โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความรักประเทศชาติ

ดัชนี ความรักประเทศชาติ

วามรักประเทศชาติหรือความรักปิตุภูมิ (patriotism) เป็นการยึดติดทางอารมณ์ต่อชาติที่ปัจเจกบุคคลนับว่าเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน การยึดติดที่เรียก ความรู้สึกเกี่ยวกับชาติ (national feeling) หรือความภาคภูมิใจในชาติ (national pride) อาจมองในแง่ลักษณะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชาติของตน ซึ่งรวมแง่มุมชาติพันธุ์ วัฒนธรรม การเมืองหรือประวัติศาสตร์ ความรักประเทศชาติครอบคลุมชุดมโนทัศน์ที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุดมโนทัศน์ของชาตินิยม ความรักประเทศชาติมากเกินในการปกป้องชาติ เรียก ลัทธิคลั่งชาติ (chauvinism) อีกคำที่เกี่ยวข้องคือ คติรักชาติแบบใฝ่สงคราม (่jingoism) คำภาษาอังกฤษ "patriot" มีครั้งแรกในสมัยเอลิซาเบธ โดยมาจากภาษาฝรั่งเศสกลางจากภาษาละตินตอนปลาย (คริสต์ศตวรรษที่ 6) "patriota" หมายถึง "เพื่อนร่วมชาติ" (countryman) ซึงสุดท้ายมาจากภาษากรีก πατριώτης (patriōtēs) หมายถึง "จากประเทศเดียวกัน" จาก πατρίς (patris) หมายถึง "ปิตุภูมิ" นามนามธรรม patriotism ปรากฏในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18.

4 ความสัมพันธ์: ชาติชาตินิยมลัทธิคลั่งชาติอารมณ์

ชาติ

ติ หมายถึงกลุ่มคนที่มีภาษา วัฒนธรรม และ/หรือ เชื้อชาติ เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ต้องมีจุดร่วมของการเป็นชาติด้วย เช่น มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่สืบต่อกันมา หรือมีเป้าหมายที่ดีสำหรับการรวมเป็นชาติเดียวกัน.

ใหม่!!: ความรักประเทศชาติและชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ชาตินิยม

ชาตินิยม (nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:คตินิยมเชื้อชาติ หมวดหมู่:การอพยพของมนุษย์.

ใหม่!!: ความรักประเทศชาติและชาตินิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคลั่งชาติ

ลัทธิคลั่งชาติ (Chauvinism) เป็นความรักประเทศชาติมากเกิน ตามตำนาน ทหารฝรั่งเศส นีโกลัส โชแว็ง (Nicolas Chauvin) ได้รับบาดเจ็บสาหัสในสงครามนโปเลียน เขาได้บำนาญจากการบาดเจ็บของเขาแต่ไม่เพียงพอดำรงชีพ หลังนโปเลียนสละราชสมบัติ โชแว็งเป็นผู้นิยมโบนาปาร์ต (Bonapartist) อย่างคลั่งไคล้แม้มุมมองนี้ไม่ได้รับความนิยมในประเทศฝรั่งเศสสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง การอุทิศตนอย่างมืดบอดเด็ดเดี่ยวต่ออุดมการณ์ของเขา แม้ถูกกลุ่มแยกของเขาปฏิเสธและศัตรูก่อกวน เริ่มการใช้คำนี้ ลัทธิคลั่งชาติขยายจากการใช้ดั้งเดิมให้รวมการอุทิศตนอย่างคลั่งไคล้และลำเอียงอย่างไม่เหมาะสม (undue partiality) ต่อกลุ่มหรืออุดมการณ์ใด ๆ ที่ตนจัดเป็นส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะการถือพรรคพวก (partisanship) ซึ่งมีความเดียดฉันท์หรือเป็นปรปักษ์ต่อคนนอกหรือกลุ่มคู่แข่งและคงอยู่แม้เผชิญกับการคัดค้านอย่างท่วมท้น คุณสมบัติแบบฝรั่งเศสนี้ขนานกับคำบริติชว่า คติรักชาติแบบใฝ่สงคราม (jingoism) ซึ่งคงความหมายของลัทธิคลั่งชาติอย่างเคร่งครัดในความหมายดั้งเดิม นั่นคือ ทัศนคติชาตินิยมแบบทำสงคราม.

ใหม่!!: ความรักประเทศชาติและลัทธิคลั่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

ใหม่!!: ความรักประเทศชาติและอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Patriotismความรักปิตุภูมิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »