โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การแพทย์เฉพาะทาง

ดัชนี การแพทย์เฉพาะทาง

การแพทย์เฉพาะทาง เป็นสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งหลังจากนักศึกษาแพทย์สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนแพทย์ แพทย์ที่เรียนจบอาจเลือกศึกษาต่อในสาขาเฉพาะทางโดยสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านตามสถาบันที่เปิดรับสมัคร และหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็น แพทย์เฉพาะทาง (Medical specialist) ในสาขาที่ศึกษาม.

36 ความสัมพันธ์: พยาธิกายวิภาคพยาธิวิทยาพิษวิทยากุมารเวชศาสตร์รังสีวิทยาวิสัญญีแพทย์วิทยาการระบาดวิทยามะเร็งวิทยาทางเดินอาหารวิทยาต่อมไร้ท่อศัลยศาสตร์ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างสูติศาสตร์หทัยวิทยาอาชีวเวชศาสตร์อายุรศาสตร์จักษุวิทยาจิตเวชศาสตร์ตัจวิทยาประสาทวิทยาประสาทศัลยศาสตร์นรีเวชศาสตร์นักศึกษาแพทย์นิติเวชศาสตร์แพทยศาสตรบัณฑิตแพทยศาสตร์แพทย์แพทย์ประจำบ้านโรคติดเชื้อโลหิตวิทยาโสตศอนาสิกวิทยาเภสัชวิทยาเวชศาสตร์ฟื้นฟูเวชศาสตร์ฉุกเฉินเวชศาสตร์ป้องกัน

พยาธิกายวิภาค

วิทยากายวิภาค (Anatomical Pathology) เป็นวิชาว่าด้วยการเรียนรู้ร่างกายของมนุษย์โดยละเอียด เพื่อใช้วิเคราะห์สาเหตุแห่งความตายว่าเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บทั่วไป อาวุธประเภทใด ภาวะความผิดปกติของร่างกายหรือบาดแผลตามร่างกายอาจใช้บ่งบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังความตาย สิ่งที่ทำให้เกิดความตาย เช่น ตายก่อนจมน้ำ หรือ จมน้ำตาย โดนวางยาหรือฆ่าตัวตายเอง เป็นต้น ลักษณะทางกายภาพของศพจะช่วยบอกเริ่มต้นว่าเป็นการตายธรรมดาหรือฆาตกรรม อันนำไปสู่การพิสูจน์ค้นหาผู้กระทำความผิดและนำไปลงโทษโดยตำรวจ นักนิติพยาธิวิทยากายวิภาค (FORENSIC PATHOLOGY) จึงต้องมีความเชี่ยวชาญด้านกายภาพ พยาธิสภาพ ลักษณะโรคและบาดแผลที่ทำให้เกิดบาดเจ็บหรือตาย เพราะความเห็นของพวกเขาจะเป็นประโยชน์ต่อตำรวจในการแยกแยะคดีอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่มักจะเป็นพยาธิแพทย์ด้านนิติเวชศาสตร์ซึ่งกฎหมายกำหนดหน้าที่ในการให้ความเห็นสาเหตุและพฤติการณ์ของการตายของเหยื่อไว้ ปัจจุบันแพทย์ด้านนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการระบุสาเหตุและพฤติการณ์การตาย จากนั้นจึงนำไปสู่การพิสูจน์ยืนยันความเห็นนั้นด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สาขาอื่นได้ นอกจากนั้นศาสตร์ด้านพยาธิวิทยากายวิภาคยังเน้นความรู้ด้านการบ่งชี้ความปกติหรือไม่ปกติของศพ เพศ เนื่องจากบางครั้งศพอาจอยู่ในสภาพเน่าเปื่อย มีแค่โครงกระดูก ยากจะบอกเบื้องต้นได้ว่าคนตายเป็นเพศใด อายุเท่าไร สาเหตุการตายจากโรค สารเคมี บาดแผลในหรือนอกร่างกาย นักพยาธิวิทยากายวิภาคจะเป็นผู้ชี้ชัดได้ว่า ศพเป็นเพศชายหรือหญิง ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศหรือไม่ มีการเสริมแต่งส่วนใดในร่างกายที่มิใช่ธรรมชาติ โครงกระดูกบอกได้ว่าเป็นเพศชายหรือหญิง โดยอาจดูจากโหนกคิ้ว กระดูกเชิงกราน ก็ได้ ล้วนเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้พนักงานสอบสวนนำไปใช้สืบหาสาเหตุการตายและพยานหลักฐานต่อไปเพื่อนำผู้กระทำความผิดไปลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและพยาธิกายวิภาค · ดูเพิ่มเติม »

พยาธิวิทยา

วิทยา เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิตเนื่องจากมีคำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology) ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพท.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและพยาธิวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พิษวิทยา

ษวิทยา (Toxicology มาจากคำว่า toxicos และ logos ในภาษากรีก) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของสารพิษที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีววิทยาของสิ่งมีชีวิต อาการพิษ กลไกการเกิดพิษ วิธีการรักษา และการตรวจสอบความเป็นพิษของสาร.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและพิษวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

กุมารเวชศาสตร์

การตรวจร่างกายเด็ก กุมารเวชศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางการแพทย์แก่ทารก, เด็ก, และวัยรุ่น กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 14-18 ปีขึ้นกับเกณฑ์ของแต่ละสถานที่และประเทศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์จะเรียกว่า กุมารแพทย์ (pediatrician) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และแพทย์ประจำบ้านด้านกุมารเวชศาสตร์ แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพทยสภา คำว่า pediatrics มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก παῖdh pais แปลว่าเด็ก และ ἰατρός iatros แปลว่าแพทย์หรือผู้รักษา เมื่อรวมกันจึงแปลว่า ผู้ที่รักษาเด็ก สำหรับในภาษาไทย "กุมาร" หมายถึง เด็กเล็ก ซึ่งมาจากภาษาบาลี หมายถึง "เด็กผู้ชาย" หรือ "บุตรชาย".

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและกุมารเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รังสีวิทยา

''Dr. Macintyre's X-Ray Film'' (1896) รังสีวิทยา (Radiology)เป็นสาขาทางการแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่งทีส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสร้างภาพในส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคโดยอาศัยเครื่องมือ พิเศษต่างๆในทางการแพทย์โดยเฉพาะการใช้ รังสีเอกซ์ (x-ray) รังสีแกมมา (Gamma ray)จากสารกัมมันตภาพรังสีคลื่นเสียง คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound)คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Nuclear Magnetic Resonance Imaging)เป็นต้น และ/หรือใช้ในการรักษาก็ได้ แพทย์เฉพาะทางที่อยู่ในสาขานี้เรามักเรียกกันว่า รังสีแพทย์ โดยทั่วไปบุคคลใดที่ต้องการจะเป็นรังสีแพทย์ต้องเรียนจบได้รับ ปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต ตามกฎของแพทย์สภาเสียก่อนจึงจะสามารถมาขอสมัครเข้ารับการศึกษาต่อในสาขาวิชานี้ได้ โดยใช้เวลาศึกษาต่ออีก 3 ปี ในกรณีที่เป็นแพทย์ประจำบ้านหรือที่เรามักเรียกกันว่า residency training และสามารถศึกษาต่อยอดเป็นอนุสาขาหรือที่เรียกว่า fellowship training ได้อีก 1-2 ปี แล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและรังสีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

วิสัญญีแพทย์

วิสัญญีแพทย์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน)) คือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้ยาชาและยาสลบ โดยมักทำงานร่วมกับแพทย์ผ่าตัดเพื่อระงับความรู้สึกเจ็บปวดของคนไข้ก่อนทำการผ่าตัดเพียงชั่วคราว ผู้ที่จะเป็นวิสัญญีแพทย์ได้ต้องจบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตก่อน แล้วจึงจะมาต่อเฉพาะทาง สาขาวิสัญญีวิทยา ใช้เวลาศึกษาประมาณ3ปี ส่วนพยาบาลก็สามารถเรียนรู้ฝึกทักษะเกี่ยวกับวิสัญญีวิทยาได้ โดยการฝึกเป็นวิสัญญีวิทยา ใช้เวลาในการศึกษษประมาณ1ปีและทำงานภายในการควบคุมดูแลของวิสัญญีแพทย์ หมวดหมู่:อาชีพ หมวดหมู่:วิสัญญีวิทยา หมวดหมู่:แพทย์เฉพาะทาง หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง หมวดหมู่:วิสัญญีแพทย์ sl:Anesteziolog.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและวิสัญญีแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการระบาด

วิทยาการระบาด เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชากร และเป็นพื้นฐานและตรรกะที่ทำให้เกิดแนวคิดความสนใจในสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน สาขาวิชานี้วิธีที่สำคัญพื้นฐานของงานวิจัยด้านสาธารณสุข และเกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์อิงหลักฐาน (evidence-based medicine) ในการหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด งานของนักวิทยาการระบาดที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ มีขอบเขตตั้งแต่การสืบค้นการระบาดของโรค (outbreak investigation) ไปจนถึงการออกแบบการศึกษา การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและการเตรียมผลการวิจัยเพื่อเสนอผลการวิจัย นักวิทยาการระบาดอาจอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเช่นชีววิทยาในการทำความเข้าใจการดำเนินโรค และระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร๋ เช่นสังคมศาสตร์และปรัชญาเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงและไกล.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและวิทยาการระบาด · ดูเพิ่มเติม »

วิทยามะเร็ง

วิทยามะเร็ง หรือ วิทยาเนื้องอก (Oncology) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเนื้องอกหรือมะเร็ง และเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเจริญ, การวินิจฉัย, การรักษา และการป้องกันมะเร็ง รากศัพท์ของคำว่า oncology มาจากภาษากรีก onkos (ογκος) หมายถึงก้อนหรือเนื้องอก และ -ology ซึ่งหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยามะเร็งนั้นจะเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นกายภาพบำบัด, จิตบำบัดหรือการให้คำปรึกษา, พันธุศาสตร์คลินิก ในทางกลับกันแพทย์นั้นต้องประสานงานกับพยาธิแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติของเนื้องอกเพื่อช่วยในการรักษา วิทยามะเร็งเกี่ยวข้องกั.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและวิทยามะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาทางเดินอาหาร

วิทยาทางเดินอาหาร (Gastroenterology) เป็นสาขาของแพทยศาสตร์ซึ่งศึกษาระบบย่อยอาหารและความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร สาขาของการแพทย์เฉพาะทางนี้เน้นถึงโรคของระบบย่อยอาหารรวมพยาธิสภาพตั้งแต่ปากไปจนถึงทวารหนัก แพทย์เฉพาะทางที่ศึกษาด้านนี้เรียกว่า อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร (Gastroenterologist) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต แพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านโรคระบบทางเดินอาหาร วิทยาตับ (Hepatology) เน้นถึงการศึกษาตับ ตับอ่อน และทางเดินน้ำดี เป็นสาขาย่อยของวิทยาทางเดินอาหาร หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและวิทยาทางเดินอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาต่อมไร้ท่อ

วิทยาต่อมไร้ท่อ (endocrinology; มาจากภาษากรีกโบราณ ἔνδον, endon, "ภายใน"; κρίνω, krīnō, "แยก"; และ -λογία, -logia) เป็นสาขาหนึ่งของชีววิทยาและแพทยศาสตร์ว่าด้วยระบบต่อมไร้ท่อ โรคของระบบต่อมไร้ท่อ และการหลั่งสิ่งที่เรียก ฮอร์โมน นอกจากนี้ยังศึกษาบูรณาการและการเจริญ การเพิ่มจำนวน การเติบโตและการเปลี่ยนไปทำหน้าที่เฉพาะ (differentiation) และกัมมันตภาพทางจิตวิทยาหรือพฤติกรรมของเมแทบอลิซึม การเจริญเติบโต การทำหน้าที่ของเนื้อเยื่อ การหลับ การย่อย การหายใจ การขับถ่าย อารมณ์ ความเครียด การหลั่งน้ำนม การเคลื่อนไหว การสืบพันธุ์และการรับรู้สัมผัสที่เกิดจากฮอร์โมน สาขาเฉพาะทางได้แก่ วิทยาต่อมไร้ท่อพฤติกรรมและวิทยาต่อมไร้ท่อเปรียบเทียบ ระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยหลายต่อมในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงโดยไม่ผ่านระบบท่อ ฮอร์โมนมีหน้าที่และกลไกการออกฤทธิ์หลายอย่าง ฮอร์โมนชนิดหนึ่งมีผลหลายอย่างต่ออวัยวะเป้าหมาย และในทางกลับกัน อวัยวะเป้ามายหนึ่งอาจได้รับผลจากฮอร์โมนมากกว่าหนึ่งชนิด หมวดหมู่:ระบบต่อมไร้ท่อ.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและวิทยาต่อมไร้ท่อ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์

ต้นไม้บนหน้าปกหนังสือ ''Orthopaedia'' ของนิโกลาส์ แอนดรี หรือที่รู้จักว่า ต้นไม้ของแอนดรี (Andry tree) นิยมใช้เป็นสัญลักษณ์สากลของวิชาออร์โทพีดิกส์ ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ หรือ ออร์โทพีดิกส์ (Orthopedic surgery, Orthopaedic surgery, Orthopedics, Orthopaedics) (โดยทั่วไปมักสะกดว่า ออร์โธปิดิกส์ หรือ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งในประเทศไทยแบ่งสาขาวิชาย่อยดังนี้.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง

ัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง หรือ ศัลยกรรมตกแต่ง (Reconstructive surgery) เป็นสาขาย่อยของศัลยกรรมพสาสติก ซึ่งเน้นไปทางด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายเพื่อความสวยงาม เช่นการศัลยกรรมใบหน้า การผ่าตัดขยายขนาดเต้านม เป็นต้น ทำโดยศัลยแพทย์พลาสติก เมื่อพูดถึงการศัลยกรรมความงามบนใบหน้า การเสริมจมูกและการทำตาสองชั้นเป็นการทำศัลยกรรมที่ท๊อปฮิตที่สุด ที่สาวไทยนิยมทำกันมากที่สุด ปัจจุบันนิยมหันมาทำสัลยกรรมมากขึ้น มีข้อมูลข่าวสาร การรับรู้เกี่ยวกับการทำศัลยกรรมเผยแพร่ออกไปสู่ผู้หญิงมากขึ้น จึงทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่รักสวยรักงาม อยากให้ตัวเองดูน่าสนใจ และหันมาทำศัลยกรรม รวมถึงได้รับอิทธิพลจากการเสริมความงามในต่างประเทศ เช่น ประเทศเกาหลี แต่แท้จริงแล้ว การทำศัลยกรรมตกแต่งในประเทศไทยกับประเทศเกาหลีนั้นก็ไม่แตกต่างกัน โดยเฉพาะวิธีการและขั้นตอนในการผ่าตัด แต่สิ่งที่ต่างกันจะเป็นเรื่องของโครงสร้าง รูปร่าง และใบหน้าของผู้ที่มาทำศัลยกรรมมากกว่า การทำศัลยกรรม (Plastic surgery) แม้ว่าจะมีอยู่โดยทั่วไปทุกหนแห่งแล้ว แต่ผู้ที่ต้องการจะทำต้องรู้จักเลือกว่า โรงพยาบาลแห่งใดบ้างที่มีหมอมืออาชีพ (Professionnal doctor) ที่ทำให้มั่นใจได้ เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ เมื่อการทำศัลยกรรมผิดพลาด หรือ When plastic surgery gone wrong ดังนั้น การชั่งใจและการเลือกสถานที่จึงมีความจำเป็นระดับต้นๆ สำหรับผู้ที่ต้องการเสริมความงามดังกล่าว.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง · ดูเพิ่มเติม »

สูติศาสตร์

ูติศาสตร์ (Obstetrics; มาจากภาษาละติน obstare การเตรียมพร้อม) เป็นศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการดูแลผู้หญิงและทารกระหว่างการตั้งครรภ์, การคลอด, และระยะหลังคลอด ส่วนการผดุงครรภ์ (Midwifery) นั้นจะไม่อาศัยทักษะการศัลยศาสตร์ สูติแพทย์ส่วนมากมักจะเป็นแพทย์นรีเวชวิทยาด้วย ดูที่สูตินรีเวชวิทยา (Obstetrics and gynaecology) ระยะการตั้งครรภ์โดยเฉลี่ยของมนุษย์คืออายุครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 38 สัปดาห์นับจากวันปฏิสนธิ แบ่งออกเป็นสามไตรม.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและสูติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

หทัยวิทยา

หทัยวิทยา (cardiology) คือ การแพทย์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งจะมีทั้งการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart defect: CHD) โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) และ ระบบไฟฟ้าของหัวใจ (electrophysiology) แพทย์เฉพาะทางที่ศึกษาด้านนี้เรียกว่า นักหทัยวิทยา หรือ หทัยแพทย์ (cardiologist) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต แพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านโรคหัวใ.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและหทัยวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

อาชีวเวชศาสตร์

อาชีวเวชศาสตร์ (occupational medicine) เป็นวิชาการแพทย์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทำงาน วิชาอาชีวเวชศาสตร์นี้ ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงาน แต่เนื่องจากปัญหาโรคจากการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ป้องกันได้ องค์ความรู้ของวิชานี้ในปัจจุบันจึงเน้นหนักไปทางการป้องกันโรคเป็นหลัก และวิชาอาชีวเวชศาสตร์ถูกจัดว่าเป็นแขนงหนึ่งของวิชาเวชศาสตร์ป้องกันด้วย แพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้นเรียกว่าแพทย์อาชีวเวชศาสตร.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและอาชีวเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์ (เรียกย่อๆ ว่า medicine) เป็นสาขาหนึ่งของการแพทย์เฉพาะทางซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน การวินิจฉัยและการรักษาโรคและความผิดปกติในร่างกายผู้ใหญ่ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางอายุรศาสตร์ว่า อายุรแพทย์ (internists) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ได้ผ่านการสอบเพื่อประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาอายุรศาสตร์ และได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ หรือสาขาต่างๆทางอายุรศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพท.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและอายุรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักษุวิทยา

การใช้กล้องจักษุจุลทรรศน์ (Slit lamp) ตรวจตาในคลินิกจักษุวิทยา จักษุวิทยา (Ophthalmology) เป็นสาขาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และโรคของตา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเรียกว่า จักษุแพทย์ ซึ่งต้องผ่านการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านจักษุวิทยา และสอบผ่านวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจักษุวิทยาจากราชวิทยาลัยจักษุแพท.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและจักษุวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตเวชศาสตร์

ตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต ต่างกับ คำว่า จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ อาการบกพร่องทางจิต มีความหมายตามแนวความคิดที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นอาการที่เกิดจากความบกพร่องจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนาสมองที่ถูกกำหนดจากยึน และสภาพแวดล้อม.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและจิตเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัจวิทยา

ตจวิทยา (dermatology) เป็นสาขาหนึ่งในวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวกับผิวหนังและตจโทษRandom House Webster's Unabridged Dictionary. Random House, Inc.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและตัจวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทวิทยา

Jean-Martin Charcot ประสาทวิทยา (Neurology) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาท กล่าวคือเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาโรคที่จัดว่าเกี่ยวข้องกับระบบประสาทกลาง, ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และระบบประสาทอิสระ รวมทั้งหลอดเลือด เนื้อเยื่อปกคลุม และอวัยวะที่ประสาทสั่งการ เช่น กล้ามเนื้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาจะได้รับการฝึกเพื่อการสืบค้น, การวินิจฉัย และรักษาความผิดปกติของระบบประสาท.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและประสาทวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทศัลยศาสตร์

ประสาทศัลยศาสตร์ (neurosurgery, neurological surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่งทางศัลยศาสตร์ ดูแลเกี่ยวกับการป้องกัน วินิจฉัย รักษา ฟื้นฟูโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท รวมถึงสมอง ไขสันหลัง กระดูกสันหลัง เส้นประสาทส่วนปลาย และระบบหลอดเลือดสมองนอกกะโหลกศีรษะด้วย * หมวดหมู่:ศัลยกรรมเฉพาะทาง หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและประสาทศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นรีเวชศาสตร์

นรีเวชศาสตร์ หรือ นรีเวชวิทยา หรือ วิทยาเพศหญิง (gynaecology, gynecology) หมายถึงศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เช่น มดลูก ช่องคลอดและรังไข่ แพทย์นรีเวชวิทยาส่วนมากมักเป็นสูติแพทย์ด้วย ดูที่สูตินรีเวชวิทยา (Obstetrics and gynaecology) สำหรับในทางสัตวแพทยศาสตร์ จะเรียกสาขาวิชานี้ว่า เธนุเวชวิท.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและนรีเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นักศึกษาแพทย์

นักศึกษาแพทย์ นักเรียนแพทย์ หรือ นิสิตแพทย์ คือบุคคลซึ่งศึกษาในโรงเรียนแพทย์ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นแพทย์ การศึกษาในชั้นนี้นับว่าเป็นขั้นแรกสุดของลำดับการศึกษาในวิชาชีพแพท.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและนักศึกษาแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

นิติเวชศาสตร์

นิติเวชศาสตร์ (Forensic Medicine) มาจากคำว่า "Forensic" ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายความถึงข้อตกลงที่มีการพิพาทกันทางกฎหมาย และคำว่า "Medicine" หมายถึงวิชาทางด้านการแพทย์ ซึ่งหมายความรวมถึงแพทย์ศาสตร์หรือเวชศาสตร์อีกด้วย นิติเวชศาสตร์เริ่มมีการเรียนการสอนครั้งแรกในประเทศไทย ปี..

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและนิติเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตรบัณฑิต

แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) เป็นหลักสูตรในการศึกษาสาขาวิชาแพทยศาสตร์ ในประเทศไทยเทียบเท่าปริญญาตรี แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เทียบเท่าปริญญาเอก (Professional Doctorate) ผู้ที่จะเข้าศึกษา Doctor of Medicine (MD)ในประเทศสหรัฐอเมริกาต้องจบปริญญาตรีก่อน จึงจะสามารถเข้าศึกษาแพทยศาสตร์ได้ แพทยศาสตรบัณฑิต หมวดหมู่:แพทยศาสตรศึกษา.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและแพทยศาสตรบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์

แพทย์ (physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์ประจำบ้าน

แพทย์ประจำบ้าน (residency) เป็นลำดับขั้นหนึ่งของการศึกษาหลังปริญญาของแพทยศาสตรศึกษา แพทย์ประจำบ้านเป็นผู้ที่ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตแล้วและกำลังปฏิบัติงานด้านการแพทย์เฉพาะทางภายใต้การควบคุมของอาจารย์แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์การศึกษาของแพทย์ประจำบ้านต่างๆ การศึกษาในระดับแพทย์ประจำบ้านมักต้องผ่านการเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะหรือแพทย์ใช้ทุน (internship) มาก่อน หรืออาจผนวกระยะของแพทย์เพิ่มพูนทักษะเป็นชั้นปีแรกของการศึกษาระดับแพทย์ประจำบ้านก็ได้ หลังจากการศึกษาระดับนี้แล้วผู้เรียนมักศึกษาต่อเป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (fellowship) เพื่อศึกษาการแพทย์เฉพาะทางย่อยต่อไป แม้ว่าโรงเรียนแพทย์จะได้สอนแพทย์ให้รู้กว้างขวางเกี่ยวกับความรู้ทางการแพทย์ทั่วไป ทักษะทางคลินิกพื้นฐาน และประสบการณ์ทางการแพทย์ก็ตาม แต่การศึกษาของแพทย์ประจำบ้านนี้จะฝึกในเชิงลึกเกี่ยวกับการแพทย์เฉพาะทาง อันได้แก่ วิสัญญีวิทยา อายุรศาสตร์ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา กุมารเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู รังสีวิทยา ศัลยศาสตร์ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน นิติเวชศาสตร์ พยาธิวิทยา ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ เป็นต้น หลักสูตรในประเทศไทยของแพทย์ประจำบ้านนั้นโดยทั่วไปมักมีระยะเวลาประมาณ 3-5 ปีตามแต่ละสถาบันและแต่ละสาขาวิชา หลังจากนั้นต้องเข้าสอบเพื่อรับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากราชวิทยาลัยต่างๆ ตามสาขาของแพทย์เฉพาะทางนั้น.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและแพทย์ประจำบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

โลหิตวิทยา

ลหิตวิทยา เป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงสาเหตุ, การวินิจฉัย, การรักษา, การติดตามผล และการป้องกันโรคทางเลือด ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากผลิตภัณฑ์และองค์ประกอบของเลือดที่ผิดปกติ เช่น จำนวนเม็ดเลือด โปรตีนในเลือด หรือ กระบวนการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติไป เป็นต้น.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและโลหิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

โสตศอนาสิกวิทยา

ตศอนาสิกวิทยา เป็นแขนงหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู, จมูก, กล่องเสียงหรือช่องคอ, ศีรษะและคอ ในบางครั้งอาจเรียกย่อได้ว่า อีเอ็นที (ENT; ear, nose and throat: หู จมูก และคอ) จากรากศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตแปลได้ว่า การศึกษาหู คอ และจมูก รากศัพท์ของ "Otolaryngology" มาจากภาษากรีก ωτολαρυγγολογία (oto.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและโสตศอนาสิกวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชวิทยา

ัชวิทยา (Pharmacology) เป็นศาสตร์สาขาของชีววิทยา ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยา, การได้มาของยา ทั้งจากที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ ธรรมชาติ หรือแม้แต่โมเลกุลภายในร่างกายมนุษย์เอง ซึ่งส่งผลชีวเคมีหรือสรีรวิทยาต่อเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือจุลชีพ (ในบางครั้ง คำว่า ฟาร์มาคอน ก็ถูกนำมาใช้แทนที่เพื่อให้มีนิยามครอบคลุมสารภายในและภายนอกร่างกายที่ทำให้ผลทางชีวภาพเหมือนกับยา) แต่ถ้ากล่าวให้จำเพาะมากขึ้นแล้ว เภสัชวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตและสารคเมีที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติและปรับสมดุลการทำงานทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งหากสารเคมีใดที่มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค อาจถือได้ว่าสารเคมีนั้นจัดเป็นยา การศึกษาด้านเภสัชวิทยานั้นครอบคลุมองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างๆของยา การสังเคราะห์และการออกแบบยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาทั้งในระดับโมเลกุลและระดับเซลล์ ผลของยาต่ออวัยวะและระบบต่างๆของร่างกาย ระบบการรับส่งสัญญาณการสื่อสารระดับเซลล์ การวินิจฉัยระดับโมเลกุล อันตรกิริยา พิษวิทยา ชีววิทยาของเซลล์ การบำบัดรักษา การประยุกต์ใช้ยาทางการแพทย์ และความสามารถในการต้านทานการเกิดโรคของยา ทั้งนี้ การศึกษาด้านเภสัชวิทยามุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นหลัก คือ เภสัชพลศาสตร์ และเภสัชจลนศาสตร์ โดยเภสัชพลศาสตร์จะเป็นการศึกษาถึงผลของยาต่อระบบชีวภาพต่างๆของสิ่งมีชีวิต ส่วนเภสัชจลนศาสตร์ จะศึกษากระบวนการการตอบสนองหรือการจัดการของระบบภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อยา หากกล่าวสรุปแล้ว เภสัชพลศาสตร์จะอภิปรายได้ถึงผลของยาต่อร่างกาย และเภสัชจลนศาสตร์จะกล่าวถึงการดูดซึมยา การกระจาย การเปลี่ยนแปลงยา และการกำจัดยาของร่างกาย (ADME) ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่า เภสัชวิทยา และเภสัชศาสตร์ เป็นคำพ้องซึ่งกันและกัน แต่โดยรายละเอียดของศาสตร์ที่งสองแล้ว มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว เภสัชวิทยาจั้นจัดเป็นชีวเวชศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการวิจัย การค้นคว้า และการจำแนกสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ การศึกษาการทำงานของเซลล์และจุลชีพที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม เภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษาทางวิชาชีพบริการทางสุขภาพที่มุ่งเน้นการปรับประยุกตฺใช้หลักการและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาทางเภสัชวิทยามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรค ดังนั้น ความแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองศาสตร์ คือ ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยโดยตรงโดยการปฏิบัติด้านเภสัชกรรม และสาขาการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ที่ขับเคลื่อนโดยเภสัชวิทยา ต้นกำเนิดของการศึกษาทางเภสัชวิทยาคลินิกเกิดขึ้นในยุคกลาง ตามที่มีการบันทึกไว้ในตำราการแพทย์ The Canon of Medicine ของอิบน์ ซีนา, Commentary on Isaac ของปีเตอร์ ออฟ สเปน, และ Commentary on the Antedotary of Nicholas ของจอห์น ออฟ เซนต์ แอมานด์ โดยเป็นศาสตร์ที่มีฐานรากมาจากการศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์ของวิลเลียม วิเธอริง แต่เภสัชวิทยาในฐานะศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใดนักจนกระทั่งในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่มีการฟื้นตัวของศาสตร์ชีวการแพทย์แขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยในช่วงต้นคริสต์สตวรรษที่ 19 นั้น ความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะและความแรงของยาต่างๆ เช่น มอร์ฟีน, ควินีน และดิจิทาลลิส นั้นยังมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก รวมไปถึงมีการกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติและสัมพรรคภาพของสารเคมีบางชนิดต่อร่างกายและเนื้อเยื่อที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเภสัชวิทยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่ทำให้มีการจัดตั้งแผนกเภสัชวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและเภสัชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

วชศาสตร์ฟื้นฟู หรืองานเวชกรรมฟื้นฟู จัดว่าเป็น 1 ใน 4 พันธกิจทางการแพทย์ ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก (ได้แก่ "ส่งเสริมสุขภาพ - ป้องกันโรค - รักษาโรค - ฟื้นฟูสมรรถภาพ) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Rehabilitation medicine หรือ Physical medicine and rehabilitation (PM&R) หรือ Physiatry (อ่านว่า ฟิส-ซาย-เอ-ตรี้) ก็ได้ งานเวชศาสตร์ฟื้นฟูเอง ก็คือการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical rehabilitation) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆด้านของการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งหมด ขึ้นกับบุคคลนั้นต้องการให้ฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านใด ณ ที่นี้ ยกตัวอย่างการฟื้นฟูด้านอื่นๆ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (Vocational rehabilitation) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (Educational rehabilitation) เป็นต้น งานเวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นงานที่ท้าทายและเป็นที่รู้จักสนใจในวงกว้าง เนื่องจากสามารถบ่งบอกถึงการเอาใจใส่จากภาครัฐได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ป่วยที่มีรับการฟื้นฟูนั้น ย่อมเป็นผู้พิการ หรือ ผู้ที่มีสมรรถภาพทางร่างกายไม่ดีนัก แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ในประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไรนัก ทั้งในระดับนโยบาย ระดับโรงพยาบาล และในประชาชนทั่วไป.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและเวชศาสตร์ฟื้นฟู · ดูเพิ่มเติม »

เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

วชศาสตร์ฉุกเฉิน (แพทยศาสตร์) หรือ การแพทย์ฉุกเฉิน (นิติศาสตร์) (emergency medicine) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่มุ่งเน้นการวินิจฉัยและรักษาความเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่เกิดฉับพลันและต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและเวชศาสตร์ฉุกเฉิน · ดูเพิ่มเติม »

เวชศาสตร์ป้องกัน

วชศาสตร์ป้องกัน (preventive medicine) หรือมาตรการป้องกันโรค (prophylaxis) ประกอบด้วยมาตรการทีี่ใช้สำหรับป้องกันโรค ซึ่งตรงข้ามกับการรักษาโรคHugh R. Leavell and E. Gurney Clark as "the science and art of preventing disease, prolonging life, and promoting physical and mental health and efficiency.

ใหม่!!: การแพทย์เฉพาะทางและเวชศาสตร์ป้องกัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Medical specialitiesแพทย์เฉพาะทาง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »