โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กุ้ง

ดัชนี กุ้ง

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.

18 ความสัมพันธ์: กุ้งกุ้งกุลาดำกุ้งก้ามกรามกุ้งฝอยกุ้งมังกรกุ้งขาวกุ้งดีดขันกุ้งตะกาดกุ้งแชบ๊วยสัตว์สัตว์พวกกุ้งกั้งปูสัตว์ขาปล้องสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโปรตีนไฟลัมไขมันไคทินเครย์ฟิช

กุ้ง

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.

ใหม่!!: กุ้งและกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งกุลาดำ

กุ้งกุลาดำ หรือ กุ้งม้าลาย (Tiger prawn) เป็นกุ้งทะเล ขนาดประมาณ 18 - 25 เซนติเมตร มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ Penaeidae อาศัยอยู่ในเขตร้อน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันหลายชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบ แต่ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป คือ Penaeus monodon Frabricius และมีชื่อภาษาอังกฤษที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ใช้อยู่คือ Giant Tiger Prawn ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก ห่างออกจากฝั่งและชอบพื้นทะเลที่เป็นดินทราย สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทนอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงและความเค็มต่ำ เช่น บริเวณป่าชายเลนได้ดี และหาอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, หนอน, แมลงน้ำ.

ใหม่!!: กุ้งและกุ้งกุลาดำ · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกราม หรือ กุ้งก้ามคราม กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Palaemonidae มีเปลือกสีเขียวอมฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีสีครามหรือม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ในทุกประเทศของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลียและฟิลิปปินส์ โดยพบทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน, ตัวอ่อนของลูกน้ำ, ลูกไร, ลูกปลาขนาดเล็ก, ซากของสัตว์ต่าง ๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ แถบภาคกลางของไทย เช่น สุพรรณบุรี, นครปฐม, ฉะเชิงเทรา และต่างประเทศด้วย เช่น ที่สหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยที่กุ้งก้ามกรามชนิดที่พบในประเทศไทย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า M. dacqueti ส่วนชนิดที่ใช้ชื่อว่า M. rosenbergii เป็นชนิดที่พบในภูมิภาคปาปัวนิวกินี แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือเป็นชื่อพ้อง กุ้งก้ามกรามมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักราว 1 กิโลกรัม เป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ, เผา หรือทอด เป็นต้น เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบันยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามด้วย กุ้งก้ามกรามมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปมากมาย เช่น "กุ้งแม่น้ำ", "กุ้งหลวง" ขณะที่กุ้งตัวเมียที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า เรียก "กุ้งนาง" เป็นต้น.

ใหม่!!: กุ้งและกุ้งก้ามกราม · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งฝอย

กุ้งเรดบีชนิด ''Caridina japonica'' หรือกุ้งยะมะโตะ จัดเป็นกุ้งฝอยน้ำจืดชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Atyidae นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงาม กุ้งฝอย ชื่อสามัญของสัตว์น้ำขาปล้องจำพวกครัสเตเชียนจำพวกหนึ่ง เป็นกุ้งที่มีขนาดเล็กไม่มากนัก โดยมากอยู่ในอันดับย่อย Caridea และ Dendrobranchiata มีขาขนาดเล็กและเรียว พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด มีอายุโดยเฉลี่ย 7 ปี หลายชนิดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีการเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงาม กุ้งฝอยน้ำจืดชนิดที่พบมากในประเทศไทยคือชนิด Macrobrachium lanchesteri เป็นชนิดที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งเพื่อการบริโภคและเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาไม่ว่าจะเป็นปลาเศรษฐกิจหรือปลาสวยงาม จึงมีการเพาะเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐก.

ใหม่!!: กุ้งและกุ้งฝอย · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งมังกร

วนหางของกุ้งมังกรแช่น้ำแข็ง พร้อมบริโภค ระวังสับสนกับ: ล็อบสเตอร์ สำหรับกุ้งมังกรที่พบในน้ำจืด ดูที่: เครย์ฟิช กุ้งมังกร หรือ กุ้งหัวโขน หรือ กุ้งหนามใหญ่ เป็นครัสเตเชียนทะเลจำพวกหนึ่ง เป็นกุ้งที่อยู่ในวงศ์ Palinuridae.

ใหม่!!: กุ้งและกุ้งมังกร · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งขาว

กุ้งขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Litopenaeus vannamei) มีลำตัวขาวใส ขามีสีขาว หางสีแดง โดยเฉพาะบริเวณปลายหางจะมีสีแดงเข้ม กรีจะมีแนวตรงปลายงุ้มลงเล็กน้อย เมื่อโตขึ้นฟันกรีด้านบนจะมี 8 ฟัน และด้านล่าง 2 ฟัน ความยาวของกรี จะยาวกว่าลูกตาไม่มาก ที่สังเกตเห็นเด่นชัดที่สุดคือลำไส้ของกุ้งชนิดนี้จะโตเห็นได้ชัด และตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้ กุ้งขาวแปซิฟิก (Litopenaeus Vannamei) หรือ Pacific white Shrimp หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า White Leg Shrimp เป็นกุ้งพื้นเมืองในทวีปอเมริกาใต้ พบอยู่ทั่วไปในบริเวณชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก จากตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกจนถึงตอนเหนือของประเทศเปรู กุ้งชนิดนี้มีการเลี้ยงกันมากในประเทศเอกวาดอร์ เม็กซิโก เปรู ปานามา ฮอนดูรัส โคลัมเบีย และประเทศบราซิล ซึ่งประเทศบราซิลเป็นประเทศที่เริ่มเลี้ยงกุ้งขาวไม่กี่ปีมานี้ แต่มีผลผลิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากรัฐบาลประเทศบราซิลให้การสนับสนุนการเลี้ยงกุ้งขาวแปซิฟิกอย่างจริงจัง ทำให้ผลผลิตของประเทศบราซิลเพิ่มอย่างรวดเร็วจนเป็นอันดับ 1 ของประเทศในทวีปอเมริกาใต้ในขณะนี้.

ใหม่!!: กุ้งและกุ้งขาว · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งดีดขัน

กุ้งดีดขัน หรือ กุ้งกระเตาะ (Snapping shrimps) เป็นครัสเตเชียนจำพวกหนึ่งในวงศ์ Alpheidae จัดเป็นกุ้งขนาดเล็ก ลำตัวใส ส่วนหัวมีขนาดใหญ่เรียวเล็กลงไปถึงหาง นัยน์ตาเล็กและมีหนวดยาว มีก้ามใหญ่โต โดยเฉพาะข้างหนึ่งจะใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง มีความสามารถงับก้ามทำให้เกิดเสียงดัง "แป๋ง ๆ " โดยเฉพาะเมื่อกระทบขันน้ำโลหะเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า "กุ้งดีดขัน" ซึ่งการที่ทำแบบนี้ได้ก็เพื่อทำให้ศัตรูตกใจ จากนั้นจะใช้ก้ามอีกข้างหนึ่งที่เล็กกว่าบีบน้ำใส่หน้าของศัตรูแล้วหนีไป มีพฤติกรรมชอบหลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย และในน้ำจืดบางชนิด ซึ่งบางครั้งพบได้ในท้องร่องสวนบางที่ หรือตามลำห้วยที่ไหลมาจากน้ำตกได้อีกด้วย แรงดันของน้ำที่เกิดจากก้ามของกุ้งดีดขันมีมากได้ถึง 80 kPa ในรัศมี 4 เซนติเมตร ซึ่งมีความรุนแรงที่ทำให้ปลาตัวเล็ก ๆ ช็อกตายได้ และเสียงจากการกระทำดังนี้มีความดังถึง 218 dB/µPa/m (เดซิเบล/ไมโครปาสคาล/เมตร) เมื่อเทียบกับเสียงของน้ำตกไนแองการาซึ่งดังเพียง 90 dB เสียงในโรงงานอุตสาหกรรมดังเพียง 80 dB เสียงพูดคุยปกติธรรมดา 30 dB นับว่ากุ้งดีดขันสามารถทำเสียงได้ดังกว่า มีทั้งหมด 45 สกุล ชนิดที่พบเจอบ่อย ๆ ได้แก่ Alpheus microrhynchus ซึ่งพบในน้ำจืด และ A. digitalis เป็นต้น เฉพาะสกุล Alpheus นั้นพบในประเทศไทยทั้งหมด 35 ชนิด โดยพบในอ่าวไทย 8 ชนิด ทะเลอันดามัน 5 ชนิด และพบทั้งสองฟากทะเล 22 ชนิด กุ้งดีดขันมีความสำคัญในแง่ของการประมง ที่บังกลาเทศ, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียตอนเหนือ นิยมนำมารับประทาน และยังนิยมทำเป็นเหยื่อตกปลาอีกด้วย นอกจากนี้แล้วจากความสามารถที่ทำเสียงดังได้ ทำให้กุ้งดีดขันมักถูกจับมาขายเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ซึ่งชนิดที่มักถูกจับมาขายเป็นสัตว์เลี้ยง คือ A. cyanoteles ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้ในน้ำจืดสนิทหน้า 88-91.

ใหม่!!: กุ้งและกุ้งดีดขัน · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งตะกาด

กุ้งตะกาด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Metapenaeus affinis) อยู่ในวงศ์ Penaeidae เป็นกุ้งขนาดกลาง กรียาวตรง มีฟันด้านบน 8-9 อัน ด้านล่างไม่มีฟัน สันท้ายกรียาวประมาณร้อยละ 75 ของเปลือกหัว สันที่ปล้องท้องตั้งแต่ปล้องที่ 4-6 ส่วนกลางของอวัยวะเพศเมียรูปวงรี ด้านข้างโค้งและยกตัวสูงขึ้นสี น้ำตาลอ่อน กรีและรยางค์ต่าง ๆ สีน้ำตาลแดง บางตัวมีสีแดงบริเวณด้านล่างของส่วนหัว ระยางค์และแพนหางสีแดงคล้ำ.

ใหม่!!: กุ้งและกุ้งตะกาด · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งแชบ๊วย

กุ้งแชบ๊วย (Banana shrimp; อดีตใช้ Penaeus merguiensis) เป็นกุ้งธรรมชาติ ที่เติบโตในทะเล แต่สามารถกักเก็บได้ตามริมชายฝั่ง เราเรียกว่า วังกุ้ง บริเวณ มหาชัย แม่กลอง สมุทรปราการ เป็นต้น กินแพลงตอนเป็นอาหาร.

ใหม่!!: กุ้งและกุ้งแชบ๊วย · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: กุ้งและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์พวกกุ้งกั้งปู

รัสเตเชียน หรือ กุ้ง-กั้ง-ปู เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ขาปล้อง ประกอบด้วยพวกกุ้ง กั้ง และปู สัตว์ในกลุ่มนี้มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ ตาประกอบเป็นก้าน มีขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัส ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งจนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย แบ่งย่อยเป็น.

ใหม่!!: กุ้งและสัตว์พวกกุ้งกั้งปู · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: กุ้งและสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

Invertebrata สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) หมายความรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังสำหรับยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกันของร่างกาย จัดเป็นสัตว์ประเภทที่ไม่มีกระดูก และไม่มีกระดูกอ่อนอยู่ภายในร่างกาย มีความแตกต่างจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในไฟลัมเดียวในอาณาจักรสัตว์ แต่สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีจำนวนมากมายหลากหลายไฟลัม และมีจำนวนมากกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลกบพิธ - นันทพร จารุพันธุ์, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล่ม 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 หน้า 1 สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น.

ใหม่!!: กุ้งและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: กุ้งและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: กุ้งและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไขมัน

มัน หมายถึง สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ แต่ไม่ละลายน้ำ ไขมันในทางเคมี คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไตรเอสเทอร์ของกลีเซอรอลกับกรดไขมัน สถานะของไขมันที่อุณหภูมิห้องมีทั้งของแข็งและของเหลว ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและองค์ประกอบของไขมันนั้น แม้คำว่า "น้ำมัน", "ไขมัน" และ "ลิพิด" ล้วนถูกใช้หมายถึงไขมัน แต่โดยทั่วไป "น้ำมัน" ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง "ไขมัน" หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง "ลิพิด" หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็ง ตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ไขมันเป็นลิพิดชนิดหนึ่ง ซึ่งแยกแยะได้จากโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพ โมเลกุลไขมันสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยทำหน้าที่ทั้งเชิงโครงสร้างและเมแทบอลิซึม ไขมันเป็นส่วนสำคัญในอาหารของเฮเทอโรโทรปส่วนมาก (รวมทั้งมนุษย์) ในร่างกาย ไขมันหรือลิพิดถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อ ไลเปส ซึ่งสร้างจากตับอ่อน ตัวอย่างไขมันสัตว์ที่กินได้ เช่น มันหมู น้ำมันปลา เนยเหลว และชั้นไขมันวาฬ ไขมันเหล่านี้ได้มาจากนมและเนื้อ ตลอดจนจากใต้หนังของสัตว์ ตัวอย่างไขมันพืชที่กินได้ เช่น น้ำมันถั่วลิสง เต้าเจี้ยว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และเนยโกโก้ สำหรับเนยขาวซึ่งถูกใช้ในการอบขนมปังและเนยเทียมเป็นหลัก หรือใช้ทาขนมปัง สามารถดัดแปลงจากไขมันข้างต้นได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน ไขมันจำแนกได้เป็นไขมันอิ่มตัวกับไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวยังสามารถจำแนกต่อได้อีกเป็นไขมันซิส ซึ่งพบทั่วไปในธรรมชาติ และไขมันทรานส์ ซึ่งพบได้ยากในธรรมชาติ แต่พบในน้ำมันพืชที่ได้ทำไฮโดรจิเนชันไปแล้วบางส่วน.

ใหม่!!: กุ้งและไขมัน · ดูเพิ่มเติม »

ไคทิน

''N''-acetylglucosamineสองหน่วยที่จะเรียงซ้ำกันจนเป็นสายยาวด้วยพันธะแบบ β-1, 4 ไคทิน (Chitin;C8H13O5N) n เป็นโครงสร้างภายนอกของเซลล์สัตว์ พบในเปลือกหอย กุ้ง ปู และแมลง เป็นโฮโมโพลีแซคคาไรด์ของ N-acetyl-D-glucosamine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกลูโคส ต่อกันด้วยพันธะ β ไคทินเป็นสารที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม.

ใหม่!!: กุ้งและไคทิน · ดูเพิ่มเติม »

เครย์ฟิช

ำหรับเครย์ฟิชที่พบในทะเล ดูที่: ล็อบสเตอร์ และกุ้งมังกร เครย์ฟิช หรือ หรือ ล็อบสเตอร์น้ำจืด (10088/1372 Crawdad, Mudbug, Freshwater yabby) เป็นกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมลำตัวใหญ่ เปลือกหนา ก้ามใหญ่แลดูแข็งแรง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรป, โอเชียเนียและบริเวณใกล้เคียง เช่น อีเรียนจายา และเอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานเครย์ฟิชไปแล้วกว่า 500 ชนิด ซึ่งกว่าครึ่งนั้นเป็นเครย์ฟิชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยชนิดที่ยังไม่ได้รับการอนุกรมวิธาน อีกทั้งหลายชนิดยังมีความหลากหลายทางสีสันมากอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยไม่มีกุ้งในลักษณะเครย์ฟิช ซึ่งกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่สุดที่พบในประเทศไทย คือ กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ซึ่งในลักษณะกุ้งก้ามกรามนี้ ไม่จัดว่าเป็นเครย์ฟ.

ใหม่!!: กุ้งและเครย์ฟิช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DecapodaPrawn

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »