โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กุหลาบพันปี

ดัชนี กุหลาบพันปี

กุหลาบพันปี (Azalea) เป็นชื่อสกุลของไม้ดอกในสกุล Rhododendron ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) มีมากกว่า 1,000 ชน.

20 ความสัมพันธ์: พืชพืชดอกพืชใบเลี้ยงคู่แท้กุหลาบแดงมอสส์วงศ์กุหลาบป่าสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสปีชีส์อันดับกุหลาบป่าอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าอุทยานแห่งชาติขุนแจอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์อุทยานแห่งชาติเขาหลวงดอยเชียงดาวคาโรลัส ลินเนียสคำขาวคำแดงประเทศเนปาลแอสเทอริดเทือกเขาหิมาลัย

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่แท้

ืชใบเลี้ยงคู่แท้ หรือ Eudicots, Eudicotidae หรือ Eudicotyledons เป็นกลุ่มทางไฟโลเจนเติกของพืชมีดอก บางครั้งเรียกว่าพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่ใช่แมกโนลิด คำนี้กำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและพืชใบเลี้ยงคู่แท้ · ดูเพิ่มเติม »

กุหลาบแดง

กุหลาบแดง หรือ กุหลาบดอย เป็นไม้ดอกประเภทกุหลาบพันปีชนิดหนึ่ง ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) จัดเป็นกุหลาบพันปีอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่จีนตอนใต้, ญี่ปุ่น และภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามที่โล่งบริเวณป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 800-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลำต้นเป็นไม้พุ่ม มีความสูงตั้งแต่ 1-3 เมตร ลำต้นและกิ่ง มีขนสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรี รูปไข่ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกกลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบแคบ มีขนสีน้ำตาล ดอก สีแดงอมส้ม มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็กโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนสีขาวหรือแดง กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันคล้ายรูปแตร ภายในมีจุดประสีแดงเข้ม ปลายแยกเป็นแฉกค่อนข้างกลม ผล มีทรงรูปไข่ มีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดมีจำนวนมาก ขนาดเล็ก มีปีกบาน กุหลาบแดง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในที่สูง ให้ดอกสวยงาม โดยจะออกดอกในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและกุหลาบแดง · ดูเพิ่มเติม »

มอสส์

มอสส์เป็นพืชขนาดเล็ก, พุ่มสูงประมาณ 1–10 เซนติเมตร (0.4-4 นิ้ว) แต่อาจมีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ปกติจะเจริญเติบโตในหมู่ต้นไม้หรือบริเวณที่เปียกชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ไม่มีดอกและเมล็ด โดยทั่วไปใบที่ปกคลุมลำต้นจะบางเล็กคล้ายลวด มอสส์แพร่พันธุ์ด้วยสปอร์ ซึ่งสร้างขึ้นที่จะงอยปลายก้านเล็กๆ คล้ายแคปซูล มอสส์มีประมาณ 12,000 สปีชีส์และถูกจัดอยู่ในส่วนไบรโอไฟตา ใน ไบรโอไฟตา นั้นปกติไม่ได้มีแค่มอสส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงลิเวอร์เวิร์ตและฮอร์นเวิร์ตด้วย แล้วยังมีไบรโอไฟต์อีก 2 กลุ่มที่มักถูกจัดอยู่ในส่วนเดียวกัน.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและมอสส์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กุหลาบป่า

วงศ์กุหลาบป่า (Heath, Heather) เป็นวงศ์ของไม้พุ่มหรือไม้ต้น ใช้ชื่อวงศ์ว่า Ericaceae ลักษณะเด่นประจำวงศ์ คือ ไม่มีหูใบ ใบเป็นแบบใบเดี่ยว ติดแบบเรียงเวียนสลับ มีต่อมด้านล่าง มีเส้นใบออกจาก 2 ข้างของเส้นกลางใบแบบขนนก บางครั้งมีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้น หรือมากกว่านั้น ดอกมีลักษณะสมมาตรตามรัศมี ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปท่อหรือรูปโถ เกสรเพศผู้มี 10 อัน อับเรณูแตกโดยมีรูเปิดที่ปลาย ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่มี 5 ช่อง เมล็ดมีจำนวนมาก บางชนิดเป็นพืชกินซาก ใบมีเกล็ดรังแค หรือมีต่อมที่ขอบใบตอนโคน ดอกแบบดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปท่อหรือรูปโถ เกสรเพศผู้มี 10 อัน เป็นพืชที่พบกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก มีมากกว่า 4,000 ชนิด ประมาณ 126 สกุลStevens, P. F. (2001 onwards).

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและวงศ์กุหลาบป่า · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน, หน้า 42-43 สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หรือ สิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว (Endemic species, Endemism) หมายถึง สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ชนิดที่แพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเขตกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก เช่น อาจจะพบตามระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น บนเกาะ, ยอดเขา, หน้าผาของภูเขาหินปูน, แอ่งพรุ เป็นต้น ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัว ที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2543 และ หนังสือ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, 2547 ชาร์ล ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้กล่าวถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น เอาไว้ในหนังสือ The Origin of Species ของตนเอง ไว้ว่า ปัจจุบัน บริเวณพื้นผิวโลกทีพบว่ามีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูงมาก มีทั้งสิ้น 18 แห่ง มีพื้นที่ประมาณ 746,400 ตารางกิโลเมตร หรือเพียงร้อยละ 0.5 ของพื้นผิวโลกที่เป็นพื้นดินเท่านั้น และมีพืชเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่ถึงประมาณ 49,955 ชนิด หรือร้อยละ 20 ของพืชทั้งหมดที่พบในโลก และยังมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอาศัยอีกอย่างน้อย 1,659 ชนิด หรือร้อยละ 15 ของสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มในโลก ทั้งซีกโลกเก่า และซีกโลกใหม่ สถานที่ที่มีสัตว์เฉพาะถิ่นสูงในทวีปอเมริกาเหนือ 1 แห่ง, ทวีปอเมริกาใต้ 5 แห่ง, ทวีปแอฟริกา 4 แห่ง, ทวีปเอเชีย 6 แห่ง, ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย 2 แห่ง เฉพาะในทวีปเอเชีย ได้แก่ ป่าดิบชื้นในฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียวทางตอนเหนือ, เทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก, คาบสมุทรมลายู, เทือกเขาเวสเทิร์น เกทส์ ในอินเดีย และศรีลังกาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยที่ ๆ ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส กลางมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ ที่มีสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของตนเองสูงมาก จนได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหลายชนิด ใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต ในประเทศไทยมีรายงานพบพืชที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นประมาณ 11,000 ชนิด ร้อยละ 30 เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ส่วนที่เป็นสัตว์ เช่น ปลาน้ำจืด 68 ชนิด, เป็นหอย 3 ชนิด, เป็นสัตว์จำพวกปูและกุ้งหรือกั้ง 5 ชนิด และเป็นนก 3 ชน.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกุหลาบป่า

อันดับกุหลาบป่า หรือ Ericales เป็นอันดับของพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีความหลากหลายมาก มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อยและไม้ล้มลุก เช่น ต้นชา บลูเบอร์รี บราซิลนัท และยังมีพืชที่อยู่ร่วมกับเชื้อรา (เช่น Sarcodes sanguinea) และพืชกินแมลง (เช่น สกุล Sarracenia).

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและอันดับกุหลาบป่า · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 48 ของประเทศ และนับเป็นแห่งที่14 ของภาคเหนือ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 307 ตารางกิโลเมตร หรือ 191,875 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2527 ซึ่งตั้งครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของสามจังหวัด คือ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าอันเป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การสู้รบอันยาวนาน เป็นวีรกรรมของนักรบไทยที่เกิดขึ้น ณ ที่นี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตได้ถูกบันทึกเก็บรักษาไว้.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติขุนแจ

อุทยานแห่งชาติขุนแจ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 62 กิโลเมตรตามทางหลวงสายเชียงใหม่-เชียงราย (ทางหลวงหมายเลข 118) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2538 เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 280 ตารางกิโลเมตร ภายในอุทยานมีสัตว์ป่านานาชนิด มีน้ำตกและทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขามานานกว่า 100 ปี.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและอุทยานแห่งชาติขุนแจ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาอินทนนท์ (ทิวเขาถนนธงชัยตะวันออก) เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ ดอยอินทนนท์ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวงอ่างกา" ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขาหลวง

อุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอนบพิตำ อำเภอพิปูน อำเภอพรหมคีรี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอลานสกา อำเภอช้างกลาง และอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมร.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและอุทยานแห่งชาติเขาหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ดอยเชียงดาว

ระอาทิตย์ตกบนยอดดอยเชียงดาว ดอยเชียงดาว หรือ ดอยหลวงเชียงดาว (Doi Chiang Dao, Doi Luang Chiang Dao) เป็นดอยหรือยอดเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองมาจากดอยอินทนนท์และดอยผ้าห่มปก ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูง 2,275 เมตร (7,136 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ชื่อในสมัยก่อนเรียกว่า "ดอยอ่างสลุง" ชื่อกันตามตำนานพื้นเมืองว่าเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาพร้อมพระอรหันต์ 8 รูป ทรงลงสรงน้ำในสลุงทองคำหรือบริเวณอ่างสลุง จึงเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยหลวง" เนื่องจากเป็นดอยที่มีขนาดสูงใหญ่ ("หลวง" ในภาษาเหนือ หมายถึง "ใหญ่") เพี้ยนเป็น "ดอยหลวงเพียงดาว" จนกลายมาเป็น "ดอยหลวงเชียงดาว" หรือ "ดอยเชียงดาว" ในปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อุณหภูมิตามปกติจะถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกตลอดปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝน อากาศหนาวเย็นตลอดฤดูหนาวและฤดูฝนอากาศชุ่มชื้นมาก เป็นแหล่งที่มีพืชพรรณหลากหลายและมีหลายชนิดที่เป็นพืชถิ่นเดียวไม่พบในส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย มีทั้งพืชเขตร้อน, กึ่งเขตร้อนและพืชเขตอบอุ่น จึงเป็นสถานที่ ๆ พบความหลากหลายทางชีวภาพมาก เนื่องจากเป็นเขาหินปูน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย เกิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน มีอายุระหว่าง 230–250 ล้านปี เป็นหมู่หินราชบุรีของไทย ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนทะเล และซากสัตว์ที่มีหินปูน สันนิษฐานว่า พื้นที่ในบริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นท้องทะเลมาก่อนที่การตกตะกอนทับถมของซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการังและหอย เป็นแหล่งนิยมสำหรับการดูนก มีนกอาศัยอยู่ที่นี่มากกว่า 300 ชนิด รวมถึงสัตว์ป่าชนิดอื่นที่หายาก เช่น ผีเสื้อสมิงเชียงดาว, ไก่ฟ้าหางลายขวาง, กวางผา รวมถึงเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน เป็นต้น.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและดอยเชียงดาว · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

คำขาว

ำขาว หรือ กุหลาบพันปีป่า (Westland's rhododendron) เป็นไม้ประเภทกุหลาบพันปีชนิดหนึ่ง ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงลำต้นตั้งแต่ 2-8 เมตร ใบเป็นแบบใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ เป็นกลุ่มห่าง ๆ กลุ่มละ 3-6 ใบ รูปรีแกมรูปหอก กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 7-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ดอกมีสีขาว ออกเป็นช่อ ตามปลายกิ่งและซอกใบ ช่อละ 3-5 ดอก ขนาดดอกบานเต็มที่ กว้างถึง 6 เซนติเมตร กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปกรวย ปลายแยกแผ่เป็น 5 กลีบ บริเวณโคนกลีบมีประสีเหลืองอ่อนแต้มเป็นทาง เกสรเพศผู้มี 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน โคนก้านชูอับเรณูมีขนสีขาว รังไข่รูปทรงกระบอก ผลเป็นรูปทรงกระบอก มี 5 พู ขนาด 3-4 เซนติเมตร ปลายแหลมยาว ผลแก่แตกเป็น 5 เสี่ยง เมล็ดแบน มีขนาดเล็ก มีจำนวนมาก มีปีกบางใสล้อมรอบ คำขาว แพร่กระจายพันธุ์ตามป่าดิบเขา ที่ค่อนข้างโปร่ง สูงจากระดับน้ำทะเล 950-2,200 เมตร ออกดอกระหว่างเดือนตุลาคม-พฤษภาคม พบตั้งแต่ทางตอนใต้ของจีน, พม่า, มาเลเซีย, ภาคใต้ของไทยจนถึงอินโดนีเซีย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และฮ่องกง ดอกคำขาว คำขาว สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ดอก ไม้ประดับได้ โดยขึ้นได้ดีในที่สูง มีความชื้นพอประมาณ และชอบแสงแดดตลอดทั้งวัน.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและคำขาว · ดูเพิ่มเติม »

คำแดง

ำแดง เป็นไม้ชนิดหนึ่ง จำพวกกุหลาบพันปี ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) คำแดง เป็นหนึ่งในชนิดของกุหลาบพันปี หรือกุหลาบป่าที่พบได้ในประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย, เนปาล, ภูฏาน, พม่า และจีนในมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว (สามารถแบ่งออกได้เป็นสกุลย่อยและชนิดย่อยต่าง ๆ) สำหรับในประเทศไทย นับเป็นพืชดอกที่งดงามมากที่สุดและหายากมากที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะมีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างจำกัดอยู่เฉพาะในเขตอากาศหนาวเย็นบนพื้นที่ชุ่มชื้น เช่น สันเขา หรือหน้าผา ในระดับความสูงประมาณ 1,600-2,500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยพบได้ในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติขุนแจ จังหวัดเชียงราย เป็นต้น ผลิดอกในระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม แต่ช่วงที่ดอกบานเต็มที่คือปลายเดือนกุมภาพันธ์ คำแดงเป็นต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 2-12 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอเพราะอิทธิพลของแรงลม เปลือกตะปุ่มตะป่ำ ใบสีเขียวเข้มมีรูปร่างคล้ายหอก ยาว 7-14 เซนติเมตร ออกเรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง กุหลาบพันปีมีดอกสีแดงเลือดนกเข้นข้นสะดุดตา ดอกเป็นช่อทรงกลมที่ปลายกิ่ง โดยมีใบเรียงแผ่วนต่อกันเป็นจานรองแลดูงดงามคล้ายดอกกุหลาบ แต่ละช่อมีดอกออกรวมกันตั้งแต่ 4-12 ดอก เมื่อบานมีขนาด 3-5 เซนติเมตร มีขนสั้น ๆ สีแดงปกคลุม ดอกทรงกรวยแกมรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ กลีบค่อนข้างกลม ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมกันทั้งหมด และในช่วงที่ออกดอกบานนั้น น้ำหวานภายในดอกจะเป็นอาหารของนกและแมลงชนิดต่าง ๆ อีกด้วย คำแดง เป็นไม้ประจำประเทศเนปาล โดยสีแดงในธงชาติเนปาล หมายถึง สีแดงของดอกคำแดง คำแดง แม้จะเป็นไม้ที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ในพื้นที่สูงในเขตหนาว แต่ก็สามารถนำมาเพาะปลูกได้ในพื้นที่ราบ แต่ก็ปลูกเลี้ยงค่อนข้างยาก นอกจากความงดงามแล้วยังมีคุณสมบัติสามารถดูดซึมสารพิษในอากาศได้อีกด้ว.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและคำแดง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

แอสเทอริด

แอสเทอริด (asterids) เป็นเคลดของพืชมีดอกในระบบ APG II พืชส่วนใหญ่ในเคลดนี้อยู่ใน Asteridae ในระบบ Cronquist และ Sympetalae ในระบบก่อนหน้านี้ สมาชิกประกอกด้ว.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและแอสเทอริด · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาหิมาลัย

วเทียมของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางทิศใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางทิศเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน เนปาล — พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยหมายรวมถึงเทือกเขาการาโกรัม ฮินดูกูช และเทือกเขาอื่น ๆ ที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุดในโลก และเป็นบ้านของยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และเคทู.

ใหม่!!: กุหลาบพันปีและเทือกเขาหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rhododendronสกุลกุหลาบพันปี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »