โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณะราษฎร

ดัชนี คณะราษฎร

ณะราษฎร (อ่านว่า "คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน"; มักสะกดผิดเป็น คณะราษฎร์) คือ กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไท.

45 ความสัมพันธ์: ชาตินิยมพ.ศ. 2469พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยาพหลพลพยุหเสนาพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)พระยาทรงสุรเดชพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)พระที่นั่งอนันตสมาคมพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)กระจ่าง ตุลารักษ์การปฏิวัติรัสเซียการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญลัทธิอิงสามัญชนลำดับเหตุการณ์คณะราษฎรวังสวนกุหลาบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยามสารคดี (นิตยสาร)หมุดคณะราษฎรหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)หลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี)หลัก 6 ประการของคณะราษฎรผิน ชุณหะวัณจักรวรรดิบริติชจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ทวี บุณยเกตุทวีปยุโรปควง อภัยวงศ์คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองตั้ว ลพานุกรมประยูร ภมรมนตรีประเทศฝรั่งเศสปรีดี พนมยงค์ปารีสแปลก พิบูลสงครามแนบ พหลโยธินเสรีนิยมเค้าโครงการเศรษฐกิจ พ.ศ. 24755 กุมภาพันธ์

ชาตินิยม

ชาตินิยม (nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:คตินิยมเชื้อชาติ หมวดหมู่:การอพยพของมนุษย์.

ใหม่!!: คณะราษฎรและชาตินิยม · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2469

ทธศักราช 2469 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1926 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คณะราษฎรและพ.ศ. 2469 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: คณะราษฎรและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระยาพหลพลพยุหเสนา

ระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นราชทินนามบรรดาศักดิ์ทหาร อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คณะราษฎรและพระยาพหลพลพยุหเสนา · ดูเพิ่มเติม »

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

ระยาพหลพลพยุหเสนา (แถวหน้าซ้ายมือ) นำคณะรัฐมนตรีของไทยเข้าเยือนประเทศญี่ปุ่น และพบกับ ฮิเดกิ โตโจ (แถวหน้าตรงกลาง) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2485 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เดิมชื่อว่า "พจน์ พหลโยธิน" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 2 เกิดวันที่ 29 มีนาคม..

ใหม่!!: คณะราษฎรและพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)

ันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ สมาชิกคณะราษฎรผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 จัดเป็น 1 ใน "4 ทหารเสือ" คือ ทหารบกชั้นผู้ใหญ่ เป็นระดับผู้บังคับบัญชาและคุมกำลังพล ซึ่งประกอบด้วย พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ พระยาฤทธิอัคเนย์ มีชื่อเดิมว่า สละ เอมะศิริ เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2432 เป็นบุตรชายของพระยามนูสารศาสตรบัญชา (ศิริ เอมะศิริ) และคุณหญิง เหลือบ เอมะศิริ พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นนายทหารปืนใหญ่ ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีตำแหน่งเป็น ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ป. 1 รอ.) และถือเป็นผู้เดียวที่มีกองกำลังพลในบังคับบัญชา ในเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: คณะราษฎรและพระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาทรงสุรเดช

ระยาทรงสุรเดช อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คณะราษฎรและพระยาทรงสุรเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)

4 ทหารเสือ (จากซ้าย) พ.อ.พระยาทรงสุรเดช, พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา, พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ และ พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) (12 สิงหาคม พ.ศ. 2435 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516) เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือที่ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นผู้ที่วางแผนการยึดอำนาจทั้งหมด เป็นผู้ได้รับการสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ได้เป็น และถูกกล่าวหาว่าคิดก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในกบฏพระยาทรงสุรเดช ถูกเนรเทศไปอยู่ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาจนเสียชีวิตเมื่อ..

ใหม่!!: คณะราษฎรและพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งอนันตสมาคม

ระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นท้องพระโรงเดิมของพระราชวังดุสิต ชื่อของพระที่นั่งนี้ นำมาจากพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งอนันตสมาคมสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2451 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แต่สร้างไม่ทันเสร็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต จึงสร้างต่อแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมใช้เวลาสร้างทั้งหมด 8 ปี พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นอาคารทรงยุโรปล้วน เป็นพระที่นั่งหินอ่อนเพียงองค์เดียวในประเทศไทยวลัญช์ สุภากร,, กรุงเทพธุรก.วันที่ 29 มิถุนายน 2558 ซึ่งก่อสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวชั้นหนึ่งจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาลีนามว่า มาริโอ ตามานโญ มีแรงบรรดาลใจมาจากโดม วิหารเซนต์ปีเตอร์ แห่งนครรัฐวาติกัน และโบสถ์เซนต์ปอลแห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร งานก่อสร้างทั้งหมดมาจากแรงงานทั้งคนไทยและจีน ส่วนงานภายในที่มีการตกแต่งด้วยศิลปะเฟรสโก เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลต่างๆ มาจากฝีมือช่างจากอิตาลีเป็นส่วนใหญ่ พระที่นั่งอนันตสมาคมมีจุดเด่นที่โดมใหญ่ตรงกลางซึ่งทำจากทองแดงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เมตร และรวมไปถึงโดมย่อยอีก 6 โดม แต่เนื่องจากสนิมทำให้เปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมน้ำเงินในปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ยังจัดได้ว่า เป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย เนื่องจากในช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ใช้พระที่นั่งองค์นี้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ ณ อาคารรัฐสภา ปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ข้างๆพระที่นั่งองค์นี้ พระที่นั่งอนันตสมาคม ยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี สำคัญๆ มากมาย อาทิ รัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ และการเสด็จออกมหาสมาคมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอีก 4 ครั้ง.

ใหม่!!: คณะราษฎรและพระที่นั่งอนันตสมาคม · ดูเพิ่มเติม »

พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)

ลตรี พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 จัดเป็น 1 ใน "4 ทหารเสือ" คือ นายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ ระดับเสนาธิการและคุมกำลังพล ซึ่งประกอบด้วย พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ โดยพระประศาสน์พิทยายุทธ ถือเป็นทหารเสือที่อาวุโสน้อยที่สุด ด้วยวัยวุฒิ, ยศ และบรรดาศักดิ์ พระประศาสน์พิทยายุทธ มีชื่อเดิมว่า วัน ชูถิ่น เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: คณะราษฎรและพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) · ดูเพิ่มเติม »

กระจ่าง ตุลารักษ์

ร้อยโท กระจ่าง ตุลารักษ์ หรือ นายกระจ่าง ตุลารักษ์ (2456 — 23 มิถุนายน 2552) หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และอดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ นายกระจ่าง เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2456 ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เข้าร่วมกับคณะราษฎรด้วยวัยเพียง 19 ปี ขณะยังเป็นนักเรียนช่างกลอยู่ จากการชักชวนของพี่ชาย คือ นายสงวน ตุลารักษ์ โดยเข้ามาเป็นสมาชิกคณะราษฎรในสายพลเรือนเพียง 5 วัน ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเท่านั้น โดยนายสงวนได้มอบหมายให้นายกระจ่างพาเพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่มีพฤติกรรมดี ไม่ดื่มเหล้า ไม่ติดการพนัน เข้าร่วมเป็นคณะราษฎรเพิ่มด้วย 2-3 คน ในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายกระจ่างรับหน้าที่ควบคุมตัวบุคคลสำคัญและเจ้านายชั้นสูงในพระที่นั่งอนันตสมาคม รวมถึงอารักขาหัวหน้าคณะราษฎรด้วย โดยไม่ได้รับรู้มาก่อนเลยว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพราะเป็นบุคคลระดับเล็ก ๆ ไม่ได้รับรู้ถึงแผนการชั้นสูง ภายหลังเปลี่ยนแปลงการครอง ที่สมาชิกคณะราษฎรหลายคนได้มีตำแหน่งและบทบาททางการเมือง แต่นายกระจ่างก็ได้กลับไปเป็นลูกจ้างตามเดิม โดยไม่มีตำแหน่งใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากอายุยังน้อยอยู่ จนกระทั่งเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2484 นายกระจ่างได้ร่วมกับขบวนการเสรีไทย โดยได้ปฏิบัติหน้าที่เล็ดรอดเข้าไปในประเทศจีนเพื่อให้ความคุ้มครองบุคคลสำคัญต่าง ๆ และปฏิบัติงานอยู่ตามตะเข็บชายแดนไทย-ลาว และลาว-เวียดนาม หลังเสร็จสงครามแล้วได้รับยศเป็น ร้อยโท (ร.ท.) จากนั้น ร.ท.กระจ่างก็ได้กลับไปใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวที่จังหวัดยะลา โดยได้เปิดกิจการโรงเลื่อยที่อำเภอรามัน และได้สมรสกับนางพวงเพ็ชร (นามเดิม: สวนเพ็ชร โกวิทยา) ซึ่งเป็นภรรยา มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 4 คน ร.ท.กระจ่าง เคยเป็น ส.ส. จังหวัดขอนแก่น จากการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 จากนั้น เมื่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตหัวหน้าเสรีไทยสาย สหรัฐอเมริกา ได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์ ต่อจากนายควง อภัยวงศ์ ที่ถึงแก่อสัญกรรมไปเมื่อปี พ.ศ. 2511 ร.ท.กระจ่างได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค และได้ลงเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในจังหวัดยะลา แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง หลังจากนั้นชีวิตก็ได้วนเวียนอยู่ในแวดวงการเมืองมาโดยตลอด เช่น เป็นนักการเมืองท้องถิ่น และปลูกฝังทัศนคติทางการเมือง การปกครองแก่บุตรหลานและคนใกล้ชิด เป็นต้นกระทั่ง..

ใหม่!!: คณะราษฎรและกระจ่าง ตุลารักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติรัสเซีย

การปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution) คือภาพรวมของระลอกการปฏิวัติในรัสเซียช่วงปี..

ใหม่!!: คณะราษฎรและการปฏิวัติรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

การปฏิวัติสยาม..

ใหม่!!: คณะราษฎรและการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490

รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: คณะราษฎรและรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: คณะราษฎรและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอิงสามัญชน

ประชานิยม (populism) นิยามว่าเป็นอุดมการณ์ หรือที่พบได้น้อยกว่าว่าเป็น ปรัชญการเมือง, p. 3 หรือเป็นวาทกรรมประเภทหนึ่ง นั่นคือ แนวคิดทางสังคมการเมืองซึ่งเปรียบ "ประชาชน" กับ "อภิชน" และกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงระบบสังคมและการเมือง นอกจากนี้ ประชานิยมยังสามารถนิยามได้ว่าเป็นรูปแบบวาทศิลป์ซึ่งสมาชิกความเคลื่อนไหวภาคการเมืองหรือสังคมหลายคนใช้ พจนานุกรมเคมบริดจ์นิยามว่าเป็น "แนวคิดและกิจกรรมทางการเมืองอันมีเจตนาเพื่อเป็นตัวแทนของความต้องการและความปรารถนาทั่วไปของประชาชน" ประชานิยมสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นวาทกรรมการเมืองซึ่งดึงดูดใจประชากรส่วนใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของชนชั้นและการถือพวกทางการเมือง ประชานิยมนั้นตรงกันข้ามกับรัฐนิยม ซึ่งถือว่านักการเมืองอาชีพเพียงจำนวนหนึ่งมีความรู้ดีกว่าประชาชนและการตัดสินใจของรัฐในนามของพวกนั้น อย่างไรก็ตาม มีการอธิบายว่าผู้นิยมประชานิยมนั้นค้ำจุนรัฐบาลอำนาจนิยม อันเกิดจากกระบวนการปลุกระดมทางการเมืองซึ่งผู้นำจะปราศรัยแก่มวลชนโดยปราศจากการประนีประนอมของพรรคหรือสถาบันใ.

ใหม่!!: คณะราษฎรและลัทธิอิงสามัญชน · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร

ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎรแสดงรายการเหตุการณ์สำคัญนับตั้งแต่การก่อตั้งคณะราษฎรในปี 2469 จนหมดอำนาจในปี 2503 เหตุการณ์ปฏิวัติสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานเสียอำนาจส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน..

ใหม่!!: คณะราษฎรและลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

วังสวนกุหลาบ

ระตำหนักวังสวนกุหลาบ วังสวนกุหลาบ เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่มุมถนนราชสีมากับถนนศรีอยุธยา โดยทางด้านทิศเหนือติดกับถนนอู่ทองนอก และทิศตะวันออกติดกับสวนอัมพร ซึ่งอาณาเขตดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต ตามเดิมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะสร้างวังสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา ที่วังริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ปากคลอง(ตลาด) คูเมืองเดิม ครั้งเสด็จฯกลับมาจากทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะให้ทรงศึกษาราชการอยู่ใกล้พระองค์ จึงได้โปรดเกล้าฯให้สร้างตำหนักชั่วคราวที่สวนดุสิต ตรงริมถนนใบพร พระราชทานนามว่า "สวนกุหลาบ" สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา จึงเสด็จประทับอยู่ตลอดรัชกาลที่ 5 ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตที่วังสวนกุหลาบออกไปให้กว้างขวางกว่าเก่า สร้างพระตำหนักและท้องพระโรงพระราชทานเป็นอาคารถาวร สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงนครราชสีมาได้ประทับอยู่จนเสด็จทิวงคตในปีพุทธศักราช 2467 วังสวนกุหลาบสร้างตามแบบสถาปัตยากรรมของยุโรป ตัวอาคารมี 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน ทาสีเหลืองอ่อน หลังคามุงกระเบื้องสีแดง ภายในตกแต่งอย่างงดงาม ที่วังนี้เคยเป็นที่ทำการของรัฐบาล ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นที่ตั้งของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่สวนรื่นฤดี ในปีพุทธศักราช 2507 ต่อมากองออมทรัพย์ กองแผนและโครงการของกรมสวัสดิการทหารบกได้ย้ายจากสวนพุดตานมาทำการอยู่ที่วังนี้แทน จนกระทั่งในวันที่ 9 ธันวาคม พุทธศักราช 2539 กรมสวัสดิการทหารบก ได้ทำหนังสือถวายคืนวังสวนกุหลาบให้กลับมาอยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักพระราชวัง โดยมีพิธีส่งมอบเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พุทธศักราช 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ มาจัดแสดงไว้ที่พระตำหนักวังสวนกุหลาบตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2542 นอกจากนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ยังใช้เป็นที่ทรงงาน และโปรดให้คณะบุคคลมาเข้าเฝ้าที่วังสวนกุหลาบอยู่เสมอ.

ใหม่!!: คณะราษฎรและวังสวนกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

สมบูรณาญาสิทธิราชย์

มบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมายอมร รักษาสัตย์, กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้ว.

ใหม่!!: คณะราษฎรและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

สยาม

งชาติสยาม พ.ศ. 2398-พ.ศ. 2459 สยาม (อักษรละติน: Siam, อักษรเทวนาครี: श्याम) เคยเป็นชื่อเรียกประเทศไทยในอดีต แต่มิใช่ชื่อที่คนไทยเรียกตนเอง ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า สยามเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ก่อนเปลี่ยนเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: คณะราษฎรและสยาม · ดูเพิ่มเติม »

สารคดี (นิตยสาร)

นิตยสารสารคดี เป็นนิตยสารของไทย ที่มุ่งเน้นบทความแนวสารคดีโดยเฉพาะ ครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ บุคคล ชีวิต ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเริ่มวางแผงฉบับปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยอยู่ในเครือของ บริษัท วิริยะธุรกิจ จำกัด โดยมีจุดเริ่มต้นจาก คุณสุชาดา จักพิสุทธิ์ บรรณาธิการคนแรก คุณจำนงค์ ศรีนวล บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ คุณสกล เกษมพันธ์ ช่างภาพสารคดี คุณสุดารา สุจฉายา และคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์เป็นนักเขียนรุ่นบุกเบิก โดยมีความคิดทำหนังสือที่มีสาระความรู้หลากหลาย ให้ความสำคัญกับการถ่ายภาพและการออกแบบรูปเล่มเป็นพิเศษ ปัจจุบันมีคุณสุวัฒน์ อัศวไชยชาญ เป็นบรรณาธิการบริหาร สำนักงานนิตยสารสารคดีตั้งอยู่ที่ บริษัทวิริยะธุรกิจ 28,30 ซอยวัดปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ.

ใหม่!!: คณะราษฎรและสารคดี (นิตยสาร) · ดูเพิ่มเติม »

หมุดคณะราษฎร

หมุดคณะราษฎร ภาพแสดงที่ตั้งของหมุดคณะราษฎร (วงกลมสีเหลือง) หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ หรือเรียกโดยทั่วไปว่า หมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ณ ตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อ่านประกาศคณะราษฎร มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ" จัดทำขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทย มีพิธีฝังหมุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2479 โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นและหัวหน้าคณะราษฎรเป็นผู้ฝังหมุด ในช่วงปีหลังนี้หมุดคณะราษฎรเป็นสถานที่จัดงานรำลึกเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในวันที่ 24 มิถุนายน ร่วมกับมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในบริเวณนั้น.

ใหม่!!: คณะราษฎรและหมุดคณะราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)

นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. (22 มกราคม พ.ศ. 2438 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2508) มีชื่อจริงว่า บุง ศุภชลาศัย รองผู้บัญชาการทหารเรือ อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง กรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อ..

ใหม่!!: คณะราษฎรและหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)

อำมาตย์ตรี หลวงสิริราชไมตรี อดีตอัครราชทูตไทยประจำกรุงโรม ประเทศอิตาลี และสมาชิกคณะราษฎร.

ใหม่!!: คณะราษฎรและหลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)

ลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย มีชื่อจริงว่า สินธุ์ กมลนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนแรก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนแรก ภายหลังเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ, แม่ทัพเรือ หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร และเป็นหัวหน้าคณะราษฎรสายทหารเรือ.

ใหม่!!: คณะราษฎรและหลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี)

ณะราษฎรสายทหารบก ที่สนามหญ้าหน้าวังปารุสกวันในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (หลวงทัศนัยนิยมศึก - ทัศนัย มิตรภักดี คือ คนที่ 2 จากซ้ายแถวกลาง) พันตรี หลวงทัศนัยนิยมศึก มีชื่อตัวว่า ทัศนัย มิตรภักดี (22 กันยายน พ.ศ. 2443–10 พฤษภาคม พ.ศ. 2476) อดีตนายทหารม้าชาวไทย และผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎรชุดแรก (7 คนแรก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และทำการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475.

ใหม่!!: คณะราษฎรและหลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี) · ดูเพิ่มเติม »

หลัก 6 ประการของคณะราษฎร

ลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร มีเสาใหญ่หกเสาด้านหน้า ซึ่งอ้างอิงถึงหลักหกประการของคณะราษฎร หลัก 6 ประการของคณะราษฎร หรือที่นิยมเรียกอย่างสั้นว่า หลัก 6 ประการ เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1คณะราษฎร, ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑, วิกิซอร์ซ และถือเป็นนโยบายของคณะกรรมการราษฎรชุดแรก ในระบอบประชาธิปไตยของประเทศสยาม ซึ่งนำโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา คณะกรรมการราษฎรนี้ ไม่มีการแถลงนโยบาย การบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนราษฎร แต่ถือเอาหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ที่กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใช้ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่นั้น เป็นนโยบายของรัฐบาล หลัก 6 ประการของคณะราษฎรซึ่งสรุปคำใจความหลักได้ว่า "เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา"เด็กชายก้อง,, มติชน, 4 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: คณะราษฎรและหลัก 6 ประการของคณะราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

ผิน ชุณหะวัณ

อมพลผิน ชุณหะวัณ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2434 - 26 มกราคม พ.ศ. 2516) เป็นบิดาของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เกิดที่ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรของนายไข่ และ นางพลับ ชุณหะวัณ ชาวสวนและแพทย์แผนโบราณ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คน จอมพลผิน ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรมในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม..

ใหม่!!: คณะราษฎรและผิน ชุณหะวัณ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบริติช

ักรวรรดิบริติช (British Empire) หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ, คราวน์โคโลนี, รัฐในอารักขา, รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน..

ใหม่!!: คณะราษฎรและจักรวรรดิบริติช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส

ักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส (French colonial empire) ประกอบด้วยอาณานิคมโพ้นทะเล, รัฐในอารักขา และ รัฐบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีส ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็นสองยุค คือจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่หนึ่ง ซึ่งสิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: คณะราษฎรและจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

ล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ซ้าย) ขณะเดินสนทนากับ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ในงานเปิดสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2484 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เดิมคือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 — 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531) นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของประเทศไทยในช่วง..

ใหม่!!: คณะราษฎรและถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวี บุณยเกตุ

นายทวี บุณยเกตุ (10 พฤศจิกายน 2447 - 3 พฤศจิกายน 2514) นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 (รัฐบาลที่ 12) หนึ่งในคณะราษฎรสายพลเรือน และขบวนการเสรีไทยและเป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง พ่อสอนลูก.

ใหม่!!: คณะราษฎรและทวี บุณยเกตุ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: คณะราษฎรและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ควง อภัยวงศ์

รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์ หรือ พันตรี ควง อภัยวงศ์ (17 พฤษภาคม 2445 – 15 มีนาคม 2511) อดีตนายกรัฐมนตรีไทย 4 สมัย ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก ควง อภัยวงศ์เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือนซึ่งร่วมการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เคยมีบรรดาศักดิ์เป็น รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวง.ต.ควง ถือเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งกระทรวงคมนาคมยุคใหม่ เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการคนแรก ด้วยประสบการณ์ที่เคยรับราชการจนมีตำแหน่ง เป็นถึงอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข นอกจากนี้ยังเคย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการคลัง, กระทรวงเกษตราธิการ และกระทรวงมหาดไทยด้ว.

ใหม่!!: คณะราษฎรและควง อภัยวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง

ณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง (junta หรือ military junta) เป็นรัฐบาลที่นำโดยคณะผู้นำทางทหาร คำนี้มาจากภาษาสเปน junta หมายถึง คณะกรรมการหรือที่ประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการบริษัท บางครั้งคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองอาจกลายเป็นเผด็จการทหาร แต่ทั้งสองคำมิใช่ไวพจน์ ตัวอย่างคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง เช่น สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐในพม่า และคณะรักษาความสงบแห่งชาติในไทย เป็นต้น.

ใหม่!!: คณะราษฎรและคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง · ดูเพิ่มเติม »

ตั้ว ลพานุกรม

รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม (21 ตุลาคม พ.ศ. 2441- 27 สิงหาคม พ.ศ. 2484)น้าชาด สำนักพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 5 ตุลาคม..

ใหม่!!: คณะราษฎรและตั้ว ลพานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

ประยูร ภมรมนตรี

รองอำมาตย์เอก นายพลโท ประยูร ภมรมนตรี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ฝ่ายพลเรือน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเหลนของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) เสนาบดีพระคลังในรัชกาลที่๓ เป็นบุตรของ พันตรี พระชำนาญคุรุวิทย์ (แย้ม ภมรมนตรี) ทูตทหารประจำจักรวรรดิเยอรมัน กับมารดาที่เป็นชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นครูสอนภาษาเยอรมันให้กับนักเรียนในจักรวรรดิเยอรมันขณะนั้น2475: สองฝั่งประชาธิปไตย, สารคดี: ทีวีไทย พฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ชื่อ แพทย์หญิงแอนเนลี ไฟร์ พลโท ประยูร ภมรมนตรี เป็นผู้เสนอจัดตั้งโรงแรมขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความเจริญของกรุงเทพมหานคร หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อปี..

ใหม่!!: คณะราษฎรและประยูร ภมรมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: คณะราษฎรและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปรีดี พนมยงค์

ตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: คณะราษฎรและปรีดี พนมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คณะราษฎรและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: คณะราษฎรและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

แนบ พหลโยธิน

แนบ พหลโยธิน แนบ พหลโยธิน อดีตนักการเมืองและหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แนบ พหลโยธิน เป็นบุตรของ พลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน) บิดาเป็นพี่ชายของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) จบการศึกษาจากโรงเรียนราชวิทยาลัย (โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบัน) จบการศึกษาเนติบัณฑิต ประเทศอังกฤษ ระหว่างการศึกษาอยู่ยังประเทศอังกฤษนั้น ได้ร่วมกับนักเรียนไทยที่ประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศสส่วนหนึ่ง ก่อตั้งคณะราษฎรขึ้นมา โดยที่แนบ ถือเป็นสมาชิกรุ่นแรก ที่มีด้วยกันทั้งหมด 7 คน ซึ่งนอกจากนายแนบแล้ว ยังประกอบด้วย ปรีดี พนมยงค์, ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ, จรูญ สิงหเสนี, ประยูร ภมรมนตรี, ร้อยโท ทัศนัย มิตรภักดี และตั้ว ลพานุกรม ในการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพัน..

ใหม่!!: คณะราษฎรและแนบ พหลโยธิน · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนิยม

เสรีนิยม (liberalism) เป็นปรัชญาการเมืองหรือมุมมองทางโลกซึ่งตั้งอยู่บนความคิดเสรีภาพและความเสมอภาค นักเสรีนิยมยอมรับมุมมองหลากหลายขึ้นอยู่กับความเข้าใจหลักการเหล่านั้น แต่โดยทั่วไปสนับสนุนความคิดอย่างเสรีภาพในการพูด เสรีภาพสื่อ เสรีภาพทางศาสนา ตลาดเสรี สิทธิพลเมือง สังคมประชาธิปไตย รัฐบาลฆราวาส ความเสมอภาคทางเพศและการร่วมมือระหว่างประเทศ ทีแรก เสรีนิยมเป็นขบวนการทางการเมืองต่างหากระหว่างยุคเรืองปัญญา เมื่อได้รับความนิยมในหมู่นักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์ในโลกตะวันตก เสรีนิยมปฏิเสธความคิดซึ่งสามัญในเวลานั้น เช่น เอกสิทธิ์แบบสืบเชื้อสาย ศาสนาประจำชาติ สมบูรณาญาสิทธิราชและเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ มักยกย่องจอห์น ล็อก นักปรัชญาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็นผู้ก่อตั้งเสรีนิยมเป็นประเพณีปรัชญาต่างหาก ล็อกแย้งว่ามนุษย์มีสิทธิธรรมชาติในชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สิน และตามสัญญาสังคม รัฐบาลต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้ นักเสรีนิยมคัดค้านอนุรักษนิยมประเพณีและมุ่งเปลี่ยนสมบูรณาญาสิทธิ์ในการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและหลักนิติธรรม นักปฏิวัติผู้โด่งดังในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ การปฏิวัติอเมริกา และการปฏิวัติฝรั่งเศสใช้ปรัชญาเสรีนิยมเพื่ออ้างความชอบธรรมการโค่นสิ่งที่มองว่าเป็นการปกครองทรราชด้วยอาวุธ เสรีนิยมเริ่มลามอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการตั้งรัฐบาลเสรีนิยมในประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาใต้และอเมริกาเหนือ ในช่วงนี้คู่แข่งอุดมการณ์หลัก คือ อนุรักษนิยม แต่ภายหลังเสรีนิยมรอดการท้าทายทางอุดมการณ์วสำคัญจากคู่แข่งใหม่อย่างฟาสซิสต์และลัทธิคอมมิวนิสต์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความคิดเสรีนิยมยิ่งลามอีกเมื่อประชาธิปไตยเสรีนิยมเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกทั้งสองครั้ง ในทวีปยุโรปและอเมริกา การสถาปนาเสรีนิยมสังคม (social liberalism) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการขยายรัฐสวัสดิการ ปัจจุบัน พรรคการเมืองเสรีนิยมยังครองอำนาจและอิทธิพลทั่วโลก หมวดหมู่:ขบวนการทางปรัชญา หมวดหมู่:ปรัชญาการเมือง หมวดหมู่:อุดมการณ์ทางการเมือง หมวดหมู่:วัฒนธรรมทางการเมือง หมวดหมู่:ทฤษฎีสังคม หมวดหมู่:ปัจเจกนิยม.

ใหม่!!: คณะราษฎรและเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เค้าโครงการเศรษฐกิจ พ.ศ. 2475

้าโครงการเศรษฐก..

ใหม่!!: คณะราษฎรและเค้าโครงการเศรษฐกิจ พ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

5 กุมภาพันธ์

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 36 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 329 วันในปีนั้น (330 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: คณะราษฎรและ5 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Khana ratsadonสมาคมคณะราษฎรคณะราษฏรคณะราษฏร์คณะราษฎร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »