โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คีตกวีและดนตรีคลาสสิก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คีตกวีและดนตรีคลาสสิก

คีตกวี vs. ดนตรีคลาสสิก

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1820 คีตกวี เป็นคำศัพท์ทางดนตรีที่พบได้บ่อยครั้ง หมายถึง ผู้ประพันธ์ดนตรี มักจะใช้เรียกผู้ที่แต่งและเรียบเรียงดนตรีบางประเภท โดยเฉพาะ ดนตรีคลาสสิก โดยที่ผู้แต่งเพลงมักจะแต่งทั้งท่วงทำนองหลัก และแนวประสานทั้งหมด เพื่อให้นักดนตรีเป็นผู้นำบทเพลงนั้นไปบรรเลงอีกทอดหนึ่ง โดยนักดนตรีจะต้องบรรเลงทุกรายละเอียดที่คีตกวีได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด คำว่า คีตกวี ในภาษาไทยนี้ นิยมใช้เรียก ผู้ประพันธ์ดนตรีในแนวดนตรีคลาสสิกของตะวันตก โดยแปลมาจากคำว่า composer นั่นเอง อย่างไรก็ดี บางท่านอาจใช้คำว่า ดุริยกวี แต่ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน สำหรับผู้ที่แต่งเพลงในแนวดนตรีอื่นๆ มักจะเรียกว่า นักแต่งเพลง หรือ ครูเพลง เท่านั้น คีตกวี อาจไม่จำเป็นต้องประพันธ์ดนตรีลงในแผ่นกระดาษเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นผู้บรรเลงบทประพันธ์นั้นเป็นครั้งแรก และในภายหลังมีผู้อื่นนำไปใช้บรรเลงตามก็ได้ชื่อว่า คีตกวี เช่นกัน โดยทั่วไปเราจะรู้จัก คีตกวี ในฐานะที่เป็น นักแสดงดนตรี แม้ว่าหลายท่านจะมีผลงานการประพันธ์ดนตรี มากกว่าผลงานการบรรเลงก็ตาม เช่น เบโทเฟิน, โมซาร์ท, วากเนอร์ ฯลฯ. วงซิมโฟนีออเคสตรา ดนตรีคลาสสิก (Classical music) เป็นรูปแบบหนึ่งของดนตรี ซึ่งมักจะหมายถึงดนตรีที่เป็นศิลปะของตะวันตก การแสดงดนตรีคลาสสิกจะใช้เครื่องดนตรี 4 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เครื่องสาย (String) แบ่งออกเป็น ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส กลุ่มที่สอง คือ เครื่องลมไม้ (Woodwind) เช่น ฟลูต คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน ปิคโคโล กลุ่มที่สาม คือ เครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา เฟรนช์ฮอร์น กลุ่มที่สี่ คือ เครื่องกระทบ (Percussion) เช่น กลองทิมปานี ฉาบ กลองใหญ่ (Bass Drum) กิ๋ง (Triangle) เมื่อเล่นรวมกันเป็นวงเรียกว่าวงดุริยางค์หรือ ออร์เคสตรา (Orchestra) ซึ่งมีผู้อำนวยเพลง (conductor) เป็นผู้ควบคุมวง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คีตกวีและดนตรีคลาสสิก

คีตกวีและดนตรีคลาสสิก มี 27 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาร์ล กูโนฟรันซ์ ชูแบร์ทฟรันซ์ ลิซท์ฟร็องซิส ปูแล็งก์กุสตาฟ มาห์เลอร์ริชาร์ด วากเนอร์ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟนอันโตญีน ดโวชากอันโตนีโอ วีวัลดีอิกอร์ สตราวินสกีจูเซปเป แวร์ดีดมีตรี ชอสตโกวิชคาร์ล ออร์ฟคาร์ล เซอร์นีปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกีแอ็กตอร์ แบร์ลีโยซโกลด เดอบูว์ซีโยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สองโยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่งโยฮันน์ เซบาสเตียน บาคโยฮันเนส บราห์มโรแบร์ท ชูมันน์โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทเบ-ลอ บอร์โตกเฟรเดริก ชอแป็งเอริก ซาตีเซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ

ชาร์ล กูโน

ร์ล-ฟรองซัว กูโน ชาร์ล-ฟร็องซัว กูโน (Charles-François Gounod; 18 มิถุนายน พ.ศ. 2361–18 ตุลาคม พ.ศ. 2436) เป็นคีตกวีชาวฝรั่ง.

คีตกวีและชาร์ล กูโน · ชาร์ล กูโนและดนตรีคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซ์ ชูแบร์ท

ฟรันซ์ ชูแบร์ท ฟรันซ์ เพเทอร์ ชูแบร์ท (Franz Peter Schubert) (31 มกราคม พ.ศ. 2340 — 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2371) คีตกวีชาวออสเตรี.

คีตกวีและฟรันซ์ ชูแบร์ท · ดนตรีคลาสสิกและฟรันซ์ ชูแบร์ท · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซ์ ลิซท์

ฟรันซ์ ลิซท์ (Franz Liszt) หรือ แฟแร็นตส์ ลิสต์ (Liszt Ferenc) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวฮังกาเรียน เกิดที่เมืองไรดิง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม..

คีตกวีและฟรันซ์ ลิซท์ · ดนตรีคลาสสิกและฟรันซ์ ลิซท์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซิส ปูแล็งก์

ฟร็องซิส ฌ็อง มาร์แซล ปูแล็งก์ (Francis Jean Marcel Poulenc, สัทอักษร) เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1899) เสียชึวิต 30 มกราคม พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศส เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มคีตกวีทั้งหก (ดาร์ยีส มีโย, ชอร์ช ออรีก, อาร์ตูร์ โอเนแกร์, ลุย ดูเรย์ และแชร์แมน ตายแฟร์) ปูแล็งก์เกิดที่กรุงปารีสเมื่อ พ.ศ. 2441 และเสียชีวิตเนื่องจากอาการหัวใจล้มเหลวเมื่อ พ.ศ. 2506 ในกรุงปารีสเช่นกัน ศพของเขาถูกฝังไว้ที่สุสานแปร์ลาแชส ในกรุงปารี.

คีตกวีและฟร็องซิส ปูแล็งก์ · ดนตรีคลาสสิกและฟร็องซิส ปูแล็งก์ · ดูเพิ่มเติม »

กุสตาฟ มาห์เลอร์

กุสตาฟ มาห์เลอร์ ในวัยเด็ก กุสตาฟ มาห์เลอร์ (เกิด 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1860 - เสียชีวิต 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1911) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวโบฮีเมียน-ออสเตรียน มาห์เลอร์เป็นที่รู้จักในยุคของเขา ในฐานะวาทยากรชื่อดังแห่งยุค แต่ในปัจจุบัน เขากลับเป็นที่ยอมรับในฐานะคีตกวีแห่งยุคนีโอโรแมนติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากซิมโฟนี และบทเพลงในลักษณะซิมโฟนี เช่น เพลง Das Lied von der Erde (บทเพลงแห่งโลก) ที่เป็นจุดสุดยอดของบทเพลงขับร้องที่เขาประพันธ์ ส่วนซิมโฟนีหมายเลข 3 ความยาว 95 นาที นับเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดที่เคยมีการเปิดแสดง และยังชื่อได้ว่าเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดในบรรดาซิมโฟนีทั้งหลายอีกด้ว.

กุสตาฟ มาห์เลอร์และคีตกวี · กุสตาฟ มาห์เลอร์และดนตรีคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด วากเนอร์

ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner; เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883) เป็นหนึ่งในคีตกวีเอกชาวเยอรมัน ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และยังเป็นนักทฤษฎีดนตรีที่เก่งกาจ ส่วนใหญ่แล้วผลงานของวากเนอร์เป็นที่รู้จักจากอุปรากรที่เขาแต่ง ซึ่งมักจะเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมประกอบดนตรี อิทธิพลของวากเนอร์ในดนตรีตะวันตกนั้นมากมายมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปรากรที่เขาปฏิวัติรูปแบบโดยสิ้นเชิง Richard Wagner.

คีตกวีและริชาร์ด วากเนอร์ · ดนตรีคลาสสิกและริชาร์ด วากเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1820 ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven,; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 - 26 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี เบโทเฟนเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคจินตนิยมผู้โดดเดี่ยว และไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง ตลอดชีวิตของเขามีอุปสรรคนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขา ในรูปภาพต่าง ๆ ที่เป็นรูปเบโทเฟน สีหน้าของเขาหลายภาพแสดงออกถึงความเครียด แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งของเขา ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตของเขาได้ ตำนานที่คงอยู่นิรันดร์เนื่องจากได้รับการยกย่องจากคีตกวีโรแมนติกทั้งหลาย เบโทเฟนได้กลายเป็นแบบอย่างของพวกเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นอัจฉริยะที่ไม่มีใครเทียมทาน ซิมโฟนีของเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิมโฟนีหมายเลข 5 ซิมโฟนีหมายเลข 6 ซิมโฟนีหมายเลข 7 และ ซิมโฟนีหมายเลข 9) และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนที่เขาประพันธ์ขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนแชร์โตหมายเลข 4 และ หมายเลข 5) เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็มิได้รวมเอาความเป็นอัจฉริยะทั้งหมดของคีตกวีไว้ในนั้น.

คีตกวีและลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน · ดนตรีคลาสสิกและลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน · ดูเพิ่มเติม »

อันโตญีน ดโวชาก

อันโตญีน ดโวชาก อันโตญีน ดโวชาก (Antonín Dvořák) เป็นคีตกวีชาวเช็ก เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) ที่เมืองมุลโฮเซน (ในภาษาเช็กคือเมืองเนลาโฮเซเวส) ห่างจากกรุงปรากออกไปทางตอนเหนือราว 20 กิโลเมตร ในแคว้นโบฮีเมีย (สาธารณรัฐเช็ก) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ที่กรุงปราก.

คีตกวีและอันโตญีน ดโวชาก · ดนตรีคลาสสิกและอันโตญีน ดโวชาก · ดูเพิ่มเติม »

อันโตนีโอ วีวัลดี

thumb.

คีตกวีและอันโตนีโอ วีวัลดี · ดนตรีคลาสสิกและอันโตนีโอ วีวัลดี · ดูเพิ่มเติม »

อิกอร์ สตราวินสกี

อิกอร์ เฟโดโรวิช สตราวินสกี้ (И́горь Фёдорович Страви́нский; Igor Stravinsky; 17 มิถุนายน ค.ศ. 1882 — 6 เมษายน ค.ศ. 1971)) เป็นคีตกวีดนตรีคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวรัสเซีย สตราวินสกี้ ราวปี 1950 สตราวินสกี้เป็นบุตรชายของนักร้องชื่อดังแห่งโรงละครหลวง เขาเกิดที่เมืองออรานีนบาม (Oranienbaum) ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนเป็นชื่อ โลโมโนซอฟ (Lomonosov) ใกล้กับนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในประเทศรัสเซีย เขาเรียนด้านกฎหมายกับเปียโน ก่อนที่จะมาเป็นศิษย์ของนิโคไล ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ บทเพลงชื่อดังชิ้นแรกของเขาได้แก่ วิหคเพลิง (ค.ศ. 1910 ด้วยการจ้างของแซร์จ เดียกิเลฟ เพื่อใช้แสดงในคณะบัลเลต์รัสเซีย ตามมาด้วยเพลง เปทรูชก้า (ค.ศ. 1911) พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ (ค.ศ. 1913) และอุปรากร เรื่อง นกไนติงเกล (ค.ศ. 1914) มีเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับบัลเลต์เรื่อง พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ ทั้งจากท่าเต้น และความไม่เหมือนใครของดนตรีประกอบ ทำให้สตราวินสกี้กลายเป็นคีตกวี ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 สตราวินสกี้เสียชีวิตที่นิวยอร์ก ศพของเขาถูกฝังไว้ที่สุสานซาน มิเชลในนครเวนิซ ประเทศอิตาลี.

คีตกวีและอิกอร์ สตราวินสกี · ดนตรีคลาสสิกและอิกอร์ สตราวินสกี · ดูเพิ่มเติม »

จูเซปเป แวร์ดี

Verdi จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี (Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) โด่งดังจากอุปรากรเรื่อง ลา ทราเวียตตา ไอด้า โอเทลโล ผลงานของเขาได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ และต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน แวร์ดีเกิดที่หมู่บ้าน Le Roncole ในอำเภอตาโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองบุสเชโต ที่ซึ่งเขาได้เรียนดนตรีกับเฟอร์ดินานโด โปรแวร์สิ เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี ขึ้นมาบทหนึ่งจากเพลงโหมโรงของอุปรากรเรื่อง กัลบกแห่งเมืองเซวิลล์ (Il barbiere di Siviglia) ของ จิโออัคคิโน รอสสินี จากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นครมิลาน เพื่อสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาจึงเรียนแบบส่วนตัวกับวินเซนโซ ลาวินยา ผลงานประพันธ์อุปรากรเรื่องแรกของเขาคือ Oberto, conte di San Bonifacio (เปิดการแสดงครั้งแรกที่กรุงมิลาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2382) ตามด้วยเรื่อง Un giorno di regno (ซึ่งเป็นความพยายามประพันธ์อุปรากรชวนหัวเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีเพียง Falstaff อีกเรื่องในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา) แต่เขาประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) จากเรื่อง Nabucco ที่ได้เปิดแสดงที่โรงละครลา สกาล่า ในนครมิลาน โดยมีนักแสดงนำได้แก่จูเซปปินา สเตร็ปโปนี ร้องเสียงโซปราโน ในบทของอาบิไก นักร้องสาวได้กลายเป็นภรรยาน้อยของแวร์ดี เขาได้แต่งงานกับหล่อนในอีกหลายปีให้หลัง ภายหลังการเสียชีวิตของภรรยาของเขา หลังจากที่อุปรากรเรื่อง I Lombardi alla prima crociata (เปิดแสดงครั้งแรกที่นครมิลาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386) ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง เรื่องErnani ก็ประสบความสำเร็จในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซเช่นกัน ในปีต่อมา อุปรากรเรื่อง Giovanna d'Arco และ La Forza del Destino ก็ตอกย้ำความโด่งดังของแวร์ดี แต่เขาเห็นว่าการแสดงงานของเขาที่โรงละครลา สกาล่านั้นยังไม่เข้าขั้น เป็นเหตุให้เขาปฏิเสธการเปิดแสดงอุปรากรเรื่องต่อ ๆ มาในมิลาน อันได้แก่เรื่อง Atilla, Alzira และ แมคเบ็ท ในได้ถูกนำออกแสดงในเมืองต่าง ๆ ทั่ว ประเทศอิตาลี ส่วนเรื่อง I Masnadieri นั้นได้ถูกประพันธ์ขึ้นที่กรุงลอนดอน ในขณะที่นครมิลาน พ่ายแพ้และถูกจักรวรรดิออสเตรียเข้ายึดครอง แวร์ดีได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Il Corsaro, La Battaglia di Legnano และ Luisa Miller รวมทั้งเรื่อง Manon Lescaut ที่แต่งไม่จบ หลังจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบทประพันธ์เรื่อง Stiffelio ในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) เรื่อง Rigoletto ก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซ ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) เขาประสบความสำเร็จครั้งสำคัญอีกครั้งจากเรื่องIl Trovatore ที่โรงละครอพอลโลในกรุงโรม แต่การเปิดการแสดงภาคภาษาฝรั่งเศสในนครเวนีซไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก อุปรากรเรื่องอื่น ๆ ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงนี้ ได้แก่ งูพิษแห่งเกาะซิซิลี (เปิดแสดงที่กรุงปารีส) Aroldo (งานที่สร้างขึ้นมาจากเรื่อง Stiffelioเดิม) และเรื่อง Simon Boccanegra กับ Un ballo in maschera (ที่ถูกห้ามนำออกแสดง) แวร์ดีได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากในการรวมชาติของประเทศอิตาลี (เขาได้ประพันธ์บทเพลง Inno delle Nazioni ซึ่งได้รวมเอาเพลงชาติต่าง ๆ ในยุโรปไว้ด้วยกัน เช่น เพลง Fratelli d'Italia Marseillaise และ God Save the King ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก จากนั้นก็ได้นำผลงานเก่ามาแก้ไขเล็กน้อย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เมื่อDon Carlos ได้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อเขานำเรื่องไอด้า ออกแสดงที่โรงละครลา สกาล่าก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น เขาได้ประพันธ์ให้แก่ผู้สำเร็จราชการแห่งอียิปต์กับเนื่องในโอกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งใหม่ในกรุงไคโร และสำหรับการเปิดคลองสุเอซ ผลงานของแวร์ดีมีความเป็นชาตินิยมของชาวอิตาลีอยู่ในตัว (เป็นต้นว่าเพลงชาวยิวสำหรับกลุ่มนักร้องประสานเสียงขับร้องในเรื่อง Nabucco ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Va Pensiero นั้น ได้รับการเสนอให้เป็นเพลงชาติอิตาลีมาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้มีความหมายในเชิงเหยียดเชื้อชาติ) เป็นที่น่าประหลาดใจ เมื่อมีคนพบว่าชื่อของเขา Verdi เป็นตัวอักษรย่อของคำว่า Vittorio Emanuele Re D’Italia (วิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กษัตริย์แห่งอิตาลี) ในช่วงเวลาที่ชาวเมืองมิลาน (ซึ่งยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย) ได้เริ่มหันมาสนับสนุนความพยายามรวมชาติอิตาลีของวิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กลุ่มแนวร่วมหลบหนีเข้าเมืองได้เริ่มคบคิดที่จะให้กษัตริย์ Sardaigne บุกมิลาน เนื่องจากการกดขี่ของชาวออสเตรียนั้นรุนแรงเกินไป กลุ่มคนเหล่านี้ได้เริ่มการปลุกระดมที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า « Viva VERDI » (« V.E.R.D.I. จงเจริญ ») แวร์ดีทราบเรื่องการนำชื่อของเขาไปใช้ ซึ่งโดยหลักแล้วเขาควรจะห้าม แต่เขาก็ไม่ได้ห้าม เรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันกับการเมืองของแวร์ดีได้ถูกนำเสนอในบทอุปรากรเรื่อง I Lombardi แวร์ดีเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) ที่นครมิลาน หลังจากการก่อสร้างคฤหาสน์ Casa di Riposo เสร็จสิ้น (เขาตั้งใจให้เป็นที่พักชั่วคราวของเหล่าศิลปินตกยาก) พีธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการ ผู้เข้าร่วมราว 250,000 คนได้มาแสดงความคารวะต่อปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของวงการดนตรีอิตาลี.

คีตกวีและจูเซปเป แวร์ดี · จูเซปเป แวร์ดีและดนตรีคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

ดมีตรี ชอสตโกวิช

องชอสตาโกวิช เมื่อปี ค.ศ. 1950 ดมีตรี ดมีตรีเยวิช ชอสตโกวิช (Dmitri Dmitrievich Shostakovich; Дмитрий Дмитриевич Шостакович; เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1906 - เสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1975) เป็นคีตกวีชาวรัสเซีย ในยุสมัยสหภาพโซเวียตเรืองอำนาจ ผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาส่วนใหญ่เป็นซิมโฟนี และสตริงควอร์เต็ต อย่างละ 15 บท หลังจากที่เขาเสียชีวิต ความเห็นของเขาที่มีต่อชีวิตในสหภาพโซเวียตได้กลายมาเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง และความขัดแย้งทางดนตรี ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในภาษาเยอรมันว่า "Dmitri Schostakowitsch" อันเนื่องมาจากการที่เขาได้นำชุดตัวโน้ต DSCH (ซึ่งหมายถึง ตัว เร-มีแฟลต-โด-ที ในระบบตัวโน้ตของเยอรมัน และชื่อย่อของเขาในภาษาเยอรมัน) มาใช้เป็นเอกลักษณ์ทางดนตรีของตนเอง ชอสตโกวิชมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกับรัฐบาลโซเวียด ถูกทางการประณามบทเพลงของเขาถึงสองครั้ง ใน..

คีตกวีและดมีตรี ชอสตโกวิช · ดนตรีคลาสสิกและดมีตรี ชอสตโกวิช · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ออร์ฟ

Carl Orff and Lieselotte Holzmeister at the Fidula workshop 1956 คาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff) คีตกวีชาวเยอรมัน เกิดที่นครมิวนิค เมื่อวันที่10 กรกฎาคม ค.ศ. 1895 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1982 ที่นครมิวนิคเช่นกัน ออร์ฟเป็นหนึ่งในคีตกวีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความสำเร็จของเขามีอิทธิพลอย่างมากในสาขาดนตรีศึกษาอีกด้วย เขาเป็นที่รู้จักจากผลงานประพันธ์เพลง คาร์มินา บูรานา ในปีค.ศ. 1937 ออร์ฟเชื่อว่าดนตรี(Music) การเคลื่อนไหว(Movement)และการพูด(Speech) เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ ทั้งสามสิ่งรวมกันเป็นเอกภาพ(Unity) ซึ่งออร์ฟเรียกว่า “ดนตรีเบื้องต้น”(Elelmental Music) คำว่า ”ดนตรีเบื้องต้น” นี้ ออร์ฟหมายถึง การแสดงออกทางดนตรีของบุคคลที่เป็นไปโดยธรรมชาติ ออร์ฟได้สังเกตจากเด็กในสภาวะแวดล้อมปรกติไม่มีกฎเกณฑ์อะไรบังคับ เด็กจะใช้ดนตรี การเคลื่อนไหว และภาษาพูดไปพร้อมกัน เด็กที่กำลังเต้นรำจะร้องเพลงไปด้วย เมื่อเด็กร้องเพลงเขาก็มักจะเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเสียงเพลง ออร์ฟยอมรับทฤษฎีที่ว่า ประวัติศาสตร์ดนตรีย่อมแสดงตัวของมันอยู่ในพัฒนาการชีวิตของแต่ละคน เขาได้ย้อนกลับไปพิจารณาในยุคต้นของการก่อเกิดวัฒนธรรม ที่คนทั่วไปใช้ดนตรีเป็นสิ่งแสดงความรู้สึกของตนเองโดยไม่ต้องได้รับการฝึกฝน การเคลื่อนไหวและการพูด มักจะรวมอยู่ด้วยกันอย่างแยกไม่ออกกับดนตรีที่ใช้แสดงความรู้สึกเหล่านั้น ออร์ฟใช้กรณีของเด็กเล็กมาเปรียบเทียบกับคนป่าคนเถื่อนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนดนตรีมาก่อน เขาเชื่อว่าการศึกษาดนตรีควรจะเริ่มด้วยความรู้ที่ง่าย ๆ จากเพลงง่าย ๆ และพัฒนาขึ้นไปสู่ดนตรีที่ซับซ้อนหรือบทเพลงที่ยากขึ้น ด้ วยข้อสรุปนี้ ออร์ฟได้วางแผนการศึกษาที่เป็นขั้น ๆ ต่อเนื่องกันโดยมีโครงสร้างเริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุด แล้วสอนเพิ่มเติมไปสู่สิ่งที่ซับซ้อนที่สุด แผนการศึกษาของออร์ฟเช่นนี้ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูง ออร์ฟเรียกแผนการศึกษาของเขาว่า Schulwerk Schulwerk ของออร์ฟนั้น เขากล่าวว่าควรเริ่มต้นใช้กับเด็กวัยต้น ๆ และควรใช้ประสบการณ์ของตัวเด็กเองเป็นอุปกรณ์การสอนดนตรี เช่น ชื่อของเด็ก คำง่าย ๆ ที่คุ้นเคย เป็นต้น ออร์ฟเห็นว่าจังหวะเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของดนตรี(Rhythm is strongest of the elements of music)การแสดงออกของมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติที่สุดและสามัญที่สุดคือการใช้จังหวะ เขาได้สอนความคิดเรื่องจังหวะโดยผ่านคำพูดและการเคลื่อนไหว ออร์ฟมีความคิดเช่นเดียวกันดาลโครซ ที่ว่าการเรียนเครื่องดนตรีต่าง ๆ นั้น ควรจะตามหลังพัฒนาการของทักษะพื้นฐานที่จำเป็นทางดนตรี อันได้แก.

คาร์ล ออร์ฟและคีตกวี · คาร์ล ออร์ฟและดนตรีคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล เซอร์นี

คาร์ล เซอร์นี คาร์ล เซอร์นี (Carl Czerny) เป็นคีตกวีชาวออสเตรีย เกิดที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) และเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) บิดาของเซอร์นีเป็นนักเปียโนผู้เก่งกาจ ผู้ซึ่งการเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนี้ให้แก่เขา ด้วยการเรียนที่มีบิดาเป็นครู คาร์ลสามารถเล่นบทเพลงหลายบทได้อย่างขึ้นใจ และเล่นได้มีคุณภาพขนาดปรมาจารย์ทางดนตรีคนหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) ถึง พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) เขาได้เป็นศิษย์ของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ซึ่งบทเรียนจากฟาน เบโทเฟน นั้นจะเป็นประโยชน์แก่เขาในภายหลัง ความสามารถในการสอนของเขาพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสามารถสอนบทเรียนที่สำคัญ ๆได้เมื่อเขาอายุได้เพียง 15 ปี ทำให้เขากลายเป็นครูสอนเปียโนที่เป็นที่ต้องการตัวมากคนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี เขาออกแสดงคอนเสิร์ตน้อยครั้งมาก เขาพอใจที่จะประพันธ์เพลง และสอนลูกศิษย์มากกว่า ซึ่งในบรรดาลูกศิษย์ของเซอร์นีนั้น มีฟรานซ์ ลิทซ์ผู้โด่งดังรวมอยู่ด้วย แม้ว่าบทเพลงของเซอร์นีบางบทจะไพเราะเสนาะหู คาร์ล เซอร์นีกลับเป็นที่รู้จักในฐานะผู้แต่งบทเรียนทางเทคนิคจำนวนนับไม่ถ้วน (มากกว่า 600 โอปุส) ซึ่งไม่ได้โด่งดังด้วยความไพเราะ ดูเหมือนว่าเซอร์นีจะหมกมุ่นอยู่กับการแกะเทคนิคยาก ๆ จากบทเพลงของฟาน เบโทเฟนออกมา เพื่อจะสามารถถ่ายทอดมันได้ดียิ่งขึ้นเสียมากกว่า หมวดหมู่:คีตกวีชาวออสเตรีย หมวดหมู่:บุคคลจากเวียนนา.

คาร์ล เซอร์นีและคีตกวี · คาร์ล เซอร์นีและดนตรีคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี

ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี (Пётр Ильи́ч Чайко́вский; Pyotr Ilyich Tchaikovsky) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี เป็นคีตกวีชาวรัสเซีย เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ที่เมืองโวทคินสค์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไชคอฟสกีเกิดในครอบครัวผู้มีอันจะกิน ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างความหรูหราและการอดมื้อกินมื้อ ข่าวอื้อฉาว และความต้องการเป็นที่ยอมรับ เขาได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยดนตรีแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ภายใต้การดูแลของอันทอน รูบินสไตน์ จากนั้นถูกเรียกให้ไปเป็นครูสอนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานให้แก่น้องชายของรูบินสไตน์ที่กรุงมอสโก ที่มอสโกนี่เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานสำคัญหลายชิ้น เป็นต้นว่าซิมโฟนีหมายเลขหนึ่ง ชื่อ ความฝันในเหมันตฤดู เขาสมรสในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะรักษาความขัดแย้งภายในตนว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ แต่ความล้มเหลวของชีวิตแต่งงาน ที่เป็นที่โจษจันว่าอยู่กันอย่างไร้ความรักกับเจ้าสาวที่เป็นศิษย์ของเขาเอง ทำให้เขาเกือบฆ่าตัวตายสำเร็จ อารมณ์ของเขามั่นคงขึ้นในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) เมื่อเขาได้ออกเดินทางไปทั่วทวีปยุโรป ประเทศอิตาลีได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์ผลงานหลายชิ้น รวมทั้งบทเพลงชื่อ คราพริชิโอ อิตาเลียน (capriccio italien) เขาประสบความสำเร็จหลายครั้งและได้พบปะกับคีตกวีเลื่องชื่อร่วมสมัย เป็นต้นว่า โยฮันเนส บราห์ม แอนโทนิน ดโวชาค ฯลฯ เขาเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกาเพื่อเปิดการแสดง ไชคอฟสกีเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ด้วยอหิวาตกโรคแต่บางกระแสกล่าวว่าเขาถูกบังคับให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย จากข้อหารักร่วมเพศ เพลงของเขาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างดนตรีตะวันตกกับดนตรีรัสเซีย ด้วยการนำเสนอแบบร่วมสมัย ซึ่งรวมถึงคีตกวีโมเดสต์ มูสซอร์กสกี และ กลุ่มคีตกวีทั้งห้า ซึ่งเขาได้สร้างมิตรภาพกับพวกเขาเหล่านั้นไว้ด้ว.

คีตกวีและปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี · ดนตรีคลาสสิกและปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี · ดูเพิ่มเติม »

แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ

แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ (Hector Berlioz) เป็นคีตกวี นักเขียน และนักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) ที่เมืองลาโกตแซ็งต็องเดร จังหวัดอีแซร์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1869) ที่กรุงปารีส เขาเป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญในยุคโรแมนติกของทวีปยุโรป.

คีตกวีและแอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ · ดนตรีคลาสสิกและแอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ · ดูเพิ่มเติม »

โกลด เดอบูว์ซี

กลด เดอบูว์ซี ที่วิลลาเมดิจิ กรุงโรม ค.ศ. 1885 เดอบูว์ซีคือคนกลางแถวบน ใส่เสื้อคลุมสีขาว โกลด-อาชีล เดอบูว์ซี (Claude-Achille Debussy) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) ที่เมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล และเสียชีวิตที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918).

คีตกวีและโกลด เดอบูว์ซี · ดนตรีคลาสสิกและโกลด เดอบูว์ซี · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง

ันน์ ชเตราสส์ ที่สอง รูปปั้นราชาแห่งเพลงวอลซ์เหมือนมีชีวิต ที่สแตดพาร์ก ในกรุงเวียนนา โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง (เยอรมัน: Johann Strauß (Sohn) - หรือ โยฮันน์ ชเตราสส์ บุตร หรือ โยฮันน์ ชเตราสส์ จูเนียร์) เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1825 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1899) เป็นคีตกวีชาวออสเตรีย ซึ่งบทประพันธ์เพลงวอลซ์ของเขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เดอะ บลู ดานูบ โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง เป็นบุตรชายของโยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง ซึ่งเป็นคีตกวีเช่นกัน น้องชายของเขา 2 คน คือ โยเซฟ ชเตราสส์ กับ เอด๊วด ชเตราสส์ ก็เป็นนักประพันธ์เพลง แต่โยฮันน์ที่สองเป็นคนที่โด่งดังที่สุดในตระกูล เขาเป็นที่รู้จักในนามของ ราชาเพลงวอลซ์ ในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่ และเป็นผู้สร้างให้เกิดกระแสความนิยมเพลงวอลซ์ในกรุงเวียนนา ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชเตราสส์ได้กลายเป็น ราชาเพลงวอลซ์ เนื่องจากได้ปฏิวัติรูปแบบวอลซ์ด้วยการยกระดับเพลงระบำชาวนาอันต่ำต้อย ขึ้นมาเป็นเพลงเพื่อให้ความบันเทิงแก่บุคคลชั้นสูงในราชสำนักฮับส์บวร์กได้ เขาไม่เพียงแค่ปฏิวัติเพลงวอลซ์เท่านั้น แต่งานของเขายังโดดเด่นกว่าคีตกวีในยุคเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น โยเซฟ แลนเนอร์ และ โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง รวมทั้งยังได้สุขสำราญกับชื่อเสียงที่มากกว่าอีกด้วย เพลงโพลก้า กับเพลงมาร์ชของเขายังเป็นที่รู้จักกันดี รวมถึงจุลอุปรากร ชื่อว่า Die Fledermaus.

คีตกวีและโยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง · ดนตรีคลาสสิกและโยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง

ันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง โยฮันน์ สเตร๊าสส์ ที่หนึ่ง (เยอรมัน: Johann Strauß - หรือที่รู้จักกันในนามของ โยฮันน์ สเตร๊าสส์ ซีเนียร์ เกิดเมื่อวันที่14 มีนาคม พ.ศ. 2347 เสียชีวิตเมื่อวันที่25 กันยายน พ.ศ. 2392) เป็นคีตกวีชาวออสเตรีย ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักได้แก่เพลงวอลซ์ และเพื่อทำให้เพลงประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น โยเซฟ แลนเนอร์ จึงได้ (โดยไม่ตั้งใจ) จัดตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อให้บุตรชายของเขาสืบสานอาณาจักรดนตรีต่อไป อย่างไรก็ดี บทเพลงของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดเห็นจะได้แก่ ราเด็ตสกี้มาร์ช (ตั้งชื่อตามโยเซฟ ราเด็ตสกี้ ฟอน ราเด็ตส์) ในขณะที่เพลงวอลซ์ที่เลื่องชื่อที่สุดของเขาได้แก่ Lorelei Rhine Klänge โอปุส 154.

คีตกวีและโยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง · ดนตรีคลาสสิกและโยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค

ันน์ เซบาสเตียน บาค, ปี พ.ศ. 2291 วาดโดย อีลิอาส ก็อตลอบ เฮาส์มันน์ (Elias Gottlob Haussmann) โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เป็นคีตกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนัค บาคแต่งเพลงไว้มากมายโดยดั้งเดิมเป็นเพลงสำหรับใช้ในโบสถ์ เช่น "แพชชั่น" บาคถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 ที่เมืองไลพ์ซิก บาคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรค เขาสร้างดนตรีของเขาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย บาคมีอิทธิพลอย่างสูงและยืนยาวต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก แม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่เช่น โมซาร์ท และเบโธเฟน ยังยอมรับบาคในฐานะปรมาจารย์ งานของบาคโดดเด่นในทุกแง่มุม ด้วยความพิถีพิถันของบทเพลงที่เต็มไปด้วย ท่วงทำนอง เสียงประสาน หรือ เทคนิคการสอดประสานกันของท่วงทำนองต่าง ๆ รูปแบบที่สมบูรณ์แบบ เทคนิคที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี การศึกษาค้นคว้า แรงบันดาลใจอันเต็มเปี่ยม รวมทั้งปริมาณของบทเพลงที่แต่ง ทำให้งานของบาคหลุดจากวงจรทั่วไปของงานสร้างสรรค์ที่ปกติแล้วจะเริ่มต้น เจริญเติบโตถึงขีดสุด แล้วเสื่อมสลาย นั่นคือไม่ว่าจะเป็นเพลงที่บาคได้ประพันธ์ไว้ตั้งแต่วัยเยาว์ หรือเพลงที่ประพันธ์ในช่วงหลังของชีวิตนั้นจะมีคุณภาพทัดเทียมกัน.

คีตกวีและโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค · ดนตรีคลาสสิกและโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันเนส บราห์ม

ันเนส บรามส์ (Johannes Brahms 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2376 - 3 เมษายน พ.ศ. 2440 พ.ศ. 2440) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวเยอรมัน หลายคนยกย่องเขาในฐานะทายาททางดนตรีของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ซิมโฟนีบทแรกของเขาได้รับการยกย่องจาก ฮันส์ ฟอน บือโลว์ ว่าเป็นซิมโฟนีบทที่ 10 ของเบโทเฟน โยฮันเนส บราห์ม.

คีตกวีและโยฮันเนส บราห์ม · ดนตรีคลาสสิกและโยฮันเนส บราห์ม · ดูเพิ่มเติม »

โรแบร์ท ชูมันน์

รแบร์ท ชูมันน์ โรแบร์ท อาเล็กซันเดอร์ ชูมันน์ (Robert Alexander Schumann) เป็นคีตกวีและนักวิจารณ์ดนตรีชาวเยอรมัน เกิดวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2353 ที่เมืองซวิคเคา เสียชีวิต 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 ที่เมืองเอนเดนิช (Endenich) ซึ่งปัจจุบันนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี.

คีตกวีและโรแบร์ท ชูมันน์ · ดนตรีคลาสสิกและโรแบร์ท ชูมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท

วล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) 27 มกราคม พ.ศ. 2299 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1756 - 1791) เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมซาร์ทเกิดที่เมืองซาลซ์บูร์ก เขามีงานประพันธ์เพลง 700 ชิ้นรวมทั้งอุปรากร (ดนตรีซึ่งมีเนื้อเรื่อง) ชื่อ ดอน โจวันนี (Don Giovanni) และ ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ปัจจุบันผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ถูกนำมาจัดจำหน่ายเป็นสื่อต่าง ๆ มากม.

คีตกวีและโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท · ดนตรีคลาสสิกและโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท · ดูเพิ่มเติม »

เบ-ลอ บอร์โตก

-ลอ วิกโตร์ ยาโนช บอร์โตก (Bartók Béla Viktor János) เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) ที่เมืองน็อจแซ็นด์มิกโลช (Nagyszentmiklós) ฮังการี (ในปัจจุบันคือเมืองซึนนีกอลาอูมาเร ประเทศโรมาเนีย) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ที่นครนิวยอร์ก) เป็นทั้งคีตกวี นักเปียโน และนักสะสมดนตรีพื้นบ้านในแถบยุโรปตะวันออก เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้จัดตั้งสาขาวิชาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา (ethnomusicology).

คีตกวีและเบ-ลอ บอร์โตก · ดนตรีคลาสสิกและเบ-ลอ บอร์โตก · ดูเพิ่มเติม »

เฟรเดริก ชอแป็ง

ฟรเดริก ชอแป็ง เฟรเดริก ฟร็องซัว ชอแป็ง (Frédéric François Chopin) หรือ ฟรือแดรึก ฟรันต์ซีเชก ชอแป็ง (Fryderyk Franciszek Chopin บางครั้งสะกดว่า Szopen) เป็นคีตกวีชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) จากวัณโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ชื่อที่บิดามารดาของเขาตั้งให้คือ "Fryderyk Franciszek Chopin" ต่อมาได้หันมาใช้ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสเมื่อเขาได้ตัดสินใจจากประเทศบ้านเกิดเป็นการถาวรเพื่อมุ่งหน้าสู่กรุงปารีส ประเทศฝรั่ง.

คีตกวีและเฟรเดริก ชอแป็ง · ดนตรีคลาสสิกและเฟรเดริก ชอแป็ง · ดูเพิ่มเติม »

เอริก ซาตี

ล้อเลียนตนเอง วาดโดยเอริก ซาตี เอริก ซาตี (Erik Satie) เป็นคีตกวี นักเปียโน และนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ชื่อเดิม เอริก อาลแฟรด เลลี ซาตี (Éric Alfred Leslie Satie) เกิดที่เมืององเฟลอร์ จังหวัดกาลวาโดส วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เสียชีวิตที่กรุงปารีส วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925).

คีตกวีและเอริก ซาตี · ดนตรีคลาสสิกและเอริก ซาตี · ดูเพิ่มเติม »

เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ

ซียร์เกย์ วาซีเลวิช รัคมานีนอฟ (Сергей Васильевич Рахманинов) เป็นคีตกวี, นักเปียโน และ วาทยากร ชาวรัสเซีย เขาถูกจัดให้เป็นนักเปียโนที่มีชั้นเชิงและมีอิทธิพลมากที่สุดในยุคของเขา และเป็นผู้นำดนตรีคลาสสิกแบบโรแมนติกในยุโรป บทเพลงของเซียร์เกย์นั้นมีแรงขับมหาศาล และต้องอาศัยเทคนิคชั้นสูงในการบรรเลง โดยเฉพาะ Piano Concerto No.2, Op.

คีตกวีและเซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ · ดนตรีคลาสสิกและเซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คีตกวีและดนตรีคลาสสิก

คีตกวี มี 39 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดนตรีคลาสสิก มี 119 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 27, ดัชนี Jaccard คือ 17.09% = 27 / (39 + 119)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คีตกวีและดนตรีคลาสสิก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »