กีฬาและโกลเดนโกล
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง กีฬาและโกลเดนโกล
กีฬา vs. โกลเดนโกล
กีฬาในวัยเด็ก จากภาพคือกีฬาฟุตบอล กีฬาประเภททีมที่ให้โอกาสในการออกกำลังกายและเพิ่มทักษะในการปฏิสัมพันธ์ กีฬา เป็นกิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินหรือเพื่อความแข็งแรงของร่างกาย หรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต รวมไปถึงกิจกรรมปกติหรือทักษะที่อยู่ภายใต้กติกาซึ่งถูกกำหนดโดยความเห็นที่ตรงกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อน การแข่งขัน ความเพลิดเพลิน ความสำเร็จ การพัฒนาของทักษะ หรือหลายสิ่งรวมกัน กีฬาเป็นกิจกรรมที่ควบคู่กับการแข่งขัน และระบบคะแนน กีฬาหลายประเภทได้มีการจัดการแข่งขันในระดับเขต ประเทศ และระดับโลก ซึ่งกีฬาหลายชนิดได้มีการใส่เข้าและนำออกโดยการปรับปรุงของทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เช่น รักบี้ ลาครอสส์ หรือ โปโล. กลเดนโกล (Golden goal) หรือ กฎประตูทอง เป็นกติกาในกีฬาฟุตบอลไว้ตัดสินหาผู้ชนะในช่วงต่อเวลาพิเศษ 30 นาที ในเกมที่ต้องตัดสินผลแพ้ชนะ และในเกมนั้นผลประตูเสมอกันในช่วงเวลาปกติ (90 นาที) ปัจจุบันกฎนี้ไม่ถูกใช้ในเกมการแข่งขันของฟีฟ่าอีกต่อไปแล้ว ถ้าใช้กฎโกลเดนโกล ในช่วงต่อเวลาพิเศษอีกครึ่งละ 15 นาทีนั้น ถ้าทีมไหนยิงประตูได้ก่อน ทีมนั้นจะเป็นผู้ชนะทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันต่อ แต่ถ้ายังยิงประตูกันไม่ได้จนหมดเวลา ก็จะเข้าสู่ช่วงยิงลูกโทษเพื่อหาผู้ชนะ กฎนี้ถูกคิดขึ้นโดยฟีฟ่าใน ค.ศ. 1993 โดยใช้แทนคำว่า ซัดเดน เดธ (sudden death) เนื่องจากมีความหมายที่ค่อนข้างไปในทางลบ กฎนี้ถูกใช้ครั้งแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 และฟุตบอลโลก 1998 การแข่งขันครั้งแรกที่มีการยิงโกลเดนโกลคือ นัดระหว่างออสเตรเลียกับอุรุกวัย ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1993 ในรอบก่อนรองชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนโลก สำหรับการแข่งขันสำคัญที่ตัดสินกันด้วยโกลเดนโกลคือรอบชิงชนะเลิศของยูโร 1996 โดยครบ 90 นาทีเสมอที่ 1-1 ครั้นในช่วงต่อเวลาพิเศษ โอลิเวอร์ เบียร์ฮอฟฟ์ ผู้เล่นของเยอรมนี ได้ยิงโกลเดนโกลเอาชนะสาธารณรัฐเช็ก ไป 2-1 คว้าแชมป์ไปครอง กฎโกลเดนโกลมีจุดหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเล่นแบบรวดเร็วและชาญฉลาด และหลีกเลี่ยงการตัดสินด้วยจุดโทษ แต่ได้รับเสียงวิจารณ์ว่าทำให้ทีมเล่นฟุตบอลแบบเน้นการป้องกันมากขึ้น เพื่อลดโอกาสความพ่ายแพ้ ส่วนในประเทศไทย มีโกลเดนโกลเกิดขึ้นในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ ระหว่างทีมชาติไทย ภายใต้การคุมทีมนัดแรกของ ปีเตอร์ วิธ กุนซือชาวอังกฤษคนแรก กับทีมชาติเกาหลีใต้ ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยครบ 90 นาทีเสมอที่ 1-1 ครั้นในช่วงต่อเวลาพิเศษนาทีที่ 95 ดุสิต เฉลิมแสน เขี่ยฟรีคิกสั้นๆ ให้ ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล ยิงไกลแบบเต็มข้อเข้าไปเป็นโกลเดนโกลให้ไทยผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศได้เป็นครั้งแรกด้วยการเอาชนะเกาหลีใต้ไปได้ 2-1 ใน ค.ศ. 2002 ยูฟ่าได้นำกฎซิลเวอร์โกลมาใช้แทน โดยจะคล้ายกับกฎโกลเด้นโกล แต่จะไม่หยุดเกมเมื่อมีทีมยิงประตูได้ โดยจะเล่นจนจบครึ่งแรกของการต่อเวลาพิเศษแทน ในปี ค.ศ. 2004 ทางฟีฟ่าได้ยกเลิกกฎโกลเดนโกลหลังจบการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 ที่ประเทศโปรตุเก.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กีฬาและโกลเดนโกล
กีฬาและโกลเดนโกล มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟุตบอลเอเชียนเกมส์
ฟุตบอล หรือ ซอกเกอร์ เป็นกีฬาประเภททีมที่เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น11คน โดยใช้ลูกบอล เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก โดยจะเล่นในสนามหญ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สนามหญ้าเทียม โดยมีประตูอยู่กึ่งกลางที่ปลายสนามทั้งสองฝั่ง เป้าหมายคือทำคะแนนโดยพาลูกฟุตบอลให้เข้าไปยังประตูของฝ่ายตรงข้าม ในการเล่นทั่วไปผู้รักษาประตูจะเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่สามารถใช้มือหรือแขนกับลูกฟุตบอลได้ ส่วนผู้เล่นอื่นๆจะใช้เท้าในการเตะลูกฟุตบอลไปยังตำแหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจใช้ลำตัว หรือ ศีรษะ เพื่อสกัดลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่กลางอากาศ โดยทีมที่พาลูกฟุตบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเท่ากันให้ถือว่าเสมอ แต่ในบางเกมที่เสมอกันในช่วงเวลาปกติแล้วต้องการหาผู้ชนะจึงต้องมีการต่อเวลาพิเศษ และ/หรือยิงลูกโทษขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของรายการแข่งขันนั้นๆ โดยกฎกติกาการเล่นสมัยใหม่จะถูกรวบรวมขึ้นในประเทศอังกฤษ โดย สมาคมฟุตบอลอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2406 ได้กำเนิดกติกาฟุตบอลขึ้นเพื่อเป็นแนวทางกติกาการเล่นในปัจจุบัน ฟุตบอลในระดับนานาชาติจะถูกวางระเบียบโดยฟีฟ่า ซึ่งรายการแข่งขันที่มีเกียรติสูงสุดในระดับนานาชาติคือการแข่งขันฟุตบอลโลกซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี.
กีฬาและฟุตบอล · ฟุตบอลและโกลเดนโกล · ดูเพิ่มเติม »
อเชียนเกมส์ (Asian Games; ชื่อย่อ: Asiad) เป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกสี่ปี เริ่มกำหนดการแข่งขันโดย สหพันธ์เอเชียนเกมส์ (The Asian Games Federation; AGF) ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกถึงครั้งที่ 8 และตั้งแต่เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดย สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA) ภายใต้การรับรองโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และยังถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกีฬาโอลิมปิกด้วย ในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ มีชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันแล้ว 9 ประเทศ โดยมี 46 ประเทศเข้าร่วม ยกเว้นอิสราเอลซึ่งถูกกีดกันออกจากเอเชียนเกมส์ หลังจากที่เข้าร่วมเป็นคราวสุดท้ายใน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศอิหร่าน สำหรับเอเชียนเกมส์ครั้งหลังสุดได้จัดขึ้นที่นครอินช็อนของเกาหลีใต้ระหว่างวันที่ 19 กันยายน-4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) และการแข่งขันครั้งต่อไป จะจัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018).
กีฬาและเอเชียนเกมส์ · เอเชียนเกมส์และโกลเดนโกล · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ กีฬาและโกลเดนโกล มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง กีฬาและโกลเดนโกล
การเปรียบเทียบระหว่าง กีฬาและโกลเดนโกล
กีฬา มี 88 ความสัมพันธ์ขณะที่ โกลเดนโกล มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 1.75% = 2 / (88 + 26)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กีฬาและโกลเดนโกล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: