เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คัมภีร์อธิกธรรมและคัมภีร์ฮีบรู

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คัมภีร์อธิกธรรมและคัมภีร์ฮีบรู

คัมภีร์อธิกธรรม vs. คัมภีร์ฮีบรู

ัมภีร์อธิกธรรม หรือ คัมภีร์สารบบที่สอง (Deuterocanonical books) เป็นคำที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อหมายถึงหนังสือจำนวนหนึ่งที่สภาแจมเนียไม่ยอมรับเข้าในสารบบคัมภีร์ฮีบรู แต่คริสตจักรทั้งสองยังคงยอมรับให้รวมอยู่ในสารบบพันธสัญญาเดิม การเรียกว่า "สารบบที่สอง" เพื่อให้ต่างจากคัมภีร์สารบบที่หนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้คัมภีร์สารบบที่สอง จึงถือเป็นคัมภีร์ในสารบบคัมภีร์ไบเบิลของนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ ต่างจากนิกายโปรเตสแตนต์ส่วนใหญ่ที่ไม่ยอมรับหนังสือชุดดังกล่าว และถือว่าเป็นคัมภีร์นอกสารบบ คริสตจักรโรมันคาทอลิก ถือว่าคัมภีร์พันธสัญญาเดิม สารบบที่สอง มี 9 เล่ม ได้แก. ต้นฉบับ “คัมภีร์ฮีบรู” พร้อมกับคำแปลภาษาแอราเมอิก คัมภีร์ฮีบรู (Hebrew Bible; Biblia Hebraica) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (Tanakh; תנ"ך) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม "คัมภีร์อธิกธรรม" และ Anagignoskomena เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คัมภีร์อธิกธรรมและคัมภีร์ฮีบรู

คัมภีร์อธิกธรรมและคัมภีร์ฮีบรู มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พันธสัญญาเดิมหนังสือดาเนียลหนังสือเอสเธอร์อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์คัมภีร์ฮีบรูโรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์

พันธสัญญาเดิม

ันธสัญญาเดิม (Old Testament) เป็นศัพท์ศาสนาคริสต์ใช้เรียกคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ของชาววงศ์วานอิสราเอลโบราณ ที่รวมกันเป็นส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์ จำนวนหนังสือในพันธสัญญาเดิมจะแตกต่างกันตามแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ยอมรับเฉพาะหนังสือ 24 เล่มในคัมภีร์ทานัคว่าเป็นพันธสัญญาเดิม แต่แบ่งใหม่เป็น 39 เล่ม ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ คอปติกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรแห่งเอธิโอเปีย มีจำนวนหนังสือที่รับเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมของตนมากกว.

คัมภีร์อธิกธรรมและพันธสัญญาเดิม · คัมภีร์ฮีบรูและพันธสัญญาเดิม · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือดาเนียล

ระธรรมดาเนียล (Book of Daniel; דָּנִיֵּאל) เป็นหนังสือลำดับที่ 5 ในหนังสือผู้เผยพระวจนะ (Nevi'im) ของพระธรรมยูดาย (Tanakh) และเป็นหนังสือเล่มที่ 5 ในหมวดประกาศกใหญ่ ของพระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม (Old Testament) ของศาสนาคริสต์ เขียนด้วยภาษาฮีบรูในช่วงที่ชาวยิวอยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรบาบิโลน เป็นระยะที่ชนชาติยิวได้ถูกเนรเทศ และถูกบังคับให้อพยพไปยังเมืองบาบิโลน พระธรรมนี้เป็นคำบรรยายของ ดาเนียล ชาวอิสราเอล โดยเฉพาะ ผู้เป็นโหร และที่ปรึกษาทางของ กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ผู้ปกครองยิ่งใหญ่ ของอาณาจักรบาบิโลน ประมาณ 605 ถึง 562 ก่อนคริสต์ศตวรรษ พระธรรมนี้แบ่งเป็นสองภาค เริ่มด้วยบทที่หนึ่งถึงบทที่หก บอกเรื่องราวประวัติความเป็นมาของท่าน และ บทที่ 7-12 บรรยายถึงเหตุการณ์ต่างๆ จากคำทำนาย ดาเนียลเขียนถึง ดาเนียลและเพื่อนที่ถูกปรักปรำลงโทษ เพราะไม่ละที้งความเชื่อในพระเจ้าของชนชาติอิสราเอล ต่อมา เป็นคำทำนายความฝัน และแปลความหมายของมโนภาพของกษัตริย์ เนบูคัดเนสซาร์ ในภาคที่สอง ของพระธรรม ดาเนียลกล่าวถึง ความหมาย คำพยากรณ์ และคำแปรความฝัน บรรยายนิมิต และสิ่งที่ทูตสวรรค์อธิบายความหมายให้ท่านโดยตรง ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ระหว่างชาวยิวและคริสตชน ถึงระยะเวลาที่แน่นอนและผู้เขียนที่แท้จริงของพระธรรมดาเนียล เชื่อกันแต่โบราณว่า ผู้พยากรณ์นามว่าดาเนียลผู้เขียน ซึ่งมีชีวิตก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่ในหมู่นักศึกษาคริสตธรรมคัมภีร์ยุคใหม่เชื่อว่า พระธรรมเล่มนี้ ได้บันทึก ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 และบันทึกหลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ได้ปรากฏและผ่านไปแล้ว และความเห็นแย้งที่สามคือ พระธรรมบทนี้ เขียนเสร็จบริบูรณ์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 4.

คัมภีร์อธิกธรรมและหนังสือดาเนียล · คัมภีร์ฮีบรูและหนังสือดาเนียล · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือเอสเธอร์

หนังสือเอสเธอร์ (Book of Esther) เป็นหนังสือเล่มที่ 17 ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในชุดหมวดประวัติศาสตร์ เนื้อหากล่าวถึงประวัติศาสตร์ของวงศ์วานอิสราเอลในช่วงอิสราเอลตกเป็นเมืองขึ้นของเปอร์เซียในรัชสมัยกษัตริย์อาหัสซูเอรัส หนังสือเอสเธอร์เป็นคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม 1 ใน 2 เล่ม ที่ใช้ชื่อสตรีเป็นชื่อหนังสือ และกล่าวถึงบทบาทของสตรีต่อชนชาติอิสราเอลอย่างชัดเจน และมีบทบาทนำอ่านในช่วงการเฉลิมฉลองเทศกาล.

คัมภีร์อธิกธรรมและหนังสือเอสเธอร์ · คัมภีร์ฮีบรูและหนังสือเอสเธอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

คัมภีร์อธิกธรรมและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · คัมภีร์ฮีบรูและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ฮีบรู

ต้นฉบับ “คัมภีร์ฮีบรู” พร้อมกับคำแปลภาษาแอราเมอิก คัมภีร์ฮีบรู (Hebrew Bible; Biblia Hebraica) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (Tanakh; תנ"ך) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม "คัมภีร์อธิกธรรม" และ Anagignoskomena เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง.

คัมภีร์อธิกธรรมและคัมภีร์ฮีบรู · คัมภีร์ฮีบรูและคัมภีร์ฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

คัมภีร์อธิกธรรมและโรมันคาทอลิก · คัมภีร์ฮีบรูและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

คัมภีร์อธิกธรรมและโปรเตสแตนต์ · คัมภีร์ฮีบรูและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คัมภีร์อธิกธรรมและคัมภีร์ฮีบรู

คัมภีร์อธิกธรรม มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ คัมภีร์ฮีบรู มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 19.44% = 7 / (10 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คัมภีร์อธิกธรรมและคัมภีร์ฮีบรู หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: