โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คริสต์มาสและพระเยซู

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คริสต์มาสและพระเยซู

คริสต์มาส vs. พระเยซู

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913. ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คริสต์มาสและพระเยซู

คริสต์มาสและพระเยซู มี 17 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระวรสารนักบุญมัทธิวพระวรสารนักบุญลูกาพระคริสต์การตรึงพระเยซูที่กางเขนภาษากรีกภาษาละตินภาษาฮีบรูมารีย์ (มารดาพระเยซู)ยอห์นผู้ให้บัพติศมาศาสนาคริสต์ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านทูตสวรรค์คริสต์ศาสนิกชนคัมภีร์ไบเบิลตรีเอกภาพนักบุญโยเซฟเมสสิยาห์

พระวรสารนักบุญมัทธิว

ระวรสารนักบุญมัทธิว (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมัทธิว (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Matthew) เป็นหนังสือพระวรสารในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในสี่ “พระวรสารในสารบบ” และเป็นหนึ่งในสาม “พระวรสารสหทรรศน์” แม้พระวรสารนักบุญมัทธิวไม่มีชื่อกำกับไว้ว่าใครเป็นผู้เขียน แต่ตั้งแต่คริสตชนตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกก็เชื่อกันสืบมาว่าเขียนโดยมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครทูต และคนเก็บภาษี หนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นก่อนที่กรุงเยรูซาเล็มจะพินาศในปี..

คริสต์มาสและพระวรสารนักบุญมัทธิว · พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญลูกา

ระวรสารนักบุญลูกา (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณลูกา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Luke) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ แม้ว่าจะไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนพระวรสารเล่มนี้ แต่จากหลักฐานที่เชื่อถือได้เป็นจำนวนมากระบุตรงกันว่าเขียนโดยลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นชาวยิว แต่น่าจะเป็นชาวกรีก เพราะมีความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมของชาวกรีกเป็นอย่างดี เคยเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปประกาศกับเปาโลหลายครั้ง นอกจากนี้ลูกายังมีอาชีพเป็นนายแพทย์ในสมัยนั้นด้วย พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นระหว่างปี..59 - 63 จากลักษณะของโครงสร้างและภาษาที่ใช้ในพระวรสารเล่มนี้ เหมือนกันกับในหนังสือกิจการของอัครทูต ดังนั้นเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ลูกาเป็นผู้เขียนหนังสือกิจการของอัครทูตด้วย จากพระวรสารในสารบบทั้งหมด 4 เล่ม พระวรสารนักบุญลูกา เป็นพระวรสารเล่มที่ยาวที่สุด และจัดว่าเป็นพระวรสารที่มีเนื้อหาที่สวยงามที่สุด เขียนเล่าเรื่องราวของพระเยซูได้ครบถ้วนและตามลำดับเหตุการณ์มากที่สุด สาระสำคัญของพระวรสารเล่มนี้คือ ความรู้สึกปิติยินดีที่พระเยซูนำความหวังและการไถ่บาปมาสู่โลกมนุษย์ ความรักที่พระเยซูมีต่อมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ถูกกดขี่ข่มเหง สังเกตได้จากคำอุปมาที่พระเยซูตรัสสั่งสอน ซึ่งผู้อ่านจะรู้สึกได้ตลอดทั้งเล่ม แรกเริ่มลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่โรมันคนหนึ่งชื่อ เธโอฟิลัส ได้อ่าน โดยเขียนขึ้นจากมุมมองของชาวกรีก จากลักษณะการเขียนที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์ต่างๆกับเวลาที่เกิดขึ้น แสดงว่าผู้เขียนต้องเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง เพราะข้อมูลที่เขียนผ่านการค้นคว้ามาอย่างละเอียด ตัวอย่างเช่น "เมื่อปีที่สิบห้า ในรัชกาลทิเบริอัสซีซาร์ ปอนทิอัส ปีลาตเป็นเจ้าเมืองยูเดีย เฮโรดเป็นเจ้าเมืองกาลิลี ฟีลิปน้องชายของเฮโรดเป็นเจ้าเมืองอิทูเรียกับเมืองตราโคนิติส ลีซาเนียสเป็นเจ้าเมืองอาบีเลน และอันนาสกับคายาฟาสเป็นมหาปุโรหิต คราวนั้นพระวจนะของพระเจ้ามาถึงยอห์นบุตรเศคาริยาห์ในถิ่นทุรกันดาร" ซึ่งก็ตรงกับคุณสมบัติของผู้ที่มีอาชีพนายแพทย์เป็นอย่างดี ลูกาเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้นจากการศึกษาและวิจัย โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกับคนที่อยู่แวดล้อมพระเยซูมาตั้งแต่ต้น และประกอบกับเอกสารต่างๆมากมาย ลูกามีวัตถุประสงค์ในการเขียนพระวรสารเล่มนี้อยู่ 5 ประการ หนึ่งคือ ต้องการให้ประจักษ์ว่าพระเยซูเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก ลูกาได้ลำดับพงศ์ของพระเยซูย้อนไปจนถึงสมัยอาดัม นั่นคือตั้งแต่พระเจ้าเริ่มสร้างโลก แม้ว่าข้อมูลนี้จะมีความหมายไม่มากนักสำหรับชาวกรีก แต่ข้อมูลนี้ทำให้พระเยซูถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก ประการที่สองคือ ลูกาต้องการบันทึกเรื่องราวของพระเยซูในช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีพระวรสารเล่มใดบันทึกไว้ ประการที่สามคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าพระเยซูนำข่าวดีมายังคนยากจน คนที่ถูกกดขี่ข่มเหง คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในโลก กลุ่มคนเหล่านี้รู้สึกท้อแท้ เนื่องจากรู้สึกว่าไม่ได้มีอะไรเท่าคนร่ำรวย และคิดว่าชีวิตไม่มีค่า แต่พระเยซูเสด็จมาเพื่อปลดปล่อยให้เป็นไท และประกาศถึงแผ่นดินสวรรค์ที่รออยู่ในโลกหน้า ประการที่สี่คือ ลูกาต้องการให้ความสำคัญกับผู้หญิง โดยบันทึกบทบาทของผู้หญิงในหมู่สาวกของพระเยซู ประการที่ห้าคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า พระกิตติคุณของพระเยซูเป็นสากล มาถึงคนทุกชาติ ไม่ใช่เฉพาะชนชาติใดชาติหนึ่ง พระวรสารนักบุญลูกา ใช้ “ลูกา” หรือ “ลก” ในการอ้างอิง.

คริสต์มาสและพระวรสารนักบุญลูกา · พระวรสารนักบุญลูกาและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระคริสต์

รูป ''พระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ'' ที่อารามนักบุญแคเธอริน พระพักตร์ของพระเยซูสองฝากแสดงอารมณ์ต่างกัน สื่อว่าพระเยซูมีสองธรรมชาติคือเป็นพระเป็นเจ้าและเป็นมนุษย์ในบุคคลเดียว''God's human face: the Christ-icon'' by Christoph Schoenborn 1994 ISBN 0-89870-514-2 page 154''Sinai and the Monastery of St. Catherine'' by John Galey 1986 ISBN 977-424-118-5 page 92 พระคริสต์ (Christ; Χριστός, คริสตอส) ในศาสนายูดาห์เรียกว่าพระเมสสิยาห์ หมายถึง ผู้ได้รับเจิม ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ใช้คำนี้เป็นสมัญญานามของพระเยซูJesus of history, Christ of faith by Thomas Zanzig 2000 ISBN 0-88489-530-0 คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน คือผู้ที่เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกทำนายไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ดังนั้นชาวคริสต์จึงมักเรียกพระเยซูว่า พระเยซูคริสต์ ซึ่งหมายถึง พระเยซูผู้ได้รับเจิม ในปัจจุบันคำว่าพระคริสต์จึงใช้หมายถึงพระเยซูชาวนาซาเรธไปโดยปริยาย ศาสนายูดาห์ไม่เคยยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ (แม้แต่พระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลก็กล่าวถึงเรื่องชาวยิวปฏิเสธพระเยซู) แต่คริสต์ศาสนิกชนก็ยังเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์และจะเสด็จมาอีกครั้งในการพิพากษาครั้งสุดท้าย การใช้คำว่า "คริสต์" เพื่อหมายถึงพระเยซูโดยเฉพาะยังปรากฏในชื่อสาขาวิชา เช่น เทววิทยาศาสนาคริสต์ คริสตวิทยา ซึ่งเป็นวิชาที่เน้นศึกษาธรรมชาติและสถานะบุคคลของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบและบทจดหมายต่าง ๆ ในพันธสัญญาใหม.

คริสต์มาสและพระคริสต์ · พระคริสต์และพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

การตรึงพระเยซูที่กางเขนและคริสต์มาส · การตรึงพระเยซูที่กางเขนและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

คริสต์มาสและภาษากรีก · พระเยซูและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

คริสต์มาสและภาษาละติน · พระเยซูและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

คริสต์มาสและภาษาฮีบรู · พระเยซูและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

มารีย์ (มารดาพระเยซู)

มารีย์ (מרים, มัรยาม, มีเรียม) คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายเรียกว่าพระแม่มารีย์ พระนางมารีย์พรหมจารี (Blessed Virgin Mary) หรือพระนางมารีย์พระชนนีพระเป็นเจ้า (Mary, Mother of God) (ในอัลกุรอานว่านางมัรยัม) เป็นสตรีชาวยิวจากเมืองนาซาเรธ แคว้นกาลิลี คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่และคัมภีร์อัลกุรอานระบุตรงกันว่านางได้เป็นมารดาของพระเยซูโดยอำนาจของพระเจ้า พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูการะบุว่ามารีย์เป็นหญิงพรหมจรรย์ (παρθένος, parthénos ในภาษากรีก) ชาวคริสต์เชื่อสืบกันมาแต่อดีตว่านางได้ตั้งครรภ์บุตรด้วยอำนาจพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่ยังเป็นหญิงพรหมจรรย์ ส่วนชาวมุสลิมก็เชื่อว่านางตั้งครรภ์ด้วยโองการของพระเจ้า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อนางได้หมั้นหมายกับนักบุญโยเซฟแล้วและอยู่ระหว่างรอพิธีแต่งงาน เมื่อนางได้แต่งงานกับโยเซฟแล้วก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองเบธเลเฮมซึ่งได้เป็นที่ประสูติพระเยซู ตามธรรมเนียมยิวการหมั้นน่าจะเกิดขึ้นเมื่อนางอายุราว 12 ปีแล้วให้กำเนิดพระเยซูในหนึ่งปีหลังจากนั้น คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เริ่มกล่าวถึงนางด้วยเหตุการณ์แม่พระรับสาร เมื่อทูตสวรรค์กาเบรียลมาปรากฏกายต่อหน้านาง แล้วแจ้งว่าพระเจ้าทรงเลือกนางให้เป็นมารดาของพระเยซู คริสตจักรและข้อเขียนนอกพระคัมภีร์ในยุคแรกยังระบุว่าบิดามารดาของนางเป็นคู่สามีภรรยาสูงอายุชื่อนักบุญโยอาคิมและนักบุญอันนา คัมภีร์ไบเบิลบันทึกถึงบทบาทของนางในชีวิตของพระเยซูตั้งแต่การตั้งครรภ์พระองค์จนถึงพระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ ข้อเขียนจากคัมภีร์นอกสารบบยังกล่าวว่าหลังจากมรณกรรมนางได้รับการยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณด้ว.

คริสต์มาสและมารีย์ (มารดาพระเยซู) · พระเยซูและมารีย์ (มารดาพระเยซู) · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

คริสต์มาสและยอห์นผู้ให้บัพติศมา · พระเยซูและยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

คริสต์มาสและศาสนาคริสต์ · พระเยซูและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านล้อมรอบพระเยซู วาดราว ค.ศ. 850 โดย แฮริกาเรียสแห่งทัวรส์ (Haregarius ofTours) ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านบนเพดานบริเวณสงฆ์ในวัดเซ็นต์โมริทซ (St. Moritz) ที่โรทเท็นเบิร์กอัมเนคคาร์ (Rottenburg am Neckar) ประเทศเยอรมันจากบนซ้ายนักบุญมัทธิว (มนุษย์) นักบุญมาระโก (สิงโต) นักบุญลูกา (วัว) และนักบุญยอห์น (อินทรี) ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (Four Evangelists) หมายถึงผู้ประพันธ์พระวรสารสี่เล่มซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่ในคัมภีร์ไบเบิล วรสาร แปลว่า ข่าวประเสริฐ ซึ่งหมายถึงข่าวการเสด็จมาของพระเยซู หรือชีวประวัติของพระองค์นั่นเอง อย่างไรก็ดีพระวรสารเขียนขึ้นประมาณหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ไปแล้วเกือบหนึ่งร้อยปี.

คริสต์มาสและผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน · ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

ทูตสวรรค์

''บทเพลงของทูตสวรรค์'' โดย บูเกอโร, 1825–1905. ทูตสวรรค์ หรือ เทวทูต (angel) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนาและในเทพปกรณัมต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวสารจากสวรรค์มายังโลก บ้างก็ทำหน้าที่อารักขา แนะนำ หรือมอบหมายภารกิจแก่มนุษย์ คำนี้แปลมาจากคำว่า ἄγγελος ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า מלאך (มลัก) ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นคำเดียวกับคำว่า ملائكة (มลาอิกะฮ์) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ศัพท์เดิมในภาษาฮีบรูและภาษากรีกนี้แปลว่า ผู้แจ้งข่าว ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ (ทั้งผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และคนสามัญ) หรืออมนุษย์ก็ได้แล้วแต่บริบทในคัมภีร์ ที่เป็นอมนุษย์นั้นเป็นได้ทั้ง ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า ลักษณะเฉพาะด้านของพระเจ้า (เช่น กฎจักรวาล) หรือแม้แต่พระเป็นเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้แจ้งข่าว (theophanic angel) คำว่า "ทูตสวรรค์" ยังถูกใช้หมายถึงวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ ด้วย นอกจากการแจ้งข่าวแล้ว ทูตสวรรค์ยังมีหน้าที่ปกป้องและนำทางมนุษย์ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระเจ้ามอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เทววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับทูตสวรรค์เรียกว่า “วิทยาการทูตสวรรค์” (angelology) ในงานศิลปะทูตสวรรค์มักปรากฏภาพเป็นชายมีปีก ซึ่งอาจมาจากหนังสือวิวรณ์เรื่องสัตว์สี่ตัว (4:6-8) และคัมภีร์ฮีบรูเรื่องเครูบและเสราฟิม แต่คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเครูบและเสราฟิมมีปีก ไม่เคยกล่าวถึงทูตสวรรค์ว่ามีปีกด้ว.

คริสต์มาสและทูตสวรรค์ · ทูตสวรรค์และพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศาสนิกชน

ัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย, BBC คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน.

คริสต์มาสและคริสต์ศาสนิกชน · คริสต์ศาสนิกชนและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

คริสต์มาสและคัมภีร์ไบเบิล · คัมภีร์ไบเบิลและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเอกภาพ

จิตรกรรมฝาผนัง “ตรึเอกภาพ” โดยลูคา โรสเซ็ทที (Luca Rossetti) แสดงให้เห็นพระเจ้าพระบิดา (พระยาห์เวห์) พระเจ้าพระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในรูปของนกพิราบ (ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739) ที่โบสถ์เซนต์กอเซนซิโอ ที่เมื่องอิฟเรีย ใกล้ตูริน ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือ ตรีเอกานุภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Trinity) คือภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่ปรากฏเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร (เชื่อว่ามาเกิดเป็นพระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์ (hypostatic union) ความเชื่อเรื่อง “ตรีเอกภาพ” เรียกว่า “ตรีเอกภาพนิยม” คริสตจักรเกือบทุกคริสตจักรในคริสต์ศาสนามีความเชื่อแบบ “ตรีเอกภาพนิยม” และถือว่าเป็นรากฐานของคำสอนของคริสต์ศาสนาHarris, Stephen L. (1985) Understanding the Bible Palo Alto: Mayfield.

คริสต์มาสและตรีเอกภาพ · ตรีเอกภาพและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญโยเซฟ

ซฟ (יוֹסֵף Yosef) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญยอแซฟ เป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 1 และเสียชีวิตในคริสต์ศตวรรษเดียวกัน ที่เมืองนาซาเร็ธในประเทศอิสราเอลปัจจุบัน นักบุญโยเซฟสืบสายมาจากตระกูลกษัตริย์ดาวิด คัมภีร์พันธสัญญาใหม่ระบุว่าเป็นสามีของนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) นักบุญโยเซฟมิใช่บิดาตามเชึ้อสายของพระเยซูแต่ก็ถือกันว่าเป็นบิดาบุญธรรมและเป็นหัวหน้าของ “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ครอบครัวพระเยซู” (Holy Family) เชี้อสายตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญมัทธิว กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อยาโคบ แต่ตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญลูกา กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อเฮลี พระวรสารในสารบบไม่ได้ระบุวันและสถานที่เกิดและตายของโยเซฟ เท่าที่ทราบโยเซฟอยู่ที่เมืองนาซาเรธ ใน กาลิลี อยู่ที่เบธเลเฮม ในแคว้นยูเดียเป็นเวลาอีกสองปี และถูกบังคับให้ไปลี้ภัยไปอยู่อียิปต์อีกระยะหนึ่ง แม้ว่า “พระวรสารสหทรรศน์” จะไม่ได้กล่าวถึงอายุของโยเซฟแต่จากเอกสารอื่น ๆ โยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ และมารีย์เป็นหม้ายเมื่อพระเยซูออกเทศนาและเมื่อพระเยซูทรงรับพระทรมาน ฉะนั้นจึงสันนิษฐานว่าโยเซฟเสียชีวิตก่อนที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ อาชีพของโยเซฟตามที่บรรยายในพระวรสารว่าเป็น τεκτων, ภาษากรีกหมายถึงช่างแต่ในศาสนาคริสต์ถือกันว่าโยเซฟเป็นผู้ทำงานกับไม้หรือช่างไม้ แต่ในภาษาอังกฤษปัจจุบันใช้คำว่า “joiner” หรือ “cabinet-maker” หรือช่างทำเฟอร์นิเจอร์ซึ่งเหมาะกับความหมายในภาษากรีกมากกว่า นอกจากนั้นแล้วพระวรสารก็มิได้กล่าวถึงโยเซฟ และไม่มีบทพูด มิได้บอกสถานที่เกิดและสถานที่เสียชีวิต และเวลาต่างที่เกี่ยวกับโยเซฟก็แตกต่างกัน บางครั้งก็จะกล่าวว่าอายุมากกว่ามารีมาก และบางครั้งก็เพียงไม่กี่ปี บางวรสารกล่าวว่าโยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ ในพระวรสารกล่าวถึงโยเซฟเมื่อพระเยซูไปเยรูซาเลมเมื่ออายุสิบสองปี แต่ไม่มีอะไรที่กล่าวถึงโยเซฟหลังจากนั้น เอกสารเกี่ยวกับเวลาเสียชีวิตไม่ชัดเจนแต่เมื่อพระเยซูออกเทศนามารีย์ก็เป็นหม้ายแล้ว ในนิกายโรมันคาทอลิกถือว่านักบุญโยเซฟเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์กรรกรและมีวันสมโภชหลายวัน และในปี..

คริสต์มาสและนักบุญโยเซฟ · นักบุญโยเซฟและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

เมสสิยาห์

ระเมสสิยาห์ (Messiah; מָׁשִיַח มาซียาห์; ܡܫܝܚܐ; Μεσσίας; مشيح) หมายถึง พระผู้ช่วยให้รอดตามความเชื่อในกลุ่มศาสนาอับราฮัม ได้แก่ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ในคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ พระเมสสิยาห์ หมายถึง พระมหากษัตริย์หรือมหาปุโรหิต ซึ่งได้รับแต่งตั้งด้วยการเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ พระเมสสิยาห์อาจไม่ใช่ชาวยิวเสมอไป เช่น พระเจ้าไซรัสมหาราช ผู้ปลดปล่อยชาวยิวจากการเป็นเชลยก็ถือว่าเป็นพระเมสสิยาห์ด้วย ต่อมาความหมายของเมสสิยาห์เปลี่ยนไป ใช้หมายถึงกษัตริย์ยิวผู้ปกครองโลกในยุคสุดท้ายไปตลอดชั่วนิรันดร์ ตามความเชื่อและอวสานวิทยาของชาวยิว พระเมสสิยาห์จะเป็นคนในเชื้อสายดาวิดและได้เป็นผู้นำของชาวยิวในอนาคต ตลอดจนทั้งโลกในยุคพระเมสสิยาห์ คำว่า เมสสิยาห์ ตรงกับภาษากรีกว่า คริสตอส ซึ่งแปลว่า พระคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนจึงใช้คำนี้เป็นสมัญญานามของพระเยซู เพราะเชื่อว่าพระผู้ช่วยให้รอดที่คัมภีร์ฮีบรูหรือคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมได้กล่าวถึงนั้น คือ พระเยซูคริสต์ ในตำราหะดีษของศาสนาอิสลามก็ระบุว่าอีซา (เยซู) บุตรนางมัรยัม (มารีย์) ก็คือนบีและมะซีฮ์ (เมสสิยาห์) ที่พระเป็นเจ้าทรงส่งมาช่วยวงศ์วานอิสราเอลตามพันธสัญญา และเชื่อว่าท่านจะกลับมายังโลกอีกครั้งพร้อมกับอิมามมะฮ์ดี และร่วมกันกำจัดมะซีห์ อัด-ดัจญาล (ศัตรูของพระคริสต์)http://muttaqun.com/dajjal.html.

คริสต์มาสและเมสสิยาห์ · พระเยซูและเมสสิยาห์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คริสต์มาสและพระเยซู

คริสต์มาส มี 116 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระเยซู มี 80 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 17, ดัชนี Jaccard คือ 8.67% = 17 / (116 + 80)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คริสต์มาสและพระเยซู หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »