เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ขบวนการไซออนิสต์และความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ขบวนการไซออนิสต์และความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

ขบวนการไซออนิสต์ vs. ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

ีโอดอร์ เฮิร์ซล์ ผู้นำลัทธิไซออน ขบวนการไซออนิสต์ (Zionism) เป็นชื่อเรียกขบวนการคืนสู่มาตุภูมิประวัติศาสตร์ในดินแดนปาเลสไตน์ดั้งเดิม (The Eretz Israel) ของชนชาติยิว หลังถูกชาวอียิปต์ขับกระจัดกระจายนานนับศควรรษ ชาวยิวเชื่อว่า เมื่อใดที่ชาวยิวย้ายกลับมาครอบครองถิ่นเดิม จะเกิดความเจริญรุ่งเรืองดังที่เกิดแล้วสมัยกษัตริย์เดวิด ความเชื่อนี้ทำให้เกิดการรณรงค์เผยแพร่ความคิดที่เรียก "ไซออนิสต์" ขบวนการไซออนิสต์ยุคใหม่เริ่มเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ (Theodore Herzl) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแผนการทางการเมืองเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นรัฐอิสระเหนืออาณาเขตที่ชาวปาเลสไตน์ครอบครอง ความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง วัตถุประสงค์และเป้าหมายนี้ได้รับการสนับสนุนโดยปฏิญญาบอลโฟร์ (Balfour Declaration) ในปี.. วามขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (الصراع العربي الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi A'Israili; הסכסוך הישראלי-ערבי Ha'Sikhsukh Ha'Yisraeli-Aravi) หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี 1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1948 เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979 และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป (ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ขบวนการไซออนิสต์และความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

ขบวนการไซออนิสต์และความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ขบวนการไซออนิสต์และความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

ขบวนการไซออนิสต์ มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (8 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ขบวนการไซออนิสต์และความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: