โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กิเลส

ดัชนี กิเลส

กิเลส (กิเลส; क्लेश เกฺลศ) หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง.

9 ความสัมพันธ์: พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)มานะจิตถีนมิทธะทิฐิโมหะโลภะโทสะเจตสิก

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: กิเลสและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

มานะ

มานะ ๙หมายถึงความยึดถือ อันเกิดจากการปรุงแต่ง คือราคะ(การให้ค่า ตีราคา)ว่าสิ่งต่างๆหยาบ ประณีต หรือเสมอ ทั้งที่สิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา)ดับไปได้ด้วยการมองทุกสรรพสิ่งเป็นดุจความว่าง(สุญญตา)การสิ้นไปของมานะเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า วิร.

ใหม่!!: กิเลสและมานะ · ดูเพิ่มเติม »

จิต

ต (mind) หรือจิตใจ คือ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา ความสำนึก ความมีสติ แต่ความคิดเป็นองค์ประกอบสำคัญของจิตใจที่สามารถรู้เห็นได้ กำกับและควบคุมอย่างชัดเจน บางครั้งจึงใช้คำว่า "ความคิด" แทน มีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่กล่าวถึงการทำงานของจิต ทั้งจากเพลโต อริสโตเติล หรือแม้แต่นักปรัชญาชาวกรีกและอินเดีย ก่อนที่จะมีวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีจะเน้นไปทางปรัชญาหรือศาสนา แต่ทฤษฎีสมัยใหม่ จะอาศัยวิทยาศาสตร์ในการอธิบายการทำงานของสมอง.

ใหม่!!: กิเลสและจิต · ดูเพิ่มเติม »

ถีนมิทธะ

ีนมิทธะ (อ่านว่า ถี-นะ-มิด-ทะ; ถีนมิทฺธ) แปลว่า ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม (ถีนะ ความหดหู่ มิทธะ ความเคลิบเคลิ้ม) หมายถึง อาการที่จิตเกิดความห่อเหี่ยว ท้อแท้ หมดหวัง และเศร้าซึม ง่วงเหงา หาวนอน เป็นเหตุให้เกิดความหมดอาลัย ความเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ปล่อยปละละเลยไปตามยถากรรม จัดเป็น นิวรณ์ คือเครื่องปิดกั้นขัดขวางมิให้บรรลุถึงสมาธิและปิดกั้นสมาธิมิให้เข้าถึงจิต ถีนมิทธะ เกิดจาก อรติ คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน และความเมาอาหาร คืออิ่มเกินไป แก้ได้ด้วยอนุสติ คือระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เป็นต้น ถีนมิทธะ เป็นหนึ่งในนิวรณ์ 5 อันเป็นสิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ทำให้จิตเศร้าหมอง และทำปัญญาให้อ่อนกำลัง ซึ่งมีห้าอย่าง คือ กามฉันทะ, พยาบาท, ถีนมิทธะ, อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉ.

ใหม่!!: กิเลสและถีนมิทธะ · ดูเพิ่มเติม »

ทิฐิ

ทิฐิ (อ่านว่า ทิดถิ) (ทิฏฺฐิ, View) แปลว่า การเห็น ในพระพุทธศาสนาใช้ในความหมายเดียวกับ "มิจฉาทิฐิ" คือการเห็นผิด มี 2 ประการ ได้แก่ สัสสตทิฐิ (การเห็นว่าเที่ยง) อุจเฉททิฐิ (การเห็นว่าขาดสูญ) เป็นต้น หากเป็นการเห็นถูก (Right View) เรียกว่า สัมมาทิฐิ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ ปัญญา หรือ การเห็นตรง หรือ ทิฐิวิสุทธิ ซึ่งหมายถึงความรู้เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง ว่าเป็นองค์ประชุมของนามรูป มีเกิด ดับ เปลี่ยนแปลง ไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวตนเป็นสัตว์บุคคลได้ เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดไม่หลงเพลิดเพลินโลก นอกจากนี้ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าความอวดดื้อถือดี ความดื้อรั้น ความตะแบงทั้งที่รู้ว่าผิดแต่ไม่ยอมรับและไม่ยอมแก้ไข เช่นที่ใช้ว่า "เขามีทิฐิมาก ไม่ยอมลงใคร" ทิฐิมานะของเขาทำให้เขาเข้ากับใครไม่ได้เลยในที่ทำงาน".

ใหม่!!: กิเลสและทิฐิ · ดูเพิ่มเติม »

โมหะ

มหะ (Moha) แปลว่า ความหลง ความเขลา ความโง่ หมายถึงความไม่รู้ตามที่เป็นจริง เป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งได้แก่อวิชชา นั่นเอง โมหะ เกิดจากความคิดเห็นที่ผิด จากการไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้ประจักษ์ในเรื่องนั้นๆ ให้ถ่องแท้ถี่ถ้วนก่อน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุให้ไม่รู้บุญไม่รู้บาป ไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาป ชักนำให้ไปทำความชั่วความไม่ดีต่างๆ เช่น ประมาท ทะเลาะวิวาท แก่งแย่งชิงดี อวดดี เกียจคร้าน บ้ากาม อกตัญญู เชื่อง่าย หูเบา โมหะ กำจัดได้ด้วยปัญญา คือใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นประจักษ์ในสิ่งนั้นๆ โมหะ ในคำไทยนำมาใช้ว่า โมโห ซึ่งมีความหมายเพี้ยนไปว่าโกรธ โมหะ เป็นอาการที่รู้ไม่เท่าทันถึงสภาวธรรมที่แท้จริงของอารมณ์ที่เข้ากระทบกับจิต ทำให้เกิดความวิปริต เห็นผิดไปจากสภาวธรรมที่แท้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ในทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ทั้งสี.

ใหม่!!: กิเลสและโมหะ · ดูเพิ่มเติม »

โลภะ

ลภะ แปลว่า ความโลภ ความอยากได้ เป็นเป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ 3 อย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ โลภะ เกิดจากตัณหาคือความทะยานอยากได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตหิวโหยอยากได้ เกิดความดิ้นรน อยู่ไม่เป็นสุข หากหยุดยั้งไม่ได้ก็จะเป็นต้นเหตุให้ดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่อยากได้มาสนองความต้องการ หรือเมื่อไม่ได้โดยวิธีชอบธรรมก็นำให้ไปทำความชั่วความไม่ดีงามต่าง ๆ เช่น ลักขโมย ทุจริต คอรัปชั่น โกง ปล้น จนถึงฆ่าคนตาย โลภะ เป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งปวง คือเป็นตัวทำลายศีลธรรม มโนธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม สามัคคีธรรม ยุติธรรมและธรรมชาติ โลภะ ละได้ด้วยการให้ทาน การเสียสละ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ ---- กลุ่มโลภะ ธรรมฝ่ายชั่วนี้มี 3 อย่าง คือ.

ใหม่!!: กิเลสและโลภะ · ดูเพิ่มเติม »

โทสะ

ทสะ (dosa; Dvesha) แปลว่า ความโกรธ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ เป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ทั้ง 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ โทสะ เกิดจากมานะคือความถือตัวถือตน ความรู้สึกว่าตัวเด่นกว่าเขา ตัวด้อยกว่าเขา หรือตัวเสมอกับเขา เมื่อถูกกระทบเข้าก็เกิดความไม่พอใจ เกิดโทสะขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วหากระงับไม่ได้ก็จะนำให้ทำความชั่วความไม่ดีต่างๆ เช่น ทะเลาะวิวาทกัน กลั่นแกล้งกัน ทำร้ายกัน ฆ่ากัน เป็นเหตุให้ตัวเองเดือดร้อน โลกก็เร่าร้อน ขาดสันติภาพ อยู่กันอย่างเดือดร้อน หวาดระแวงกันและกัน โทสะ กำจัดได้โดย เมตตา คือการมีความรักปรารถนาดีต่อกัน.

ใหม่!!: กิเลสและโทสะ · ดูเพิ่มเติม »

เจตสิก

ตสิก (อ่านว่า เจตะสิก) (cetasika; caitasika) แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต มีลักษณะที่เกิดดับพร้อมกับจิต เป็นอารมณ์ของจิต มีวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต เป็นกฎเกณฑ์ให้ประกอบเป็นจิต เจตสิกแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ (คือความแปรปรวนทางนามธาตุ) สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ (เปรียบเช่นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จดจำการแก้ทุกขัง) เจตสิกที่เหลืออีก 50 เป็น สังขารขันธ์ (ได้แก่นามธาตุต่างๆมีสภาวะเป็นข้อมูล ที่เป็นกฎเกณฑ์ให้เป็นไปทั่วของจิต อันเป็นดุจรหัสพันธุ์กรรมของจิต) เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ.

ใหม่!!: กิเลสและเจตสิก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »