โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความเหนือกว่าเทียมและปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความเหนือกว่าเทียมและปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์

ความเหนือกว่าเทียม vs. ปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์

วามเหนือกว่าเทียม (Illusory superiority) เป็นความเอนเอียงทางประชาน ที่บุคคลประเมินคุณสมบัติหรือความสามารถของตนเทียบกับคนอื่นเกินจริง ซึ่งเห็นได้ชัดในด้านต่าง ๆ รวมทั้งเชาวน์ปัญญา ความสามารถในการทำงานหรือการสอบ หรือการมีคุณลักษณะหรือลักษณะบุคลิกภาพที่น่าชอบใจ เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก (positive illusion) ชนิดหนึ่งที่เกี่ยวกับตนเอง เป็นปรากฏการณ์ที่ศึกษากันในสาขาจิตวิทยาสังคม มีคำภาษาอังกฤษอื่น ๆ ที่หมายถึงคำนี้รวมทั้ง above average effect (ปรากฏการณ์เหนือกว่าโดยเฉลี่ย) superiority bias (ความเอนเอียงว่าเหนือกว่า) leniency error (ความผิดพลาดแบบปรานี) sense of relative superiority (ความรู้สึกว่าเหนือกว่าโดยเปรียบเทียบ) หรือภาษาอังกฤษผสมภาษาละตินว่า primus inter pares effect และ Lake Wobegon effect (ปรากฏการณ์ทะเลสาบโวบีกอน) ซึ่งเป็นทะเลสาบในเมืองนวนิยายที่ ๆ "หญิงทั้งหมดแข็งแรง ชายทุกคนรูปหล่อ และเด็กทั้งปวงเหนือกว่าเด็กธรรมดา" ส่วนคำว่า "illusory superiority" ได้ใช้เป็นครั้งแรกโดยนักจิตวิทยาคู่หนึ่งในปี 1991. ปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์ (Dunning–Kruger effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่บุคคลด้อยความสามารถเกิดความเหนือกว่าเทียม คือ การประเมินความสามารถของตนผิด ๆ สูงเกินจริง ดันนิงและครูเกอร์ว่า ความเอนเอียงนี้มีสาเหตุมาจากความไร้สามารถอภิประชาน (metacognitive incapacity) ในส่วนของผู้ด้อยความสามารถนั้น ที่จะรับรู้การขาดทักษะของพวกตนและประเมินสมรรถนะอย่างแม่นตรง การวิจัยดังกล่าวยังมีอนุนัยว่า บุคคลมากความสามารถอาจประเมินสมรรถนะโดยสัมพัทธ์ของตนต่ำกว่าจริง และอาจสันนิษฐานอย่างผิดพลาดว่างานพวกตนว่าง่ายสำหรับพวกตนจะง่ายสำหรับคนอื่นด้วย หมวดหมู่:ความเอนเอียงทางประชาน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความเหนือกว่าเทียมและปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์

ความเหนือกว่าเทียมและปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ความเอนเอียงทางประชาน

ความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) เป็นรูปแบบความคลาดเคลื่อนของการประเมินตัดสินใจ ที่การอนุมานถึงบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะเป็นไปโดยไม่สมเหตุผล คือ เราจะสร้างความจริงทางสังคม (social reality) ที่เป็นอัตวิสัย จากการรับรู้ข้อมูลที่ได้ทางประสาทสัมผัส เพราะฉะนั้น ความจริงที่เราสร้างขึ้นนี้ ซึ่งไม่ใช่ความจริงโดยปรวิสัย อาจจะกำหนดพฤติกรรมทางสังคมของเรา ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานอาจนำไปสู่ความบิดเบือนทางการรับรู้ การประเมินตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง การตีความที่ไม่สมเหตุผล หรือพฤติกรรมที่เรียกกันอย่างกว้าง ๆ ว่า ความไม่มีเหตุผล (irrationality) ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเชื่อว่า เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม คือเป็นเหตุให้เกิดการกระทำที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์บางอย่าง นอกจากนั้นแล้ว ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างสามารถทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ในสถานการณ์ที่ความเร็วมีความสำคัญมากกว่าความแม่นยำ ดังที่พบในเรื่องของฮิวริสติก ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะเป็น "ผลพลอยได้" ของความจำกัดในการประมวลข้อมูลของมนุษย์ ซึ่งอาจจะมาจากการไม่มีกลไกทางจิตใจที่เหมาะสม (สำหรับปัญหานั้น) หรือว่ามีสมรรถภาพจำกัดในการประมวลข้อมูล ภายใน 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดความเอนเอียงทางประชานเป็นจำนวนมาก เป็นผลจากงานวิจัยในเรื่องการประเมินและการตัดสินใจของมนุษย์ จากสาขาวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งประชานศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ความเอนเอียงทางประชานเป็นเรื่องสำคัญที่จะศึกษาเพราะว่า "ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ" แสดงให้เห็นถึง "กระบวนการทางจิตที่เป็นฐานของการรับรู้และการประเมินตัดสินใจ" (Tversky & Kahneman,1999, p. 582) นอกจากนั้นแล้ว แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ยังอ้างไว้ด้วยว่า ความรู้เกี่ยวกับความเอนเอียงทางประชานมีผลทางด้านการปฏิบัติในฟิลด์ต่าง ๆ รวมทั้งการวินิจฉัยทางคลินิก.

ความเหนือกว่าเทียมและความเอนเอียงทางประชาน · ความเอนเอียงทางประชานและปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความเหนือกว่าเทียมและปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์

ความเหนือกว่าเทียม มี 47 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์ มี 2 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.04% = 1 / (47 + 2)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความเหนือกว่าเทียมและปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »