โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความรู้

ดัชนี ความรู้

วามรู้ (Knowledge) คือความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ ความสามารถในการรู้บางอย่างนี้เป็นสิ่งสนใจหลักของวิชาปรัชญา (ที่หลายครั้งก็เป็นเรื่องที่มีการโต้เถียงอย่างมาก) และมีสาขาที่ศึกษาด้านนี้โดยเฉพาะเรียกว่าญาณวิทยา (epistemology) ความรู้ในทางปฏิบัติมักเป็นสิ่งที่ทราบกันในกลุ่มคน และในความหมายนี้เองที่ความรู้นั้นถูกปรับเปลี่ยนและจัดการในหลาย ๆ แ.

13 ความสัมพันธ์: การลองผิดลองถูกการวิเคราะห์การสังเคราะห์การจัดการความรู้ญาณวิทยาระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์สัมพัทธภาพทางความรู้ทุนทางสังคมความจริงความเชื่อความเข้าใจประสบการณ์ปรัชญา

การลองผิดลองถูก

การลองผิดลองถูก (trial and error) หรือ ผิดเป็นครู (trial by error) เป็นการกระทำในการแก้ไขปัญหาโดยการได้รับความรู้จากการทดลอง วิธีการลองผิดลองถูกเป็นวิธีแก้ปัญหาวิธีหนึ่งซึ่งแตกต่างกับวิธีการตามทฤษฎี การลองผิดลองถูกมีการนำมาใช้ในหลายด้าน อาทิ วิทยาการคอมพิวเตอร์ การคำนวณทางวิศวกรรม การลองผิดลองถูกในสัตว์เป็นพฤติกรรมที่สัตว์ต้องเผชิญกับสิ่งเร้า ที่ยังไม่ทราบแน่ว่าจะเป็นผลดี ผลเสียกับตัวมัน ถ้าตอบสนองแล้วเป็นผลดีต่อมันมันก็จะทำแบบนั้นอีก ถ้าตอบสนองกับตัวมันแล้วไม่เป็นผลดี มันก็จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งนั้นอีก สัตว์ต่าง ๆ จะมีใช้เวลาในการเรียนรู้แบบนี้ต่างกัน เช่นมดจะตอบสนองได้ดีกว่าไส้เดือน ในมนุษย์การเรียนรู้แบบนี้จะพบได้บ่อยมากในการเรียนรู้ที่ไม่ต้องใช้สมองส่วนหน้ามากนัก เช่น การเล่นกีฬา การเล่นดนตรี สิ่งไหนทำแล้ว เก่งขึ้นก็จะทำต่อไป สิ่งไหนทำแล้วแพ้ก็จะพยายามไม่ทำอีก หมวดหมู่:การแก้ปัญหา หมวดหมู่:พฤติกรรม หมวดหมู่:ความผิดพลาด.

ใหม่!!: ความรู้และการลองผิดลองถูก · ดูเพิ่มเติม »

การวิเคราะห์

การวิเคราะห์ เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้.

ใหม่!!: ความรู้และการวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

การสังเคราะห์

' การสังเคราะห์ (อังกฤษ: Synthesis) มาจากคำว่า syn- แปลว่า ร่วม และคำว่า thesis แปลว่า ปรากฏการณ์ใหม่ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณว่า σύνθεσις โดยคำแรก σύν มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า with ส่วนคำหลัง θέσις มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า placing (synthesis:ในกรีกโบราณรวมความแล้วมีความหมายคือ ประชุม)การสังเคราะห์ เป็นกระบวนบูรณาการปัจจัยต่างๆตั้งแต่สองปัจจัยขึ้นไปซึ่งอาจเป็นได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของรวมทั้งเหตุการณ์และสิ่งที่อยู่ในรูปของแนวคิดเข้ามาเป็นองค์ประกอบร่วมกันเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่หรือเกิดปรากฏการใหม่ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการบูรณาภาพ โดยปัจจัยหรือองค์ประกอบต่างๆที่เข้ามาสู่กระบวนบูรณาการในการสังเคราะห์นั้นบางปัจจัยอาจจะได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อนแล้วขณะที่บางปัจจัยก็อาจจะยังไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อน สภาวะรูปของปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆที่นำมาเป็นปัจจัยและองค์ประกอบในการสังเคราะห์นั้นอาจเป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งบูรณภาพที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่หรือสิ่งใหม่อันเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์นั้นก็เป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรมเช่นกัน.

ใหม่!!: ความรู้และการสังเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์ รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น.

ใหม่!!: ความรู้และการจัดการความรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา หรือ ญาณศาสตร์ (epistemology) หมายถึงวิชาว่าด้วยความรู้ หรือทฤษฎีความรู้ ขอบเขตการศึกษาของญาณวิท.

ใหม่!!: ความรู้และญาณวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ (scientific method) หรือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) เป็นหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบและเสาะหาความรู้ใหม่แบบวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์เสนอความเชื่อใหม่เกี่ยวกับโลกในรูปของทฤษฎีที่ผ่านขั้นตอนของ การสังเกต, การตั้งสมมติฐาน, และการอนุมาน ผลการทำนายของทฤษฎีเหล่านี้จะถูกทดสอบด้วยการทดลอง ถ้าผลการทำนายนั้นถูกต้องหรือสอดคล้องกับการทดลอง ทฤษฎีดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ ทฤษฎีที่ความน่าเชื่อถือจะถูกนำไปทดลองซ้ำเพื่อยืนยันความถูกต้องเพิ่มเติม ระเบียบวิธีนี้ถูกจัดให้เป็นตรรกะสำคัญของธรรมเนียมปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระสำคัญนั้นระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์คือวิธีการที่รอบคอบมาก สำหรับสร้างความเข้าใจ ที่มีหลักฐานและยืนยันได้เกี่ยวกับโลก.

ใหม่!!: ความรู้และระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัมพัทธภาพทางความรู้

สัมพัทธภาพทางความรู้ (knowledge relativity) ในทางปรัชญาคือความคิดที่ว่าความรู้สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ให้ความรู้ เพื่อการติดต่อสื่อสาร และ ให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีสามสิ่งคือ ผู้ที่ได้ความรู้ ผู้ที่ ให้ความรู้ และผู้สังเกตการณ์ หมวดหมู่:ความรู้.

ใหม่!!: ความรู้และสัมพัทธภาพทางความรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ทุนทางสังคม

ทุนทางสังคม (Social Capital) เป็นคำอธิบาย “ทุน” ในลักษณะใหม่ที่ไม่ใช่เพียงทุนทางเศรษฐกิจที่มุ่งหวังในการทำกำไรหรือแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง แต่ทุนทางสังคมมีลักษณะเป็นผลประโยชน์หรือต้นทุนส่วนรวมที่มาจากการช่วยเหลือและความร่วมมือกันระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มต่างๆในสังคม (Putnum, 2000) โดยธนาคารโลก (World Bank) เห็นว่าทุนทางสังคม คือ สถาบัน ระบบ ความสัมพันธ์และบรรทัดฐานการปฏิบัติ (norm) ที่นำมาซึ่งปฏิสัมพันธ์ของสังคมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เน้นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันไม่ใช่สถาบันหรือตัวบุคคลโดดๆ หรือจำนวนรวมกัน อีกทั้งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) เห็นว่าทุนทางสังคม คือ การเชื่อมโยงของบุคคลเป็นเครือข่ายทางสังคมบนพื้นฐานความเชื่อถือ ไว้วางใจซึ่งกันและกัน (trust) และมีมาตรฐานในการทำงานร่วมกัน.

ใหม่!!: ความรู้และทุนทางสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ความจริง

วามจริง ถูกใช้อย่างสอดคล้องบ่อยครั้งกับข้อเท็จจริงและความเป็นจริงMerriam-Webster's Online Dictionary,, 2005 หรือความเที่ยงตรง ของต้นแบบ, มาตรฐาน หรือความคิด หลักปรัชญาตรงข้ามของความจริงคือความผิด ซึ่งสามารถใช้ในทางความหมายเชิงตรรกะ, รูปธรรม หรือจริยธรรมได้อย่างพ้องกัน แนวคิดของความจริงคืออภิปรายและถกเถียงในอรรถาธิบายหลากหลายประเด็น รวมถึงในเรื่องปรัชญาและศาสนา โดยกิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ใช้ความจริง เช่น วิทยาศาสตร์, นิติศาสตร์ และชีวิตประจำวัน หลากหลายทฤษฎีและมุมมองของความจริงยังคงถูกถกเถียงในหมู่นักปรัชญาและนักวิชาการ ภาษาและคำพูดคือสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อสารระหว่างกันและกัน และแนวคิดดังกล่าวเคยมองความจริงว่าเป็นเกณฑ์ของความจริง (criterion of truth) นอกจากนี้ยังมีคำถามมากมาย เช่น สิ่งใดถือเป็นความจริง, ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ว่าสิ่งใดจริงสิ่งใดไม่จริง และความจริงเป็นอัตวิสัยหรือรูปธรรม เป็นความสัมพันธ์หรือความสัมบูรณ์ หลายศาสนาพิจารณาการรอบรู้ความจริงทั้งหมดของสิ่งทั้งมวล (สัพพัญญู) ว่าเป็นลักษณะของเทวดาหรือความเหนือธรรมชาต.

ใหม่!!: ความรู้และความจริง · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: ความรู้และความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ความเข้าใจ

ความเข้าใจ คือกระบวนการทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้บุคคลสามารถครุ่นคิดถึงสิ่งนั้น และสามารถใช้มโนทัศน์ (concept) เพื่อจัดกับกับสิ่งนั้นได้อย่างเพียงพอ สิ่งที่กล่าวถึงนี้อาจจะมีลักษณะเป็นนามธรรม หรือเป็นสิ่งทางกายภาพก็ได้ เช่น บุคคล สถานการณ์ และสาร หมวดหมู่:จิตวิทยา หมวดหมู่:ความรู้.

ใหม่!!: ความรู้และความเข้าใจ · ดูเพิ่มเติม »

ประสบการณ์

ประสบการณ์ หมายถึง ประสบการณ์ หมายถึง ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทำหรือได้พบเห็นมา และประสบการณ์ก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการเรียนรู้ทุก ๆ ด้าน ประสบการณ์ที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1) ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ที่เราได้ปะทะหรือสัมผัสด้วยตัวเองได้พบเอง กระทำเอง ได้ยินได้ฟังเอง 2) ประสบการณ์รอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ประสบการณ์ทางอ้อม" เป็นประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดหรือรับรู้มาอีกทอดหนึ่ง หมวดหมู่:ปรัชญา.

ใหม่!!: ความรู้และประสบการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ความรู้และปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Knowledge

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »