรง, ง่วงนอน, ความดันเลือดต่ำ และลดอัตราการหายใจ การใช้ยาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจเพิ่มความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย การใช้ยาในระยะยาวอาจก่อให้เกิดการเสพติด การหยุดการใช้ยาอย่างกะทันหันในผู้ที่ใช้ยาระยะยาวอาจก่อให้เกิดอาการกระวนกระวาย, สั่นเพ้อ, สับสน, อาเจียน อาการข้างเคียงที่แสดงในผู้สูงอายุมักแย่กว่าที่แสดงในคนหนุ่ม นอกจากนี้ การใช้ลอราเซแพมยังอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุล้มจนกระดูกสะโพกหัก ด้วยเหตุเหล่านี้ แพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยานี้เป็นเวลาราว 2 สัปดาห์ และเต็มที่ไม่เกิน 4 สัปดาห์ ลอราเซแพมได้รับการจดสิทธิบัตรใน..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและลอราเซแพม · ดูเพิ่มเติม »

ลิตร

ลิตร (litre) เป็นหน่วยวัดปริมาตรตามมาตราเมตริก 1 ลิตร มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและลิตร · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้น

ลิ้น เป็นมัดของกล้ามเนื้อโครงร่างขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณฐานของช่องปากเพื่อรองรับอาหาร และช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการรับรส บริเวณพื้นผิวของลิ้นปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรส (taste bud) ลิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จึงช่วยในการออกเสียง ลิ้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำลายให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และเลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการทำงานและการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและลิ้น · ดูเพิ่มเติม »

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine ตัวย่อ NEJM) เป็นวารสารการแพทย์ภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยสมาคมการแพทย์รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Medical Society) เป็นวารสารที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันที่มีเกียรติที่สุดฉบับหนึ่งของโลก และที่ตีพิมพ์ต่อเนื่องกันมายาวนานมากที่สุด ในประเทศไทย เว็บไซต์ของวารสารเปิดให้อ่านฟรีเป็นบางเนื้อห.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สารสื่อประสาท

รสื่อประสาท (neurotransmitter) คือ สารเคมีที่มีหน้าที่ในการนำ, ขยาย และควบคุมสัญญาณไฟฟ้าจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ตามระบอบความเชื่อ ที่ตั้งขึ้นในทศวรรษที่ 1960 โดยที่สารเคมีนั้นจะเป็นสารสื่อประสาทได้จะต้องเป็นจริงตามเงื่อนไขดังนี้.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและสารสื่อประสาท · ดูเพิ่มเติม »

สารต้านฮิสตามีน

รต้านฮิสตามีน (antihistamine) หรือ ทั่วไปเรียกว่า ยาแก้แพ้ เป็น ยา ที่ใช้กำจัดหรือลดผลของ ฮิสตามีน (histamine) ซึ่งเป็นเป็นสารเคมีที่ถูกปลดปล่อยภายในร่างกายจาก ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (allergic reactions) โดยผ่านการกระทำที่ ตัวรับฮิสตามีน (histamine receptors) สารที่มีผลในการรักษาจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งตัวรับฮีสทามีนนี้จึงถูกเรียกว่า สารต้านฮีสตามีน - สารอื่นที่มีผลต้านฮีสทามีนแต่ไม่ออกฤทธิ์ที่ ตัวรับฮิสตามีน จะไม่เป็นสารต้านฮีสทามีนที่แท้จริง โดยทั่วไป สารต้านฮีสตามีนจะหมายถึง ตัวรับปฏิปักษ์ H1 ซึ่งเรียกว่า สารต้านฮิสตามีน-H1 เราพบว่า สารต้านฮิสตามีน-H1เป็น ตัวทำการกลับ (inverse agonist) ที่ตัวรับฮิสตามีน-H1มากกว่าที่จะเป็น ตัวรับปฏิปักษ์ per se.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและสารต้านฮิสตามีน · ดูเพิ่มเติม »

สารเสพติด

รเสพติด หรือ ยาเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก็ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใ.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและสารเสพติด · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิบัตร

ทธิบัตร (patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและสิทธิบัตร · ดูเพิ่มเติม »

หนู

หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและหนู · ดูเพิ่มเติม »

หนูหริ่ง

ระวังสับสนกับสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า: หมูหริ่ง บุคคลดูที่: สมบัติ บุญงามอนงค์ หนูหริ่ง เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mus หนูหริ่งเป็นหนูที่มีขนาดเล็ก มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับหนูในสกุล Rattus แต่ก็ยังมีขนาดเล็กกว่า แม้แต่หนูจี๊ด (R. exulans) ซึ่งเป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุล หนูหริ่งก็ยังเล็กกว่า ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 1–1.5 เดือน ขณะที่ตัวผู้ 1–2 เดือน หนูหริ่งเป็นหนูอีกจำพวกหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปทั้งในบ้านเรือนและในพื้นที่เกษตรกรรมด้วย ถือเป็นหนูนา ที่เป็นศัตรูพืชที่สำคัญอีกจำพวกหนึ่งรวมกับหนูในสกุลอื่น หนูหริ่งชนิดที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ หนูหริ่งบ้าน (M. musculus) ซึ่งเป็นหนูอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในบ้านเรือน ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมนำมาเป็นสัตว์ทดลองในทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน ในแบบที่เป็นหนูเผือกทั้งตัว หรือมีสีสันที่หลากหลายในตัวเดียว เรียกว่า "หนูถีบจักร" หรือ "หนูขาว" โดยเริ่มครั้งแรกมาจากพระราชวังในจีนและญี่ปุ่น นอกจากนี้แล้ว หนูมาซิโดเนีย (M. macedonicus) ที่แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเมเตอร์เรเนียนและประเทศในแถบตะวันออกกลางที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยังเป็นสัตว์รังควานที่รบกวนมนุษย์มานานแล้วถึง 15,000 ปี ซึ่งเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นยุคก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการเพาะปลูกเสียอีก โดยเข้ามาหาอาหารถึงในชุมชนมนุษย์ โดยมีหลักฐานเป็นฟอสซิลฟันของหนูชนิดนี้นับพันตัว ปัจจุบันได้มีการอนุกรมวิธานหนูหริ่งไว้ประมาณ 38 ชนิด ในประเทศไทยพบทั้งหมด 6 ชนิด นอกจากหนูหริ่งบ้านแล้ว ยังมี หนูหริ่งใหญ่ (M. cookii), หนูหริ่งนาหางสั้น (M. cervicolor), หนูหริ่งนาหางยาว (M. caroli), หนูหริ่งป่าใหญ่ขนเสี้ยน (M. shotridgei) และหนูหริ่งป่าเล็กขนเสี้ยน (M. pahari).

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและหนูหริ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับความรู้สึก

หน่วยรับความรู้สึก, ตัวรับหรือที่รับ (receptor) ในชีวเคมี เป็นโปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ หรือในไซโทพลาสซึมหรือนิวเคลียสที่จะเชื่อมต่อกับโมเลกุลเฉพาะซึ่งเรียกว่า ลิแกนด์ (ligand) เช่น สารสื่อประสาท, ฮอร์โมน หรือสารประกอบอื่นๆ และทำให้เกิดการเริ่มต้นตอบสนองของเซลล์ต่อลิแกนด์นั้น.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและหน่วยรับความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส

อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (amyotrophic lateral sclerosis (ALS) หรือ โรคของเซลล์ประสาทสั่งการ motor neuron disease (MND)), โรคชาร์โคต์ (Charcot disease) หรือ โรคลู เกห์ริก (Lou Gehrig's disease) เป็นโรคเสื่อมของระบบประสาทชนิดหนึ่งซึ่งมีสาเหตุได้หลายอย่าง มีลักษณะเฉพาะคือเกิดการฝ่อของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อเกร็งและอ่อนแรงลงเรื่อยๆ มีอาการพูดลำบาก กลืนลำบาก หายใจลำบาก โดย ALS เป็นโรคของเซลล์ประสาทสั่งการที่พบบ่อยที่สุด จากโรคในกลุ่มนี้ 5 โรค อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ หรือความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงทำให้กล้ามเนื้อตามแขนและขาอ่อนแรงลง กลืนลำบาก พูดไม่ชัด โดยเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง เมื่อเซลล์เสื่อมค่อย ๆ ตายไปในที่สุด ในทางการแพทย์มีอีกชื่อว่า "โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง" (motor neuron disease; MND) หรือ "โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม" ในสหรัฐอเมริกาจะรู้จักกันดีในชื่อว่า "Lou Gehrig's Disease" (ลู-เก-ริก) ซึ่งตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส · ดูเพิ่มเติม »

อาการท้องร่วง

อาการท้องร่วง (diarrhea หรือ diarrhoea) เป็นภาวะมีการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำอย่างน้อยสามครั้งต่อวัน มักกินเวลาไม่กี่วันและอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำจากการเสียสารน้ำ อาการแสดงของภาวะขาดน้ำมักเริ่มด้วยการเสียความตึงตัวของผิวหนังและบุคลิกภาพเปลี่ยน ซึ่งสามารถลุกลามเป็นการถ่ายปัสสาวะลดลง สีผิวหนังซีด อัตราหัวใจเต้นเร็ว และการตอบสนองลดลงเมื่อภาวะขาดน้ำรุนแรง อย่างไรก็ดี อุจจาระเหลวแต่ไม่เป็นน้ำในทารกที่กินนมแม่อาจเป็นปกติ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การติดเชื้อของลำไส้อาจเนื่องจากไวรัส แบคทีเรียหรือปรสิต เป็นภาวะที่เรียก กระเพาะและลำไส้เล็กอักเสบ (gastroenteritis) การติดเชื้อเหล่านี้มักได้รับจากอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนอุจจาระ หรือโดยตรงจากบุคคลอื่นที่ติดเชื้อ อาการท้องร่วงอารจแบ่งได้เป็นสามประเภท คือ อาการท้องร่วงเป็นน้ำระยะสั้น อาการท้องร่วงเป็นเลือดระยะสั้น และหากกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์จะเป็นอาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการท้องร่วงเป็นน้ำระยะสั้นอาจเนื่องจากการติดเชื้ออหิวาตกโรคซึ่งพบยากในประเทศพัฒนาแล้ว หากมีเลือดอยู่ด้วยจะเรียก โรคบิด อาการท้องร่วงมีบางสาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อซึ่งมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส (แพ้นม) โรคลำไส้อักเสบ ยาจำนวนหนึ่ง และกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น ในผู้ป่วยส่วนมาก ไม่จำเป็นต้องเพาะเชื้ออุจจาระเพื่อยืนยันสาเหตุแน่ชัด การป้องกันอาการท้องร่วงจากการติดเชื้อทำได้โดยปรับปรุงการสุขาภิบาล มีน้ำดื่มสะอาดและล้างมือด้วยสบู่ แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือนเช่นเดียวกับการรับวัคซีนโรตาไวรัส สารน้ำเกลือแร่ (ORS) ซึ่งเป็นน้ำสะอาดที่มีเกลือและน้ำตาลปริมาณหนึ่ง เป็นการรักษาอันดับแรก นอกจากนี้ยังแนะนำยาเม็ดสังกะสี มีการประเมินว่าการรักษาเหล่านี้ช่วยชีวิตเด็ก 50 ล้านคนใน 25 ปีที่ผ่านมา เมื่อบุคคลมีอาการท้องร่วง แนะนำให้กินอาหารเพื่อสุขภาพและทารกกินนมแม่ต่อไป หากหา ORS พาณิชย์ไม่ได้ อาจใช้สารละลายทำเองก็ได้ ในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้สารน้ำเข้าหลอดเลือดดำ ทว่า ผู้ป่วยส่วนมากสามารถรักษาได้ดีด้วยสารน้ำทางปาก แม้ว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะน้อย แต่อาจแนะนำให้ผู้ป่วยซึ่งมีอาการท้องร่วงเป็นเลือดและไข้สูง ผู้ที่มีอาการท้องร่วงรุนแรงหลังท่องเที่ยว และผู้ที่เพาะแบคทีเรียหรือปรสิตบางชนิดขึ้นในอุจจาระ โลเพอราไมด์อาจช่วยลดจำนวนการถ่ายอุจจาระ แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยรุนแรง มีผู้ป่วยอาการท้องร่วงประมาณ 1,700 ถึง 5,000 ล้านคนต่อปี พบมากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเด็กเล็กมีอาการท้องร่วงโดยเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี มีการประเมินยอดผู้เสียชีวิตจากอาการท้องร่วง 1.26 ล้านคนในปี 2556 ลดลงจาก 2.58 ล้านคนในปี 2533 ในปี 2555 อาการท้องร่วงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุดอันดับสองในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี (0.76 ล้านคนหรือ 11%) คราวอาการท้องร่วงบ่อยยังเป็นสาเหตุทุพโภชนาการที่พบมากและเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในเด็กอายุน้อยกว่าห้าปี ปัญหาระยะยาวอื่นซึ่งอาจเกิดได้มีการเติบโตช้าและพัฒนาการทางสติปัญญาไม่ดี.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและอาการท้องร่วง · ดูเพิ่มเติม »

อาการไม่พึงประสงค์จากยา

อาการไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reaction, ADR) คือภาวะซึ่งมีผลเสียจากการใช้ยาในขนาดปกติ ในการให้ยาแบบปกติ อาจเกิดหลังการให้ยาเพียงครั้งเดียว หรือเมื่อให้เป็นเวลานาน หรือเมื่อให้พร้อมกับยาอื่น ก็ได้ ภาวะนี้แตกต่างจากผลข้างเคียงของยาตรงที่ผลข้างเคียงของยานั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์แต่เพียงอย่างเดียว วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากยาเรียกว่า pharmacovigilance Category:เภสัชวิทยา.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและอาการไม่พึงประสงค์จากยา · ดูเพิ่มเติม »

อิริโทรมัยซิน

อีริโธรมัยซิน (Erythromycin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolides) ซึ่งใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย ซึ่งยาในกลุ่มดังกล่าว รวมถึงอีริโธรมัยซินนั้นมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียได้คล้ายคลึงหรือกว้างกว่ายาในกลุ่มเพนนิซิลิน (Penicillins) เล็กน้อย โดยยาดังกล่าวมักถูกสั่งใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ต่อยากลุ่มเพนนิซิลิน สำหรับในกรณีที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจนั้น ยาดังกล่าวจะออกฤทธิ์ครอบคุลมเชื้อกลุ่ม Atypical pathogens ได้ดีกว่า ได้แก่ ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) และ ลิจิโอเนลลา (Legionella) โดยบริษัทแรกที่ผลิตยาชนิดนี้ออกสู่ตลาดเป็นรายแรกคือ Eli Lilly and Company จนกระทั่งในปัจจุบัน ยาชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ erythromycin ethylsuccinate (EES) ซึ่งเป็นรูปแบบเกลือเอสเทอร์ที่ถูกใช้กันโดยส่วนใหญ่ และยาดังกล่าวมักถูกนำไปปรับประยุกต์เพื่อใช้ในการบริหารยาโดยการหยอดตาสำหรับเด็กแรกเกิดเพื่อป้องกันเยื่อตาอักเสบในทารกแรกเกิด (neonatal conjunctivitis) และถือเป็นยาทางเลือกรองสำหรับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexual transmitted diseases; STDs) บางโรคอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังมีการใช้อีริโธรมัยซินเพื่อรักษาภาวะที่มีระยะเวลาที่ใช้ในการบีบตัวของกระเพาะอาหารเพื่อดันอาหารลงสู่ลำไส้เล็กนานกว่าปกติ (Delayed gastric emptying time) แต่การใช้ในข้อบ่งชี้ดังกล่าวนั้น เป็นการใช้ยาจากประโยชน์นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในฉลาก (Off-label use basis) ในกรณีที่ต้องการผลทางเภสัชจลนศาตร์ที่ดีกว่าในผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (hospitalized patients) อาจมีการพิจารณาใช้ยาอีริโธรมัยซินในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV) แทน อย่างไรก็ตาม การใช้ยาอีริโธรมัยซินในรูปแบบรับประทานเพื่อแก้ไขความผิดปกติของทางเดินอาหารข้างต้นนั้นยังมีข้อมูลจำกัดในเรื่องของประสิทธิภาพของยาในระยะยาว จากสูตรโคงสร้างทางเคมีของอีริโธรมัยซินซึ่งเป็นสารประกอบแมคโครไซคลิค (macrocyclic compound) ที่ประกอบไปด้วยวงแหวนแลคโตน (Lactone ring) จำนวน 14 วง, มีศูนย์ไครัล (Chiral center หรือ asymmetric center) มากถึง 10 ตำแหน่ง และต่อกับน้ำตาลอีก 2 โมเลกุล คือ (L-cladinose และ D-desosamine) ทำให้สารประกอบชนิดนี้ยากต่อการสังเคราะห์เลียนแบบเป็นอย่างมาก ดังนั้น การผลิตยาอีริโธรมัยซินนี้จึงต้องผลิตจากการคัดแยกจากสารผสมที่ได้จากการสันดาปของเชื้อแอคติโนมัยสีท (Actinomycete) ชื่อวิทยาศาสตร์ แซคคาโรโพลีสปอรา อีรีธราอี (''Saccharopolyspora erythraea'') อีริโธรมัยซินเป็นยาอีกหนึ่งชนิดในรายการจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นรายการยาที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบบริการสุขภาพพื้นฐาน (ฺBasic health system) ของแต่ละประเท.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและอิริโทรมัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์โมน

อร์โมน (hormone มาจากภาษากรีก horman แปลว่า เคลื่อนไหว) คือ ตัวนำส่งสารเคมีจากเซลล์กลุ่มของเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งพืชและสัตว์ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและฮอร์โมน · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาบุคลิกภาพ

ตวิทยาบุคลิกภาพ (personality psychology) เป็นสาขาหนึ่งของจิตวิทยาที่ศึกษาเรื่องบุคลิกภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล คำว่า "บุคลิกภาพ" (personality) สามารถนิยามได้ว่าเป็นรูปแบบลักษณะนิสัยเฉพาะของบุคคลซึ่งมีอิทธิพลแตกต่างกันต่อกระบวนการรับรู้ แรงจูงใจและพฤติกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในหลายสถานการณ์ คำว่า "บุคลิกภาพ" มีต้นกำเนิดมาจากภาษาละติน persona หมายถึง หน้ากาก.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและจิตวิทยาบุคลิกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ดอลลาร์สหรัฐ

100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน ดอลลาร์สหรัฐ (United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท (baht) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand).

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและดอลลาร์สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ครึ่งชีวิต

ครึ่งชีวิต (t½) (Half-life) คือเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่เดิม มักถูกใช้เพื่ออธิบายคุณสมบัติของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี แต่อาจจะใช้เพื่ออธิบายปริมาณใด ๆ ก็ตามที่มีสลายตัวแบบเอ็กโพเนนเชียลด้วย จุดกำเนิดของคำศัพท์คำนี้ ได้ระบุไว้ว่าเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ค้นพบหลักการนี้ในปี 1907 และเรียกว่า "ช่วงเวลาครึ่งชีวิต" (half-life period) ต่อมาคำนี้ถูกย่อให้สั้นลงเหลือเป็น "ครึ่งชีวิต" (half-life) ในช่วงต้นทศวรรษปี 1950 หมวดหมู่:กัมมันตรังสี หมวดหมู่:นิวเคลียร์เคมี หมวดหมู่:ฟิสิกส์นิวเคลียร์ หมวดหมู่:การยกกำลัง.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและครึ่งชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

คลอรีน

ลอรีน (Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและคลอรีน · ดูเพิ่มเติม »

คลาริโทรมัยซิน

คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin) เป็นยาปฏิชีวนะประเภทแมคโคไรด์ หมวดหมู่:แมกโครไลด์.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและคลาริโทรมัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

ความพิการ

ัญลักษณ์สากลของคนพิการ คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประกาศกำหน.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและความพิการ · ดูเพิ่มเติม »

ความจำ

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ในจิตวิทยา ความจำ (memory) เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ รับการเข้ารหัส การเก็บไว้ และการค้นคืน เนื่องจากว่า ในระยะแรกนี้ ข้อมูลจากโลกภายนอกมากระทบกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ (มีตาเป็นต้น) ในรูปแบบของสิ่งเร้าเชิงเคมีหรือเชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้ ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในสภาวะที่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนระยะสุดท้ายเป็นการค้นคืนข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ ซึ่งก็คือการสืบหาข้อมูลนั้นที่นำไปสู่การสำนึกรู้ ให้สังเกตว่า การค้นคืนความจำบางอย่างไม่ต้องอาศัยความพยายามภายใต้อำนาจจิตใจ จากมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการประมวลข้อมูล มีระยะ 3 ระยะในการสร้างและค้นคืนความจำ คือ.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและความจำ · ดูเพิ่มเติม »

ความถี่

วามถี่ (frequency) คือจำนวนการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในหนึ่งหน่วยของเวลา ความถี่อาจเรียกว่า ความถี่เชิงเวลา (temporal frequency) หมายถึงแสดงให้เห็นว่าต่างจากความถี่เชิงพื้นที่ (spatial) และความถี่เชิงมุม (angular) คาบคือระยะเวลาของหนึ่งวงจรในเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ ดังนั้นคาบจึงเป็นส่วนกลับของความถี่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจของทารกเกิดใหม่เต้นที่ความถี่ 120 ครั้งต่อนาที คาบ (ช่วงเวลาระหว่างจังหวะหัวใจ) คือครึ่งวินาที (นั่นคือ 60 วินาทีหารจาก 120 จังหวะ) ความถี่เป็นตัวแปรสำคัญในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สำหรับระบุอัตราของปรากฏการณ์การแกว่งและการสั่น เช่น การสั่นของเครื่องจักร โสตสัญญาณ (เสียง) คลื่นวิทยุ และแสง.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและความถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตต่ำ

วามดันโลหิตต่ำ (hypotension) ในทางสรีรวิทยาและแพทยศาสตร์ คือ ภาวะที่มีความดันเลือดต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดแดงของระบบไหลเวียนโลหิต ความดันเลือด คือ แรงที่เลือดผลักผนังหลอดเลือดแดงเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือด มักถือว่าความดันโลหิตต่ำ หมายถึง มีความดันช่วงหัวใจบีบต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือความดันช่วงหัวใจคลายต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ การพิจารณาว่าความดันเลือดต่ำหรือไม่นั้นดูจากอาการแสดงที่สังเกตได้เป็นหลัก.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและความดันโลหิตต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ความง่วง

วามง่วงหรืออาการง่วงซึม (somnolence, sleepiness, หรือ drowsiness) เป็นภาวะที่ร่างกายต้องการหลับอย่างแรง หรือหลับเป็นเวลานานผิดปกติ (เทียบกับอาการนอนมาก) ความง่วงมีความหมายและสาเหตุแยกกัน สามารถหมายถึงภาวะปกติก่อนหลับ สภาพที่อยู่ในภาวะง่วงเนื่องจากความผิดปกติของจังหวะรอบวัน หรือกลุ่มอาการของปัญหาสุขภาพอื่น ความง่วงสามารถเกิดร่วมกับภาวะง่วงงุน (lethargy) ความอ่อนเปลี้ยและการขาดความคล่องทางจิต (lack of mental agility) มักมองว่าความง่วงเป็นอาการมากกว่าโรคด้วยตัวมันเอง ทว่า มโนทัศน์ความง่วงเกิดซ้ำในบางเวลาจากสาเหตุบางอย่างประกอบเป็นความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความง่วงกลางวันมากเกิน (excessive daytime sleepiness) โรคหลับงานกะ (shift work sleep disorder) ฯลฯ และมีรหัสการแพทย์สำหรับความง่วงที่ถือเป็นโรค ความง่วงอาจเป็นอันตรายเมื่อดำเนินงานที่ต้องอาศัยสมาธิต่อเนื่อง เช่น การขับยานพาหนะ เมื่อบุคคลรู้สึกล้าระดับหนึ่ง อาจประสบการหลับเล็ก (microsleep) ได้.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและความง่วง · ดูเพิ่มเติม »

ความซึมเศร้า (อารมณ์)

วามซึมเศร้า หรือ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) เป็นสภาวะอารมณ์หดหู่และไม่ชอบทำอะไร ๆ ที่อาจมีผลต่อความคิด พฤติกรรม ความรู้สึก และความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล คนซึมเศร้าอาจรู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ไม่มีที่พึ่ง ไม่ภูมิใจในตนเอง/ไม่มีค่า รู้สึกผิด หงุดหงิด โกรธ อับอาย หรือกระวนกระวาย อาจจะสูญความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่อยากอาหารหรือทานมากเกินไป ไม่มีสมาธิ คอยระลึกถึงรายละเอียดในการตัดสินใจอะไรบางอย่าง มีปัญหาทางความสัมพันธ์ และอาจคิด พยายาม และทำการฆ่าตัวตาย การนอนไม่หลับ การนอนมากเกินไป อ่อนเปลี้ย เจ็บปวด มีปัญหาย่อยอาหาร และมีกำลังน้อยลง ก็อาจเป็นอาการร่วมด้วย อารมณ์ซึมเศร้าเป็นลักษณะอาการทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) แต่ก็อาจะเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ถ้าไม่คงยืนเป็นระยะยาว และอาจเป็นอาการเจ็บป่วยทางกาย หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์บางอย่าง ''Melencolia I'' (ราว พ.ศ. 2057), โดยจิตรกรชาวเยอรมัน อัลเบรชท์ ดือเรอร.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและความซึมเศร้า (อารมณ์) · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บามาเซพีน

ร์บามาเซพีน (Carbamazepine) หรือชื่อทางการค้าคือ เทเกรทอล (Tegretol) เป็นยาสามัญใช้สำหรับรักษาโรคลมชักและอาการปวดเส้นประสาท แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้รักษาโรคชักเหม่อและกล้ามเนื้อกระตุกรัว นอกจากนี้ ยังถูกใช้ควบคู่กับยาอื่นๆในการรักษาโรคจิตเภทและเป็นยารองในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว ยาคาร์บามาเซพีนมีการทำงานเหมือนกับยาเฟนิโทอินและวาลโปรเอท ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคาร์บามาเซพีนได้แก่คลื่นไส้และง่วง ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงได้แก่ เป็นผื่นคัน, ไขกระดูกลดลง, คิดฆ่าตัวตาย หรือเกิดภาวะสับสน ยาชนิดนี้ไม่เหมาะที่จะใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคเกี่ยวกับไขสันหลัง สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงยาชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคชักเหม่อไม่ควรหยุดใช้ยาชนิดนี้โดยทันที ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตหรือตับควรใช้อย่างระมัดระวังภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ยาชนิดนี้ยังทำให้การได้ยินเสียงผิดเพี้ยนไปจากเดิมได้ด้วย คาร์บามาเซพีนถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและคาร์บามาเซพีน · ดูเพิ่มเติม »

คีโตโคนาโซล

ีโตโคนาโซล (ketoconazole) เป็นกลุ่มยาต้านเชื้อราในกลุ่มเอโซล (Azole antifungals) ผลิตจากสารสังเคราะห์อนุพันธ์ของอิมิดาโซลไดออกโซโลน (imidazole dioxolone) ในทางการแพทย์ใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยาคีโตโคนาโซล สามารถใช้ได้ทั้งการรับประทานโดยรับประทานพร้อมอาหาร และใช้ทาภายนอกบริเวณที่ติดเชื้อ.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและคีโตโคนาโซล · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาน

ประชาน หรือ ปริชาน หรือ การรับรู้ (Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางใจเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส" ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ประสบการณ์ผิดธรรมดา

ประสบการณ์ผิดธรรมดา (anomalous experiences) หรือที่เรียก ประสาทหลอนไม่ร้าย เกิดขึ้นได้ในบุคคลที่มีสุขภาพกายและใจดี แม้ไม่มีปัจจัยภายนอกชั่วคราวอย่างอื่น ๆ เช่นความล้า การใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือภาวะขาดความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกว้างขวางแล้วว่า ประสบการณ์ประสาทหลอนไม่ได้เกิดเฉพาะในคนไข้โรคจิตหรือบุคคลปกติที่มีภาวะผิดปกติเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นเองในคนปกติในอัตราส่วนที่สำคัญ ทั้ง ๆ ที่มีสุขภาพที่ดีและไม่ได้มีภาวะเครียดหรือความผิดปกติอย่างอื่น ๆ มีการเพิ่มพูนหลักฐานของประสบการณ์แบบนี้ มามากว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว การศึกษาเรื่องประสาทหลอนที่ไม่มีผลร้ายเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและประสบการณ์ผิดธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและประเทศกำลังพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

ปาก

ปาก หรือ ช่องปาก เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและปาก · ดูเพิ่มเติม »

นิติเวชศาสตร์

นิติเวชศาสตร์ (Forensic Medicine) มาจากคำว่า "Forensic" ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายความถึงข้อตกลงที่มีการพิพาทกันทางกฎหมาย และคำว่า "Medicine" หมายถึงวิชาทางด้านการแพทย์ ซึ่งหมายความรวมถึงแพทย์ศาสตร์หรือเวชศาสตร์อีกด้วย นิติเวชศาสตร์เริ่มมีการเรียนการสอนครั้งแรกในประเทศไทย ปี..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและนิติเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเลือด

น้ำเลือด หรือ พลาสมา (plasma) คือ ส่วนประกอบของเลือดที่เป็นของเหลว โดยปกติจะมีลักษณะเป็นสีเหลืองใส แต่ถ้าพบไขมันก็จะเห็นเป็นสีขาว มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55 ในเลือด พลาสมาได้จากการนำเลือด (blood)ไปปั่นเหวี่ยงและเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดลงไป ทำให้พลาสมาสามารถแยกชั้นจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และ เซลล์เม็ดเลือดแดง ไปอยู่ชั้นบนสุดได้ ส่วนซีรั่มก็คือพลาสมาที่ปราศจากไฟบริโนเจน (fibrinogen) หรือเป็นของเหลวที่เกิดจากการแข็งตัวของเลือ.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและน้ำเลือด · ดูเพิ่มเติม »

แมว

แมว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่พบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากพีระมิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสซิเนี.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและแมว · ดูเพิ่มเติม »

แอลดี 50

แอลดี 50 (LD50) หรือ Median lethal dose เป็นศัพท์ทางพิษวิทยาใช้เรียกการออกแบบการทดลองเพื่อหาขนาดของยาหรือสารที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวน 50% ของจำนวนเริ่มต้น การทดลองนี้ออกแบบโดย J.W. Trevan เมื่อ..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและแอลดี 50 · ดูเพิ่มเติม »

โพรแลกติน

รงสร้างโพรแลกติน โพรแลกติน (บางตำราอ่านเป็น โพรแลกทิน)(prolactin ชื่อย่อ PRL) เป็นฮอร์โมนกลุ่มโปรตีน มีโครงสร้างคล้ายกับโกรทฮอร์โมน ประกอบด้วยกรดอะมิโนประมาณ 199 หน่วย จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า มีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างและหลั่งต่อมน้ำนม (lactation) ให้นมบุตร เพื่อเลี้ยงลูกอ่อนหลังคลอด โดย PRL มีผลโดยตรงต่อเนื้อเยื่อและต้องอาศัยการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอื่น ร่วมด้วย เช่นอีสโทรเจน(estrogen) โพรเจสเทอโรน(progesterone) คอร์ติโคสเตอโรน (corticosterone) และอินซูลิน (insulin) เมื่อต่อมน้ำนมได้รับฮอร์โมนเหล่านี้ก่อนแล้ว PRL จึงจะทำให้เกิดการหลั่งน้ำนมได้ อีกทั้งการทำงานของโพรแลกตินมีการทำงานคล้ายกับออกซิโทซิน การหลั่งของ PRL ถูกควบคุมโดยโพรแลกทิน รีลิสซิงฮอร์โมน แฟคเตอร์(prolactin releasing hormone factor: PRF) และโพรแลกทิน อินฮิบิทิงฮอร์โมน(prolactin inhibiting hormone:PIF) จากไฮโพทาลามัส โดยมีการเปลี่ยนแปลงการหลั่งตามการเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมนเพศในรอบเดือน (menstruation cycle) ในช่วงระยะที่มีการเพิ่มของเซลล์เยื่อบุมดลูกก่อนที่มีการตกไข่ จะมีPIF จากไฮโพทาลามัส ไปยับยั้งการหลั่ง PRF ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า เมื่อระดับอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนลดน้อยลง ในระยะท้ายของหลังไข่ตก การหลั่ง PIF จะลดน้อยลง ระดับของ PRF จะสูงขึ้น อย่างไรก็ตามระดับของPRF ในเลือดไม่นานพอที่จะมีผลต่อเต้านม แต่ในบางคนอาจทำให้เต้านมนุ่มในรอบก่อนที่จะมีประจำเดือน.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโพรแลกติน · ดูเพิ่มเติม »

โมล

มล (สัญลักษณ์: mol) เป็นหน่วยฐานสำหรับวัดปริมาณสารในหน่วยเอสไอ เป็นปริมาณที่ไม่มีมิติ หนึ่งโมลคือปริมาณของสารที่มีหน่วยย่อยเท่ากับจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัม เมื่ออะตอมของคาร์บอน-12 ไม่ถูกยึดและอยู่นิ่งในสถานะฐาน จำนวนอะตอมดังกล่าวเรียกว่าเลขอาโวกาโดรซึ่งมีค่าประมาณ 6.0221415 x 1023 เนื่องด้วยความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยมวลอะตอมกับเลขอาโวกาโดร วิธีในทางปฏิบัติที่จะระบุปริมาณสารหนึ่งโมลคือใช้มวลของสารเท่ากับน้ำหนักอะตอมของสารนั้น เป็นหน่วยกรัม ยกตัวอย่างเช่น เหล็กมีน้ำหนักอะตอมเป็น 55.845 ดังนั้นหนึ่งโมลของเหล็กจะมีมวล 55.845 กรัม หมวดหมู่:หน่วยเอสไอ หมวดหมู่:หน่วยฐานเอสไอ.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโมล · ดูเพิ่มเติม »

โรคลมชัก

รคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู (epilepsy มีรากศัพท์จากἐπιλαμβάνειν หมายถึง ยึด ครอบครอง หรือ ทำให้เจ็บป่วย) เป็นกลุ่มโรคทางประสาทวิทยาซึ่งถูกจำกัดความโดยอาการชักอันมีต้นเหตุจากการทำงานอย่างสอดคล้องกันมากเกินไปของเซลล์ประสาท ระยะเวลาและความรุนแรงของโรคลมชักสามารถมีได้ตั้งแต่แบบสั้นๆและแทบไม่มีอาการ ไปจนถึงอาการสั่นอย่างรุนแรงเป็นเวลานานๆ อาการชักดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายเช่น กระดูกหัก ลักษณะสำคัญของโรคลมชักคืออาการชักจะเกิดขึ้นซ้ำๆโดยไม่มีสิ่งเร้าหรือกระตุ้น อาการชักซึ่งเกิดจากสิ่งเร้าอย่างใดหนึ่งอย่างชัดเจน (เช่น ภาวะขาดเหล้า) จะไม่ถือว่าเป็นโรคลมชัก ผู้ป่วยโรคลมชักในบางประเทศมักถูกตีตราจากสังคมเนื่องจากอาการที่แสดงออกมา โรคลมชักในผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ดีโรคลมชักสามารถเกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บทางสมอง เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีเนื้องอกในสมอง หรือ ได้รับการติดเชื้อทางสมอง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า อิพิเลปโตเจเนซิส ความผิดปกติของพันธุกรรมมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคลมชักในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย การชักจากโรคลมชักเป็นผลจากการทำงานที่ผิดปกติหรือมากเกินไปของเซลล์เปลือกสมอง การวินิจฉัยมักจะทำโดยการตัดภาวะอื่นๆซึ่งอาจทำให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกันออกไปก่อน เช่น เป็นลม นอกจากนี้การวินิจฉัยยังรวมไปถึงการพิจารณาว่ามีสาเหตุอื่นๆของการชักหรือไม่ เช่น การขาดแอลกอฮอล์ หรือ ความผิดปกติของปริมาณอิเล็กโตรไลต์ในเลือด ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสมองผ่านการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก และ การตรวจเลือด บ่อยครั้งโรคลมชักสามารถได้รับการยืนยันด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง แต่ผลการตรวจที่ปกติก็ไม่ได้ทำให้แพทย์สามารถตัดโรคดังกล่าวออกไปได้ ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคลมชักสามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยยา ซึ่งบ่อยครั้งตัวเลือกที่ให้ผลการควบคุมอาการดีมีราคาถูก ในกรณีที่อาการชักของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา อาจพิจารณาการผ่าตัด การกระตุ้นระบบประสาท และ การเปลี่ยนอาหารได้เป็นกรณีไป โรคลมชักมิได้คงอยู่ตลอดไปในผู้ป่วยทุกราย มีผุ้ป่วยหลายรายที่อาการดีขึ้นจนถึงขั้นไม่ต้องใช้ยา ข้อมูลในปี..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโรคลมชัก · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิต

รคจิต หรือ วิกลจริต (psychosis) คือ โรคกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ในกลุ่มโรคทางจิตเวชทั้งหมด ที่มีหลายโรค (โรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียดที่เกิดจากสถานการณ์ร้ายแรงในชีวิต โรคปรับตัวผิดปกติ บุคลิกภาพบกพร่อง ฯลฯ).

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโรคจิต · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิตเภท

รคจิตเภท เป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งทำให้มีการแตกแยกของกระบวนการคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ ส่วนใหญ่แสดงอาการเป็นหูแว่ว หวาดระแวง หลงผิดแบบแปลกประหลาด หรือมีการพูดและการคิดที่เสียโครงสร้าง และมักนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมหรือการประกอบอาชีพ มักเริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีความชุกตลอดชีวิตอยู่ที่ประมาณ 0.3-0.7% การวินิจฉัยทำโดยการสังเกตพฤติกรรมและรายงานประสบการณ์ที่ได้จากตัวผู้ป่วยเอง เชื่อกันว่าปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก ประสาทชีววิทยา ปัจจัยทางจิตใจ และกระบวนการทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโรค ยาเสพติดและยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการแย่ลงได้ งานวิจัยในปัจจุบันเน้นไปทางบทบาทของประสาทชีววิทยา แม้จะยังไม่สามารถหาสาเหตุทางกายที่เป็นสาเหตุเดี่ยวๆ ของโรคได้ก็ตาม เนื่องจากโรคนี้มีการแสดงออกของอาการได้หลายรูปแบบ จึงยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำวินิจฉัยโรคจิตเภทนี้เป็นโรคเพียงโรคเดียวหรือเป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ถึงแม้คำภาษาอังกฤษของ schizophrenia จะมาจากภาษากรีกที่แปลว่าการแบ่งแยกของจิตใจ แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ทำให้มีหลายบุคลิกอย่างที่สังคมบางส่วนเข้าใจ แนวทางการรักษาในปัจจุบันคือการใช้ยาต้านโรคจิต ส่วนใหญ่ทำงานโดยยับยั้งผลของโดปามีน การใช้จิตบำบัดและการบำบัดการเข้าสังคมก็มีส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท ในกรณีป่วยรุนแรงจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นอาจจำเป็นต้องได้รับการกักตัวไว้ในโรงพยาบาล อย่างไรก็ดีการนอนโรงพยาบาลในปัจจุบันใช้เวลาสั้นกว่าในสมัยก่อนมาก เชื่อว่าโรคนี้มีผลต่อการรู้เป็นสำคัญ แต่หลายครั้งก็ทำให้เกิดปัญญาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์อย่างเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจิตเภทมักมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล มีอัตราการใช้สารเสพติดรวมตลอดชีวิตถึง 50% ของผู้ป่วย ปัญหาทางสังคม เช่นการว่างงาน ความยากจน และไม่มีที่อยู่อาศัยนั้นพบได้บ่อย อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยน้อยกว่าคนทั่วไปอยู่ 12-15 ปี ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสุขภาพและอัตราการฆ่าตัวตายที่มากขึ้น (ประมาณ 5%).

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโรคจิตเภท · ดูเพิ่มเติม »

โรคตื่นตระหนก

โรคตื่นตระหนก (panic disorder) เป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะเกิดอาการตื่นตระหนกกระทันหัน (panic attack) เป็นซ้ำ ทำให้เกิดช่วงวิตกกังวลสุดขีดเข้มข้นเป็นชุดระหว่างอาการตื่นตระหนกกระทันหัน อาจรวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างสำคัญกินเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือนและความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความนัยหรือความกังวลว่าจะมีอาการครั้งต่อ ๆ ไป โรคตื่นตระหนกมิใช่อย่างเดียวกับโรคกลัวที่โล่ง (agoraphobia) แม้ผู้ป่วยโรคตื่นตระหนกจำนวนมากยังเป็นโรคกลัวที่โล่งด้วย อาการตื่นตระหนกกระทันหันไม่สามารถทำนายได้ ฉะนั้นบุคคลจึงอาจเครียด วิตกกังวลหรือกังวลสงสัยว่าจะเกิดอาการครั้งถัดไปเมื่อไร โรคตื่นตระหนกอาจแยกได้เป็นภาวะทางการแพทย์ หรือภาวะเสียดุลเคมี DSM-IV-TR อธิบายโรคตื่นตระหนกและความวิตกกังวลไว้แยกกัน ขณะที่ความวิตกกังวลจะมีสิ่งกระตุ้นความเครียด (stressor) เรื้อรังนำมา ซึ่งสร้างปฏิกิริยาปานกลางซึ่งกินเวลาได้หลายวัน สัปดาห์หรือเดือน แต่อาการตื่นตระหนกเป็นเหตุการณ์เฉียบพลันซึ่งเกิดจากสาเหตุกระทันหันและไม่ได้คาดหมาย ระยะเวลาสั้นและอาการรุนแรงกว่ามาก อาการตื่นตระหนกกระทันหันเกิดในเด็กได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ อาการตื่นตระหนกในเยาวชนอาจเป็นทุกข์เป็นพิเศษ เพราะเด็กมีแนวโน้มเข้าใจน้อยกว่าว่าเกิดอะไรขึ้น และบิดามารดายังมีแนวโน้มประสบความทุกข์เมื่อเกิดอาการ หมวดหมู่:โรควิตกกังวล หมวดหมู่:ปัญหาอารมณ์ หมวดหมู่:โรคประสาท เกี่ยวข้องกับความเครียดหรือโซมาโตฟอร์ม หมวดหมู่:ความกลัว หมวดหมู่:การวินิจฉัยจิตเวช.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโรคตื่นตระหนก · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

โรคไมเกรน

รคไมเกรนหรือโรคปวดหัวข้างเดียว (migraine) เป็นความผิดปกติทางประสาทเรื้อรังอย่างหนึ่ง ลักษณะเด่นคือปวดศีรษะปานกลางถึงรุนแรงเป็นซ้ำ มักสัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทอิสระจำนวนหนึ่ง ตรงแบบ อาการปวดศีรษะมีผลต่อศีรษะครึ่งซีก มีสภาพปวดตามจังหวะ (หัวใจเต้น) และกินเวลาตั้งแต่ 2 ถึง 72 ชั่วโมง อาการที่สัมพันธ์อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสง เสียงหรือกลิ่น โดยทั่วไปความเจ็บปวดรุนแรงขึ้นจากกิจกรรมทางกาย ผู้ป่วยไมเกรนถึงหนึ่งในสามมีสัญญาณบอกเหตุ (aura) คือ การรบกวนภาพ การรับความรู้สึก ภาษาหรือการสั่งการร่างกายซึ่งบ่งบอกว่าจะเกิดปวดศีรษะในไม่ช้า บางครั้งสัญญาณบอกเหตุเกิดได้โดยมีการปวดศีรษะตามมาน้อยหรือไม่ปวดเลย เชื่อว่า ไมเกรนมีสาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรมผสมกัน ผู้ป่วยประมาณสองในสามเป็นในครอบครัว การเปลี่ยนระดับฮอร์โมนผสมกัน เพราะไมเกรนมีผลต่อเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อยก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ แต่ในผู้ใหญ่ หญิงเป็นมากกว่าชายประมาณสองถึงสามเท่า ความเสี่ยงของไมเกรนปกติลดลงระหว่างการตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดของไมเกรน แต่เชื่อว่าเป็นความผิดปกติของประสาทควบคุมหลอดเลือด ทฤษฎีหลักสัมพันธ์กับการเร้าได้ (excitability) ที่เพิ่มขึ้นของเปลือกสมองและการควบคุมผิดปกติของเซลล์ประสาทรับความเจ็บปวดในนิวเคลียสของประสาทไทรเจมินัลในก้านสมอง เริ่มต้น การรักษาแนะนำ คือ ยาระงับปวดธรรมดา เช่น ไอบูโปรเฟนและพาราเซตามอล (หรืออะเซตามิโนเฟน) สำหรับปวดศีรษะ ยาแก้อาเจียนสำหรับคลื่นไส้ และการเลี่ยงตัวกระตุ้น อาจใช้สารเฉพาะเช่น ทริพแทนหรือเออร์โกทามีนในผู้ที่ยาระงับปวดธรรมดาใช้ไม่ได้ผล 15% ของประชากรทั่วโลกเคยเป็นไมเกรนครั้งหนึ่งในชีวิต.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโรคไมเกรน · ดูเพิ่มเติม »

โคม่า

ม่า (Coma) คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวมากกว่า 6 ชั่วโมง โดยความไม่รู้สึกตัวนี้คือ ปลุกไม่ตื่น กระตุ้นด้วยความรู้สึกเจ็บ แสง เสียง แล้วไม่ตอบสนอง ไม่มีวงจรหลับ-ตื่น ตามปกติ และไม่มีการเคลื่อนไหวที่มาจากความตั้งใจ ในทางการแพทย์จะถือว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างโคม่าที่เกิดขึ้นเองหรือเป็นจากตัวโรค กับโคม่าจากการใช้ยา (induced coma) โดยแบบแรกเกิดขึ้นจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมทางการแพทย์ ส่วนแบบหลังเป็นความตั้งใจทางการแพทย์ เช่นอาจทำเพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟูเองในสภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าจะไม่มีความตื่นโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถมีสติรับรู้ความรู้สึก ไม่สามารถพูด หรือได้ยิน หรือเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วการที่คนคนหนึ่งจะมีสติรับรู้ได้ จะต้องมีการทำงานที่เป็นปกติของสมองส่วนสำคัญสองส่วน ได้แก่ เปลือกสมอง และก้านสมองส่วนเรติคูลาร์แอคทิเวติงซิสเต็ม (RAS) ความเสียหายต่อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนข้างต้นจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโคม่าได้ เปลือกสมองเป็นส่วนของเนื้อเทาที่มีนิวเคลียสของเซลล์ประสาทรวมกันอยู่หนาแน่น มีหน้าที่ทำให้เกิดการรับรู้ นำสัญญาณประสาทสัมผัสส่งไปยังเส้นทางทาลามัส และกระบวนการอื่นๆ ของสมอง รวมถึงการคิดแบบซับซ้อน ส่วน RAS เป็นโครงสร้างที่ดั้งเดิมกว่า อยู่ในก้านสมอง ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือเรติคูลาร์ฟอร์เมชัน (RF) บริเวณ RAS ของสมองมีทางประสาทที่สำคัญอยู่สองทาง คือทางขาขึ้นและทางขาลง ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ประสาทชนิดที่สร้างอะเซติลโคลีน ทางขาขึ้น หรือ ARAS ทำหน้าที่กระตุ้นและคงความตื่นของสมอง ส่งผ่าน TF ไปยังทาลามัส และไปถึงเปลือกสมองเป็นปลายทาง หาก ARAS ทำงานไม่ได้จะทำให้เกิดโคม่า คำว่าโคม่านี้มาจากภาษากรีก κῶμα แปลว่า การหลับลึก ผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคม่าจะยังถือว่ามีชีวิต เพียงแต่จะสูญเสียความสามารถที่จะตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมตามปกติไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลังการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ นอกจากนั้นก็อาจเป็นผลต่อเนื่องจากโรคอื่นได้ เช่น การติดเชื้อในสมอง เลือดออกในสมอง ไตวายขั้นรุนแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ สมองขาดออกซิเจน เป็นต้น.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโคม่า · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมฟลูออไรด์

ซเดียมฟลูออไรด์ (Sodium fluoride หรือ NaF) เป็นของแข็งไม่มีสี ใช้เป็นแหล่งของฟลูออไรด์ มีราคาถูกกว่าและดูดความชิ้นน้อยกว่าโพแทสเซียมฟลูออไร.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโซเดียมฟลูออไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไอออน

แผนภาพประจุอิเล็กตรอนของไนเตรตไอออน ไอออน คือ อะตอม หรือกลุ่มอะตอม ที่มีประจุสุทธิทางไฟฟ้าเป็นบวก หรือเป็นไอออนที่มีประจุลบ gaaจะมีอิเล็กตรอนในชั้นอิเล็กตรอน (electron shell) มากกว่าที่มันมีโปรตอนในนิวเคลียส เราเรียกไอออนชนิดนี้ว่า แอนไอออน (anion) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแอโนด (anode) ส่วนไอออนที่มีประจุบวก จะมีอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตอน เราเรียกว่า แคทไอออน (cation) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแคโทด (cathode) กระบวนการแปลงเป็นไอออน และสภาพของการถูกทำให้เป็นไอออน เรียกว่า การแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ส่วนกระบวนการจับตัวระหว่างไอออนและอิเล็กตรอนเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นอะตอมที่ดุลประจุแล้วมีความเป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า recombination แอนไอออนแบบโพลีอะตอมิก ซึ่งมีออกซิเจนประกอบอยู่ บางครั้งก็เรียกว่า "ออกซีแอนไอออน" (oxyanion) ไอออนแบบอะตอมเดียวและหลายอะตอม จะเขียนระบุด้วยเครื่องหมายประจุรวมทางไฟฟ้า และจำนวนอิเล็กตรอนที่สูญไปหรือได้รับมา (หากมีมากกว่า 1 อะตอม) ตัวอย่างเช่น H+, SO32- กลุ่มไอออนที่ไม่แตกตัวในน้ำ หรือแม้แต่ก๊าซ ที่มีส่วนของอนุภาคที่มีประจุ จะเรียกว่า พลาสมา (plasma) ซึ่งถือเป็น สถานะที่ 4 ของสสาร เพราะคุณสมบัติของมันนั้น แตกต่างไปจากของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและไอออน · ดูเพิ่มเติม »

ไดแอซิแพม

แอซิแพม (Diazepam) หรือชื่อทางการค้าคือ แวเลียม (Valium) เป็นยาในกลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน มีฤทธิส่งผลให้สงบจิตใจลง ใช้ในการรักษาโรควิตกกังวล, โรคสั่นเพ้อเหตุขาดสุรา, โรคสั่นเพ้อเหตุขาดเบ็นโซไดอาเซพีน, อาการกล้ามเนื้อกระตุก, อาการชัก, โรคนอนไม่หลับ และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข การใช้ยาชนิดนี้อย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิดอาการหลง ๆ ลืม ๆ สามารถรับยานี้ได้โดยวิธีรับประทาน, สอดใส่เข้าสู่ไส้ตรง, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ หากใช้วิธีฉีดเข้าหลอดเลือดจะออกฤทธิ์ใน 1 ถึง 5 นาที หากใช้วิธีรับประทาน จะออกฤทธิ์ภายใน 40 นาที อาการข้างเคียงทั่วไปของการใช้ยาไดแอซิแพมได้แก่ ง่วงนอน, มองไม่ชัด ส่วนอาการข้างเคียงระดับรุนแรงซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากนั้น ได้แก่ การฆ่าตัวตาย, หายใจลำบาก หากผู้ป่วยโรคลมชักใช้ยานี้บ่อยเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงจากอาการชัก การใช้ยานี้ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดภาวะดื้อยาและเกิดอาการเสพติดยา การเลิกยาในทันทีเป็นอันตรายอย่างมากในผู้ป่วยที่ใช้ยาระยะยาว โดยจะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการรู้คิดไปเป็นเวลากว่าครึ่งปี ไดแอซิแพมเป็นหนึ่งในยาที่ถูกสั่งจ่ายมากที่สุดตั้งแต่เริ่มการจ่ายในปี..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและไดแอซิแพม · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและไต · ดูเพิ่มเติม »

ไซเมทิดีน

ซเมติดีน (Cimetidine) เป็นฮีสตามีน H2-รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ ที่ยับยั้งการผลิตดรดในกระเพาะอาหาร ใช้รักษาอาการฮาร์ตเบิร์น และ แผลในกระเพาะอาหาร ผลิตและจำหน่ายโดยแกลกโซสมิทไคลน์ (GlaxoSmithKline) มีชื่อาทงการค้าว่า ทากาเมท®, (Tagamet&reg) ได้รับการอนุมัติจาก อ.สหรัฐอเมริกา เมื่อ 1 มกราคม, 2522.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและไซเมทิดีน · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและไนโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เบ็นโซไดอาเซพีน

รงสร้างทางเคมีของเบ็นโซไดอาเซพีน เบ็นโซไดอาเซพีน (Benzodiazepine) หรือเรียกสั้นๆว่า "เบ็นโซส" เป็นกลุ่มยาในหมวดสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เกิดขึ้นจากการทำพันธะโครงสร้างทางเคมีระหว่างเบนซีนกับไดอาเซพีน ทั้งนี้ในปี..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและเบ็นโซไดอาเซพีน · ดูเพิ่มเติม »

เฟนิโทอิน

ฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือชื่อทางการค้าคือ ไดแลนติน (Dilantin)Drugs.com Page accessed Feb 27, 2016 เป็นยากันชัก ใช้สำหรับป้องกันอาการโคลนัสและการเป็นลมชักอย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ไม่สามารถใช้ป้องกันอาหารชักเหม่อได้ มีแบบรับประทานสำหรับผู้ป่วยทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะชักต่อเนื่อง แพทย์อาจจ่ายยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนเพื่อบรรเทาอาการชัก หากยังไม่ดีขึ้นจึงจะใช้ยาเฟนิโทอินโดยการฉีด ซึ่งจะออกฤทธิภายใน 30 นาทีและจะคงฤทธิได้นานถึง 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ เฟนิโทอินยังถูกใช้เพื่อรักษาอารหัวใจเต้นผิดจังหวะและความเจ็บปวดทางประสาทอีกด้วย ทั้งนี้ แพทย์อาจวัดความดันเพื่อกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสม ผลข้างเคียงของการใช้เฟนิโทอิน ได้แก่ อาการคลื่นไส้, ปวดท้อง, ไม่อยากอาหาร, มองไม่ชัด, ขนขึ้นเร็ว และเหงือกบวม ผลข้างเคียงแบบรุนแรงได้แก่ ง่วงนอน, ทำร้ายตนเอง, โรคตับ, ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดได้น้อย, ความดันโลหิตต่ำ และผิวลอก ยาประเภทนี้ห้ามใช้ระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติในทารก แต่ปลอดภัยหากจะใช้ระหว่างภาวะให้นมบุตร เฟนิโทอินถูกสร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและเฟนิโทอิน · ดูเพิ่มเติม »

เกรปฟรูต

กรปฟรูต เป็นไม้ผลกึ่งเขตร้อนในสกุล Citrus ที่เพาะปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผล ซึ่งแต่เดิมเคยเรียกว่า ผลไม้ต้องห้ามแห่งบาร์เบโดส ปกติแล้วไม้ไม่ผลัดใบชนิดนี้จะพบว่าสูงประมาณ 5-6 เมตร แต่ความจริงแล้วสามารถสูงได้ถึง 13-15 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม รูปร่างยาว (มากกว่า 15 เซนติเมตร) และผอม ดอกมี 4 กลีบ สีขาว ขนาด 5 เซนติเมตร ผลมีเปลือกสีเหลือง รูปกลมแป้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร เนื้อผลแบ่งเป็นกลีบ สีเหลืองแบบกรด ผลเป็นที่นิยมตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ก่อนหน้านั้นเพียงแต่ปลูกเป็นไม้ประดับ สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ มีสวนอยู่ในฟลอริดา เท็กซัส แอริโซนา และแคลิฟอร์เนีย ในภาษาสเปน ผลไม้ชนิดนี้รู้จักในชื่อว่า Toronja หรือ Pomelo.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและเกรปฟรูต · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดเลือดน้อย

วะเกล็ดเลือดน้อย หรือเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia, thrombopenia) เป็นภาวะซึ่งในเลือดมีเกล็ดเลือดน้อยกว่าปกติ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ก็ต่อเมื่อจำนวนเกล็ดเลือดน้อยกว่า 150,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และถ้าต่ำกว่า 20,000 มีโอกาสเลือดออกได้เองโดยไม่ต้องมีบาดแผล คนปกติจะมีเกล็ดเลือดประมาณ 150,000-450,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ทำให้เลือดออกผิดปกติ หยุดยาก ผู้ป่วยบางรายไม่แสดงอาการใด แต่บางรายมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำมาก ต้องได้รับการรักษาทันที อาจเกิดเลือดออกจนเสียชีวิตได้.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและเกล็ดเลือดน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เมาค้าง

มาค้าง (hangover, veisalgia) เป็นประสบการณ์ฤทธิ์ทางสรีรวิทยาและจิตวิทยาอันไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ให้หลังการบริโภคเอทานอล ซึ่งอยู่ได้นานถึงกว่า 24 ชั่วโมง อาการตรงแบบของเมาค้างอาจรวมปวดศีรษะ ง่วงซึม ปัญหาสมาธิ ปากแห้ง เวียนศีรษะ ล้า กระเพาะอาหารและลำไส้อึดอัด (gastrointestinal distress) ไม่หิว เหงื่อออก คลื่นไส้ การตอบสนองไวเกิน (hyper-excitability) และวิตกกังวล แม้ยังไม่เข้าใจสาเหตุของเมาค้างดีนัก แต่ทราบหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งรวมการคั่งของอะเซทัลดีไฮด์ การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันและเมแทบอลิซึมของกลูโคส ภาวะขาดน้ำ ภาวะกระเดียดกรดเหตุเมแทบอลิก (metabolic acidosis) การสังเคราะห์พรอสตาแกลนดินที่ถูกรบกวน ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีที่เพิ่มขึ้น การขยายหลอดเลือด การอดนอนและทุพโภชนาการ ฤทธิ์ของสารเติมแต่งหรือผลิตผลพลอยได้ที่จำเพาะต่อเครื่องดื่ม เช่น คอนจีเนอร์ (congener) ยังมีบทบาทสำคัญ ตรงแบบอาการเกิดหลังฤทธิ์เป็นพิษของแอลกอฮอล์เริ่มหมด โดยทั่วไปคือเช้าหลังคืนที่ดื่มหนัก แม้มีการเสนอการเยียวยาที่เป็นไปได้จำนวนมาก แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่เสนอว่าการเยียวยาใดมีประสิทธิภาพป้องกันหรือรักษาเมาค้างแอลกอฮอล์ การเลี่ยงแอลกอฮอล์หรือการดื่มปานกลางเป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการเลี่ยงเมาค้าง ผลพวงทางสังคม-เศรษฐกิจและความเสี่ยงทางสุขภาพของเมาค้างแอลกอฮอล์มีการขาดงาน สมรรถภาพอาชีพบกพร่อง ประสิทธิภาพลดลงและความสำเร็จทางวิชาการที่เลว เมาค้างยังอาจทำให้กิจกรรมประจำวันที่อาจเป็นอันตรายมีความเสี่ยง เช่น การขับรถหรือการปฏิบัติงานเครื่องจักรหนัก.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและเมาค้าง · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มเซลล์

ื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้ เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis) นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและเยื่อหุ้มเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์เกลีย

ซลล์เกลีย (glial cell) หรือ นิวโรเกลีย (neuroglia) หรือ เกลีย (glia) เป็นเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทซึ่งทำหน้าที่หลากหลายในระบบประสาท เช่น ช่วยเกื้อหนุนค้ำจุนเซลล์ประสาท เป็นแหล่งอาหาร รักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis) สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มแอกซอน และการถ่ายทอดสัญญาณ เป็นต้น จำนานเซลล์เกลียมีมากกว่าจำนวนเซลล์ประสาทถึง 10 เท่าตัว.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและเซลล์เกลีย · ดูเพิ่มเติม »

เซโรโทนิน

ซโรโทนิน (serotonin) (5-hydroxytryptamine, or 5-HT) เป็นสารสื่อประสาทที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นโมโนอะมีน (monoamine neurotransmitter) พบมากในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ (gastrointestinal tract of animals) และประมาณ 80-90% ของปริมาณเซโรโทนินรวมในร่างกายมนุษย์พบใน enterochromaffin cells ซึ่งเป็นเซลล์ในทางเดินอาหาร (gut) ซึ่งมันทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ส่วนเซโรโทนินในร่างกายอีก 10-20% นั้น ถูกสังเคราะห์ในระบบประสาทส่วนกลางจากเซลล์ประสาทที่สามารถสร้างเซโรโทนินได้ (serotonergic neurons) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งมีบทบาทหลายหน้าที่เช่น การควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ เซโรโทนินยังพบในเห็ดและพืชผักผลไม้ต่างๆอีกด้ว.

ใหม่!!: คโลนะเซแพมและเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Clonazepamคโลนะซะแปมคโลนะซาแพมคโลนะซาแปมคโลนะเซแปมคโลนาซะแพมคโลนาซะแปมคโลนาซาแพมคโลนาซาแปมคโลนาเซแพมคโลนาเซแปมโคลนะซะแพมโคลนะซะแปมโคลนะซาแพมโคลนะซาแปมโคลนะเซแพมโคลนะเซแปมโคลนาซะแพมโคลนาซะแปมโคลนาซาแพมโคลนาซาแปมโคลนาเซแพมโคลนาเซแปม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »