โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คำวิเศษณ์

ดัชนี คำวิเศษณ์

ำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ในภาษาไทย คำวิเศษณ์สามารถใช้ขยายได้ทั้งนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ ในขณะที่ในภาษาอังกฤษจะแยกคำวิเศษณ์ออกเป็นสองประเภทคือ คำคุณศัพท์ (adjective) ใช้ขยายได้เฉพาะคำนามและสรรพนามเท่านั้น และคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ใช้ขยายกริยา คุณศัพท์ และกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน.

6 ความสัมพันธ์: ภาษาอังกฤษคำคำกริยาคำกริยาวิเศษณ์คำสรรพนามคำนาม

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: คำวิเศษณ์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

คำ

ำ เป็นหน่วยของภาษาที่สื่อถึงความหมายซึ่งประกอบด้วยพยางค์หนึ่งพยางค์หรือมากกว่า ปกติแล้วในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำแสดงถึงความหมายและที่มาของคำนั้น โดยการนำคำหลายคำมาประกอบกันจะทำให้เกิดวลีหรือประโยคซึ่งใช้สื่อความหมายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป.

ใหม่!!: คำวิเศษณ์และคำ · ดูเพิ่มเติม »

คำกริยา

ำกริยา คือคำที่ใช้บ่งบอกถึงการกระทำ การปรากฏ หรือสถานะของสิ่งที่กล่าวถึง คำกริยาอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาษา อันมีองค์ประกอบจากกาล การณ์ลักษณะ มาลา วาจก หรือรวมทั้งบุรุษ เพศ และพจน์ของสิ่งที่กล่าวถึงด้ว.

ใหม่!!: คำวิเศษณ์และคำกริยา · ดูเพิ่มเติม »

คำกริยาวิเศษณ์

ำกริยาวิเศษณ์ เป็นคำชนิดหนึ่งมีใช้ในหลายภาษา ตัวอย่างที่เห็นชัดคือภาษาอังกฤษ คำกริยาวิเศษณ์หมายถึงคำที่ทำหน้าที่ขยายความคำกริยาหรือคำอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากคำนาม เช่นคำคุณศัพท์ (รวมทั้งจำนวน) อนุประโยค ประโยค และคำกริยาวิเศษณ์อื่น คำกริยาวิเศษณ์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำวิเศษณ์ในภาษาไท.

ใหม่!!: คำวิเศษณ์และคำกริยาวิเศษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

คำสรรพนาม

ในทางภาษาศาสตร์และไวยากรณ์ คำสรรพนามเป็นคำซึ่งใช้แทนคำนามหรือนามวลี คำนามถือว่าเป็นคำชนิดหนึ่ง แต่นักทฤษฎีสมัยใหม่บางส่วนจะไม่จำกัดอยู่ในชนิดเดียว เพราะคำสรรพนามมีหลายหน้าที่ เช่น บุรุษสรรพนาม (personal pronoun) ประพันธสรรพนาม (relative pronoun) ปฤจฉาสรรพนาม (interrogative pronoun) นิยมสรรพนาม (demonstrative pronoun) สามีสรรพนาม (possessive pronoun) และอนิยมสรรพนาม (indefinite pronoun) การใช้คำสรรพนามมักเกี่ยวข้องกับการเน้นซ้ำคำ ซึ่งความหมายของคำสรรพนามขึ้นอยู่กับส่วนอ้างอิงอื่น ซึ่งใช้โดยเฉพาะกับสรรพนาม (บุรุษที่ 3) หมวดหมู่:ไวยากรณ์ หมวดหมู่:วจีวิภาค.

ใหม่!!: คำวิเศษณ์และคำสรรพนาม · ดูเพิ่มเติม »

คำนาม

ำนาม คือคำที่ทำหน้าที่เป็นชื่อของสิ่งของใด ๆ หรือชุดของสิ่งของใด ๆ เช่น สิ่งมีชีวิต วัตถุ สถานที่ การกระทำ คุณสมบัติ สถานะ หรือแนวคิด ในทางภาษาศาสตร์ คำนามเป็นหนึ่งในวจีวิภาคแบบเปิดที่สมาชิกสามารถเป็นคำหลักในประธานของอนุประโยค กรรมของกริยา หรือกรรมของบุพบท หมวดหมู่คำศัพท์ (วจีวิภาค) ถูกนิยามในทางที่ว่าสมาชิกจะอยู่รวมกับนิพจน์ชนิดอื่น ๆ กฎทางวากยสัมพันธ์ของคำนามจะแตกต่างกันระหว่างภาษาต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ คำนามคือคำที่สามารถมาพร้อมกับคำนำหน้านาม (article) และคำคุณศัพท์กำหนดลักษณะ (attributive adjective) และสามารถทำหน้าที่เป็นคำหลัก (head) ของนามวลี.

ใหม่!!: คำวิเศษณ์และคำนาม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Adjectiveคำคุณศัพท์คุณศัพท์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »