โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์น

ดัชนี คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์น

อมมานด์ & คองเคอร์ (หรือ คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์น หรือเรียกง่ายๆว่า C&C/C&C1; และชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือ คอมมานด์ & คองเคอร์ 64 สำหรับเครื่อง นินเทนโด 64) เป็นเกมวางแผนการรบเรียลไทม์ ในซีรีส์ คอมมานด์ & คองเคอร์ พัฒนาโดย เวสท์วูด สตูดิโอ สำหรับ เอ็มเอส-ดอส และ จัดจำหน่ายโดย เวอร์จิน อินเตอร์แอคทีฟ โดยเกมนี้เป็นเกมแรกของซีรีส์ คอมมานด์ & คองเคอร.

23 ความสัมพันธ์: ฟรีแวร์พ.ศ. 2538วิดีโอเกมหลายผู้เล่นวิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียวดอส (ระบบปฏิบัติการ)คอมมานด์ & คองเคอร์คีย์บอร์ดนินเท็นโดนินเท็นโด 64แมคอินทอชแรมแผ่นซีดีไมโครซอฟท์ วินโดวส์ไอบีเอ็มพีซี คอมแพตทิเบิลไอจีเอ็นเพลย์สเตชันเพลย์สเตชัน 3เพลย์สเตชันพอร์เทเบิลเพนเทียมเมาส์เซก้าเซก้า แซทเทิร์น31 สิงหาคม

ฟรีแวร์

ฟรีแวร์ (freeware) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า ฟรีแวร์นั้นคล้ายกับแชร์แวร์ (shareware) คือสามารถใช้ได้ทุกจุดประสงค์เหมือนกัน แต่แชร์แวร์อาจมีระยะเวลาทดลองใช้และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อต่ออายุ หรือเปิดฟังก์ชันการใช้งานที่สมบูรณ์ และฟรีแวร์ต่างจากซอฟต์แวร์เสรี (free software) คือ ซอฟต์แวร์เสรีอนุญาตให้เปิดเผยรหัสต้นฉบับและอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปพัฒนาต่อได้ ในขณะที่ฟรีแวร์ไม่อนุญาต.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและฟรีแวร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

วิดีโอเกมหลายผู้เล่น

วิดีโอเกมหลายผู้เล่น (Multiplayer video game) หรือ โหมดผู้เล่นหลายคน เป็นการเล่นที่ผู้เล่นหลายคนสามารถเล่นได้ในสภาพแวดล้อมเดียวกันภายในเกมได้มากกว่าหนึ่งคน ไม่เหมือนกับเกมประเภทอื่น ๆ เกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมมักจะมีเนื้อหาในโหมดผู้เล่นคนเดียว ซึ่งเป็นการเล่นระหว่างผู้เล่นกับการท้าทายที่มีการเขียนโปรแกรมมากแล้วก่อนหน้านี้ หรือปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมักจะขาดซึ่งความยืดหยุ่นและมีความฉลาดไม่เท่ากับการคิดของมนุษย์ องค์ประกอบของการเล่นหลายคนทำให้ผู้เล่นมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้เล่นคนอื่น อาจอยู่ในรูปแบบของการร่วมมือกัน การแข่งขันกันหรือคู่ปรับกัน และทำให้ผู้เล่นมีการติดต่อสื่อสารทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ในโหมดผู้เล่นคนเดียว ในเกมหลายผู้เล่นจำนวนมาก ผู้เล่นอาจดำเนินการแข่งขันกับผู้เล่นตั้งแต่สองคนขึ้นไปอย่างเป็นคู่แข่งกัน ทำงานร่วมกันกับเพื่อนที่เป็นผู้เล่นคนอื่นเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน การดูแลกิจกรรมของผู้เล่นคนอื่น หรืออาจมีลักษณะของเกมที่ผสมผสานการเล่นทั้งหมดดังที่กล่าวมา เกมหลายผู้เล่นจำเป็นจะต้องมีการแบ่งปันทรัพยากรของระบบผู้เล่นคนเดียว หรือใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อให้ผู้เล่นสามารถเล่นด้วยกันได้ แม้จะอยู่ห่างไกลกันมากก็ตาม.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและวิดีโอเกมหลายผู้เล่น · ดูเพิ่มเติม »

วิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียว

วิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียว (Single-player video game) หรือ โหมดผู้เล่นคนเดียว คือโหมดการเล่นมาตรฐานแบบหนึ่งของเกมคอมพิวเตอร์แบบออฟไลน์ทั่วไป ซึ่งตัวเกมจะรองรับให้ผู้เล่นคนเดียวดำเนินบทบาทตามเนื้อเรื่องจนจบ คำว่า "เกมผู้เล่นคนเดียว" มักจะหมายถึง เกมที่สามารถเล่นได้เพียงคนเดียว ในขณะที่ "โหมดผู้เล่นคนเดียว" หมายถึง ผู้เล่นสามารถปรับเลือกที่จะเล่นโหมดหลายผู้เล่นได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในยุคเริ่มต้นมักจะเป็นเกมผู้เล่นคนเดียว ขณะที่เกมสองผู้เล่นได้ปรากฏขึ้นพร้อมกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และในปี ค.ศ. 1978 ก็ได้ถือกำเนิดเกมหลายผู้เล่นขึ้น และในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ก็เริ่มมีระบบแลน.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและวิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียว · ดูเพิ่มเติม »

ดอส (ระบบปฏิบัติการ)

หน้าตาของดอส ดอส (DOS; ย่อมาจาก Disk Operating System) เป็นชื่อเรียกระบบปฏิบัติการหลายตัวที่พัฒนาโดยไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์ ในช่วงปี..

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและดอส (ระบบปฏิบัติการ) · ดูเพิ่มเติม »

คอมมานด์ & คองเคอร์

อมมานด์ & คอนเคอร์ (Command & Conquer หรือ C&C) คือชื่อของเกมคอมพิวเตอร์แนวเกมวางแผนการรบเรียลไทม์ และ เฟิร์ตเพอร์เซินชูตเตอร์ พัฒนาครั้งแรกโดยบริษัท เวสท์วูด สตูดิโอ ระหว่างปี 1985 จนถึง 2003 ร่วมพัฒนากับบริษัท อิเลคโทรนิค อาร์ต โดยเกมแรกได้วางแผงทั่วโลกใน วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ใช้ ชื่อว่า Command & Conquer โดยได้รับความนิยมทั่วโลก ตลาดที่ขายดีที่สุดได้แก่ อเมริกาเหนือ, ยุโรป และ ออสเตรเลีย และได้มีการแปลเป็นภาษาอื่นๆ ได้แก่ ภาษาเยอรมัน, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาสเปน, ภาษาเกาหลี และ ภาษาจีน พัฒนาลงบนเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) เล่นผ่าน ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และยังได้พอร์ตลงเครื่อง คอนโซล และเครื่อง แมคอินทอช อีกด้วย เกม คอมมานด์ & คอนเคอร์ 3: ไทบีเรียมวอร์ส และ คอมมานด์ & คอนเคอร์ 3: เคนแรธ เป็นเกมที่พอร์ทลงเครื่องคอนโซล ซึ่งพอร์ตลงในเครื่อง เอกซ์บอกซ์ 360 และเกม คอมมานด์ & คอนเคอร์: เรด-อเลิร์ท 3 ก็ได้มีการพัฒนาลงเครื่อง พีซี เอกซ์บอกซ์ 360 และ เพลย์สเตชัน 3 ด้วยเช่นกัน ในปี 1999 บริษัท อิเลคโทรนิค อาร์ต ได้ซื้อบริษัท เวสท์วูด สตูดิโอ และต่อมาได้ปิดตัวลงในปี 2002 และรวมเข้ากับ อีเอ ลอสแอนเจลิส ซึ่งมีพนักงานเก่าของเวสท์วูดทำงานอยู่ แต่บางคนก็แยกตัวไปทำงานสตูดิโอใหม่ คือ Petroglyph Games ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2003 ซีรีส์เกม คอมมานด์ & คองเคอร์ มียอดจำหน่ายทั่วโลกรวมแล้วมากกว่า 21 ล้านชุด และในปี 2008 เกมในซีรีส์นี้รวมแล้วมีทั้งหมด 8 ภาคหลัก และภาคเสริมอีกมากมาย โดย เกมที่วางจำหน่ายล่าสุดคือเกม คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3 และประกาศล่าสุดของเกมภาคสุดท้ายของซีรีส์ ไทบีเรียน ในชื่อว่า "คอมมานด์ & คองเคอร์ 4: ไทบีเรียน ทไวไลท์".

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและคอมมานด์ & คองเคอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คีย์บอร์ด

ีย์บอร์ด (keyboard) เป็นของหมักดอง มีรสและกลิ่นเปรี้ยว เนื่องจากถูกหมักบ่ม และ เก็บมานานภายใต้สภาพอากาศปิด ยิ่งนานยิ่งมีกลิ่นที่เปรี้ยวรุนแรง อาจรวมถึง Mouse ด้วย เช่นกัน; ในการพิม.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและคีย์บอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

นินเท็นโด

นินเท็นโด (Nintendo) เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) เริ่มแรกทำธุรกิจเกี่ยวกับการ์ดเกมและของเล่น รวมถึงธุรกิจอื่น เช่น โรงแรมและแท็กซี่ ใน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) นินเท็นโดได้ผันตัวเองมาเป็นบริษัทวิดีโอเกม ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับวิดีโอเกมที่มีอายุยาวนานที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและนินเท็นโด · ดูเพิ่มเติม »

นินเท็นโด 64

นินเท็นโด 64 (Nintendo 64 หรือ N64) เป็นเครื่องเล่นเกมคอนโซลรุ่นที่สามของบริษัทนินเท็นโด วางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่น วันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1996 และที่สหรัฐอเมริกา วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1996 ชื่อที่ใช้ในการพัฒนาคือ Project Reality ในภายหลังได้ใช้ชื่อ Nintendo Ultra 64 จากความสามารถในการประมวลผลแบบ 64 บิต ซึ่งนินเท็นโดได้นำคำว่า Ultra ออกเหลือเพียง Nintendo 64.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและนินเท็นโด 64 · ดูเพิ่มเติม »

แมคอินทอช

รื่องแมคอินทอชรุ่นแรก แมคอินทอช 128K แมคอินทอช (Macintosh) หรือที่รู้จักในชื่อย่อว่า แมค Mac เป็นชื่อของผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พัฒนา ออกแบบ และจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล แมคอินทอชเครื่องแรกออกวางจำหน่ายเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2527 ออกแบบโดย เจฟ ราสกิน แต่ปัจจุบันโจนาธาน ไอฟ์ได้มารับช่วงต่อ โดยถือว่าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก และเมาส์ ซึ่งไม่ได้ใช้คอมมานด์ไลน์เหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไปในขณะนั้น โดยในส่วนประเทศไทย บริษัท สหวิริยา โอเอ จำกัด เป็นผู้นำเข้าและเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายรายแรก ซึ่ง แมคอินทอชรุ่นแรกที่ บริษัท สหวิริยา ได้เปิดตัวและทำตลาดเป็นรุ่นแรกคือ Macintosh Plus ซึ่งตลาดที่ บริษัท สหวิริยา ทำในขณะนั้น ส่วนใหญ่เป็น สำนักพิมพ์ นิตยสาร โรงพิมพ์ บริษัท ออกแบบ และบริษัท โฆษณา ซึ่งนับได้ว่า Macintosh เป็นผู้เริ่มพลิกวงการพิมพ์ และออกแบบ โดยใช้ ระบบปฏิบัติการ ที่ถือว่า ฉลาด และเป็นมิตร กับ ผู้ใช้งาน (user) มากที่สุดในขณะนั้น แต่เนื่องจากราคาที่สูงมากในขณะนั้น (ราคา 2,495 ดอลลาร์) ทำให้ยังไม่แพร่หลายในหมู่ ผู้ใช้ทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชปัจจุบันมีผู้ควบคุมการออกแบบ โดยมีผลิตภัณฑ์หลักในชื่อสายการผลิต แมคมินิ ไอแมค และแมคโปร สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แมคบุ๊ก แมคบุ๊กแอร์ และแมคบุ๊กโปร สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชจะมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเฉพาะในชื่อแมคโอเอส ซึ่งรุ่นปัจจุบันคือ macOS 10.13 (High Sierra) ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชซึ่งเปลี่ยนมาใช้ หน่วยประมวลผลกลางของอินเทลสามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการอื่นเช่น ลินุกซ์ หรือ วินโดวส์ได้ ลายเซ็นของสตีฟ จ็อบส์สลักในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์แอปเปิ้ลแมคอินทอชครั้งแรก.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและแมคอินทอช · ดูเพิ่มเติม »

แรม

แรมแบบ DDR SDRAM แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว).

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและแรม · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นซีดี

แผ่นซีดี แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (compact disc) คือแผ่นจานแสง หรือดิสก์แสงเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตราฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและแผ่นซีดี · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอบีเอ็มพีซี คอมแพตทิเบิล

รื่องคอมพิวเตอร์ IBM (รุ่น 5150) ทำให้เกิดการเลียนแบบต่อมาในต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ไอบีเอ็มพีซี คอมแพตทิเบิล คือประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ออกแบบตามรูปแบบการทำงานของไอบีเอ็มพีซี ซึ่งสร้างขึ้นโดยบริษัทไอบีเอ็ม โดยใช้สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ อินเทล x86 ในเดือน มิถุนายน..

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและไอบีเอ็มพีซี คอมแพตทิเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ไอจีเอ็น

อจีเอ็น (IGN เดิมชื่อ Imagine Games Network) เป็นเว็บไซต์บันเทิงก่อตั้งโดยนักลงทุน คริส แอนเดอร์สัน ในเดือนกันยายน..

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและไอจีเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน

ลย์สเตชัน (อังกฤษ: PlayStation ญี่ปุ่น: プレイステーション) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกม ระบบ 32 บิต ผลิตโดย Sony Computer Entertainment โดยได้มีออกมาหลายรุ่นในลักษณะหลักเดียวกันในช่วงปลายปี ทศวรรษ 2540 หลังจากที่ประสบความสำเร็จทางโซนี่ได้ออกเครื่องเล่นเกมในรุ่นต่อมาซึ่งได้แก่ พีเอสวัน (PSone), เพลย์สเตชัน 2, PSP (PlayStation Portable) และ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกจำหน่ายไปแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและเพลย์สเตชัน · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน 3

ลย์สเตชัน 3 (อังกฤษ PlayStation 3, ญี่ปุ่น プレイステーション 3) ตัวย่อ PS3 เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 3 ของบริษัท โซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ถือเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่ 7 ตัวเครื่องมีขนาด 12.8×3.9×10.8 นิ้ว (32.5×9.8×27.4 เซนติเมตร) ตัวเครื่องมีอย่างน้อย 3 สีให้เลือก คือสีดำ, สีขาว, และสีเงิน ตัวเครื่องที่ขายจะมีตัวเลือก 2 แบบที่แตกต่างกันในเรื่องของความจุฮาร์ดไดรฟ์ และช่องสัญญาณต่างๆ ขณะนี้ได้ออกวางจำหน่ายแล้ว โดยออกวางตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก ในวันที่ 11 พ.ย. พ.ศ. 2549 ส่วนประเทศอื่นๆ วางตลาดในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยราคาอยู่ที่ US$499 (฿19,000) ในรุ่น 20 GB.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและเพลย์สเตชัน 3 · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล

ลย์สเตชันพอร์เทเบิล (Pตัวมนสิด layStation Portable ย่อว่า PSP) เป็นเครื่องเกมพกพาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของโซนี่ คอมพิวเตอร์ เอนเตอร์เทนเมนท์ โซนี่ประกาศเปิดตัวโครงการ PSP ครั้งแรกในงาน E³ 2003 และเผยโฉมตัวเครื่องเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 หรือ ค.ศ. 2003 ในการแถลงข่าวของโซนี่ในงาน E³ พ.ศ. 2547 ตัวเครื่องได้ถูกนำออกขายในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม..

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและเพลย์สเตชันพอร์เทเบิล · ดูเพิ่มเติม »

เพนเทียม

นเทียม (Pentium) เป็นเครื่องหมายการค้าและแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ไมโครโพรเซสเซอร์ x86 หลายตัวจากบริษัทอินเทล เพนเทียมเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยใช้สถาปัตยกรรม P5 และมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยชิปตัวใหม่ที่ออกมาจะใช้ชื่อรหัสตามหลังคำว่าเพนเทียมเช่น เพนเทียมโปร หรือ เพนเทียมดูอัล-คอร์ จนกระทั่งในปี 2553 ทางอินเทลได้เปลี่ยนระบบการเรียกชื่อชิปในตระกูลเพนเทียมทั้งใหม่หมดให้ใช้เพียงแค่คำว่า "เพนเทียม" โดยไม่มีคำใดต่อท้าย แม้ว่าเพนเทียมถูกออกแบบมาให้เป็นรุ่นที่ 5 ที่ใช้สถาปัตยกรรม P5 ชิปที่พัฒนาต่อมาได้มีการนำสถาปัตยกรรมตัวใหม่ที่นำมาพัฒนามาใช้ภายใต้ชื่อตระกูลเพนเทียม เช่น P6, เน็ตเบิรสต์, คอร์, เนเฮเลม และล่าสุดคือสถาปัตยกรรมแซนดีบริดจ์ ในปี 2541 เพนเทียมได้ถูกจัดให้เป็นซีพียูสำหรับตลาดบนของทางอินเทลเมื่อบริษัทได้เปิดตัวแบรนด์เซเลรอน เพื่อใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด ที่ประสิทธิภาพลดลงมา จนกระทั่งในปี 2549 อินเทลได้เปิดตัวตระกูลคอร์ โดยออกมาในชื่อ อินเทล คอร์ 2 ทำให้สถานะทางการตลาดของเพนเทียมอยู่ในระดับกลาง รองจากตระกูลคอร์แต่อยู่สูงกว่าตระกูลเซเลรอน โดยในปัจจุบันชื่อเพนเทียมเป็นชิปที่อยู่ในราคากลางโดยอยู่ระหว่างอินเทลคอร์และอินเทลเซเลรอน.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและเพนเทียม · ดูเพิ่มเติม »

เมาส์

ลักษณะการทำงานของเมาส์ (แบบลูกกลิ้ง) 1: เมื่อเคลื่อนเมาส์ ลูกบอลด้านล่างจะหมุน 2: จานหมุนสองแนว จับการเคลื่อนไหวของลูกบอล 3: เมื่อจานหมุนทำการหมุน รูบริเวณขอบจานหมุนหมุนตาม 4: แสงอินฟราเรด ส่งผ่านรูจานหมุน 5: เซนเซอร์อ่านค่า และส่งเป็นค่าของความเร็วการเคลื่อนไหวในแนวแกน X และแกน Yเมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่าง ๆ กัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสันแปลกตาไปจากรุ่นทั่วไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ (Air Mouse) ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกันการทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(สำหรับรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS/2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ ๆ กันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า เมาส์ไร้สาย (Wireless mouse) เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนู (Mouse) และหางหนู และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและเมาส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซก้า

ซก้า (Sega; セガ.) เป็นบริษัทผลิตวิดีโอเกมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สัญชาติญี่ปุ่น เดิมทีเซก้าทำธุรกิจทั้งเกมคอนโซลและเกมอาเขต แต่หลังจาก ค.ศ. 2001 บริษัทได้หันมามุ่งผลิตซอฟต์แวร์เกมเพียงอย่างเดียว สำนักงานใหญ่ของเซก้าอยู่ที่เมืองโอตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่วนสำนักงานใหญ่ของเซก้าอเมริกาอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เซก้ายุโรปมีสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและเซก้า · ดูเพิ่มเติม »

เซก้า แซทเทิร์น

เซก้า แซทเทิร์น (Sega Saturn) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมแบบ 32 บิตของบริษัทเซก้า ออกวางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 (ประเทศญี่ปุ่น) 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 (สหรัฐอเมริกา) และ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 (สหภาพยุโรป) นับเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่ห้าเครื่องแซทเทิร์นประสบความสำเร็จพอสมควรในญี่ปุ่น แต่ประสบความล้มเหลวในตลาดฝั่งอเมริกาและยุโรป หมวดหมู่:สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2541 หมวดหมู่:สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2543 หมวดหมู่:เครื่องเล่นวิดีโอเกม.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและเซก้า แซทเทิร์น · ดูเพิ่มเติม »

31 สิงหาคม

วันที่ 31 สิงหาคม เป็นวันที่ 243 ของปี (วันที่ 244 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 122 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: คอมมานด์ & คองเคอร์: ไทบีเรียน ดอว์นและ31 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »