โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กิ้งก่าลูกปัด

ดัชนี กิ้งก่าลูกปัด

กิ้งก่าลูกปัด หรือ กิ้งก่าลูกปัดเม็กซิกัน (accessdate, Mexican beaded lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกกิ้งก่า จัดเป็นกิ้งก่าที่มีพิษร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง กิ้งก่าลูกปัด มีลักษณะคล้ายกับกิล่ามอนสเตอร์ (H. suspectum) ซึ่งเป็นกิ้งก่าในวงศ์และสกุลเดียวกัน กิ้งก่าลูกปัดและกิล่ามอนสเตอร์ต่างกับสัตว์เลื้อยคลานมีพิษอย่างอื่น เช่น งู ที่มีต่อมพิษที่บริเวณขากรรไกรบนเพื่อที่จะฉีดพิษออกมาใส่ศัตรูหรือเหยื่อด้วยการกัด แต่กิ้งก่าลูกปัดมีต่อมพิษอยู่ที่ด้านล่างของขากรรไกรล่างและไม่สามารถฉีดพิษออกมาได้ จึงต้องฉีดพิษด้วยการเคี้ยวเหยื่อแทน ซึ่งพิษนั้นไม่ร้ายแรงพอที่จะฆ่ามนุษย์ได้ แต่ก็ทำให้เจ็บปวดได้มาก ส่วนหัว ผิวหนัง มีความยาวและใหญ่กว่ากิล่ามอนสเตอร์ มีขนาดโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 57–91 เซนติเมตร (22–36 นิ้ว) น้ำหนักเต็มที่ 4,000 กรัม (8.8 ปอนด์) ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศ พบกระจายพันธุ์ในทะเลทรายแห้งแล้งของเม็กซิโก เช่น ทะเลทรายโซโนรัน จนถึงกัวเตมาลา ออกหากินในเวลากลางวันทั้งบนพื้นดินและในโพรงดินโดยใช้การรับภาพและฟังเสียงด้วยการเสาะหาเหยื่อ มีนิสัยหากินตามลำพัง ด้วยการกินไข่นกและสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งต่างจากกิล่ามอนสเตอร์ ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้ได้เก่ง เดิมถูกแบ่งออกเป็น 4 ชนิดย่อย แต่ปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็นชนิดต่างหากเมื่อปี..

10 ความสัมพันธ์: กิล่ามอนสเตอร์กิ้งก่ากิ้งก่าลูกปัดวงศ์กิล่ามอนสเตอร์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานอันดับกิ้งก่าและงูทะเลทรายโซนอรันงูพิษ

กิล่ามอนสเตอร์

กิล่ามอนสเตอร์ (Gila monster) เป็นกิ้งก่ามีพิษชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heloderma suspectum พบในเขตทะเลทรายอริโซน่าทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา กิล่ามอนสเตอร์มีความยาวถึงสองฟุต จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศสหรัฐอเมริกา ลำตัวมีลายดำ ชมพู ส้ม และเหลือง อุปนิสัยเชื่องช้า มักหลบในโพรงเป็นส่วนใหญ่ ล่าสัตว์จำพวกหนู นก และไข่ต่าง ๆ เป็นอาหาร กิล่ามอนสเตอร์สามารถผลิตพิษที่มีผลต่อระบบประสาทของเหยื่อ โดยพิษจะส่งเข้าสู่เหยื่อผ่านทางฟันทางกรามล่าง แต่พิษนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตต่อมนุษย์ กิล่ามอนสเตอร์เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการคุ้มครองโดยกฎหมาย ทั้งในท้องถิ่นคือกฎหมายรัฐอริโซน่า และในระดับประเทศคือกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเม็กซิโก ส่วนในระดับนานาชาติกิล่ามอนสเตอร์เป็นสัตว์ในบัญชีหมายเลข ๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยห้ามส่งออกหรือนำเข้าโดยปราศจากใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับในประเทศไทยมีการจัดแสดงในสวนสัตว์ดุสิตในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 ถึงต้นปี พ.ศ. 2555.

ใหม่!!: กิ้งก่าลูกปัดและกิล่ามอนสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่า

กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.

ใหม่!!: กิ้งก่าลูกปัดและกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าลูกปัด

กิ้งก่าลูกปัด หรือ กิ้งก่าลูกปัดเม็กซิกัน (accessdate, Mexican beaded lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกกิ้งก่า จัดเป็นกิ้งก่าที่มีพิษร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง กิ้งก่าลูกปัด มีลักษณะคล้ายกับกิล่ามอนสเตอร์ (H. suspectum) ซึ่งเป็นกิ้งก่าในวงศ์และสกุลเดียวกัน กิ้งก่าลูกปัดและกิล่ามอนสเตอร์ต่างกับสัตว์เลื้อยคลานมีพิษอย่างอื่น เช่น งู ที่มีต่อมพิษที่บริเวณขากรรไกรบนเพื่อที่จะฉีดพิษออกมาใส่ศัตรูหรือเหยื่อด้วยการกัด แต่กิ้งก่าลูกปัดมีต่อมพิษอยู่ที่ด้านล่างของขากรรไกรล่างและไม่สามารถฉีดพิษออกมาได้ จึงต้องฉีดพิษด้วยการเคี้ยวเหยื่อแทน ซึ่งพิษนั้นไม่ร้ายแรงพอที่จะฆ่ามนุษย์ได้ แต่ก็ทำให้เจ็บปวดได้มาก ส่วนหัว ผิวหนัง มีความยาวและใหญ่กว่ากิล่ามอนสเตอร์ มีขนาดโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 57–91 เซนติเมตร (22–36 นิ้ว) น้ำหนักเต็มที่ 4,000 กรัม (8.8 ปอนด์) ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศ พบกระจายพันธุ์ในทะเลทรายแห้งแล้งของเม็กซิโก เช่น ทะเลทรายโซโนรัน จนถึงกัวเตมาลา ออกหากินในเวลากลางวันทั้งบนพื้นดินและในโพรงดินโดยใช้การรับภาพและฟังเสียงด้วยการเสาะหาเหยื่อ มีนิสัยหากินตามลำพัง ด้วยการกินไข่นกและสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งต่างจากกิล่ามอนสเตอร์ ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้ได้เก่ง เดิมถูกแบ่งออกเป็น 4 ชนิดย่อย แต่ปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็นชนิดต่างหากเมื่อปี..

ใหม่!!: กิ้งก่าลูกปัดและกิ้งก่าลูกปัด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กิล่ามอนสเตอร์

วงศ์กิล่ามอนสเตอร์ (Gila monster, Venomous lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Helodermatidae อยู่ในอันดับย่อยกิ้งก่า รูปร่างโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ มีลำตัวป้อม หางป้อมและส่วนปลายมนกลม ซึ่งเป็นอวัยวะเก็บสำรองไขมัน มีต่อมน้ำพิษอยู่ในเนื้อเยื่อตามความยาวของขากรรไกรล่าง ผิวหนังลำตัวหนา เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและด้านข้างเป็นตุ่มกลมและไม่มีกระดูกในชั้นหนังรองรับ แต่เกล็ดด้านท้องเป็นรูปเหลี่ยมและมีขนาดใหญ่กว่าเกล็ดด้านหลังรวมทั้งมีกระดูกในชั้นหนังรองรับ กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวอักษรที (T) ในภาษาอังกฤษ หรือเป็นรูปโค้งและกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม ปล่อยหางหลุดจากลำตัวไม่ได้ พื้นผิวด้านบนของลิ้นเป็นตุ่มยาว ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์มีฟัน มีลำตัวขนาดใหญ่ มีความยาวของลำตัวประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีอยู่เพียงสกุลเดียว คือ Heloderma โดยมีความหมายว่า "ผิวที่เป็นปุ่ม" อันหมายถึงลักษณะผิวหนังของกิ่งก่าในวงศ์นี้ มีที่มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า "hêlos" (ἧλος) หมายถึง "หัว" หรือ "เล็บ" หรือ "ปุ่ม" และ "Derma" (δέρμα) หมายถึง "ผิว" เดิมถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ กิล่ามอนสเตอร์ (H. suspectum) และกิ้งก่าลูกปัด (H. horridum) แพร่กระจายพันธุ์ในทะเลทรายที่แห้งแล้งของสหรัฐอเมริกาจนถึงเม็กซิโกและกัวเตมาลา อาศัยอยู่บนพื้นดินโดยการขุดโพรง แต่สามารถปีนป่ายต้นไม้หรือโขดหินได้เป็นอย่างดี หากินในเวลากลางวันโดยอาศัยการฟังเสียงและรับภาพ มีอุปนิสัยหากินตามลำพัง โดยที่ กิล่ามอนสเตอร์จะกินสัตว์ขนาดใหญ่อย่าง กระต่ายหรือสัตว์ฟันแทะขนาดเล็กด้วย ส่วนกิ้งก่าลูกปัดจะหากินเพียงไข่นกและกิ้งก่าเท่านั้น ทั้ง 2 ชนิดขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ แต่ปัจจุบันได้แบ่งออกอีกเป็น 3 ชนิด รวมเป็น 5 ชนิด คือ กิ้งก่าลูกปัดเชียปัน (H. alvarezi), กิ้งก่าลูกปัดริโอเฟอเต (H. exasperatum) และกิ้งก่าลูกปัดกัวเตมาลัน (H. charlesbogerti).

ใหม่!!: กิ้งก่าลูกปัดและวงศ์กิล่ามอนสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: กิ้งก่าลูกปัดและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: กิ้งก่าลูกปัดและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: กิ้งก่าลูกปัดและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ใหม่!!: กิ้งก่าลูกปัดและอันดับกิ้งก่าและงู · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายโซนอรัน

ทะเลทรายโซนอรัน ใกล้มาริโคปา รัฐแอริโซนา ทะเลทรายโซนอรัน หรือ ทะเลทรายแอริโซนา (Sonoran Desert, Arizona Desert) เป็นทะเลทรายในอเมริกาเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างขายแดนของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ในรัฐแอริโซนาและรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโกอย่าง รัฐโซโนรา รัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย และรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียซูร์ ถือเป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดและร้อนที่สุดในอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ 311,000 ตร.กม.

ใหม่!!: กิ้งก่าลูกปัดและทะเลทรายโซนอรัน · ดูเพิ่มเติม »

งูพิษ

วาดงูสมิงทะเลปากเหลือง (''Laticauda colubrina'') ซึ่งเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงเป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็นเพียงชนิดเดียวที่เป็นงูทะเล งูพิษ คืองูที่มีพิษใช้สำหรับป้องกันตัวจากการถูกคุกคามหรือใช้ล่าเหยื่อ ซึ่งมีฤทธิ์ร้ายแรงแตกต่างออกไปตามชนิด, วงศ์ และสกุล ซึ่งร้ายแรงที่สุดสามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่กว่าให้ตายได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที พิษของงูจะอยู่ที่บริเวณต่อมน้ำพิษ ในบริเวณฟันเขี้ยว ซึ่งใช้ผลิตน้ำพิษ ซึ่งลักษณะของต่อมน้ำพิษและโครงสร้างจะเกี่ยวข้องในการอนุกรมวิธานจำแนกชนิดของงู น้ำพิษของงูนั้นเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของโปรตีนและสารเคมีประเภทอื่น น้ำพิษในแต่ละชนิดเป็นสารประกอบต่างกันและมีน้ำหนักโมเลกุลต่างกันมาก และเป็นกรณีที่ไม่สามารถอธิบายวิวัฒนาการของน้ำพิษได้ชัดเจน รวมทั้งยากต่อการวินิจฉัยประเภทน้ำพิษและการรักษาเมื่อถูกกัด น้ำพิษของงูนั้นแตกต่างกันตั้งแต่เป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กของเพปไทด์ที่มีกรดอะมิโนไม่กี่ชนิดไปจนถึงสารประกอบประเภทเอนไซม์ที่เป็นโมเลกุลเชิงซ้อน หรือเป็นสารประเภทโปรตีนที่ไม่ใช่เอนไซม์และมีน้ำหนักโมเลกุลมาก น้ำพิษของูจำแนกตามลักษณะโครงสร้างของเคมีและผลทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้น เช่น Hemolysin และ Hemorrhagin ทำลายเนื้อเยื่อบุผนังของหลอดเลือดและเซลล์เม็ดเลือดแดง Myotoxin ทำลายกล้ามเนื้อกระดูก Neurotoxin มีผลต่อจุดประสานของเซลล์ประสาทหรือตรงรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับแขนงประสาท เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วน้ำพิษของงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) มีผลต่อประบบประสาทและน้ำพิษของงูในวงศ์งูหางกระดิ่ง (Viperidae) มีผลต่อระบบไหลเวียนและเซลล์เม็ดเลือดแดง อย่างไรก็ตามน้ำพิษของงูทั้ง 2 วงศ์นี้อาจส่งผลต่อทั้ง 2 ระบบก็ได้ โดยทั่วไปแล้วความรุนแรงของพิษงูจะพิจารณาจาก 2 ปัจจัย คือ ความเข้มข้นของพิษ ซึ่งดูจากค่า Lethal Dose 50 (LD50) ที่ได้จากการทดลอง ฉีดพิษงูในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ เข้าไปในเส้นเลือดดำของหนูทดลอง จนถึงระดับที่ทำให้หนูทดลองตายไปครึ่งหนึ่ง โดยค่า LD50 น้อย หมายถึง "พิษรุนแรง" ส่วนอีกปัจจัยคือ ปริมาณของพิษที่งูปล่อยออกมา นอกจากปริมาณพิษจะแตกต่างกันในงูแต่ละชนิดแล้ว ในการกัด งูก็ไม่ได้ปล่อยพิษออกมา เท่ากันทุกครั้ง เนื่องจากการสร้างพิษใหม่ต้องใช้เวลา การปล่อยพิษพร่ำเพรื่อจะทำให้พลาดโอกาสสำคัญในการล่าเหยื่อ หรือเสียท่าพลาดพลั้งให้ศัตรูได้ ในบางครั้งเมื่องูพิษกัดก็อาจจะไม่ได้มีการปล่อยพิษเลยก็ได้ และถึงแม้ว่างูจะถูกตัดคอเหลือแต่ส่วนหัวของงูยังมีชีวิตอยู่อีกเป็นชั่วโมงและสามารถกัดและพ่นพิษได้เช่นกัน สกุล ''Crotalus'' แสดงให้เห็นถึงฟันเขี้ยวขนาดใหญ.

ใหม่!!: กิ้งก่าลูกปัดและงูพิษ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Beaded lizardHeloderma horridumMexican beaded lizardกิ้งก่าลูกปัดเม็กซิกัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »