โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คริสตวิทยา

ดัชนี คริสตวิทยา

ริสตวิทยา (Christology) เป็นเทววิทยาศาสนาคริสต์สาขาหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและสถานะบุคคลของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารและบทจดหมายในพันธสัญญาใหม่Christology: A Biblical, Historical, and Systematic Study of Jesus by Gerald O'Collins 2009 ISBN 0-19-955787-X pages 1-3 โดยเฉพาะในแง่ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าพระบิดา และการเป็นพระผู้ไถ่มนุษย์ให้ได้รับความรอด โดยมีแนวคิดของเปาโลอัครทูตเป็นหลักสำคัญของวิชามาตั้งแต่สมัยอัครทูตChrist in Christian Tradition: From the Apostolic Age to Chalcedon' by Aloys Grillmeier, John Bowden 1975 ISBN 0-664-22301-X pages 15-19 คำว่า Christology มาจากภาษาΧριστός คริสตส หมายถึงพระคริสต์ และ -λογία โลเกีย แปลว่าคำอธิบาย Christology จึงหมายถึง.

8 ความสัมพันธ์: พระวรสารพระผู้ไถ่พระคริสต์พระเยซูพระเจ้าพระบิดาความรอดเทววิทยาศาสนาคริสต์เปาโลอัครทูต

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: คริสตวิทยาและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระผู้ไถ่

ในศาสนาคริสต์ พระผู้ไถ่ (Redeemer) หรือ พระผู้ช่วยให้รอด (Saviour) หมายถึง พระเยซู เพราะเชื่อว่าพระองค์ได้สละพระชนม์ชีพเพื่อไถ่มนุษย์ให้รอดจากบาป.

ใหม่!!: คริสตวิทยาและพระผู้ไถ่ · ดูเพิ่มเติม »

พระคริสต์

รูป ''พระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ'' ที่อารามนักบุญแคเธอริน พระพักตร์ของพระเยซูสองฝากแสดงอารมณ์ต่างกัน สื่อว่าพระเยซูมีสองธรรมชาติคือเป็นพระเป็นเจ้าและเป็นมนุษย์ในบุคคลเดียว''God's human face: the Christ-icon'' by Christoph Schoenborn 1994 ISBN 0-89870-514-2 page 154''Sinai and the Monastery of St. Catherine'' by John Galey 1986 ISBN 977-424-118-5 page 92 พระคริสต์ (Christ; Χριστός, คริสตอส) ในศาสนายูดาห์เรียกว่าพระเมสสิยาห์ หมายถึง ผู้ได้รับเจิม ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ใช้คำนี้เป็นสมัญญานามของพระเยซูJesus of history, Christ of faith by Thomas Zanzig 2000 ISBN 0-88489-530-0 คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน คือผู้ที่เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกทำนายไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ดังนั้นชาวคริสต์จึงมักเรียกพระเยซูว่า พระเยซูคริสต์ ซึ่งหมายถึง พระเยซูผู้ได้รับเจิม ในปัจจุบันคำว่าพระคริสต์จึงใช้หมายถึงพระเยซูชาวนาซาเรธไปโดยปริยาย ศาสนายูดาห์ไม่เคยยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ (แม้แต่พระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลก็กล่าวถึงเรื่องชาวยิวปฏิเสธพระเยซู) แต่คริสต์ศาสนิกชนก็ยังเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์และจะเสด็จมาอีกครั้งในการพิพากษาครั้งสุดท้าย การใช้คำว่า "คริสต์" เพื่อหมายถึงพระเยซูโดยเฉพาะยังปรากฏในชื่อสาขาวิชา เช่น เทววิทยาศาสนาคริสต์ คริสตวิทยา ซึ่งเป็นวิชาที่เน้นศึกษาธรรมชาติและสถานะบุคคลของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบและบทจดหมายต่าง ๆ ในพันธสัญญาใหม.

ใหม่!!: คริสตวิทยาและพระคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: คริสตวิทยาและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพระบิดา

วาดพระเจ้าพระบิดาโดย Julius Schnorr ค.ศ. 1860 พระเจ้าพระบิดา (God the Father) เป็นคำที่ใช้เรียกพระเจ้าในศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาห์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาเพราะเชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้สร้าง ผู้บัญญัติธรรม และผู้ปกป้อง ส่วนทางศาสนาคริสต์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาตามเหตุผลเดียวกับศาสนายูดาห์ แต่ก็เป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างพระบิดาและพระเยซูซึ่งเป็นพระบุตรของพระองค์ด้วย คำว่า พระบิดา บ่งบอกว่าพระองค์เป็นผู้ทรงสรรพานุภาพ เป็นผู้ปกป้องดูแล เป็นสัพพัญญู และทรงอยู่ทุกหนแห่ง ซึ่งเกินกว่าการที่มนุษย์ธรรมดาจะเข้าใจได้ เช่น นักบุญทอมัส อไควนัส นักปราชญ์แห่งคริสตจักรคนสำคัญเขียนสรุปไว้ว่าท่านเองก็ยังไม่เข้าใจพระบิดาเล.

ใหม่!!: คริสตวิทยาและพระเจ้าพระบิดา · ดูเพิ่มเติม »

ความรอด

วามรอด (Salvation) ในทางศาสนา หมายถึง การที่วิญญาณปลอดจากบาปและผลของบาป ถือเป็นเป้าหมายของทุกศาสนา แต่แต่ละศาสนาจะอธิบายลักษณะและวิธีการบรรลุถึงความรอดแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: คริสตวิทยาและความรอด · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยาศาสนาคริสต์

ทววิทยาศาสนาคริสต์ (Christian theology) คริสต์เทววิทยา หรือศาสนศาสตร์ คือเทววิทยาที่เกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ นักเทววิทยาศาสนาคริสต์ใช้เหตุผลทางการวิจัยและการถกเพื่อทำความเข้าใจ อธิบาย ทดสอบ วิจารณ์ประเด็น ป้องกันและเผยแพร่คริสต์ศาสนา เป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มความเข้าใจต่อศาสนาคริสต์ เพื่อเปรียบเทียบคริสต์ศาสนากับประเพณีหรือความเชื่อถืออื่น ๆ และเพื่อป้องกัน กล่าวโต้ต่อนักวิจารณ์ ช่วยในการปฏิรูปศาสนา มีความเข้าใจในคริสต์ศาสนาพอที่จะสามารถนำเอาความเข้าใจนั้นมาทำความเข้าใจในสถานะการณ์ปัจจุบันตามความจำเป็น, เทววิทยาศาสนาคริสต์เผยแพร่เข้ามาในวัฒนธรรมตะวันตกโดยเฉพาะวัฒนธรรมยุโรปก่อนสมัยใหม่ ความเกี่ยวพันกันระหว่างปรัชญาสองอย่างนี้ทำให้ผู้ต้องการทำความความเข้าใจในเทววิทยาศาสนาคริสต์จำเป็นต้องเข้าใจในวัฒนธรรมตะวันตกด้วยในขณะเดียวกัน.

ใหม่!!: คริสตวิทยาและเทววิทยาศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปาโลอัครทูต

นักบุญเปาโลอัครทูต (St.) หรือนักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส (St.; San Paolo di Tarso) หรือนักบุญเปาโล มาจาก ภาษากรีก “Šaʾul HaTarsi” หมายถึง “เซาโลแห่งทาร์ซัส” มาจาก “Σαουλ” “Saul” หรือ “Σαῦλος” “Saulos” หรือ “Παῦλος” “Paulos” เป็น “อัครทูตถึงชนต่างชาติ” (Apostle to the Gentiles) พร้อมกับนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม (James the Just), เป็นมิชชันนารีที่สำคัญที่สุดในศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่ไม่เคยพบพระเยซูดังเช่นอัครทูตท่านอื่นๆ ไม่มีหลักฐานใดที่กล่าวว่านักบุญเปาโลเคยพบพระองค์ด้วยตนเองก่อนที่จะถูกตรึงกางเขนตามที่กล่าวใน “กิจการของอัครทูต” นักบุญเปาโลมานับถือศาสนาคริสต์ระหว่างที่เดินทางไป ดามัสกัส จากการที่ได้เห็นพระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม.

ใหม่!!: คริสตวิทยาและเปาโลอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »