โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คฤหาสน์ชนบท

ดัชนี คฤหาสน์ชนบท

คฤหาสน์โฮลค์แฮมเป็นคฤหาสน์ชนบทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษ นอกจากจะเป็นการแสดงฐานะและรสนิยมของเจ้าของแล้วก็ยังเป็นศูนย์กลางของทรัพย์สินที่ดินที่ให้งานทำแก่ผู้คนเป็นจำนวนเป็นร้อย คฤหาสน์ชนบท (Country house หรือ English country house) โดยทั่วไปหมายถึงที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่หรือคฤหาสน์ที่เดิมเป็นสมบัติส่วนบุคคลผู้มักจะมีคฤหาสน์สำคัญ (great house) อีกหลังหนึ่งในเมือง ซึ่งทำให้สามารถใช้เวลาได้ทั้งในเมืองและในชนบท “คฤหาสน์ชนบท” และ “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางครั้งมักจะใช้สับสนกัน—คฤหาสน์ชนบทเป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่นอกเมือง แต่คฤหาสน์ภูมิฐานอาจจะตั้งอยู่ได้ทั้งในเมืองหรือนอกเมือง เช่นคฤหาสน์แอ็พสลีย์ (Apsley House) สร้างสำหรับอาเธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตันที่ 1 (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) ที่มุมหนึ่งของไฮด์พาร์ค (Hyde Park) หรือที่เรียกกันว่า “No.

51 ความสัมพันธ์: บักกิงแฮมเชอร์บ้านพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษการยุบอารามภาพยนตร์ระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัลวังวังเบลนิมวิลต์เชอร์วิลเลียม เคนท์วินสตัน เชอร์ชิลสมัยสจวตสมัยทิวดอร์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์สถาปัตยกรรมบาโรกสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมจอร์เจียนสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอสถาปนิกสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ดยุกดาร์บิเชอร์คฤหาสน์ภูมิฐานคฤหาสน์มอนทาคิวต์คฤหาสน์คลิฟเดินคฤหาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษคฤหาสน์โวเบิร์นคอร์นวอลล์ซัมเมอร์เซตประเทศสกอตแลนด์ประเทศอังกฤษประเทศเวลส์ปราสาทนายกรัฐมนตรีโบสถ์คริสต์โรงพยาบาลโรงละครโรงเรียนโรเบิร์ต อาดัมไก่ฟ้าไก่ป่าเชชเชอร์เมนต์มอร์ทาวเวอส์เวสต์วิคัมพาร์ก...เคมบริดจ์เชอร์ ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

บักกิงแฮมเชอร์

ัคคิงแฮมเชอร์ (Buckinghamshire; ออกเสียง: ˈbʌkɪŋəmʃəˈ หรือ ˈbʌkɪŋəmʃɪəˈ; ย่อ Bucks) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน บัคคิงแฮมเชอร์ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ บัคคิงแฮมเชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เซาท์บัคส, ชิลเทิร์น, ไวคูมบ์, อายล์สบรี เวล, และ มิลตัน คีนส์ โดยมีอายล์สบรี เป็นเมืองหลวงของมณฑล และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมิลตัน คีนส์ บัคคิงแฮมเชอร์มีเนื้อที่ 1,874 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 719,000 คน ถัวเฉลี่ย 384 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร บัคคิงแฮมเชอร์มีเขตแดนติดกับนครลอนดอนและปริมณฑล, มณฑลบาร์คเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลนอร์ทแธมป์ตันเชอร์, มณฑลเบดฟอร์ดเชอร์ และมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและบักกิงแฮมเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

บ้าน

้าน บ้าน คือ ที่อยู่อาศัยที่ให้ความอบอุ่นใจแก่ผู้อยู่อาศัย คำว่าบ้านอาจมีความหมายถึงรวมอาคารหรือห้องพักที่ใช้พักอาศัยด้วย หรือ ที่อยู่, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่,ถิ่นที่มีมนุษย์อยู.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII of England) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ 21 เมษายน 1509 จนสวรรคต นอกจากนี้ยังทรงเป็นชาวอังกฤษพระองค์แรกที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ และยังเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกด้วย พระเจ้าเฮนรีทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่สองของราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา พระเจ้าเฮนรีที่ 7 นอกจากการอภิเษกสมรสทั้ง 6 ครั้งและความสัมพันธ์กับสตรีนอกสมรสแล้ว อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญในรัชสมัยของพระองค์คือการประกาศให้การอภิเษกกับแคเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกเป็นโมฆะ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับพระสันตะปาปา และนำประเทศไปสู่การแยกตัวออกจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยการสถาปนาคริสตจักรแห่งอังกฤษขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นคริสตจักรที่ไม่ขึ้นกับพระสันตะปาปา และถือเอาตัวพระองค์เองในฐานะกษัตริย์เป็น "ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ" และนำไปสู่การยุบอารามขึ้น แต่ในด้านความเชื่อพระองค์ยังคงถือคำสอนหลายอย่างตามโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะถูกพระสันตะปาปาประกาศตัดขาดจากศาสนาไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังคอยควบคุมการรวมสหภาพระหว่างอังกฤษกับเวลส์ และพระองค์ยังได้ขึ้นชื่อว่าทรงเป็นศัตรูตลอดกาลกับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดรัชสมัยได้ทำสงครามกันหลายต่อหลายครั้ง พระเจ้าเฮนรีถือเป็นกษัตริย์ที่มีเสน่ห์ มีการศึกษาดี และทรงคุณวุฒิ และเป็นประมุขที่ทรงบารมีที่สุดแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ แม้จะทรงใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ก็ทรงสนพระทัยการเขียนและนิพนธ์ ทรงเห็นว่าสตรีไม่สามารถสร้างความเจริญและมั่นคงแก่ราชวงศ์ทิวดอร์ได้ จึงมีพระราชประสงค์อย่างมากที่จะได้รัชทายาทชายสืบทอดราชบัลลังก์ ทำให้ทรงอภิเษกสมรสหลายครั้งและต่อมาต้องดำเนินการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ซึ่งนำให้อังกฤษกลายเป็นชาติโปรเตสแตนต์ ช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นโรคอ้วนซึ่งทำให้พระพลานามัยย่ำแย่ มีพระรสนิยมผิดปกติ พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์จึงมักแสดงออกถึงความมักมาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย พระอารมณ์ไม่มั่นคง ภายหลังสวรรคต พระราชโอรส(ตามกฎหมาย)องค์เดียวของพระองค์ ได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ขณะมีพระชันษาเพียง 9 ปี.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ (19 มิถุนายน พ.ศ. 2109 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2168) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม..

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การยุบอาราม

อดีตกลาสตันบรีแอบบีย์ การยุบอาราม (Dissolution of the Monasteries; Suppression of the Monasteries) เป็นกระบวนการตามกฎหมายและการปกครองในช่วง ค.ศ. 1538 ถึงปี ค.ศ. 1541 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษโปรดให้ยุบอาราม ไพรออรี คอนแวนต์ และไฟรอารี ในประเทศอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์ ตามอำนาจใน “พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา” อนุมัติโดยรัฐสภาเมื่อปี ค.ศ. 1534 ซึ่งระบุให้พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษเป็น “ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ” (Supreme Head of the Church in England) ซึ่งถือเป็นการแยกตัวออกมาจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างเป็นทางการ และโดย “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 1 (ค.ศ. 1536)” และ “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 2 (ค.ศ. 1539)” การยุบอารามในอังกฤษเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองหนึ่งเพื่อต่อต้านคริสตจักรโรมันคาทอลิกซึ่งเริ่มคุกรุ่นอยู่ในทวีปยุโรปขณะนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์จาก แต่เหตุผลการแยกตัวจากนิกายโรมันคาทอลิกของอังกฤษมิใช่ข้อขัดแย้งทางปรัชญาทางศาสนาดังเช่นในประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส หรือ โบฮีเมีย แต่เป็นเหตุผลส่วนพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและการยุบอาราม · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัล

งานสิบสองเดือนของเกษตรกร (คริสต์ศตวรรษที่ 15) ระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัล (manorialism, seigneurialism) คือระบบเศรษฐกิจและสังคมที่นิยมปฏิบัติกันโดยทั่วไปในยุคกลางในยุโรปตะวันตกและยุโรปกลาง ระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัลเป็นระบบที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือลอร์ดมีอำนาจทางเศรษฐกิจและทางกฎหมายที่สนับสนุนโดยรายได้ที่ได้มาจากผลผลิตของที่ดินที่เป็นเจ้าของ และจากค่าธรรมเนียมของเกษตรกรผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองตามกฎหมาย ค่าธรรมเนียมอาจจะเป็นในรูปของ: ระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัลเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับยุคกลางของยุโรปตะวันตก ที่มีวิวัฒนาการมาจากระบบเศรษฐกิจชนบทของปลายสมัยจักรวรรดิโรมัน เมื่อจำนวนประชากรลดลง ชนชั้นแรงงานกลายเป็นปัจจัยสำคัญของเศรษฐกิจ ในที่สุดก็จัดเป็นระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัลหรือระบบเจ้า-ข้า ซึ่งเจ้าในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นฆราวาสเสมอไป แต่อาจจะเป็นสังฆราชหรือเจ้าอาวาสที่มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับเจ้าของที่ดิน.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัล · ดูเพิ่มเติม »

วัง

้านหน้าของพระราชวังดุสิต วัง หรือ พระราชวัง เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยของประมุขของประเทศหรือผู้นำผู้มีตำแหน่งสูงในหลายประเทศในยุโรปเช่นประเทศฝรั่งเศส และ อิตาลี นอกจากนั้นยังเป็นคำที่ใช้สำหรับสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่แต่ไม่จำเป็นต้องใหญ่มากในตัวเมืองที่สร้างสำหรับเจ้านาย หรือผู้มีตระกูล ในปัจจุบันวังหรือพระราชวังหลายแห่งเปลี่ยนไปใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หรือสำนักงานรัฐบาล หรือโรงแรม.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและวัง · ดูเพิ่มเติม »

วังเบลนิม

วังเบลนิม (Blenheim Palace) หรือ คฤหาสน์เบลนิม เป็นคฤหาสน์ที่สร้างอย่างวังตั้งอยู่ที่เมืองเล็กๆ ชื่อวู้ดสต็อคในมลฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ สร้างโดยซาราห์ เชอร์ชิลผู้เป็นภรรยาของจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ และเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ระหว่างปี ค.ศ. 1705 ถึง ค.ศ. 1722 วังเบลนิมเป็นสถาปัตยกรรมแบบวัง โดยมี เซอร์จอห์น แวนบรูห์เป็นสถาปนิก วังเบลนิมเป็นคฤหาสน์ที่มิได้เป็นของราชวงศ์ แต่ก็ใช้คำนำหน้าว่า “วัง” ซึ่งเป็นแห่งเดียวในอังกฤษเพราะความยิ่งใหญ่ของสิ่งก่อสร้าง จุดประสงค์ของการก่อสร้างเมื่อเริ่มแรกเพื่อเป็นของขวัญสำหรับจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระเพื่อเป็นการตอบแทนในการนำกองทัพอังกฤษรบชนะฝรั่งเศสและบาวาเรีย แต่ต่อมาเบลนิมกลายเป็นปัญหาในการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเป็นผลทำให้ดยุกและดัชเชสแห่งมาร์ลบะระสิ้นอำนาจ รวมทั้งการเสียชื่อเสียงของสถาปนิกจอห์น แวนบรูห์ ตัววังสร้างเป็นแบบบาโรก ปฏิกิริยาหรือคุณค่าของสิ่งก่อสร้างจนบัดนี้ก็ยังไม่เป็นที่เห็นพ้องกันได้ เช่นเดียวกับในสมัยเมื่อเริ่มสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1720 ตัวสิ่งก่อสร้างเป็นลักษณะที่ผสมระหว่างที่อยู่อาศัย, ที่เก็บศพ และ อนุสาวรีย์ นอกจากนั้นสิ่งที่น่าสนใจคือเป็นที่เกิดของวินสตัน เชอร์ชิลอดีตนายกรัฐมนตรีคนสำคัญของอังกฤษ คำจารึกเหนือประตูใหญ่ทางตะวันออกบอกประวัติของสิ่งก่อสร้าง: แต่ตามความเป็นจริงแล้วความสำเร็จของการสร้างเบลนิมเป็นผลจากความทะเยอทะยานของซาราห์ เชอร์ชิลเป็นส่วนใหญ่ หลังจากสร้างเสร็จเบลนิมก็กลายเป็นที่พำนักของตระกูลเชอร์ชิลมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาได้ราว 300 ปี ในระหว่างนั้นตัววังและอุทยานก็ได้รับการเปลื่ยนแปลงมาโดยตลอด เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตระกูลมาร์ลบะระก็ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องขายทรัพย์สมบัติสำคัญๆ ไปบ้าง แต่การแต่งงานกับสตรีชาวอเมริกันก็ช่วยนำเงินมาบำรุงรักษาเบลนิมให้ยังอยู่ในสภาพดังเช่นเมื่อเริ่มสร้าง.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและวังเบลนิม · ดูเพิ่มเติม »

วิลต์เชอร์

วิลท์เชอร์ (Wiltshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลดอร์เซ็ท, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท, มณฑลแฮมป์เชอร์, มณฑลกลอสเตอร์เชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และมณฑลบาร์คเชอร์ มณฑลวิลท์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: ซอลส์บรี, เวสต์วิลท์เชอร์, เค็นเน็ท, นอร์ธวิลท์เชอร์, และ สวินดัน โดยมีศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมือง โทรบริดจ์ วิลท์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 642,000 คน มีพื้นที่ 1346 กิโลเมตร 2 ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินหินชอล์ก (Downland) สูงและหุบเขากว้าง ที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในมณฑลนี้มีชื่อเสียงเพราะเป็นที่ตั้งของสโตนเฮนจ์และสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนั้นก็ยังเป็นบริเวณที่ใช้ในการฝึกทหารของกองทัพอังกฤษ เมืองสำคัญที่สุดของวิลท์เชอร์คือซอลส์บรีที่เป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษและเป็นที่ตั้งของมหาวิหารซอลส์บรีและสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น คฤหาสน์ลองลีต (Longleat), คฤหาสน์วิลตัน (Wilton House), คฤหาสน์สเตาเออร์เฮด (Stourhead) และแอบบีย์เลค็อก (Lacock Abbey).

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและวิลต์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เคนท์

วิลเลียม เคนท์ ผู้บุกเบิกสวนอังกฤษแบบธรรมชาติ วิลเลียม เคนท์ (William Kent พ.ศ. 2228-2291) จิตรกร นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ นักจัดภูมิทัศน์และสถาปนิก เกิดที่เมืองบริดลิงตันไรดิงตะวันออกของยอร์กไชร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เคนท์ได้ไปทัศนศึกษาที่อิตาลีกับผู้อุปถัมภ์และกลับมาทำงานกับลอร์ดเบอร์ลิงตันในงานสร้างตำหนักชิสวิก ต่อมาเคนท์ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนสถาปัตยกรรมแบบพาเลเดียนในอังกฤษ อาคารที่เคนท์ออกแบบได้แก่กลุ่มอาคารฮอร์สการ์ดที่ไวท์ฮอลล์ อาคารรอแยลมิวส์ที่จตุรัสทราฟัลกาและอาคารกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ดี เคนท์ประสบความสำเร็จในงานออกแบบอาคารน้อยกว่างานภูมิทัศน์ สะพานและอาคารแบบพาลลาเดียนในสโตว์ โดยเคนท์ ตัวอย่างงานออกแบบภูมิทัศน์ที่สำคัญคือสวนที่ สโตว์ในบัคคิงแฮมเชอร์ เคนท์นับเป็น “เจ้าตำหรับสวนอังกฤษ” (English School of Landscape Gardening) ที่ได้รับอิทธิพลจากการไปศึกษาที่อิตาลีซึ่งเคนท์ได้ชื่นชมภาพเขียนภูมิทัศน์ของโคลด ลอร์แรน (Claude Lorrain) นิโคลาส์ ปูแซน และซัลวาตอเร โรซา โดยถือเป็นการ “ปฏิรูปสวนอังกฤษ” ให้เป็นรูปแบบ “ธรรมชาติ” ที่มีเนินทุ่งหญ้าและน้ำ นับเป็นการบุกเบิกงานภูมิทัศน์ธรรมชาติที่เปิดกว้างขึ้นให้แก่ “บราวน์ผู้สามารถ” ซึ่งมีโอกาสได้พบเคนท์ในขณะฝึกงานที่สวนสโตว์ และบราวน์ได้ยึดแนวและปรับปรุงรูปแบบ “สวนอังกฤษให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในชั่วคนต่อมา กล่าวกันว่าจุดอ่อนของตัวเคนท์ในงานจัดภูมิทัศน์คือการขาดความรู้ในด้านพืชพรรณและทักษะด้านเทคนิคภูมิทัศน์ แต่ความสามารถในการนำศิลปะสถาปัตยกรรมมาผสมกลมกลืนธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยมสามารถชดเชยจุดอ่อนนี้ได้ เคนท์เคยกล่าวไว้ว่า “งานสร้างสวนทั้งหมดแท้จริงก็คืองานสร้างภาพเขียนภูมิทัศน์” ตัวอย่างงานศิลปะบางส่วนโดยเคนท์ได้แก่ฉาก กอธิก ห้องโถงในวิหารเวสมินสเตอร์ โบสถ์กลอสเซสเตอร์ งานภายในตำหนักเบอร์ลิงตัน และตำหนักชิสวิกในลอนดอน หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2227 คเนท์ คเนท์ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลอีสต์ไรดิงออฟยอร์คเชอร์.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและวิลเลียม เคนท์ · ดูเพิ่มเติม »

วินสตัน เชอร์ชิล

ซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษในการทัพกัลลิโพลี ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 วินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อนาซีเยอรมนีเริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 วินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็นเครือจักรภพแห่งชาติแทน ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปผ่านมาตรการ "ม่านเหล็ก" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 วินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้งวิกฤตการณ์มาลายา, กบฎมาอูมาอูในเคนยา, สงครามเกาหลี ตลอดจนสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิกสภาสามัญชนไปจนถึงปี 1964 วินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากการจัดอันดับในปี 2002.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและวินสตัน เชอร์ชิล · ดูเพิ่มเติม »

สมัยสจวต

มัยสจวต (Stuart period) เป็นสมัยของประวัติศาสตร์อังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1603 จนถึงปี ค.ศ. 1714 ตรงกับการครองราชย์ของกษัตริย์ราชวงศ์สจวต ซึ่งเป็นระยะเวลาระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 หรือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ และมาสิ้นสุดลงในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์เมื่อสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1แห่งราชวงศ์ฮาโนเวอร์ขึ้นครองราชย์ สมัยสจวตเป็นสมัยที่ต่อมาจากสมัยเอลิซาเบธ และตามด้วยสมัยจาโคเบียน สมัยสจวตเป็นสมัยของความขัดแย้งภายในราชอาณาจักรและศาสน.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสมัยสจวต · ดูเพิ่มเติม »

สมัยทิวดอร์

มัยทิวดอร์ (Tudor period) มักจะกล่าวถึงช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1603 โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษ โดยมีพระเจ้าเฮนรีที่ 7เป็นปฐมกษัตริย์ สมัยทิวดอร์เรียกอย่างกว้างๆ ที่รวมรัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แต่รัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธก็ถือว่าอีกสมัยหนึ่งต่างหากที่เป็นสมัยเอลิซ.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสมัยทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์

สะพานรถไฟฟอร์ธออกแบบโดยเซอร์เบ็นจามินเบเคอร์และจอห์น เฟาว์เลอร์ ที่เปิดเมื่อปี ค.ศ. 1890 ในปัจจุบันเป็นของ Network Rail เป็นสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ระดับ เอ ขององค์การประวัติศาสตร์สกอตแลนด์ (Historic Scotland) สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ (Listed building) ในสหราชอาณาจักรเป็นสิ่งก่อสร้างหรือโครงสร้างที่ได้รับการระบุอย่างเป็นทางการว่ามีความสำคัญทางด้านสถาปัตยกรรม, ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม การระบุว่าเป็น “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” เป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่ในปัจจุบันประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างทั้งสิ้นราวครึ่งล้านแห่ง สิ่งก่อสร้างที่ได้รับการระบุว่าเป็น “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ไม่สามารถจะถูกรื้อทิ้ง, ขยายต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานวางแผนท้องถิ่น (ผู้มีหน้าที่ปรึกษาสำนักงานกลางของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ ของสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ) ข้อยกเว้นก็ได้แก่วัดอังกลิคันที่ยังใช้เป็นวัดอยู่ และวัดที่บริหารโดยได้รับสิทธิพิเศษ ในบางกรณีเจ้าของสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์มีหน้าที่ที่จะต้องบำรุงรักษาและซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างให้อยู่ในสภาพดี ถ้าละเลยหรือทำการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตก็จะมีโทษตามกฎหมาย เพราะการได้รับการระบุมีผลในการจำกัดสิทธิในการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจึงอนุญาตให้ผู้เป็นเจ้าของสามารถประท้วงการระบุได้ แม้ว่าสิ่งที่ที่ได้รับการระบุว่าเป็น “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งก่อสร้าง แต่ก็มีโครงสร้างอื่นที่อยู่ในรายการด้วยเช่นสะพาน, อนุสาวรีย์, ประติมากรรม, อนุสรณ์สงคราม หรือแม้แต่หลักไมล์ สิ่งก่อสร้างโบราณ, สิ่งก่อสร้างทางการทหาร และสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่สำหรับการอยู่อาศัย (เช่นสโตนเฮนจ์) แทนที่จะอยู่ในข่าย “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” จะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างโบราณภายใต้การพิทักษ์ (Scheduled monument) ที่อยู่ภายใต้การพิทักษ์ของพระราชบัญญัติที่เก่ากว่าพระราชบัญญัติที่ใช้สำหรับ “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ขณะที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมเช่นอุทยานและสวนในปัจจุบันอยู่ในรายการที่ไม่มีกฎหมายพิทักษ์ พระราชบัญญัติที่ใช้สำหรับ “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” เริ่มโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวางแผนเมือง ค.ศ. 1947 (Town and Country Planning Act 1947) “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ครอบคลุมทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงแทบทุกอย่างของสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ต้องได้รับการอนุญาตก่อนที่จะทำได้ ระดับของการพิทักษ์แบ่งเป็นสามระดับตามลำดับของความสำคัญและความยากในการขอใบอนุญาตในการเปลี่ยนแปลง: “เกรด III” ถูกยุบเลิกไปในปี..

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก

มหาวิหารวิลนิอุส (Cathedral of Vilnius) วาดโดย Laurynas Gucevičius เมื่อปี ค.ศ. 1783 สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก (Neoclassical architecture) หรือ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกโรมัน คือสถาปัตยกรรมที่เป็นผลมาจาก “ขบวนนิยมคลาสสิก” (Neoclassicism) ที่เริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่เป็นผลจากปฏิกิริยาต่อ ศิลปะหรือสถาปัตยกรรมแบบโรโคโคที่นิยมพรางโครงร่างองค์ประกอบทางศิลปะหรือสถาปัตยกรรมด้วยการตกแต่งอย่างวิจิตร และเป็นผลจากลักษณะคลาสสิกของสถาปัตยกรรมแบบบาโรก โครงร่างที่แท้จริงของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกมาจากสถาปัตยกรรมกรีกโบราณ.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมจอร์เจียน

หาสน์แบบสถาปัตยกรรมจอร์เจียนทีซอลสบรีในอังกฤษ ดันเฟิร์มไลน์ในสกอตแลนด์ที่สร้างระหว่างระหว่างปี ค.ศ. 1807 ถึง ปี ค.ศ. 1811 สถาปัตยกรรมจอร์เจียน (Georgian architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1720 จนถึง ค.ศ. 1840 ซึ่งตรงกันกับรัชสมัยพระเจ้าจอร์จสี่พระองค์ในราชวงศ์แฮโนเวอร์ที่ครองราชย์ในสหราชอาณาจักร ได้แก่ พระเจ้าจอร์จที่ 1 พระเจ้าจอร์จที่ 2 พระเจ้าจอร์จที่ 3 และพระเจ้าจอร์จที่ 4 ผู้ทรงครองราชย์ระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1714 มาจนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1830.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสถาปัตยกรรมจอร์เจียน · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ

หาสน์ที่ต่อเติมมุขด้านหน้าจากเล่ม 4 ของ "หนังสือสี่เล่มเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม" (I Quattro Libri dell'Architettura) ที่พิมพ์ในลอนดอนในปี ค.ศ. 1736 อาคารกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารในรูปแบบปัลลาดีโอ สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ (Palladian architecture) หมายถึงลักษณะของสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มาจากการออกแบบโดยอันเดรอา ปัลลาดีโอ (ค.ศ. 1508-1580) สถาปนิกชาวเวนิส คำว่า "แบบปัลลาดีโอ" โดยทั่วไปแล้วมักจะหมายถึงลักษณะของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอิทธิพลมาจากการออกแบบของปัลลาดีโอเอง สิ่งก่อสร้างในปัจจุบันที่จัดอยู่ในกลุ่มสถาปัตยกรรมลักษณะนี้วิวัฒนาการมาจากปรัชญาการออกแบบของปัลลาดีโอ งานของปัลลาดีโอมีพื้นฐานมาจากความสมมาตร ความมีทัศนมิติ และคุณค่าของสถาปัตยกรรมการก่อสร้างวัดของกรีกและโรมันโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 การตีความหมายของสถาปัตยกรรมคลาสสิกกลายมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "คตินิยมปัลลาดีโอ" (Palladianism) ลักษณะนี้วิวัฒนาการต่อมาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 "คตินิยมปัลลาดีโอ" กลายเป็นนิยมกันอยู่ระยะหนึ่งในบริเตนระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะนี้ก็หวนกลับมาเป็นที่นิยมไม่แต่ในอังกฤษแต่ยังในหลายประเทศทางตอนเหนือของยุโรปด้วย ต่อมาก็ลดความนิยมลงในยุโรป แต่ไปนิยมกันในทวีปอเมริกาเหนือโดยเฉพาะในสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบโดยทอมัส เจฟเฟอร์สัน สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอยังคงเป็นที่นิยมกันทั่วไปในยุโรปตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 มักจะในการออกแบบสิ่งก่อสร้างทางราชการหรือทางสารธารณะ ตั้งแต่ครึ่งหลังของ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีสถาปัตยกรรมการฟื้นฟูกอทิกเข้ามาเป็นคู่แข่ง ลักษณะหลังนี้สนับสนุนโดยสถาปนิกเช่นออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin) ที่คำนึงถึงที่มาจากวัดโบราณที่ถือว่าเป็นลักษณะ "นอกศาสนา" เกินไปสำหรับผู้นับถือโปรเตสแตนต์และแองโกล-คาทอลิก แต่กระนั้นสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอก็ยังคงเป็นที่นิยมและวิวัฒนาการตลอดมา ซึ่งจะเห็นได้จากการการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในปัจจุบันในลักษณะหน้าจั่ว ความสมมาตร และความได้สัดส่วน สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอมีลักษณะหนา ดูทึบทึม อาคารหลายแห่งในประเทศไทยที่มีสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ ได้แก่ กระทรวงกลาโหม, หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน, อาคารศุลกสถาน เป็นต้น.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์

ปราสาทฮาร์ตฟอร์ดในฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ หรือ ฮาร์ตฟอร์ดเชียร์ (Hertfordshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์และมณฑลนอกเมโทรโพลิตันที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอังกฤษโดยมีฮาร์ตฟอร์ดเป็นเมืองหลวง ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์เป็นหนึ่งในมณฑลรอบนครลอนดอนที่มีเขตแดนติดกับนครลอนดอนและปริมณฑล, บัคคิงแฮมเชอร์, เบดฟอร์ดเชอร์, เคมบริดจ์เชอร์ และ เอสเซ็กซ์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์มีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองเกิดของสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 4.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดยุก

ก (duke) หรือ ดุ๊ก หรือ แฮร์ซอก (Herzog) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางในทวีปยุโรป เป็นตำแหน่งทางปกครองที่เป็นรองจากกษัตริย์ซึ่งปกครองดินแดนที่เรียกว่า "ดัชชี" ส่วนตำแหน่งดยุกในหมู่เกาะอังกฤษเป็นเพียงตำแหน่งที่ตั้งไว้เป็นเกียรติยศเท่านั้น ไม่มีอำนาจในทางปกครองเหมือนในประเทศยุโรปอื่นๆ ปัจจุบันตำแหน่งดยุก(ที่ไม่ใช่ราชวงศ์)ปรากฏอยู่อย่างเป็นทางการเฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น ภริยาของดยุกมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส (Duchess) ตามสิทธิของคู่สมรส อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดยุกมีแต่บุตรสาว บุตรสาวจะได้ขึ้นสืบตำแหน่งแทนเมื่อดยุกถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งบุตรสาวที่ได้สืบตำแหน่งดยุกนี้จะมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส ด้วยเช่นกันแต่เป็นดัชเชสจากการสืบตระกูล ในกรณีนี้ สิทธิของคู่สมรสจะไม่ส่งผ่านไปยังสามี ยกตัวอย่าง ดยุกที่ 1 แห่งมาร์ลบะระ มีเพียงธิดาเท่านั้น เมื่อเขาถึงแก่อสัญกรรม ธิดาของเขาจึงขึ้นสืบตำแหน่งต่อเป็น ดัชเชสที่ 2 แห่งมาร์ลบะระ อย่างไรก็ตาม สามีของนางจะไม่มีสิทธิหรือเกียรติยศใดๆในมาร์ลบะระ เมื่อนางถึงแก่อสัญกรรม บุตรชายของนางจึงสืบตำแหน่งต่อเป็นดยุกที่ 3 แห่งมาร์ลบะระ คำว่าดยุกมาจากภาษาละตินว่า dux ซึ่งมีความหมายว่า 'ผู้นำ' คำนี้ถูกใช้ในยุคสาธารณรัฐโรมันเพื่อสื่อถึงผู้นำทางทหารที่ไม่มียศอย่างเป็นทางการ และต่อมาก็ใช้สื่อถึงผู้บัญชาการทหารประจำมณฑล.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและดยุก · ดูเพิ่มเติม »

ดาร์บิเชอร์

ร์บิเชอร์ หรือ ดาร์บิเชียร์ (Derbyshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ ดินแดนส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติพีคดดิสตริคท์ (Peak District National Park) ตั้งอยู่ในดาร์บิเชอร์ ทางตอนเหนือของมณฑลคาบกับบริเวณแนวเนินเขาเพ็นไนน์ ดาร์บิเชอร์มีเขตแดนติดกับนครแมนเชสเตอร์และปริมณฑล, มณฑลเวสต์ยอร์คเชอร์, เซาท์ยอร์คเชอร์, น็อตติงแฮมเชอร์, เลสเตอร์เชอร์, สตาฟฟอร์ดเชอร์ และ เชสเชอร์ ดาร์บิเชอร์อาจจะอ้างได้ว่าเป็นศูนย์กลางของบริเตน เพราะฟาร์มหนึ่งในดาร์บิเชอร์กล่าวกันว่าเป็นฟาร์มที่ห่างจากทะเลมากที่สุดในบรรดาที่ต่างๆ ในบริเตน ดาร์บิเชอร์มีเนื้อที่ 2,625 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 996,000 คน ถัวเฉลี่ย 379 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและดาร์บิเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ภูมิฐาน

“คฤหาสน์วิลท์ตัน” ที่รู้จักกันจากฉากเต้นรำในภาพยนตร์เรื่อง “Sense and Sensibility” คฤหาสน์ภูมิฐาน (Stately home) ตามความหมายที่จำกัดแล้วหมายถึงคฤหาสน์ขนาดใหญ่ประมาณ 500 แห่งที่สร้างในหมู่เกาะอังกฤษระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่รวมทั้งสำนักสงฆ์และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ ที่เปลี่ยนมือมาเป็นของฆราวาสหลังการยึดอารามโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การเรียกว่า “คฤหาสน์ภูมิฐาน” ก็เพื่อเป็นการแสดงความแตกต่างจากสิ่งก่อสร้างที่เรียกกันว่า “ปราสาท” (แม้ว่าคฤหาสน์ภูมิฐานบางแห่งจะยังเรียกตัวเองว่า “ปราสาท”) ตามความหมายทางสถาปัตยกรรมหรือการก่อสร้าง เพื่อเป็นการแสดงว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยมิใช่เพื่อประโยชน์ทางการทหาร “คฤหาสน์ภูมิฐาน” มิใช่เป็นแต่เพียงที่อยู่อาศัยแต่เป็นการแสดงสัญลักษณ์แสดงฐานะ (status symbol) ของผู้เป็นเจ้าของตระกูลของผู้เป็นเจ้าของด้วย ซึ่งต่างก็แข่งกันสร้างเพื่อใช้ในการรับรองพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือในการรับรองบุคคลสำคัญๆ อื่นที่มีความสำคัญในทางสังคมหรือการเมือง สถาปนิกและสถาปนิกสวนภูมิทัศน์เช่นโรเบิร์ต อาดัม, เซอร์ชาร์ลส์ แบร์รี, เซอร์เอ็ดวิน ลูเต็นส (Edwin Lutyens), เซอร์จอห์น แวนบรูห์, ลานเซลอต บราวน์ และฮัมฟรีย์ เร็พตัน (Humphry Repton) และอื่นๆ ต่างก็มีบทบาทในการก่อสร้างดังที่ว่านี้ นอกจากนั้นการแสดงความสง่างามภายนอกแล้ว ภายในก็จะตกแต่งด้วยศิลปะและเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นงานสะสมหรือไปสรรหากันมาโดยเฉพาะ การสร้าง “คฤหาสน์ภูมิฐาน” มาสิ้นสุดลงหลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อฐานะทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปที่รวมทั้งการมยุบตัวของอุตสาหรรรมและของเกษตรกรรมในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19, สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และต่อมาสงครามโลกครั้งที่สอง ในปัจจุบัน “คฤหาสน์ภูมิฐาน” จึงมักจะเป็นการผสมระหว่างการเป็นสถานที่ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม, พิพิธภัณฑ์ที่อยู่อาศัย, พิพิธภัณฑ์เฉพาะทางเช่นพิพิธภัณฑ์ราชรถ หรือบ้านหรือปราสาทที่เป็นที่พำนักอาศัยของตระกูลที่บางส่วนก็ทรุดโทรมลงไปบ้างแล้ว “คฤหาสน์ภูมิฐาน” อาจจะบริหารโดยองค์การต่างๆ ดังนี้: แต่ก็ยังมี “คฤหาสน์ภูมิฐาน” อีกเป็นอันมากที่ยังเป็นการบริหารส่วนบุคคลหรือโดยองค์กรผู้พิทักษ์ (trust) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและอนุรักษ์คฤหาสน์ขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นที่ร่ำลือกันว่าเป็นจำนวนอันมหาศาลและเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เจ้าของหลายคนจึงจำต้องหาวิธีต่างที่นำมาซึ่งรายได้พิเศษในการจุนเจือเช่นโดยการให้เช่า หรือให้จ้างใช้เป็นฉากสำหรับการสร้างภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ ฉะนั้น “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางแห่งจึงดูคุ้นตาแม้แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยมาชมด้วยตนเอง นอกจากตัวคฤหาสน์แล้ว บริเวณรอบๆ ก็อาจมักจะมีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ สำหรับนักท่องเที่ยวเช่น สวนภูมิทัศน์, สิ่งก่อสร้างตกแต่ง, ฟาร์มสัตว์, ซาฟารีพาร์ค หรือพิพิธภัณฑ์เป็นต้น.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและคฤหาสน์ภูมิฐาน · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์มอนทาคิวต์

หาสน์มอนทาคิวต์ (Montacute House) เป็นคฤหาสน์ชนบทที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านมอนทาคิวต์ในซัมเมอร์เซต สหราชอาณาจักร คฤหาสน์มอนทาคิวต์ก่อสร้างราวปี ค.ศ. 1598 ด้วยหินแฮมให้แก่เซอร์เอดเวิร์ด เฟลิปส์ข้าราชสำนักในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 แห่งอังกฤษ โดยสันนิษฐานกันว่าวิลเลียม อาร์โนลด์เป็นสถาปนิก "คฤหาสน์มอนทาคิวต์" เป็นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในรายชื่อสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ เกรด 1 ปัจจุบันคฤหาสน์มีองค์การอนุรักษ์แห่งชาติเป็นผู้บริหาร องค์การพิทักษ์สิ่งก่อสร้างบรรยายว่าคฤหาสน์มอนทาคิวต์เป็น "สถาปัตยกรรมอันงดงามชิ้นหนึ่งของปลายสมัยเอลิซาเบท" ในปี..

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและคฤหาสน์มอนทาคิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์คลิฟเดิน

หาสน์คลิฟเดิน (Cliveden, ออกเสียง: CLIV-d'nBrewers Dictionary of Names, 1992) เป็นคฤหาสน์แบบสถาปัตยกรรมอิตาลีที่ตั้งอยู่ที่ แท็พโลว์ในมณฑลบัคคิงแฮมเชอร์ในสหราชอาณาจักร ตัวสิ่งก่อสร้างตั้งอยู่บนผาสูง 200 ฟุตเหนือแม่น้ำเทมส์ เดิมเป็นที่พำนักของเอิร์ล, ดยุคสองคน, เจ้าชายแห่งเวลส์ และไวเคานท์แอสเตอร์ ปัจจุบันเป็นขององค์การเพื่อการอนุรักษ์สิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญและความสวยงามแห่งชาติ (National Trust for Places of Historic Interest or Natural Beauty) ที่ให้เช่าทำโรงแรมห้าดาวที่บริหารโดยกลุ่มโรงแรมฟอนเอสเส็น ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1970 มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดใช้เป็นมหาวิทยาวิทยาลัยโพ้นทะเลในอังกฤษ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1920 ถึง 1930 เป็นคฤหาสน์เป็นที่พบปะของกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “กลุ่มคลิฟเดิน” ในคริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นที่พบปะระหว่างจอห์น โพรฟูโมรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศด้านสงครามและคริสตีน คีลเลอร์ ในเหตุการณ์ที่ต่อมาเรียกว่า “โพรฟูโมแอฟแฟร์” (Profumo Affair) ซึ่งนำความเสียหายและอับอายมาสู่รัฐบาลในขณะนั้น “คลิฟเดิน” แปลว่า “หุบเขาท่ามกลางผา” ที่หมายถึงหุบเขาดีนที่ตัดผ่านบริเวณคฤหาสน์ทางด้านตะวันออกและด้านใต้ สวนและป่าโปร่งที่มีเนื้อที่ 375 เอเคอร์และบางส่วนของคฤหาสน์เฉพาะบางวันเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ ก่อนหน้าสิ่งก่อสร้างปัจจุบันก็มีสิ่งก่อสร้างอื่นมาก่อนสองหลังก่อนหน้านั้น สิ่งก่อสร้างแรกสร้างในปี..

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและคฤหาสน์คลิฟเดิน · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษ

หาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Treasure Houses of England) เป็นกลุ่มมรดกทางวัฒนธรรมที่ก่อตั้งราวต้นทศวรรษ 1970 โดยคฤหาสน์ระดับหนึ่งสิบหลังในประเทศอังกฤษที่ยังอยู่ในมือส่วนบุคคลโดยมีจุดประสงค์เพื่อการตลาดและเผยแพร่ชื่อเสียงของตนเองต่อนักท่องเที่ยว ปัจจุบันสมาชิกในกลุ่มมีด้วยกัน 9 คฤหาสน์.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและคฤหาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์โวเบิร์น

หาสน์โวเบิร์น หรือ คฤหาสน์วูเบิร์น (Woburn Abbey) เป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านโวเบิร์น (หรือวูเบิร์น) ในเทศมณฑลเบดฟอร์ดเชอร์ในสหราชอาณาจักร โวเบิร์นเป็นที่ตั้งของดยุคแห่งเบดฟอร์ดและเป็นที่ตั้งของอุทยานซาฟารีเบดฟอร.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและคฤหาสน์โวเบิร์น · ดูเพิ่มเติม »

คอร์นวอลล์

อร์นวอลล์ (Cornwall) หรือ แคร์นอว์ (Kernow) เป็นเทศมณฑลแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษภายในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางปลายแหลมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ทางด้านเหนือและด้านตะวันตกจรดทะเลเคลติก ทางด้านใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ด้านตะวันออกติดกับเทศมณฑลเดวอนโดยมีแม่น้ำเทมาร์เป็นเส้นแบ่งเขต คอร์นวอลล์มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 526,300 คน ในเนื้อที่ 3,563 ตารางกิโลเมตร ศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมืองทรูโร ดินแดนบริเวณคอร์นวอลล์เดิมเป็นที่ตั้งหลักแหล่งของชนยุคหินจากนั้นก็เป็นชนยุคสำริดและต่อมาในสมัยยุคเหล็กโดยชาวเคลต์ คอร์นวอลล์เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่พูดภาษากลุ่มบริทอนิก (Brythonic languages) ที่ตัดขาดจากกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มเดียวกันในเวลส์หลังจากยุทธการเดอรัม (Battle of Deorham) โดยมักขัดแย้งกับชาวแซกซันแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ที่พยายามขยายดินแดนเข้ามา ก่อนที่พระเจ้าแอเทลสตันจะกำหนดเขตแดนระหว่างชาวอังกฤษกับชาวคอร์นิชโดยใช้แม่น้ำทามาร์ คอร์นวอลล์รวมกับอังกฤษเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่การใช้ภาษาคอร์นิชยังคงใช้กันต่อมาจนคริสต์ศตวรรษที่ 18 การฟื้นฟูการใช้ภาษาคอร์นิชอีกครั้งมาเริ่มต้นขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษ 20 และเพิ่มความนิยมมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบันคอร์นวอลล์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุตสาหกรรมเหมืองดีบุกและอุตสาหกรรมการประมงเสื่อมโทรมลงและต้องหันมาพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลัก ดินแดนคอร์นวอลล์มีชื่อในทางที่มีภูมิทัศน์เป็นดินแดนสูงที่เป็นทุ่งที่มีแต่พืชพรรณเตี้ย ๆ เติบโตอยู่ที่เรียกว่า "ทุ่งมัวร์" (Moorland) และชายฝั่งทะเลที่น่าดูและอากาศที่อุ่นกว่าบริเวณอื่นของอังกฤษ.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและคอร์นวอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ซัมเมอร์เซต

ซัมเมอร์เซต (ภาษาอังกฤษ: Somerset) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร มณฑลภูมิศาสตร์ซัมเมอร์เซตมีเขตแดนติดกับบริสตอล และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ทางเหนือ, มณฑลวิลท์เชอร์ ทางตะวันออก, มณฑลดอร์เซตทางตะวันออกเฉียงใต้, และมณฑลเดวอนทางตะวันตกเฉียงใต้ ด้านเหนือและตะวันตกบางส่วนติดกับฝั่งทะเลของช่องแคบบริสตอลและปากน้ำ (estuary) ของแม่น้ำเซเวิร์น ตามธรรมเนียมทางเหนือของมณฑลเป็นแม่น้ำเอวอนแต่เขตการปกครองเลื่อนไปทางใต้เมื่อนครบริสตอลและอดีตมณฑลเอวอนและต่อมารัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวขยายเขตการปกครองทางเหนือของมณฑล ซัมเมอร์เซตเป็นมณฑลชนบทที่มีภูมิประเทศเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ เช่นเม็นดิพฮิลล์ส, ควานต็อคฮิลล์ส และอุทยานแห่งชาติเอ็กซ์มัวร์ และดินแดนที่กว้างไกลที่รวมทั้งซัมเมอร์เซตเลเวลส์ ซัมเมอร์เซตมีหลักฐานว่ามีผู้มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคหินใหม่และต่อมาในสมัยโรมัน และแซ็กซอน ต่อมาซัมเมอร์เซตก็มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งการรวบรวมอำนาจของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช, สงครามกลางเมืองอังกฤษ และการปฏิวัติมอนม็อธ (Monmouth Rebellion) การเกษตรกรรมเป็นธุรกิจหลักของมณฑลที่รวมทั้งการเลี้ยงแกะและวัว ที่ใช้ในการทำขนแกะและเนยแข็ง นอกจากนั้นก็มีการตัดวิลโลว์สำหรับสานตะกร้า การทำสวนแอปเปิลครั้งหนึ่งเคยทำกันเป็นอุตสาหกรรมแต่ในปัจจุบันซัมเมอร์เซตก็ยังมีชื่อเสียงในการทำไซเดอร์ (cider) สถิติผู้ว่างงานโดยถัวเฉลี่ยน้อยกว่าระดับชาติ การรับจ้างที่สูงที่สุดอยู่ในการค้าขาย, การผลิต, การท่องเที่ยว, และการสุขภาพและการสังคมสงเคราะห์ การขยายตัวของจำนวนประชากรโดยถัวเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ ซัมเมอร์เซตแบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: เซาท์ซัมเมอร์เซต, ทอนทันดีน, เวสต์ซัมเมอร์เซต, เซจมัวร์, เม็นดิพ, บาธและนอร์ธอีสต์ซัมเมอร์เซต, นอร์ธซัมเมอร์เซต โดยมีทอนทันเป็นเมืองหลวงของมณฑล ซัมเมอร์เซตมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 905,700 คน ในเนื้อที่ 4,171 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและซัมเมอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและประเทศเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาท

ปราสาทคาร์คาโซนในฝรั่งเศส ปราสาท คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่มาของปราสาทคือป้อมโรมัน (Roman fort) และ ป้อมเนิน (Hill fort) ที่สร้างกันทั่วยุโรปที่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยจักรวรรดิคาโรลินเจียน แต่การวิวัฒนาการของปืนใหญ่และดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นการเปลี่ยนลักษณะการสงครามในยุโรปและทำให้สมรรถภาพของปราสาทในการใช้เป็นสิ่งป้องกันการโจมตีจากข้าศึกลดลง และทำให้การสร้างป้อมเป็นที่นิยมกันมากขึ้น สิ่งก่อสร้างในรัสเซียที่เรียกว่า “เคร็มลิน” (Kremlin) หรือในญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ชิโร” (Shiro) ก็ถือว่าเป็นปราสาท.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของรัฐบาล เป็นตำแหน่งสูงสุด โดยมีพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ บางประเทศยังต้องเลือกประธานาธิบดีแล้วแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือบางประเทศอาจจะให้กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งก็ได้ แต่ในระบบสาธารณรัฐแบบประธานาธิบดีจะไม่มีนายกรัฐมนตรี เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล เป็นต้น รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในขณะที่นายกรัฐมนตรีมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือมีหน้าที่อื่นให้ปฏิบัติ เช่น เดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศ ลาราชการ พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและนายกรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาล

ห้องพยาบาลในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเดนมาร์ก โรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์ เป็นสถานที่สำหรับให้บริการด้านสุขภาพให้กับผู้ป่วย โดยมักที่จะมุ่งเน้นการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูภาวะความเจ็บป่วย หรือโรคต่างๆ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ปัจจุบันโรงพยาบาลได้ถูกแบ่งประเภทตามการดูแลควบคุมบริการเป็น โรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน นอกจากนี้โรงพยาบาลยังถูกแบ่งเป็นสถานพยาบาลเฉพาะทางอีก เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, โรงพยาบาลสงฆ์, โรงพยาบาลตา, โรงพยาบาลฟัน, สถาบันโรคผิวหนัง.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและโรงพยาบาล · ดูเพิ่มเติม »

โรงละคร

รงละคร หรือ โรงมหรสพ คือ อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือ การแสดงรื่นเริงอื่นใด และ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดให้ประชาชนเข้าชมการแสดงนั้น เป็นปกติธุระ โดยจะมี ค่าตอบแทน หรือ ไม่มีก็ตาม.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและโรงละคร · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียน

รรยากาศภายในห้องเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา โรงเรียน คือ สถานที่สำหรับฝึกสอนนักเรียนภายใต้การดูแลของครูหรืออาจารย์ หลายประเทศมีระบบการศึกษาอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาภาคบังคับ ในระบบการเรียนนี้ นักเรียนจะผ่านโรงเรียนตามลำดับ ชื่อของโรงเรียนเหล่านี้อาจแตกต่างไปตามภาษาและประเทศ แต่โดยหลักจะมีโรงเรียนประถมสำหรับเด็กเล็ก และโรงเรียนมัธยมสำหรับเด็กโตที่ได้สำเร็จการศึกษาระดับประถมมาแล้ว นอกเหนือจากโรงเรียนหลักแล้ว นักเรียนในบางประเทศยังสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนทั้งก่อน และหลังโรงเรียนประถม และมัธยม โรงเรียนอนุบาลเสริมการเรียนการสอนให้กับเด็กเล็กมาก มหาวิทยาลัย, โรงเรียนฝึกงาน, อุดมศึกษา อาจมีอยู่หลังจากจบมัธยมศึกษา โดยโรงเรียนอาจจะอุทิศเพื่อสอนแค่วิชาสาขาเดียว เช่น โรงเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ โรงเรียนสอนเต้น สอนปั้นหุ่นจำลอง.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและโรงเรียน · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต อาดัม

รเบิร์ต อาดัม (Robert Adam) (3 กรกฎาคม ค.ศ. 1728 - 3 มีนาคม ค.ศ. 1792) เป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และสถาปนิกของสมัยฟื้นฟูคลาสสิกคนสำคัญชาวสกอตของในคริสต์ศตวรรษที่ 18 งานชิ้นสำคัญของชาญโรเบิร์ต อาดัมก็ได้แก่คฤหาสน์ไซออน (Syon House), ปราสาทคัลแอนน (Culzean Castle), คฤหาสน์เคดเลสตัน (Kedleston Hall) และ สะพานพัลเทนีย์ (Pulteney Bridge) โรเบิร์ตเป็นลูกของสถาปนิกวิลเลียม อาดัม (ค.ศ. 1689–ค.ศ. 1748) ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญของสกอตแลนด์ในยุคนั้น และโรเบิร์ตก็ได้รับการศึกษาและฝึกฝนโดยบิดาพร้อมกับพี่ชายจอห์น หลังจากบิดาเสียชีวิตโรเบิร์ตก็ดำเนินธุรกิจของครอบครัวต่อที่รวมทั้งกิจการที่ทำเงินดีกับ Board of Ordnance ในปี..

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและโรเบิร์ต อาดัม · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ฟ้า

ก่ฟ้าสีทอง (''Chrysolophus pictus'') ตัวผู้ (♂) เป็นไก่ฟ้าที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ไก่ฟ้า (อีสาน: ไก่ขวา) เป็นชื่อสามัญของนกหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) โดยมากจะอยู่ในวงศ์ย่อย Phasianinae ไก่ฟ้าจะมีรูปร่างไล่เลี่ยกับไก่บ้าน มีจะงอยปากและขาแข็งแรงมาก มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้มีหางยาว และสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย จัดเป็นความแตกต่างระหว่างเพศเห็นได้ชัดเจน บินได้แต่ในระยะทางสั้น ๆ ทำรังบนพื้นดิน กินเมล็ดพืช, ผลไม้สุก และแมลง เป็นอาหาร ไก่ฟ้า เป็นนกที่มนุษย์ใช้เนื้อเป็นอาหาร และนิยมเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง มีหลายชนิดที่มีราคาแพง.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและไก่ฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ป่า

''Gallus gallus'' ไก่ป่า หรือ ไก่เถื่อน อยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) จัดเป็นนกมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดลำตัว 46-73 เซนติเมตร พบการกระจายอยู่ในเขตศูนย์สูตรโดยมีการกระจายตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ จนไปถึงเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นไก่สายพันธุ์ดั้งเดิมและเป็นต้นตระกูลของไก่บ้านที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกได้แบ่งชนิดย่อยได้ 6 ชน.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและไก่ป่า · ดูเพิ่มเติม »

เชชเชอร์

อร์ (Cheshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่นครเชสเตอร์ แม้ว่าเมืองใหญ่ที่สุดจะเป็นวอร์ริงตัน เชชเชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเมอร์ซีย์ไซด์และนครแมนเชสเตอร์และปริมณฑลทางตอนเหนือ, ดาร์บีเชอร์ทางด้านตะวันออก, สแตฟฟอร์ดเชอร์และชร็อปเชอร์ทางด้านใต้ ฟลินท์เชอร์และเร็กแซมในเวลส์ทางตะวันตก เชชเชอร์มีเนื้อที่ 2,343 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,003,600 คน ถัวเฉลี่ย 428 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและเชชเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมนต์มอร์ทาวเวอส์

มนต์มอร์ทาวเวอส์ (Mentmore Towers) เป็นคฤหาสน์ชนบทขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่เมนต์มอร์ในบักกิงแฮมเชอร์ในสหราชอาณาจักร "เมนต์มอร์ทาวเวอส์" ก่อสร้างเป็นครั้งแรกระหว่างปีค.ศ. 1852 ถึงปี ค.ศ. 1854 เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอแนซ็องส์ ที่สร้างให้แก่บารอนเมเยอร์ อัมเชล เดอ รอทไชลด์ โดยมีโจเซฟ แพกซ์ตันเป็นสถาปนิก ชื่อคฤหาสน์มาจากชื่อหมู่บ้านที่คฤหาสน์ตั้งอยู่และเพราะมียอดและหอตกแต่งมากมาย มักจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า "เมนต์มอร์" โดยผู้พำนักอยู่ในบริเวณนั้นและผู้ที่ทำงานให้กับคฤหาสน์เช่นเดียวกับทริงพาร์ก (Tring Park) ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก เฮนรี พริมโรส เอิร์ลแห่งโรสบรีที่ 6 เจ้าของเดิมคนหนึ่งของเมนต์มอร์เปรยว่าชื่อคฤหาสน์ฟังแล้วเหมือนบ้านให้เช่าห้องถูก ๆ เมนต์มอร์ทาวเวอส์อยู่ในข่ายสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ระดับ 1.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและเมนต์มอร์ทาวเวอส์ · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์วิคัมพาร์ก

ฟรานซิส แดชวุด บารอนเลอดิสเปนเซอร์ที่ 15 (ค.ศ. 1708–ค.ศ. 1781), "bon vivant" ผู้มีชื่อเสียงและผู้สร้างเวสต์วิคัม แต่งตัวแบบ "ออตโตมัน" เวสต์วิคัมพาร์ก (West Wycombe Park) เป็นคฤหาสน์ชนบทที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านเวสต์วิคัม ในเคาน์ตีบักกิงแฮมเชอร์ สหราชอาณาจักร สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1740 ถึงปี ค.ศ. 1800 โดยมีวัตถุประสงค์จะให้เป็น "วังสราญรมย์" (pleasure palace) สำหรับเซอร์ ฟรานซิส แดชวุด บารอนเลอดิสเปนเซอร์ที่ 15 ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือลัทธิลิเบอร์ทีน (Libertine) หรือผู้ดำเนินชีวิตโดยปราศจากกฎเกณฑ์ที่วางไว้ของสังคมของคริสต์ศตรวรรษที่ 18 และเป็นผู้รักศิลปะอย่างฉาบฉวย (dilettante) ตัวสิ่งก่อสร้างที่เป็นตึกสี่เหลี่ยมยาวที่มีด้านหน้า (façade) สี่ด้านที่ตกแต่งด้วยเสาและจั่วอย่างเป็นนาฏกรรม เป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมบริติชของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่เริ่มตั้งแต่สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอไปจนถึงสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก รวมทั้งลักษณะเฉพาะตัวที่ทำให้เป็นคฤหาสน์ที่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ตัวสิ่งก่อสร้างตั้งอยู่ภายในบริเวณสวนภูมิทัศน์แบบคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ตกแต่งด้วยศาสนสถานขนาดย่อม และสิ่งก่อสร้างตกแต่ง ที่เป็นเหมือน "บริวาร" ของตัววัดหลักที่คือตัวคฤหาสน์ "เวสต์วิคัมพาร์ก" เป็นสิ่งก่อสร้างอยู่ในรายชื่อสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ เกรด 1 ปัจจุบันคฤหาสน์มีองค์การอนุรักษ์แห่งชาติเป็นผู้บริหาร เวสต์วิคัมพาร์กที่เป็นสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ระดับ 1 ได้รับการมอบให้แก่องค์การอนุรักษ์แห่งชาติ โดยเซอร์จอห์น ลินซีย์ แดชวุด บารอนเนทที่ 10 (ค.ศ. 1896–ค.ศ. 1966) เมื่อปี..

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและเวสต์วิคัมพาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เคมบริดจ์เชอร์

มบริดจ์เชอร์ (Cambridgeshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอังกฤษที่มีเขตแดนติดกับมณฑลลิงคอล์นเชอร์ทางตอนเหนือ, มณฑลนอร์โฟล์คทางตะวันออกเฉียงเหนือ, มณฑลซัฟโฟล์คทางตะวันออก, มณฑลเอสเซ็กซ์และมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ทางตอนใต้ และ มณฑลเบดฟอร์ดเชอร์และมณฑลนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ทางตะวันตก เคมบริดจ์เชอร์ปัจจุบันเกิดจากอดีตมณฑลเคมบริดจ์เชอร์เดิม และมณฑลฮันทิงดันเชอร์และไอล์ออฟอีลี (Isle of Ely) และโซคออฟปีเตอร์บะระห์ (Soke of Peterborough) เมืองหลวงของมณฑลคือเคมบริดจ์ เคมบริดจ์เชอร์มีเนื้อที่ 3,389 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 760,700 คน ถัวเฉลี่ย 224 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: คฤหาสน์ชนบทและเคมบริดจ์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Country houseEnglish country houseคฤหาสน์ชนบทอังกฤษ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »