โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คอร์เทกซ์

ดัชนี คอร์เทกซ์

อร์เทกซ์ (cortex) มาจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า เปลือก เปลือกไม้ เปลือกผลไม้ เปลือกเนยแข็ง หนังสัตว์ เปลือกหอย แกลบ เปลือกเมล็ด อาจจะหมายถึง.

29 ความสัมพันธ์: บริเวณบรอดมันน์กระดูกเนื้อแน่นกลีบหน้ากลีบขมับกลีบข้างการขยายในคอร์เทกซ์ภาษาละตินรอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่างรอยนูนหลังร่องกลางระบบรับความรู้สึกทางกายลานรับสัญญาณสมองส่วนหน้าสมองใหญ่สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าคอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกคอร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลายคอร์เทกซ์ใหม่คอลัมน์ในคอร์เทกซ์ตัวกระตุ้นปริภูมิแผนที่ภูมิลักษณ์เซลล์ประสาทเปลือกสมองเปลือกสมองส่วนการเห็นIntraparietal sulcusLateral Intraparietal Cortex

บริเวณบรอดมันน์

ตบร็อดแมนน์ 3-มิติ ผิวด้านข้างของสมอง เขตบร็อดแมนน์ต่าง ๆ มีตัวเลขกำกับ เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann area) เป็นการกำหนดเขตต่าง ๆ ในเปลือกสมองของมนุษย์ มีการจำกัดขอบเขตโดยโครงสร้างและการจัดระเบียบของเซลล์ (cytoarchitectonics).

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และบริเวณบรอดมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเนื้อแน่น

แสดงภาคตัดขวางของกระดูก แสดงกระดูกเนื้อแน่นและกระดูกเนื้อโปร่ง กระดูกเนื้อแน่น หรือ กระดูกทึบ (compact bone, cortical bone, dense bone) เป็นเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ประเภทหนึ่ง กระดูกเนื้อแน่นจะมีความหนาแน่นและเรียงตัวเป็นพื้นผิวของกระดูก คิดเป็นน้ำหนักประมาณ 80% ของน้ำหนักโครงกระดูกมนุษย์ทั้งหมด ส่วนของกระดูกนี้จะหนา เกิดจากชั้นของกระดูกเรียงตัวเป็นชั้นๆ อัดแน่นโดยมีช่องว่างระหว่างชั้นน้อยมาก หน้าที่หลักของกระดูกนี้คือเพื่อค้ำจุนร่างกาย ป้องกันอวัยวะต่างๆ ช่วยเป็นคานในการเคลื่อนไหว และเก็บแร่ธาตุ (ร่วมกับกระดูกเนื้อโปร่ง) กระดูกอีกประเภทหนึ่งคือ กระดูกเนื้อโปร่ง (cancellous bone) ซึ่งมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำ ประกอบกันขึ้นเป็นส่วนโพรงด้านในของกระดูกต่างๆ รวมทั้งกระดูกสันหลัง.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และกระดูกเนื้อแน่น · ดูเพิ่มเติม »

กลีบหน้า

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) เป็นบริเวณของสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemisphere) แต่ละข้าง และอยู่ด้านหน้าของสมองกลีบข้าง (parietal lobe) ส่วนสมองกลีบขมับ (temporal lobe) ตั้งอยู่ล่างและหลังต่อสมองกลีบหน้.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และกลีบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และกลีบขมับ · ดูเพิ่มเติม »

กลีบข้าง

มองกลีบข้าง (parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe) สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย) มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกายSchacter, D. L., Gilbert, D. L. & Wegner, D. M. (2009).

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และกลีบข้าง · ดูเพิ่มเติม »

การขยายในคอร์เทกซ์

การขยายในคอร์เทกซ์"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ magnification ว่า "การขยาย" (Cortical magnification) เป็นคำชี้บอกว่า นิวรอนกี่ตัวในคอร์เทกซ์สายตา มีหน้าที่แปลผลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นขนาดหนึ่ง โดยเป็นฟังก์ชั่นของตำแหน่งในลานสายตา คือ ที่ตรงกลางลานสายตา ซึ่งตรงกับตำแหน่งรอยบุ๋ม (fovea) ของจอตา มีนิวรอนจำนวนมากที่แปลผลข้อมูลจากเขตเล็ก ๆ ในลานสายตา แต่ถ้าเห็นตัวกระตุ้นเดียวกันในส่วนรอบนอกของลานสายตา (คือห่างออกไปจากศูนย์กลาง) จะมีนิวรอนน้อยกว่ามากที่แปลผลข้อมูล การลดจำนวนนิวรอนแปลข้อมูลต่อเขตลานสายตาไปตามลำดับ ที่เริ่มต้นจากรอยบุ๋มจอตา (คือจากศูนย์กลางลานสายตา) ไปสุดที่ส่วนรอบนอกเช่นนี้ เกิดขึ้นตามจุดต่าง ๆ ตามวิถีประสาทของระบบสายตา เริ่มต้นตั้งแต่กระทั่งที่เรตินา เพื่อการกำหนดจำนวน เราปกติใช้ ตัวคูณการขยายในคอร์เทกซ์ (cortical magnification factor) ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของพื้นที่ในคอร์เทกซ์ต่อองศาของมุมการเห็น ถ้ากำหนดหน่วยอย่างนี้ (คือตัวคูณสูงหมายถึงมีนิวรอนเป็นจำนวนมากที่ประมวลผลข้อมูลในเขตวงกลมกำหนดด้วยองศานั้น) ตัวคูณการขยายในคอร์เทกซ์ที่รอยบุ๋มจอตากับเขตส่วนรอบนอก มีความแตกต่างประมาณ 100 เท่าในคอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิ (V1) ในไพรเมต (Daniel and Whitteridge 1961) การมีจำนวนนิวรอนที่ลดลงเพื่อประมวลผลสำหรับเขต ๆ หนึ่งของลานสายตา ก็จะหมายถึงว่า นิวรอนแต่ละตัวต้องมีลานรับสัญญาณ (receptive field) ที่มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น และเนื่องจากว่านิวรอนแต่ละตัว ต้องทำการประมวลผลต่อเขตลานสายตาที่ใหญ่ขึ้น ความคมชัดในการเห็นจึงจะดีที่สุดตรงกลางลานสายตา และแย่ที่สุดในส่วนรอบนอก ในคอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิ ตัวคูณการขยายในคอร์เทกซ์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า M scaling (โดยที่ M หมายถึง "magnification การขยาย") เขตสายตาต่าง ๆ ในเปลือกสมองมีการให้ความสำคัญที่รอยบุ๋มจอตาที่ต่างกัน เขตที่มีหน้าที่วิเคราะห์รูปร่างและลักษณะผิว (เช่นเขตสายตา V4) มักจะมีตัวคูณการขยายในคอร์เทกซ์ที่สูงในเขตรอบ ๆ รอยบุ๋มจอตา และมีตัวคูณที่ต่ำในเขตรอบนอกลานสายตา โดยเปรียบเทียบกันแล้ว เขตสายตาอื่น ๆ ในคอร์เทกซ์ มีตัวคูณที่ค่อย ๆ ลดลง จากที่รอยบุ๋มจอตาไปสุดที่ส่วนรอบนอกของลานสายตา (เช่นเขต dorsomedial area หรือที่เรียกว่า V6).

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และการขยายในคอร์เทกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง

รอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง (Inferior temporal gyrus, gyrus temporalis inferior) เป็นรอยนูนสมองที่ อยู่ใต้รอยนูนกลีบขมับส่วนกลาง (middle temporal gyrus), อยู่ข้างหน้ารอยนูนกลีบท้ายทอยส่วนล่าง (inferior occipital gyrus), และแผ่ขยายไปทางผิวด้านข้างของสมองกลีบขมับลงไปจรด inferior sulcus เป็นศูนย์ประมวลผลข้อมูลการเห็นในระดับสูงโดยเป็นส่วนสุดท้ายของทางสัญญาณด้านล่าง (ventral stream) มีหน้าที่เป็นตัวแทนของลักษณะที่ซับซ้อนของวัตถุที่เห็น และอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรู้ใบหน้า กับการรู้จำวัตถุ (object recognition) ต่าง ๆ และกับการรู้จำตัวเลข (number recognition) รอยนูนกลีบขมับส่วนล่างเป็นส่วนล่างของสมองกลีบขมับ อยู่ใต้ร่องกลีบขมับกลาง (central temporal sulcus) สมองส่วนนี้ (ซึ่งเป็นส่วนของคอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง) ทำหน้าที่แปลผลตัวกระตุ้นทางตา เป็นการรู้จำวัตถุ (object recognition) ที่เห็นทางตา และเป็นส่วนสุดท้ายของทางสัญญาณด้านล่างของระบบการเห็น (ดังที่แสดงไว้ในงานวิจัยเร็ว ๆ นี้) "คอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง" (inferior temporal cortex ตัวย่อ ITC) ในมนุษย์เป็นส่วนเดียวกับ "รอยนูนกลีบขมับส่วนกลาง" (เขตบร็อดแมนน์ 21) รวมกับ "รอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง" (เขตบร็อดแมนน์ 20) โดยที่ไม่เหมือนกับไพรเมตประเภทอื่น ๆ สมองเขตนี้แปลผลตัวกระตุ้นทางตาที่ปรากฏในลานสายตา ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเก็บและการเรียกคืนความทรงจำเกี่ยวกับวัตถุนั้น เพื่อประโยชน์ในการระบุวัตถุนั้น ทำหน้าแปลผลและรับรู้ข้อมูลที่เกิดจากตัวกระตุ้นทางตาที่ผ่านการแปลผลจากเขตสายตา V1, V2, V3, และ V4 ที่อยู่ในสมองกลีบท้ายทอย มาแล้ว คือทำหน้าที่แปลผลข้อมูลสีและรูปร่างของวัตถุที่อยู่ในลานสายตา (ซึ่งเป็นข้อมูลจากเขตสายตาก่อน ๆ) แล้วให้ข้อมูลว่าวัตถุที่เห็นนั้นคืออะไร ซึ่งก็คือการระบุวัตถุโดยใช้สีและรูปร่าง โดยเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ประมวลแล้วกับข้อมูลความจำที่เก็บไว้เพื่อที่จะระบุวัตถุนั้น สมองเขตนี้ไม่ใช่มีความสำคัญในเรื่องเป็นส่วนของการแปลผลข้อมูลทางตาเพื่อการรู้จำวัตถุเท่านั้น แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแปลผลแบบง่าย ๆ อย่างอื่นของวัตถุในลานสายตา มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้และความเข้าใจทางปริภูมิของวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัว และเป็นส่วนที่มีเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ ที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะซึ่งอาจจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคอร์เทกซ์นี้กับระบบความจำ.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และรอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนหลังร่องกลาง

หวของรอยนูนหลังร่องกลาง รอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus, gyrus postcentralis) ด้านข้างของสมอง เป็นโครงสร้างที่โดดเด่นในสมองกลีบข้างของมนุษย์ และเป็นจุดสังเกตที่สำคัญ เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) เป็นเขตรับสัญญาณความรู้สึกหลักของระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory system) และเหมือนกับเขตรับความรู้สึกอื่น ๆ เขตนี้มีแผนที่ปริภูมิของความรู้สึกซึ่งเรียกว่า "cortical homunculus"Cortical homunculus เป็นแผนที่ภูมิลักษณ์ของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายในคอร์เทกซ์สั่งการหลักและคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ คือส่วนในสมองของมนุษย์ที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหว และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างระบบสั่งการและระบบรับรู้ความรู้สึก คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิในยุคต้น ๆ มีขอบเขตที่กำหนดโดยงานวิจัยกระตุ้นผิวสมองของไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ และงานวิจัยศักย์ผิวสมองของบาร์ด วูลซีย์ กับมาร์แชลล์ ที่เป็นไปในช่วงเวลาเดียวกัน แม้ว่าในเบื้องต้นจะกำหนดอย่างคร่าว ๆ ว่าเป็นส่วนเดียวกับเขตบร็อดแมนน์ 3-1-2 งานวิจัยในภายหลังของจอน คาสส์ เสนอว่า เพื่อความเหมือนกันกับเขตรับรู้ความรู้สึกอื่น ๆ ควรที่จะกล่าวเขตบร็อดแมนน์ 3 ว่าเป็นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ เนื่องจากว่าเขตนั้นได้รับสัญญาณมากที่สุดจาก thalamocortical radiations (วิถีประสาททาลามัส-คอร์เทกซ์) ซึ่งมาจากลานสัญญาณที่รับรู้การสัมผั.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และรอยนูนหลังร่องกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรับความรู้สึกทางกาย

การเห็นบกพร่อง สัมผัสเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญเพื่อรับรู้สิ่งแวดล้อม ระบบรับความรู้สึกทางกาย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ somato-gnosis ว่า "ความรู้สึก-ทางกาย" และของ sensory ว่า "-รับความรู้สึก" แต่สิ่งที่ตีพิมพ์ในวรรณกรรมมักใช้คำอังกฤษว่า somatosensory system โดยไม่แปล (somatosensory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่สามารถรับรู้อย่างหลายหลาก ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก/ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) ที่ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และศูนย์ประมวลผลต่าง ๆ ที่ระบบประสาทกลางมากมาย ทำให้รับรู้ตัวกระตุ้นได้หลายแบบรวมทั้งสัมผัส อุณหภูมิ อากัปกิริยา และโนซิเซ็ปชั่น (ซึ่งอาจให้เกิดความเจ็บปวด) ตัวรับความรู้สึกมีอยู่ที่ผิวหนัง เนื้อเยื่อบุผิว กล้ามเนื้อโครงร่าง กระดูก ข้อต่อ อวัยวะภายใน และระบบหัวใจและหลอดเลือด ถึงแม้จะสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณว่า สัมผัสเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งในทวารทั้ง 5 (เช่น "โผฏฐัพพะ" ในพระพุทธศาสนา) แต่ความจริงแล้ว "สัมผัส" เป็นความรู้สึกต่าง ๆ หลายแบบ ดังนั้น การแพทย์จึงมักจะใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "somatic senses (ความรู้สึกทางกาย)" แทนศัพท์ว่า "touch (สัมผัส)" เพื่อให้ครอบคลุมกลไกความรู้สึกทางกายทั้งหมด ความรู้สึกทางกายบางครั้งเรียกว่า "somesthetic senses" โดยที่คำว่า "somesthesis" นั้น รวมการรับรู้สัมผัส (touch) การรับรู้อากัปกิริยา และในบางที่ การรับรู้วัตถุโดยสัมผัส (haptic perception) ระบบรับความรู้สึกทางกายมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้ามากมายหลายแบบ โดยอาศัยตัวรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับอุณหภูมิ โนซิเซ็ปเตอร์ ตัวรับแรงกล และตัวรับรู้สารเคมี ข้อมูลความรู้สึกจะส่งไปจากตัวรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ผ่านลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ตรงเข้าไปยังสมอง การประมวลผลโดยหลักเกิดขึ้นที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ในสมองกลีบข้าง cortical homunculus ที่แสดงไว้โดยไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ กล่าวอย่างง่าย ๆ ที่สุด ระบบรับความรู้สึกทางกายจะเริ่มทำงานเมื่อตัวรับความรู้สึกที่กายเขตหนึ่งเริ่มทำงาน โดยถ่ายโอนคุณสมบัติของตัวกระตุ้นบางอย่างเช่นความร้อนไปเป็นสัญญาณประสาท ซึ่งในที่สุดก็จะเดินทางไปถึงเขตสมองที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่อเขตกายนั้น และเพราะเฉพาะเจาะจงอย่างนี้ จึงสามารถระบุเขตกายที่เกิดความรู้สึกโดยเฉพาะซึ่งเป็นผลแปลของสมอง ความสัมพันธ์จุดต่อจุดเช่นนี้ปรากฏเป็นแผนที่ผิวกายในสมองที่เรียกว่า homunculus แปลว่า "มนุษย์ตัวเล็ก ๆ" และเป็นส่วนสำคัญในการรับรู้ความรู้สึกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่แผนที่ในสมองเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจริง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างน่าทึ่งใจ เพื่อตอบสนองต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือความบาดเจ็บอื่น.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และระบบรับความรู้สึกทางกาย · ดูเพิ่มเติม »

ลานรับสัญญาณ

ลานรับสัญญาณ (receptive field) ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (ตัวรับความรู้สึก) ก็คือ เขตในปริภูมิที่ถ้ามีตัวกระตุ้น จะสามารถเปลี่ยนการยิงสัญญาณของเซลล์ ปริภูมิที่กล่าวถึงอ.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และลานรับสัญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

สมองส่วนหน้า

ในกายวิภาคศาสตร์ของสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สมองส่วนหน้า หรือ โปรเซนเซฟาลอน (prosencephalon หรือ forebrain) เป็นส่วนของสมองที่อยู่ด้านบนที่สุด เป็นหนึ่งในส่วนหลักของสมองในขณะที่มีการเจริญของระบบประสาทกลาง อันได้แก่ สมองส่วนหน้า, สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) และสมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ในระยะที่สมองเจริญออกเป็น 5 กระเปาะ สมองส่วนหน้าจะแบ่งออกเป็นสมองส่วนไดเอนเซฟาลอน (ได้แก่ พรีทาลามัส, ทาลามัส, ไฮโปทาลามัส, ซับทาลามัส, อิพิทาลามัส และพรีเทคทัม) และ เทเลนเซฟาลอน (ซีรีบรัม).

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และสมองส่วนหน้า · ดูเพิ่มเติม »

สมองใหญ่

ทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และสมองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า

อร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex, ตัวย่อ PFC) เป็นส่วนหน้าของสมองกลีบหน้าผาก อยู่ข้างหน้าของคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (primary motor cortex) และ คอร์เทกซ์ก่อนคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (premotor cortex) สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนหรือโปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน เกี่ยวข้องกับบุคลิก เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และเกี่ยวข้องกับการควบคุมความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับสังคม กิจหลักในสมองส่วนนี้ก็คือ การคิดและการกระทำที่เป็นไปตามเป้าหมายของแต่ละคน ในศาสตร์ของจิตวิทยา กิจที่ PFC ทำเรียกว่ากิจบริหาร (executive function) กิจบริหารมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการจำแนกความคิดที่ขัดแย้งกัน กับการตัดสินความมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ความดีและความดีที่สุด ความเหมือนกันและความต่างกัน ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากการกระทำปัจจุบัน การทำการเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ การพยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้น ความมุ่งหวังในการกระทำ และการควบคุมตนในสังคม (คือสมรรถภาพในการระงับความอยากตามสัญชาตญาณที่ถ้าไม่ระงับแล้ว ก็อาจจะนำไปสู่ผลเกี่ยวกับสังคมที่ไม่เป็นที่น่าชอบใจ) นักวิชาการหลายท่านได้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างบุคลลิกของคนๆหนึ่ง และหน้าที่ของ PFC.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง

อร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง (posterior parietal cortex ตัวย่อ PPC, Cortex parietalis posterior) เป็นส่วนของสมองกลีบข้างหลังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) คือ ก่อนที่การเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้น ระบบประสาทต้องรู้ตำแหน่งเดิมของส่วนของร่างกายที่จะต้องเคลื่อนไหว และตำแหน่งต่าง ๆ ของวัตถุภายนอกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีปฏิกิริยาร่วมด้วย คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลังรับข้อมูลจากระบบรับความรู้สึก 3 ระบบ ที่มีบทบาทในการกำหนดตำแหน่งของร่างกายและของวัตถุภายนอกในปริภูมิ ซึ่งก็คือ ระบบการมองเห็น ระบบการได้ยิน และระบบรับความรู้สึกทางกาย ต่อจากนั้น คอร์เทกซ์จึงส่งข้อมูลไปยังส่วนต่าง ๆ ของคอร์เทกซ์สั่งการ (motor cortex) ในสมองกลีบหน้า ไปยัง dorsolateral prefrontal cortex, ไปยังส่วนต่าง ๆ ของคอร์เทกซ์สั่งการทุติยภูมิ (secondary motor cortex) และ ไปยัง frontal eye field งานวิจัยที่ใช้ fMRI ในลิง และงานวิจัยที่ใช้การกระตุ้นสมองผ่านกะโหลกด้วยแม่เหล็ก (Transcranial magnetic stimulation) ในมนุษย์ ชี้ว่า คอร์เทกซ์นี้มีส่วนประกอบเป็นเขตเล็ก ๆ ที่แต่ละเขตมีหน้าที่เฉพาะในการนำทางการเคลื่อนไหวตา ศีรษะ แขน หรือมือ ความเสียหายต่อคอร์เทกซ์นี้มีผลเป็นความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว-การรับรู้ (sensorimotor) รวมทั้งการรับรู้และความทรงจำที่เกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ ในปริภูมิ การยื่นมือออกไปเพื่อจับวัตถุ การเคลื่อนไหวตา และการใส่ใจ ผลที่เด่นที่สุดของความเสียหายต่อคอร์เทกซ์นี้ก็คือภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ (apraxia) และภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ (hemispatial neglect) บางแหล่งกล่าวว่าคอร์เทกซ์นี้เป็นส่วนของเขตบร็อดแมนน์ 5 และ 7 บางแหล่งกล่าวว่าอยู่ในเขตบร็อดแมนน์ 7 เท่านั้น มีหลักฐานว่า คอร์เทกซ์นี้ยังมีบทบาทในการรับรู้ความเจ็บปวดอีกด้วย งานวิจัยเร็ว ๆ นี้เสนอว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับ "เจตจำนงเสรี" (free will) เกิดขึ้นจากเขตนี้โดยส่วนหนึ่ง งานวิจัยหนึ่งพบว่า เมื่อให้ทำการศิลป์ นักศิลป์สมัครเล่นมีการไหลเวียนของเลือดในระดับสูงขึ้นใน PPC ซีกขวา โดยเปรียบเทียบกับของนักศิลป์มืออาชีพ งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และคอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์รับความรู้สึก

ำว่า คอร์เทกซ์รับความรู้สึก"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cortex ว่า "คอร์เทกซ์" หรือ "เปลือกสมอง" และของ sensory ว่า "-รับความรู้สึก" หรือ "-สมอง" (sensory cortex) อาจหมายถึงคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ หรืออาจหมายถึงคอร์เทกซ์ปฐมภูมิและทุติยภูมิของประสาทสัมผัสต่าง ๆ (ซึ่งแต่ละชนิดมีสองคอร์เทกซ์ คือในสมองซีกซ้ายและขวา) รวมทั้งคอร์เทกซ์สายตา (visual cortex) ในสมองกลีบท้ายทอย, คอร์เทกซ์การได้ยิน (auditory cortex) ในสมองกลีบขมับ, คอร์เทกซ์การได้กลิ่นปฐมภูมิ (primary olfactory cortex) ซึ่งอยู่ที่ uncus ของ Piriform cortex ซึ่งเป็นส่วนของคอร์เทกซ์กลีบขมับ, คอร์เทกซ์การลิ้มรส (gustatory cortex) ซึ่งเป็นส่วนของ insular cortex, และคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ซึ่งอยู่ที่ด้านหน้าของสมองกลีบข้าง ส่วนด้านหน้าต่อจากคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิก็คือคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์ (somatosensory association cortex) ซึ่งประสานข้อมูลความรู้สึกจากคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (รวมทั้งอุณหภูมิและแรงกดเป็นต้น) เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุที่กำลังสัมผัส ส่วนด้านล่างของสมองกลีบหน้ามีป่องกลิ่น (olfactory bulb) ซึ่งรับข้อมูลความรู้สึกจากเส้นประสาทรับกลิ่นแล้วส่งข้อมูลนั้นไปยังเขตต่าง ๆ ในสมอง แต่ว่า ข้อมูลของกลิ่นทั้งหมดไม่ได้ไปทางคอร์เทกซ์รับกลิ่นอย่างเดียว มีการส่งใยประสาทรับกลิ่นบางส่วนไปยังโครงสร้างต่าง ๆ ในระบบลิมบิกโดยตรง และบางส่วนก็ส่งไปยังเขตเหนือเบ้าตา (supraorbital) ของสมองกลีบหน้า การเชื่อมต่อกับระบบลิมบิกโดยตรงแบบนี้ เป็นเอกลักษณ์ของระบบรับกลิ่น เขตคอร์เทกซ์ที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน การเห็น การได้กลิ่น และการรับความรู้สึกทางกาย (คือความรู้สึกสัมผัสและการรับรู้อากัปกิริยาเป็นต้น) อยู่ที่ด้านข้างของร่องด้านข้าง (lateral fissure) และด้านหลังของร่องกลาง (central sulcus) ซึ่งก็คือ อยู่ไปทางส่วนหลังของสมอง ส่วนเขตคอร์เทกซ์ที่เกี่ยวข้องกับการลิ้มรสอยู่ที่ด้านหน้าของร่องกลาง ให้สังเกตว่า ร่องกลางนั้นแบ่งคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex ซึ่งอยู่ที่รอยนูนก่อนร่องกลางที่ด้านหลังของสมองกลีบหน้า) จากคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (ซึ่งอยู่บนรอยนูนหลังร่องกลางที่ด้านหน้าของสมองกลีบข้าง) คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางกาย สิ่งเร้าทางตา และแผนการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และคอร์เทกซ์รับความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลาย

อร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลาย หรือ คอร์เทกซ์สายตานอกคอร์เทกซ์ลาย (extrastriate cortex, area extrastriata) เป็นคอร์เทกซ์ในสมองกลีบท้ายทอย ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ต่อจากคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คอร์เทกซ์ลาย เพราะว่าปรากฏเป็นลายริ้วในกล้องจุลทรรศน์ คอร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลายประกอบด้วยเขตที่ทำกิจต่างๆ หลายเขตรวมทั้งเขตสายตา V3, เขตสายตา V4, เขตสายตา V5 ซึ่งมีความไวต่อการเคลื่อนไหวGuy A. Orban.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และคอร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลาย · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์ใหม่

อร์เทกซ์ใหม่ (neocortex neocortex แปลว่า เปลือกใหม่) มีชื่อเรียกอื่นอีกว่า neopallium และ isocortex เป็นส่วนหนึ่งของสมองในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นส่วนนอกของซีรีบรัล เฮ็มมิสสเฟียร์ (cerebral hemispheres) มีชั้น 6 ชั้นมีชื่อว่าชั้น 1 ถึงชั้น 6 โดยชั้นที่ 6 อยู่ด้านในสุดแล้วชั้น 1 อยู่ด้านนอกสุด เป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง (cerebral cortex) ซึ่งประกอบด้วยคอร์เทกซ์อื่นคือ archicortex และ paleocortex โดยทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิค (limbic system) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด คอร์เท็กซ์ใหม่มีบทบาทในกิจหน้าที่ระดับสูงเช่นการรับรู้ความรู้สึกต่างๆ การสั่งการเคลื่อนไหว (motor commands) การจินตนาการวัตถุในปริภูมิ (spatial visualization) ความคิด และภาษ.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และคอร์เทกซ์ใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

คอลัมน์ในคอร์เทกซ์

อลัมน์ในคอร์เทกซ์ หรือ ไฮเปอร์คอลัมน์ หรือ มอดูลในคอร์เทกซ์ (cortical column หรือ hypercolumn หรือ cortical module) เป็นเซลล์ประสาทกลุ่มหนึ่งในคอร์เทกซ์ ซึ่งสามารถใช้หัวตรวจ สอดเข้าไปเช็คตามลำดับตามแนวที่ตั้งฉากกับผิวคอร์เทกซ์ โดยที่เซลล์ประสาทกลุ่มนั้น มีลานรับสัญญาณที่เกือบจะเหมือนกัน ส่วนเซลล์ประสาทภายใน "มินิคอลัมน์" เข้ารหัสการเข้ารหัสโดยรวม ๆ ก็คือ การแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบหนึ่ง ไปเป็นข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เข้ารหัสเสียงดนตรีไปเป็นหลุมเล็ก ๆ บนซีดีที่ใช้เล่นเพลงนั้นได้คุณสมบัติของตัวกระตุ้นที่คล้าย ๆ กัน เปรียบเทียบกับคำว่า ไฮเปอร์คอลัมน์ ซึ่ง "หมายถึงหน่วยเซลล์ประสาทที่มีค่าหมดทั้งเซตสำหรับพารามิเตอร์ของลานรับสัญญาณเซตใดเซตหนึ่ง" ส่วนคำว่า มอดูลในคอร์เทกซ์ มีคำนิยามว่า เป็นไวพจน์ของไฮเปอร์คอลัมน์ (โดยเมานต์แคสเติล) หรือ ชิ้นเนื้อเยื่อชิ้นหนึ่งที่มีไฮเปอร์คอลัมน์หลายคอลัมน์ ที่แชร์ส่วนเดียวกัน ยังไม่ชัดเจนว่า ศัพท์นี้หมายถึงอะไร คือ คอลัมน์ในคอร์เทกซ์ไม่สัมพันธ์กับโครงสร้างอย่างใดอย่างหนึ่งในคอร์เทกซ์เลย นอกจากนั้นแล้ว ยังไม่มีใครสามารถกำหนดวงจรประสาทแบบบัญญัติ (canonical) ที่สัมพันธ์กับคอลัมน์ในคอร์เทกซ์ และกลไกทางพันธุกรรมในการสร้างคอลัมน์ก็ยังไม่ปรากฏ อย่างไรก็ดี สมมุติฐานการจัดระเบียบเป็นคอลัมน์นี้ เป็นสิ่งที่มีการอ้างอิงอย่างกว้างขวางที่สุด เพื่อจะอธิบายการประมวลข้อมูลของคอร์เทกซ.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และคอลัมน์ในคอร์เทกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ปริภูมิ

ปริภูมิ (space) คือส่วนที่ไร้ขอบเขต เป็นปริมาณสามมิติในวัตถุและเหตุการณ์ และมีตำแหน่งสัมพัทธ์และทิศทาง ปริภูมิในทางฟิสิกส์มักจะถูกพิจารณาในรูปแบบของสามมิติเชิงเส้น และนักฟิสิกส์ในปัจจุบันก็มักจะพิจารณาพร้อมกับเวลาในฐานะส่วนหนึ่งของสี่มิติต่อเนื่องหรือที่เรียกว่า ปริภูมิ-เวลา ปริภูมิในเชิงคณิตศาสตร์ที่มีจำนวนมิติและโครงสร้างที่ต่างกันสามารถตรวจสอบได้ แนวคิดของปริภูมิถูกพิจารณาว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญเพื่อการทำความเข้าใจในจักรวาล ถึงแม้ว่าปริภูมิจะเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักปรัชญาถึงความมีตัวตนของปริภูมิ ความสัมพันธ์ของการมีตัวตนหรือความเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความ.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และปริภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

แผนที่ภูมิลักษณ์

"แผนที่ภูมิลักษณ์""ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ topography ว่า "ภูมิลักษณ์" หรือ "ลักษณะภูมิประเทศ" (topographic map) หรือ "แผนที่ topographic" ของระบบประสาท เป็นการส่งข้อมูลอย่างเป็นระเบียบของพื้นผิวในร่างกายที่เกิดความรู้สึก เช่นที่เรตินาหรือผิวหนัง หรือในระบบปฏิบัติงานเช่นระบบกล้ามเนื้อ ไปยังโครงสร้างต่าง ๆ ของสมองในระบบประสาทกลาง แผนที่ภูมิลักษณ์มีอยู่ในระบบรับความรู้สึกทั้งหมด และในระบบสั่งการ (motor system) ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และแผนที่ภูมิลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนการเห็น

ทางสัญญาณด้านหลัง (เขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (ม่วง) เป็นทางสัญญาณเริ่มมาจากเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ เปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex, cortex visualis) ในสมองเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอยด้านหลังของสมอง คำว่า เปลือกสมองส่วนการเห็น หมายถึงคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

Intraparietal sulcus

intraparietal sulcus (ตัวย่อ IPS, แปลว่า ร่องภายในสมองกลีบข้าง) อยู่ที่ผิวด้านข้างของสมองกลีบข้าง มีทั้งส่วนที่เป็นไปแนวเอียงและเป็นไปในแนวนอน IPS มีส่วนย่อยต่าง ๆ ที่มีกิจหน้าที่ต่าง ๆ กัน ที่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางทางประสาทสรีรวิทยา (neurophysiology) โดยวัดการตอบสนองในระดับเซลล์เดียวของสัตว์อันดับวานร และโดยการสร้างภาพสมองโดยกิจ (functional neuroimaging) ในมนุษย์ สมองส่วนนี้มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างการรับรู้และการสั่งการ (perceptual-motor) คือการสั่งการการเคลื่อนไหวตาและการเอื้อม และเกี่ยวกับความใส่ใจทางตา เชื่อกันว่า IPS ยังมีบทบาทในหน้าที่อื่น ๆ อีกด้วย รวมทั้ง การประมวลข้อมูลคณิตโดยสัญลักษณ์ ควา,จำใช้งานทางตาและพื้นที่ (visuospatial working memory) และการประเมินเจตนาความตั้งใจของผู้อื่น.

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และIntraparietal sulcus · ดูเพิ่มเติม »

Lateral Intraparietal Cortex

Lateral Intraparietal Cortex (ตัวย่อ LIP) อยู่ใน intraparietal sulcus ของสมอง เป็นไปได้มากว่า คอร์เทกซ์นี้มีบทบาทในการเคลื่อนไหวตา เพราะว่า การกระตุ้นเขตนี้ด้วยไฟฟ้ามีผลเป็น saccades คือการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วของตา และเชื่อกันว่า คอร์เทกซ์นี้มีบทบาทกับหน่วยความจำใช้งาน (working memoryหน่วยความจำใช้งาน (working memory) คือระบบความจำที่รองรับข้อมูลชั่วคราวซึ่งสมองใช้ในการประมวลผล เช่น จะจำเบอร์โทรศัพท์อย่างชั่วคราวได้ก็จะต้องใช้ระบบนี้ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวตา โดยทดสอบด้วยวิธีดังต่อไปนี้ (ซึ่งเรียกว่า การทดสอบ saccade แบบทิ้งช่วง หรือ delayed saccade task).

ใหม่!!: คอร์เทกซ์และLateral Intraparietal Cortex · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CortexCortices

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »