โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดีย

ดัชนี ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดีย

การสำรวจผู้แก้ไขวิกิพีเดียโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย พ.ศ. 2554 พบว่าผู้แก้ไขส่วนใหญ่ (90%) เป็นเพศชาย ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดีย (Gender bias on Wikipedia) หมายถึง บทวิจารณ์ของสารานุกรมออนไลน์ โดยเฉพาะในเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ ว่าเนื้อหาจำนวนมากมีธรรมชาติที่ลำเอียง เป็นเหตุจากการที่อาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ความที่ผู้แก้ไขวิกิพีเดียเป็นเพศชายเป็นหนึ่งในบทวิจารณ์ของวิกิพีเดียที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่บทวิจารณ์ทั่วไปเกี่ยวกับความลำเอียงอย่างเป็นระบบในวิกิพีเดีย วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับผู้หญิงหรือหัวข้อที่มีความสำคัญต่อผู้หญิงจำนวนน้อยกว่า มูลนิธิวิกิมีเดีย ผู้ดำเนินการวิกิพีเดียเห็นด้วยกับบทวิจารณ์เหล่านี้และมีความพยายามที่จะเพิ่มจำนวนผู้แก้ไขเพศหญิงในวิกิพีเดี.

18 ความสัมพันธ์: ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมินนิโซตามหาวิทยาลัยสหประชาชาติมูลนิธิวิกิมีเดียมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกาวอตยูซีอิสวอตยูเก็ตวิกิพีเดียวิกิพีเดียภาษาอังกฤษสะเต็มศึกษาสารานุกรมบริตานิกาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้อีดิทอะธอนข้อมูลเมทาซู การ์ดเนอร์แล็ปท็อปไฮเปอร์ลิงก์เดอะการ์เดียนเดอะนิวยอร์กไทมส์

ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์

ษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics) เป็นสหวิทยาการที่ว่าด้วยการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะของภาษาธรรมชาติ จากมุมมองในเชิงคำนวณ แบบจำลองนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสาขาในสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์ เดิมทีเดียว นักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์มักจะเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language) แต่งานวิจัยในช่วงหลัง ได้แสดงให้เห็นว่า ภาษานั้นซับซ้อนเกินกว่าที่คาดคิดไว้ ดังนั้นกลุ่มศึกษาภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์จึงกลายสภาพเป็นกลุ่มสหวิทยาการไป โดยจะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่เป็นนักภาษาศาสตร์​ (นั่นคือ ฝึกฝนมาทางด้านภาษาศาสตร์โดยเฉพาะ) ส่วนคนอื่น ๆ อาจจะเชี่ยวชาญในสาขา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ จิตวิทยาปริชาน (en:cognitive psychology) ตรรกวิทยา และอื่น.

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมินนิโซตา

ัณฑ์ศิลปะไวส์แมน ในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมินนิโซตา ทวินซิตีส์ (University of Minnesota, Twin Cities) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) โดยมีแคมปัสอยู่ในสองเมืองที่ติดกัน คือเมืองเซนต์พอลและมินนิแอโพลิส ในรัฐมินนิโซตา ซึ่งเป็นที่มาของชื่อทวินซิตีส์ โดยมีรถโดยสารรับส่งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยระหว่างสองแคมปัส ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2548 เทอมฤดูใบไม้ร่วง) มหาวิทยาลัยมินนิโซตามีนักศึกษา 51,175 คน มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองลงมาจากมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต มหาวิทยาลัยมินนิโซตามีชื่อเสียงในด้านวิชาการหลายด้าน รวมถึงด้านวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งคณะวิศวกรรมเคมี ได้ถูกจัดเป็นอันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารยูเอสนิวส์ นอกจากนี้ยังมีวิศวกรรมเครื่องกลที่อยู่อันดับที่ 8 และคณะอื่นที่ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศ ได้แก่ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ และบริหารธุรกิจ (เอ็มบีเอ) ในด้านกีฬามหาวิทยาลัยอยู่ในกลุ่มบิ๊กเทน.

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและมหาวิทยาลัยมินนิโซตา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ

มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (United Nations University) หรือ ยูเอ็นยู ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและมหาวิทยาลัยสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิวิกิมีเดีย

ริษัทมูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation, Inc.; WMF) หรือ วิกิมีเดีย เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรและองค์กรการกุศลสัญชาติอเมริกัน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักจากการเข้าร่วมในขบวนการวิกิมีเดีย และเป็นเจ้าของชื่อโดเมนอินเทอร์เน็ตของโครงการส่วนใหญ่ของขบวนการ เช่น วิกิพีเดีย มูลนิธินี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยจิมมี เวลส์ เพื่อให้เป็นหนทางหนึ่งในการหาเงินทุนให้แก่วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องด้วยวิธีการที่ไม่แสวงหาผลกำไร ณ พ.ศ. 2558 มูลนิธิมีพนักงานกว่า 280 คน และมีรายได้ประจำปีเกินกว่า 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คริสโตเฟอร์ เฮนเนอร์ (Christophe Henner) ได้เป็นประธานคณะกรรมการบริษัท ส่วนแคทเทอรีน มาเฮอร์ (Katherine Maher) ได้เป็นกรรมการบริหารตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2559.

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและมูลนิธิวิกิมีเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา

มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Science Foundation ย่อว่า NSF) เป็นหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาที่สนับสนุนงานวิจัยและงานด้านการศึกษา สำหรับองค์กรหรือสถานศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ โดยในปี..

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

วอตยูซีอิสวอตยูเก็ต

วอตยูซีอิสวอตยูเก็ต (what you see is what you get) หรือ วิซีวิก (WYSIWYG)) เป็นคำศัพท์เฉพาะในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงระบบเนื้อหาระหว่างการแก้ไข และเนื้อหาเมื่อแก้ไขเสร็จแล้วมีหน้าตาและรูปแบบเดียวกัน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมตระกูลโปรแกรมประมวลผลคำ หรือโปรแกรมช่วยสร้างเว็บเพจ เป็นต้น.

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและวอตยูซีอิสวอตยูเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดีย

วิกิพีเดีย (Wikipedia, หรือ) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 35 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีเนื้อหากว่า 4.9 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่างเสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน จนถึงเดือนเมษายน..

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและวิกิพีเดีย · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ

วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาอังกฤษ เริ่มสร้างเมื่อ 15 มกราคม..

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สะเต็มศึกษา

สะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ดังนั้น สะเต็มศึกษาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการต่อยอดหลักสูตรโดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง และการประกอบอาชีพในอนาคต สะเต็มศึกษาจึงส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่งแก้ไขปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ผู้เรียนที่มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มจะมีความพร้อมที่จะไปปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในภาคการผลิต และการบริการที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม การพลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อมการบริการสุขภาพ การคมนาคม และลอจิสติกส์ เป็นต้น อนึ่ง การทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มไม่ได้จำกัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี แต่สามารถนำความรู้ในวิชาอื่น เช่น ศิลปะ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา เป็นต้น มาบูรณาการได้อีกด้วย หมวดหมู่:นโยบายการศึกษา หมวดหมู่:การศึกษา.

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและสะเต็มศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้

วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface, UI) หมายถึง สิ่งที่มีไว้ให้ผู้ใช้ใช้ในการกระทำกับระบบหรือสิ่งของต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร เครื่องกล อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าใดๆ หรือระบบที่มีความซับซ้อนอื่นๆ เพื่อให้สิ่งๆนั้นทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้สามารถจัดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ได้แก.

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ · ดูเพิ่มเติม »

อีดิทอะธอน

อีดิทอะธอน ''72 โอรัสโกงโรดิง'' ในเม็กซิโกซิตี เป็นอีเวนต์ที่ยาวนานที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยได้รับการยอมรับจากบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ผู้เข้าร่วมประชุมหญิงในปี ค.ศ. 2013 ของอีเวนต์อาร์ตอีดิทอะธอน ในวอชิงตัน ดี.ซี. อีดิทอะธอนในเซาเปาลู ประเทศบราซิล ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การสร้างและปรับปรุงบทความวิกิพีเดียที่เกี่ยวข้องกับคตินิยมสิทธิสตรี, สิทธิสตรี และสตรีที่โดดเด่น ในโครงการของชุมชนออนไลน์ต่าง ๆ เช่น วิกิพีเดีย, โอเพินสตรีตแมป และโลคอลวิกิ อีดิทอะธอน (Edit-a-thon) เป็นอีเวนต์ที่จัดขึ้นสำหรับผู้แก้ไขบทความ และปรับปรุงหัวข้อที่เฉพาะเจาะจง หรือประเภทของเนื้อหา ซึ่งมักจะรวมถึงการฝึกอบรมในการแก้ไขพื้นฐานสำหรับผู้แก้ไขรายใหม่ พวกเขามักจะเกี่ยวข้องกับการพบปะ แต่ไม่สามารถเผยแพร่ได้อย่างช่ำชองนัก ทั้งนี้ คำว่าอีดิทอะธอนเป็นคำผสมมาจากคำว่า "อีดิท" และ "มาราธอน" วิกิมีเดียอิดิทอะธอนเกิดขึ้นจากสำนักงานใหญ่ของสาขาวิกิมีเดีย, สถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งมหาวิทยาลัยโซโนมาสเตต, มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต, มหาวิทยาลัยวิกตอเรียในประเทศแคนาดา เช่นเดียวกับสถาบันทางวัฒนธรรม เช่นพิพิธภัณฑ์หรือจดหมายเหตุ โดยอีเวนต์ที่จัดขึ้นประกอบด้วยหัวข้อเช่นมรดกทางวัฒนธรรม, ของที่สะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์, ประวัติศาสตร์ของสตรี, คตินิยมสิทธิสตรี, การลดช่องว่างทางเพศของวิกิพีเดีย, ประเด็นความยุติธรรมทางสังคม และหัวข้ออื่น ๆ บรรดาสตรี และชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา รวมถึงชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ต่างใช้อีดิทอะธอนในฐานะของการลดช่องว่างทางเพศและเชื้อชาติสำหรับการเข้าสู่วิกิพีเดีย ซึ่งบางส่วนได้รับการจัดโดยวิกิพีเดียในถิ่นที่อยู่ ส่วนอีดิทอะธอนที่ยาวนานที่สุดจัดขึ้นที่มูเซโอโซว์มายาของเม็กซิโกซิตีตั้งแต่วันที่ 9 ถึง 12 มิถุนายน..

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและอีดิทอะธอน · ดูเพิ่มเติม »

ข้อมูลเมทา

้อมูลเมทา(metadata) หมายถึง ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ถูกจัดทำขึ้นอย่างมีโครงสร้างเพื่อใช้ในการบรรยายทรัพยากรสารสนเทศ ในด้านลักษณะเนื้อหา และบริบทที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ลักษณะทางกายภาพและการผลิตทรัพยากรสารสนเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ (Relation) ระหว่างองค์ประกอบที่ใช้ในการบรรยายทรัพยากรสารสนเทศ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองการทำงาน คือ การสืบค้น และการบริหารจัดการ ซึ่งประกอบไปด้วยการกำหนดสิทธิในการใช้ การกำหนดความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การสงวนรักษ.

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและข้อมูลเมทา · ดูเพิ่มเติม »

ซู การ์ดเนอร์

ซู การ์ดเนอร์ กับ เมียร์ ชีทริท ในการประชุมวิกิเมเนีย 2011 ที่ไฮฟา ซู การ์ดเนอร์ (Sue Gardner) เกิดวันที่ 11 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและซู การ์ดเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แล็ปท็อป

แล็ปท็อป คีย์บอร์ดของแล็ปท็อป จะมีลักษณะที่ต่างจากคีย์บอร์ดทั่วไป แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) หรือเรียกย่อว่า แล็ปท็อป หรือ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ (Notebook computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก สามารถขนย้ายหรือพกพาได้สะดวก โดยปกติจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1-3 กก.

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและแล็ปท็อป · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเปอร์ลิงก์

การเชื่อมโยงหลายมิติ หรือ ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) นิยมเรียกโดยย่อว่า ลิงก์ (link) คือคำหรือวลีต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารข้อความ ใช้สำหรับเปิดเอกสารอื่นที่เชื่อมโยงด้วยวิธีการคลิกลงบนคำหรือวลีนั้น โดยเฉพาะกับเว็บเพจซึ่งจะทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ ข้อความที่เป็นลิงก์มักจะปรากฏเป็นสีหรือรูปแบบที่โดดเด่นกว่าข้อความรอบข้าง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถคลิกบนลิงก์เพื่อเปลี่ยนหน้าไปยังเว็บเพจที่กำหนดไว้ แทนที่จะพิมพ์ในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์โดยตรง ไฮเปอร์ลิงก์สามารถใช้เป็นการอ้างอิงภายในเอกสารข้อความหลายมิติ นอกจากนี้การคลิกบนลิงก์อาจเป็นการเรียกใช้งานสคริปต์ที่เขียนไว้โดยผู้พัฒนาเว็บก็ได้.

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและไฮเปอร์ลิงก์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะการ์เดียน

อะการ์เดียน (The Guardian) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันฝ่ายซ้ายกึ่งสายกลางแห่งชาติอังกฤษ ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและเดอะการ์เดียน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดียและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »