โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเห็นภาพซ้อน

ดัชนี การเห็นภาพซ้อน

การเห็นภาพซ้อน หรือ การเห็นซ้อนสอง (Diplopia, double vision) เป็นการเห็นภาพสองภาพของวัตถุเดียวกัน ที่อาจซ้อนกันตามแนวนอน แนวตั้ง แนวเฉียง หรือแนวหมุน และปกติเป็นผลของความพิการของกล้ามเนื้อตา (extraocular muscles, EOMs) คือตาทั้งสองทำงานได้ดีแต่ไม่สามารถหันไปที่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง โดยกล้ามเนื้อตาอาจมีปัญหาทางกายภาพ มีโรคที่แผ่นเชื่อมประสาทสั่งการและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) มีโรคที่เส้นประสาทสมอง (เส้น 3, 4, และ 6) ที่สั่งการกล้ามเนื้อ และเป็นบางครั้ง มีปัญหาเกี่ยวกับวิถีประสาท supranuclear oculomotor หรือการบริโภคสิ่งที่เป็นพิษ การเห็นภาพซ้อนอาจเป็นอาการปรากฏแรก ๆ ของโรคทั่วร่างกาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและประสาท และอาจทำการทรงตัวของร่างกาย การเคลื่อนไหว และการอ่านหนังสือ ให้พิการ.

45 ความสัมพันธ์: ชีวพิษโบทูลินัมกระจกตากลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรการวินิจฉัยทางการแพทย์การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาการติดเชื้อการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาฝีภาวะภูมิต้านตนเองภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษมะเร็งยากันชักยาปฏิชีวนะรอยบุ๋มจอตารอยโรคระบบประสาทศีรษะสหสัมพันธ์สายตาเอียงจอตาจักษุวิทยาความสอดคล้องกันของจอตาตาตามัวตาเหล่ตาเหล่ออกต้อกระจกประสาทสมองปริภูมิปริซึมโบทูลิซึมโพรงอากาศอักเสบโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายโรคคอพอกตาโปนโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งโรคไมเกรนโรคไลม์โอปิออยด์เบาหวานเบ็นโซไดอาเซพีนเฟนิโทอินเคตามีนเปลือกสมองส่วนการเห็นเนื้องอกOrthoptics

ชีวพิษโบทูลินัม

ทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin) หรือชื่อการค้ารู้จักกันชื่อว่า โบท็อกซ์ (Botox) ที่นำมาใช้เสริมความงาม เป็นสารสกัดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) มี 7 ชนิด คือ โบทูลินั่ม ท็อกซิน ชนิด เอ (botulinum toxin type A) ถึงโบทูลินั่ม ท็อกซิน ชนิด จี (botulinum toxin type G) จัดเป็นสารพิษออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (neurotoxin) โดยจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท มีผลทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตชั่วคราว.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและชีวพิษโบทูลินัม · ดูเพิ่มเติม »

กระจกตา

กระจกตา เป็นส่วนโปร่งใสด้านหน้าของตาซึ่งคลุมอยู่หน้าม่านตา, รูม่านตา, และห้องหน้า (anterior chamber) กระจกตาทำหน้าที่หักเหแสงร่วมกับเลนส์ตา (lens) และช่วยในการโฟกัสภาพ โดยกระจกตามีส่วนเกี่ยวกับกำลังการรวมแสง (optical power) ของตาถึง 80%Cassin, B. and Solomon, S. Dictionary of Eye Terminology.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและกระจกตา · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร

กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร หรือ กลุ่มอาการกีแยง-บาร์เร (Guillain–Barré syndrome) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disorder) อย่างหนึ่งซึ่งเกิดกับระบบประสาทส่วนปลาย ส่วนใหญ่ถูกกระตุ้นโดยการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน กลุ่มอาการนี้ตั้งชื่อตามแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Guillain, Barré และ Strohl ซึ่งได้อธิบายกลุ่มอาการนี้ไว้ในปี..

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร · ดูเพิ่มเติม »

การวินิจฉัยทางการแพทย์

การวินิจฉัยทางการแพทย์เป็นวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งสาเหตุซึ่งเป็นโรคหรือความผิดปกติ รวมถึงความเห็นอันได้มาจากกระบวนการนั้น เกณฑ์การวินิจฉัยหมายถึงผลรวมระหว่างอาการ อาการแสดง และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แพทย์ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำวินิจฉัยที่ถูกต้อง.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและการวินิจฉัยทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา

การผ่าแยกหากล้ามเนื้อตา inferior rectus การเลื่อนกล้ามเนื้อ medial rectus จากจุดยึด การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา (Strabismus surgery, extraocular muscle surgery, eye muscle surgery, eye alignment surgery) เป็นศัลยกรรมที่กล้ามเนื้อตา (extraocular muscle) เพื่อแก้ปัญหาตาที่ไม่มองไปในทางเดียวกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการผ่าตัดเช่นนี้ 1.2 ล้านครั้งต่อปี จึงเป็นการผ่าตัดตามากที่สุดเป็นอันดับ 3 การผ่าตัดแก้ตาเหล่สำเร็จเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม..

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

quote.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา · ดูเพิ่มเติม »

ฝี

ฝี เป็นกลุ่มของหนองซึ่งเป็นซากเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (neutrophil) ที่ตายแล้วสะสมอยู่ภายในโพรงของเนื้อเยื่อซึ่งเป็นกระบวนการของการติดเชื้อ มักมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต หรือเกิดจากสิ่งแปลกปลอมภายนอกอื่นๆ เช่น เศษวัสดุ กระสุน หรือเข็มทิ่ม ฝีเป็นกระบวนการตอบสนองของเนื้อเยื่อในร่างกายต่อเชื้อโรคเพื่อจำกัดการแพร่กระจายไม่ให้ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จุลชีพก่อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายจะมีการทำลายเซลล์ที่ตำแหน่งนั้น ทำให้เกิดการหลั่งสารพิษ สารพิษจะกระตุ้นกระบวนการอักเสบ ซึ่งทำให้มีเม็ดเลือดขาวจำนวนมากเข้ามาในบริเวณที่เชื้อโรคบุกรุกและเกิดการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นมากขึ้น โครงสร้างของฝีภายนอกจะประกอบด้วยผนังหรือแคปซูลล้อมรอบ ซึ่งเกิดจากเซลล์ปกติข้างเคียงมาล้อมเพื่อจำกัดไม่ให้หนองไปติดต่อยังส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ตามแคปซูลที่ล้อมรอบโพรงหนองนั้นอาจทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถเข้ามากำจัดเชื้อแบคทีเรียหรือจุลชีพก่อโรคในหนองนั้นได้ ฝีมีความแตกต่างจากหนองขัง (empyema) ในแง่ที่ว่าหนองขังเป็นกลุ่มของหนองในโพรงที่มีมาก่อนอยู่แล้ว แต่ฝีเป็นโพรงหนองที่สร้างขึ้นมาภายหลังการติดเชื้อ.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและฝี · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะภูมิต้านตนเอง

วะภูมิต้านตนเอง (autoimmunity) เกิดจากความล้มเหลวของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายไม่สามารถรับรู้ได้ว่าส่วนหนึ่งๆ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายตัวเอง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนองต่อเซลล์และเนื้อเยื่อของตัวเอง โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางภูมิคุ้มกันเช่นนี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและภาวะภูมิต้านตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ

ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ, ภาวะเป็นพิษเหตุสุรา, การเป็นพิษจากแอลกอฮอล์ (alcohol intoxication) หรือความเมา (drunkenness, inebriation) เป็นภาวะทางสรีรวิทยา (ซึ่งยังอาจรวมการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของการรับรู้) อันเกิดจากการกินเอทานอล (แอลกอฮอล์) ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษเป็นผลจากที่แอลกอฮอล์เข้ากระแสเลือดเร็วกว่าสามารถเกิดเมแทบอลิซึมที่ตับ ซึ่งสลายเอทานอลเป็นผลพลอยได้ซึ่งไม่เป็นพิษ ฤทธิ์บางอย่างของภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ (เช่น ภาวะครึ้มใจและการยับยั้งทางสังคมลดลง) เป็นหัวใจของความปรารถนาใช้แอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่ม และประวัติศาสตร์ของมันในฐานะยาที่ใช้เพื่อความสนุกสนาน (recreational drug) ที่แพร่หลายที่สุดอย่างหนึ่งของโลก แม้การใช้อย่างแพร่หลายนี้และความชอบด้วยกฎหมายของแอลกอฮอล์ในประเทศส่วนใหญ่ แหล่งข้อมูลการแพทย์จำนวนมากมักอธิบายภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษทุกระดับว่าเป็นภาวะถูกพิษรูปหนึ่งเพราะฤทธิ์ทำอันตรายต่อร่างกายในขนาดสูง บางศาสนามองว่าภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษเป็นบาป อาการของภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษรวมภาวะครึ้มใจ ผิวหนังแดงและการยับยั้งทางสังคมลดลงในขนาดต่ำ โดยขนาดที่สูงขึ้นทำให้เกิดความเสื่อมรุนแรงของการรักษาสมดุล การประสานงานของกล้ามเนื้อ (ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ) และความสามารถตัดสินใจ (อาจนำไปสู่พฤติกรรมรุนแรงหรือไม่คงเส้นคงวาได้) มากขึ้น ๆ ตลอดจนคลื่นไส้หรืออาเจียนจากฤทธิ์รบกวนของแอลกอฮอล์ต่อหลอดกึ่งวงกลมของหูชั้นในและการระคายเคืองทางเคมีของเยื่อเมือกกระเพาะอาหาร ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่สูงเพียงพอจะทำให้เกิดโคม่าและเสียชีวิตจากฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางของแอลกอฮอล์ "ภาวะเป็นพิษแอลกอฮอล์เฉียบพลัน" เป็นศัพท์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้บ่งชี้ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่สูงอย่างเป็นอันตรายในเลือด ที่สูงพอชักนำให้โคม่า การหายใจลดลงหรือกระทั่งเสียชีวิต ภาวะดังกล่าวถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:ภาวะเป็นพิษ หมวดหมู่:วัฒนธรรมการดื่มแอลกอฮอล์ หมวดหมู่:ภาวะดื่มสุราแบบเสี่ยง.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

ยากันชัก

แอนติอิพิเลปติก (อังกฤษ:antiepileptics) มีอีกชื่อว่า แอนติคอนวัลแซนต์ (anticonvulsants) เป็นยาต้านและป้องกันอาการชักเช่นอาการชักจากลมบ้าหมู กลไกการออกฤทธิ์คือการบล็อกโวลเตก-เซนซิตีพ โซเดียมแชแนล (voltage-sensitive sodium channel) ในสมอง.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและยากันชัก · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

รอยบุ๋มจอตา

รอยบุ๋มจอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (fovea, fovea centralis, แปลตามศัพท์ว่าหลุม) เป็นส่วนของตามนุษย์ อยู่ที่ตรงกลางของจุดภาพชัด (macula) ในเรตินา"Relation Between Superficial Capillaries and Foveal Structures in the Human Retina" - (with nomenclature of fovea terms), Masayuki Iwasaki and Hajime Inomara, - Investigative Ophthalmology & Visual Science (journal), - volume 27, pages 1698-1705, 1986, IOVS.org, webpage: -. รอยบุ๋มจอตาเป็นเหตุให้เห็นได้ชัดตรงกลางลานสายตา ซึ่งจำเป็นในการอ่านหนังสือ ขับรถ หรือทำกิจอื่น ๆ ที่ต้องอาศัยการเห็นที่ชัด รอยบุ๋มจอตาล้อมด้วยบริเวณรูปวงแหวนที่เรียกว่า parafovea (แปลว่า ติดกับรอยบุ๋มจอตา) และ perifovea (แปลว่า รอบรอยบุ๋มจอตา) ที่อยู่เถิบออกไปอีก parafovea เป็นวงแหวนรอบตรงกลาง ที่ชั้น ganglion cell layer ของเรตินา ประกอบด้วยแถวของเซลล์ retinal ganglion cell (RGC) มากกว่า 5 แถว และมีเซลล์รูปกรวยที่หนาแน่นมากที่สุด ส่วน perifovea เป็นวงแหวนเถิบต่อไปอีกที่ชั้น ganglion cell layer ประกอบด้วยแถวของเซลล์ RGC 2-4 แถว เป็นเขตที่ระดับความชัดของการเห็นเริ่มลดลงจากระดับที่ชัดที่สุด และมีเซลล์รูปกรวยในระดับที่หนาแน่นน้อยลง คือ มี 12 เซลล์ต่อ 100 ไมโครเมตร เทียบกับ 50 เซลล์ต่อ 100 ไมโครเมตรที่ตรงกลางของรอยบุ๋มจอตา วงแหวน perifovea นี้ก็ล้อมด้วยเขตรอบนอก (peripheral) ที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งส่งข้อมูลที่มีการบีบอัดสูงมีความชัดต่ำ ประมาณ 50% ของเส้นประสาทตาส่งข้อมูลจากรอยบุ๋มจอตา ในขณะที่อีก 50% ส่งข้อมูลจากส่วนที่เหลือของเรตินา เขตของ parafovea ไปสุดที่ประมาณ 1¼ มิลลิเมตร จากตรงกลางของรอยบุ๋มจอตา และเขตของ perifovea ไปสุดที่ 2¾ มิลลิเมตร แม้ว่า ขนาดของรอยบุ๋มจอตาจะเล็กเทียบกับส่วนที่เหลือของเรตินา แต่รอยบุ๋มจอตาเป็นเขตเดียวที่สามารถเห็นชัดได้ในระดับ 20/20 และเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งในการเห็นรายละเอียดและสี.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและรอยบุ๋มจอตา · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ศีรษะ

ีรษะของมนุษย์ภาคตัดตามแนวขวาง (Sagittal plane) ในทางกายวิภาคศาสตร์ ศีรษะ (caput, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ หัวของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ในมนุษย์มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า สมอง เส้นประสาทสมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ฟัน อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่นหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และไขมัน สัตว์ชั้นต่ำหลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษ.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

สหสัมพันธ์

ำหรับสถิติศาสตร์ สหสัมพันธ์ (correlation) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรสุ่มตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป Several sets of (''x'', ''y'') points, with the Pearson correlation coefficient of ''x'' and ''y'' for each set. Note that the correlation reflects the noisiness and direction of a linear relationship (top row), but not the slope of that relationship (middle), nor many aspects of nonlinear relationships (bottom). N.B.: the figure in the center has a slope of 0 but in that case the correlation coefficient is undefined because the variance of ''Y'' is zero.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและสหสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

สายตาเอียง

ตาเอียง (Astigmatism) เป็นอาการทางสายตาชนิดหนึ่ง ผู้ที่มีสายตาเอียงจะมองเห็นภาพในสองแนวแกนชัดไม่เท่ากัน โดยจะมีแนวแกนหนึ่งชัดกว่าอีกแนวแกนหนึ่งที่ตั้งฉากกันเสมอ ยกตัวอย่างเช่น มองเห็นเส้นแนวนอนชัด แต่มองเห็นเส้นแนวตั้งไม่ชัด สายตาเอียง แตกต่างจากสายตาสั้น หรือสายตายาว อธิบายวิธีสังเกตง่าย ๆ คือ ผู้ที่มีสายตาสั้น หรือสายตายาว จะมองเห็นตัวเลข ตัวอักษร ชัดเท่าๆกันทุกตัว หรือมัวเท่าๆกันทุกตัว แต่ผู้ที่มีสายตาเอียง จะมองเห็นตัวเลข หรือตัวอักษรบางตัวชัด บางตัวไม่ชัด เช่น เห็นเลข 1 ชัดเจนแม้ตัวเลขจะมีขนาดเล็กมาก แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเลข 3, 5, 8, 9 ได้ แม้ตัวเลขจะมีขนาดใหญ่กว่าก็ตาม ในบางกรณี ผู้ที่มีสายตาเอียง หากไม่แก้ไข นอกจากมองเห็นไม่ชัดเจนแล้ว อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ง่าย เลนส์แว่นตาสำหรับแก้ไขสายตาเอียงในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาจากแบบ Semi-Finished Toric เป็น Free Form Atoric และล่าสุด Individual Free Form Atoric ที่ดีที่สุดในขณะนี้ เลนส์แว่นตาสำหรับแก้ไขสายตาเอียงในปัจจุบัน มีให้เลือกใช้ตั้งแต่ระดับราคาคู่ละไม่กี่ร้อยบาท ไปจนถึงระดับราคาคู่ละหลายหมื่นบาท การตรวจวัดสายตาเอียง มีขั้นตอนยุ่งยากและซับซ้อนกว่าการตรวจวัดสายตาสั้น หรือสายตายาว และจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น กรณีที่มีสายตายาวและสายตาเอียง ในสัดส่วนสายตาเอียงลบ เป็นสองเท่าของสายตายาว ที่เรียกว่าสายตาเอียงชนิด Complete Mix Astigmatism ผู้ที่มีสายตาเอียง ไม่ควรใช้เลนส์แว่นตาคุณภาพต่ำ เพราะจะทำให้ใส่ไม่สบาย โดยเฉพาะเมื่อเหลือบมองภาพด้านข้าง ก่อนซื้อควรสอบถามเงื่อนไขการรับประกันคุณภาพให้ชัดเจน กรณีที่สายตาเอียงเกินกว่า - 2.00D ควรพิจารณาเลือกใช้เลนส์แว่นตาคุณภาพสูงเทคโนโลยี Individual Free Form Atoric.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและสายตาเอียง · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและจอตา · ดูเพิ่มเติม »

จักษุวิทยา

การใช้กล้องจักษุจุลทรรศน์ (Slit lamp) ตรวจตาในคลินิกจักษุวิทยา จักษุวิทยา (Ophthalmology) เป็นสาขาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และโรคของตา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเรียกว่า จักษุแพทย์ ซึ่งต้องผ่านการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านจักษุวิทยา และสอบผ่านวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจักษุวิทยาจากราชวิทยาลัยจักษุแพท.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและจักษุวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ความสอดคล้องกันของจอตา

วามสอดคล้องกันของจอตา (Retinal correspondence) เป็นความสัมพันธ์แบบจับคู่ตามธรรมชาติระหว่างเซลล์ของจอตาทั้งสองข้างของมนุษย์ คือภาพจากวัตถุเดียวกันจะเร้าเซลล์ทั้งสองชุด ซึ่งก็จะส่งข้อมูลไปยังสมอง ที่ประมวลข้อมูลให้เป็นภาพเดียวโดยอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันในปริภูม.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและความสอดคล้องกันของจอตา · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและตา · ดูเพิ่มเติม »

ตามัว

ตามัว.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและตามัว · ดูเพิ่มเติม »

ตาเหล่

ตาเหล่ หรือ ตาเข (isbn) เป็นภาวะที่ตาทั้งสองไม่มองตรงที่เดียวกันพร้อม ๆ กันเมื่อกำลังจ้องดูวัตถุอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยตาข้างหนึ่งจะเบนไปในทางใดทางหนึ่งอย่างไม่คล้องจองกับตาอีกข้างหนึ่ง/หรือกับสิ่งที่มอง และตาทั้งสองอาจสลับเล็งมองที่วัตถุ และอาจเกิดเป็นบางครั้งบางคราวหรือเป็นตลอด ถ้ามีอาการเป็นช่วงเวลานานในวัยเด็ก ก็อาจทำให้ตามัวหรือเสียการรู้ใกล้ไกล แต่ถ้าเริ่มในวัยผู้ใหญ่ ก็มักจะทำให้เห็นภาพซ้อนมากกว่า อาการอาจมีเหตุจากการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อตา สายตายาว ปัญหาในสมอง การบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งการคลอดก่อนกำหนด อัมพาตสมองใหญ่ และประวัติการเป็นโรคในครอบครัว มีแบบต่าง ๆ รวมทั้ง เหล่เข้า (esotropia) ที่ตาเบนเข้าหากัน เหล่ออก (exotropia) ที่ตาเบนออกจากกัน และเหล่ขึ้น (hypertropia) ที่ตาสูงต่ำไม่เท่ากัน อาจเป็นแบบเหล่ทุกที่ที่มอง (comitant คือตาเหล่กลอกคู่) หรืออาจเหล่ไม่เท่ากันแล้วแต่มองที่ไหน (incomitant) การวินิจฉัยอาจทำโดยสังเกตว่าแสงสะท้อนที่ตาไม่ตรงกับกลางรูม่านตา มีภาวะอีกอย่างที่ทำให้เกิดอาการคล้าย ๆ กัน คือ โรคเส้นประสาทสมอง (cranial nerve disease) การรักษาจะขึ้นอยู่กับรูปแบบและเหตุ ซึ่งอาจรวมการใช้แว่นตาและการผ่าตัด มีบางกรณีที่มีผลดีถ้าผ่าตัดตั้งแต่ต้น ๆ เป็นโรคที่เกิดในเด็กประมาณ 2% คำภาษาอังกฤษมาจากคำกรีกว่า strabismós ซึ่งแปลว่า "เหล่ตา".

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและตาเหล่ · ดูเพิ่มเติม »

ตาเหล่ออก

ตาเหล่ออก (Exotropia) เป็นรูปแบบหนึ่งของอาการตาเหล่ที่ตาเบนออกด้านข้าง โดยเป็นอาการตรงข้ามกับตาเหล่เข้า (esotropia) คนที่ตาเหล่ออกมักจะเห็นภาพซ้อน (diplopia) ตาเหล่ออกเป็นบางครั้งบางคราวมักจะเป็นเรื่องสามัญ โดยอาการ Sensory exotropia (ตาเหล่ออกเหตุระบบรับความรู้สึก) จะเกิดเพราะสายตาไม่ดี ส่วนอาการตาเหล่เข้าในวัยทารก (Infantile exotropia, congenital exotropia) จะเห็นได้ตั้งแต่ปีแรกของชีวิต และมีคนไข้จำนวนน้อยกว่าอาการอีกแบบที่เรียกว่า essential exotropia ซึ่งปกติจะปรากฏอย่างชัดเจนหลายปีต่อมา สมรรถภาพของสมองในการเห็นวัตถุเป็น 3 มิติ จะขึ้นอยู่กับแนวตาที่ถูกต้อง เมื่อตาทั้งสองอยู่ในแนวที่ถูกต้องและมองไปทีเป้าหมายเดียวกัน สมองซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการเห็นจะรวมภาพจากทั้งสองตาเป็นภาพเดียวกัน เมื่อตาข้างหนึ่งเหล่เข้า เหล่ออก เหล่ขึ้น หรือเหล่ลง สมองอาจเห็นเป็นสองภาพ ซึ่งทำให้ไม่สามารถรู้ใกล้ไกลและเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา คำภาษาอังกฤษมาจากคำภาษากรีก exo ซึ่งแปลว่า "ออกข้างนอก" และ trope ซึ่งแปลว่า "การหัน".

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและตาเหล่ออก · ดูเพิ่มเติม »

ต้อกระจก

ต้อกระจกเป็นโรคของตาอย่างหนึ่ง คือภาวะที่เกิดความขุ่นขึ้นที่เลนส์ตาหรือปลอกหุ้มเลนส์ตาซึ่งปกติจะมีความใส เมื่อขุ่นแล้วจะทำให้แสงผ่านได้แย่กว่าปกติ สาเหตุของการเกิดต้อกระจก การเกิดต้อกระจกนั้นส่วนใหญ่มีสาเหตุมาการเสื่อมของเลนส์ตา โดยส่วนมากโรคต้อกระจกนี้จะพบกับผู้ทีมีอายุ 65 ปีขึ้นไป บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจากมารดาขณะตั้งครรภ์ หรือการที่กินยาสเตียรอยด์เป็นประจำก็เป็นสาเหตุของการเกิดต้อกระจกได้เช่นกัน.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและต้อกระจก · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสมอง

้นประสาทสมอง ประสาทสมอง (cranial nerve หรือ cerebral nerve) เป็นเส้นประสาทที่เกิดจากสมองและก้านสมองโดยตรง ตรงข้ามกับประสาทไขสันหลังซึ่งเกิดจากไขสันหลังหลายปล้อง ประสาทสมองเป็นทางเชื่อมของสารสนเทศระหว่างสมองและหลายบริเวณ ส่วนใหญ่คือศีรษะและคอ ประสาทไขสันหลังลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่หนึ่ง และประสาทสมองบทบาทสัมพันธ์กันเหนือระดับนี้ ประสาทสมองมีเป็นคู่และอยู่ทั้งสองข้าง ประสาทสมองในมนุษย์มีสิบสองหรือสิบสามเส้นแล้วแต่แหล่งที่มา ซึ่งกำหนดชื่อด้วยตัวเลขโรมัน I–XII และมีการกำหนดเลขศูนย์ให้ประสาทสมองเส้นที่ 0 (หรือประสาทปลาย) ตามลำดับที่มีจุดกำเนิดจากสมองส่วนหน้าไปถึงด้านหลังของสมองและก้านสมอง ประสาทปลาย ประสาทรับกลิ่น (I) และประสาทตา (II) กำเนิดจากสมองใหญ่หรือสมองส่วนหน้า ส่วนอีกสิบคู่ที่เหลือกำเนิดจากก้านสมอง ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและประสาทสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ปริภูมิ

ปริภูมิ (space) คือส่วนที่ไร้ขอบเขต เป็นปริมาณสามมิติในวัตถุและเหตุการณ์ และมีตำแหน่งสัมพัทธ์และทิศทาง ปริภูมิในทางฟิสิกส์มักจะถูกพิจารณาในรูปแบบของสามมิติเชิงเส้น และนักฟิสิกส์ในปัจจุบันก็มักจะพิจารณาพร้อมกับเวลาในฐานะส่วนหนึ่งของสี่มิติต่อเนื่องหรือที่เรียกว่า ปริภูมิ-เวลา ปริภูมิในเชิงคณิตศาสตร์ที่มีจำนวนมิติและโครงสร้างที่ต่างกันสามารถตรวจสอบได้ แนวคิดของปริภูมิถูกพิจารณาว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญเพื่อการทำความเข้าใจในจักรวาล ถึงแม้ว่าปริภูมิจะเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักปรัชญาถึงความมีตัวตนของปริภูมิ ความสัมพันธ์ของการมีตัวตนหรือความเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความ.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและปริภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ปริซึม

ปริซึมหกเหลี่ยมปรกติ ปริซึม (prism) คือทรงหลายหน้าที่สร้างจากฐานรูปหลายเหลี่ยมที่เหมือนกันและขนานกันสองหน้า และหน้าด้านข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน พื้นที่หน้าตัดทุกตำแหน่งที่ขนานกับฐานจะเป็นรูปเดิมตลอด และปริซึมก็เป็นพริสมาทอยด์ (prismatoid) ชนิดหนึ่งด้วย ปริซึมมุมฉาก (right prism) หมายความว่าเป็นปริซึมที่มีจุดมุมของรูปหลายเหลี่ยมบนฐานทั้งสองอยู่ตรงกันตามแนวดิ่ง ทำให้หน้าด้านข้างตั้งฉากกับฐานพอดีและเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากทุกด้าน ส่วน ปริซึม n เหลี่ยมปกติ (n-prism) หมายถึงปริซึมที่มีรูปหลายเหลี่ยมบนฐาน เป็นรูปหลายเหลี่ยมปรกติ (ทุกด้านยาวเท่ากัน) และเมื่อปริซึมอันหนึ่งๆ สามารถเป็นได้ทั้งปริซึมมุมฉาก ปริซึม n เหลี่ยมปรกติ และขอบทุกด้านยาวเท่ากันหมด จะถือว่าปริซึมอันนั้นเป็นทรงหลายหน้ากึ่งปรกติ (semiregular polyhedron) ทรงสี่เหลี่ยมด้านขนานก็ถือเป็นปริซึมสี่เหลี่ยมด้านขนาน สำหรับปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากก็เทียบเท่ากับทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และปริซึมสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็คือทรงลูกบาศก์นั่นเอง ปริมาตรของปริซึมสามารถคำนวณได้ง่ายๆ โดยการหาพื้นที่ผิวของฐานมาหนึ่งด้าน คูณด้วยความสูงของปริซึม.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและปริซึม · ดูเพิ่มเติม »

โบทูลิซึม

ทูลิซึม (Botulism) เป็นโรคที่เกิดจากพิษของแบคทีเรียสายพันธุ์ Clostridium botulinum ซึ่งอาจมีอันตรายรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ อาการแรกเริ่มคืออ่อนแรง การมองเห็นผิดปกติ รู้สึกอ่อนล้า และพูดลำบาก จากนั้นอาจตามมาด้วยอาการอ่อนแรงของแขน กล้ามเนื้อหน้าอก และขา ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีการรู้สึกตัวดี และไม่มีไข้.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและโบทูลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

โพรงอากาศอักเสบ

โพรงอากาศอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) เป็นการอักเสบในช่องโพรงอากาศภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ภายในโพรงอากาศจะมีการสร้างสารมูกจำนวนมาก ผู้ป่วยมักจะมีอาการคัดแน่นจมูก รับประทานอาหารไม่รู้รสชาติ รักษาได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะ หมวดหมู่:โรค หมวดหมู่:การอักเสบ.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและโพรงอากาศอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย (myasthenia gravis, MG) เป็นโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองโรคหนึ่ง ทำให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอ่อนล้าขึ้นๆ ลงๆ สาเหตุเกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดีต่ออะซีทิลโคลีนรีเซพเตอร์ที่รอยต่อกล้ามเนื้อกับประสาทยับยั้งการกระตุ้นของอะซีทิลโคลีนในฐานะสารสื่อประสาท โรคนี้รักษาทางยาด้วยยาในกลุ่มโคลีนเอสเทอเรสอินฮิบิเตอร์หรือยาในกลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน ในผู้ป่วยบางครั้งอาจรักษาด้วยการตัดเอาไทมัสออก อุบัติการณ์อยู่ที่ 3-30 รายต่อล้านและเริ่มพบมากขึ้นเนื่องจากเป็นที่รู้จักมากขึ้น โรคนี้ต้องแยกจากกลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่กำเนิดชนิดอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้มีอาการคล้ายคลึงกันได้แต่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคของกล้ามเนื้อและรอยต่อกล้ามเนื้อกับประสาท หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย · ดูเพิ่มเติม »

โรคคอพอกตาโปน

รคคอพอกตาโปน หรือ โรคเกรฟส์ (Graves' disease) เป็นความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ซึ่งมีลักษณะเด่นคือคอพอก (goiter), ตาโปน (exophthalmos), ผิวเหมือนเปลือกส้ม ("orange-peel" skin), และมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism) โรคนี้มีสาเหตุมาจากแอนติบอดีในปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง แต่สิ่งกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาดังกล่าวยังไม่ทราบชัดเจน โรคนี้เป็นสาเหตุหลักของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่พบมากที่สุดในโลก และเป็นภาวะต่อมไทรอยด์โตที่พบมากที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในยุโรปบางประเทศเรียกโรคนี้ว่า โรคเบสโดว์ (Basedow’s disease) หรือ โรคเกรฟส์-เบสโดว์ (Graves-Basedow disease) โรคคอพอกตาโปนมีอาการเด่นคืออาการต่อมไทรอยด์โตขึ้นและปัญหาของดวงตา อาการแสดงที่ดวงตาของโรคนี้พบมากในผู้สูบบุหรี่และอาจแย่ลงหลังจากการรักษาอาการที่ไทรอยด์ด้วยไอโอดีนรังสี (radioiodine) ดังนั้นอาการแสดงที่ดวงตาจึงไม่ได้เกิดจากตัวต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ความเข้าใจผิดดังกล่าวเกิดเพราะว่าภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินจากสาเหตุอื่นๆ ทำให้หนังตาบนหดรั้งขึ้นไป (eyelid lag หรือ hyperthyroid stare) แต่ลูกตาไม่ได้โปนยื่นออกมา ซึ่งทำให้สับสนกับอาการตาโปนที่ลูกตาทั้งลูกยื่นออกมา อย่างไรก็ตามสภาวะทั้งหนังตาบนหดรั้งขึ้นไปและตาโปนอาจเกิดขึ้นพร้อมกันในผู้ป่วยภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินร่วมกับโรคเกรฟ.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและโรคคอพอกตาโปน · ดูเพิ่มเติม »

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

รคมัลติเพิล สเกลอโรซิส (multiple sclerosis, MS, disseminated sclerosis, encephalomyelitis disseminata) เป็นโรคซึ่งทำให้มีการทำลายปลอกไมอีลินซึ่งหุ้มใยประสาทของสมองและไขสันหลังเอาไว้ ทำให้ใยประสาทไม่มีปลอกไมอีลินหุ้ม เกิดเป็นเนื้อเยื่อแผลเป็น และมีอาการและอาการแสดงอื่นๆ ตามมา ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และมักพบในเพศหญิง มีความชุกอยู่ระหว่าง 2 - 150 ต่อ 100,000 ประชากร โดยพบครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

โรคไมเกรน

รคไมเกรนหรือโรคปวดหัวข้างเดียว (migraine) เป็นความผิดปกติทางประสาทเรื้อรังอย่างหนึ่ง ลักษณะเด่นคือปวดศีรษะปานกลางถึงรุนแรงเป็นซ้ำ มักสัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทอิสระจำนวนหนึ่ง ตรงแบบ อาการปวดศีรษะมีผลต่อศีรษะครึ่งซีก มีสภาพปวดตามจังหวะ (หัวใจเต้น) และกินเวลาตั้งแต่ 2 ถึง 72 ชั่วโมง อาการที่สัมพันธ์อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสง เสียงหรือกลิ่น โดยทั่วไปความเจ็บปวดรุนแรงขึ้นจากกิจกรรมทางกาย ผู้ป่วยไมเกรนถึงหนึ่งในสามมีสัญญาณบอกเหตุ (aura) คือ การรบกวนภาพ การรับความรู้สึก ภาษาหรือการสั่งการร่างกายซึ่งบ่งบอกว่าจะเกิดปวดศีรษะในไม่ช้า บางครั้งสัญญาณบอกเหตุเกิดได้โดยมีการปวดศีรษะตามมาน้อยหรือไม่ปวดเลย เชื่อว่า ไมเกรนมีสาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรมผสมกัน ผู้ป่วยประมาณสองในสามเป็นในครอบครัว การเปลี่ยนระดับฮอร์โมนผสมกัน เพราะไมเกรนมีผลต่อเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อยก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ แต่ในผู้ใหญ่ หญิงเป็นมากกว่าชายประมาณสองถึงสามเท่า ความเสี่ยงของไมเกรนปกติลดลงระหว่างการตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดของไมเกรน แต่เชื่อว่าเป็นความผิดปกติของประสาทควบคุมหลอดเลือด ทฤษฎีหลักสัมพันธ์กับการเร้าได้ (excitability) ที่เพิ่มขึ้นของเปลือกสมองและการควบคุมผิดปกติของเซลล์ประสาทรับความเจ็บปวดในนิวเคลียสของประสาทไทรเจมินัลในก้านสมอง เริ่มต้น การรักษาแนะนำ คือ ยาระงับปวดธรรมดา เช่น ไอบูโปรเฟนและพาราเซตามอล (หรืออะเซตามิโนเฟน) สำหรับปวดศีรษะ ยาแก้อาเจียนสำหรับคลื่นไส้ และการเลี่ยงตัวกระตุ้น อาจใช้สารเฉพาะเช่น ทริพแทนหรือเออร์โกทามีนในผู้ที่ยาระงับปวดธรรมดาใช้ไม่ได้ผล 15% ของประชากรทั่วโลกเคยเป็นไมเกรนครั้งหนึ่งในชีวิต.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและโรคไมเกรน · ดูเพิ่มเติม »

โรคไลม์

รคไลม์เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียในจีนัส Borrelia อย่างน้อย 3 ชนิด โดยมี Borrelia burgdorferi sensu stricto เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปอเมริกาเหนือ และ Borrelia afzelii กับ Borrelia garinii เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปยุโรป โรคนี้ตั้งชื่อตามเมืองไลม์และโอลด์ไลม์ รัฐคอนเนกติคัต สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการตรวจพบโรคนี้เป็นครั้งแรกใน..

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและโรคไลม์ · ดูเพิ่มเติม »

โอปิออยด์

อปิออยด์ (opioid) เป็นสารที่เชื่อมกับโอปิออยด์ รีเซพเตอร์ (opioid receptor) พบในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) และ ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract) โอปิออยด์มี 4 กลุ่มคือ.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและโอปิออยด์ · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เบ็นโซไดอาเซพีน

รงสร้างทางเคมีของเบ็นโซไดอาเซพีน เบ็นโซไดอาเซพีน (Benzodiazepine) หรือเรียกสั้นๆว่า "เบ็นโซส" เป็นกลุ่มยาในหมวดสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เกิดขึ้นจากการทำพันธะโครงสร้างทางเคมีระหว่างเบนซีนกับไดอาเซพีน ทั้งนี้ในปี..

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและเบ็นโซไดอาเซพีน · ดูเพิ่มเติม »

เฟนิโทอิน

ฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือชื่อทางการค้าคือ ไดแลนติน (Dilantin)Drugs.com Page accessed Feb 27, 2016 เป็นยากันชัก ใช้สำหรับป้องกันอาการโคลนัสและการเป็นลมชักอย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ไม่สามารถใช้ป้องกันอาหารชักเหม่อได้ มีแบบรับประทานสำหรับผู้ป่วยทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะชักต่อเนื่อง แพทย์อาจจ่ายยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนเพื่อบรรเทาอาการชัก หากยังไม่ดีขึ้นจึงจะใช้ยาเฟนิโทอินโดยการฉีด ซึ่งจะออกฤทธิภายใน 30 นาทีและจะคงฤทธิได้นานถึง 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ เฟนิโทอินยังถูกใช้เพื่อรักษาอารหัวใจเต้นผิดจังหวะและความเจ็บปวดทางประสาทอีกด้วย ทั้งนี้ แพทย์อาจวัดความดันเพื่อกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสม ผลข้างเคียงของการใช้เฟนิโทอิน ได้แก่ อาการคลื่นไส้, ปวดท้อง, ไม่อยากอาหาร, มองไม่ชัด, ขนขึ้นเร็ว และเหงือกบวม ผลข้างเคียงแบบรุนแรงได้แก่ ง่วงนอน, ทำร้ายตนเอง, โรคตับ, ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดได้น้อย, ความดันโลหิตต่ำ และผิวลอก ยาประเภทนี้ห้ามใช้ระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติในทารก แต่ปลอดภัยหากจะใช้ระหว่างภาวะให้นมบุตร เฟนิโทอินถูกสร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและเฟนิโทอิน · ดูเพิ่มเติม »

เคตามีน

ตามีน (Ketamine) หรือชื่อทางการค้าคือ เคตาลาร์ (Ketalar) หรือภาษาปากคือ ยาเค เป็นยาในกลุ่มยาสลบ ผู้รับยานี้จะไม่สลบแต่จะมีอาการไร้ความรู้สึกและอยู่ในภวังค์ มีฤทธิระงับปวด, ระงับประสาท และทำให้สูญเสียความทรงจำ ยานี้สามารถใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังและยังอาจถูกใช้เป็นยาระงับประสาทในผู้ป่วยหนัก ยานี้ยังช่วยให้ระบบหายใจและหัวใจทำงานอย่างคล่องตัวขึ้น สามารถรับยานี้ได้โดยรับประทาน, สูดดม, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หากฉีดเข้าหลอดเลือดจะออกฤทธิใน 5 นาทีและจะคงฤทธิไปราว 25 นาที ผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้แก่ ปฏิกิริยาทางจิตเมื่อยาหมดฤทธิ ปฏิกิริยาเหล่านี้ได้แก่ ภาวะอยู่ไม่สุข, สับสน หรืออาการประสาทหลอน นอกจากนี้ยังส่งผลให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง(โดยมากจะความดันเพิ่มขึ้น)และกล้ามเนื้อสั่น และยังอาจก่อให้เกิดอาการหลอดลมหดตัวเฉียบพลัน ยานี้อาจก่อให้เกิดการเสพติด หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ผู้รับยาเป็นโรคจิตเภท เคตามีนถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและเคตามีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนการเห็น

ทางสัญญาณด้านหลัง (เขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (ม่วง) เป็นทางสัญญาณเริ่มมาจากเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ เปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex, cortex visualis) ในสมองเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอยด้านหลังของสมอง คำว่า เปลือกสมองส่วนการเห็น หมายถึงคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและเนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

Orthoptics

Orthoptics เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาตาโดยเน้นการวินิจฉัยและการบริหารโดยไม่ผ่าตัดซึ่งอาการตาเหล่ ตามัว/ตาขี้เกียจ และความผิดปกติในการเคลื่อนไหวตาอื่น ๆ คำภาษาอังกฤษว่า orthoptics มาจากคำภาษากรีกโบราณ คือ ὀρθός (orthos) แปลว่า "ตรง" และ ὀπτικός (optikοs) แปลว่า "เกี่ยวกับการเห็น" เป็นอาชีพที่มักเกี่ยวกับการควบคุมกล้ามเนื้อตาหรือการหักเหแสงของตา ในบางประเทศเมื่อได้รับการฝึกโดยเฉพาะ ผู้ทำวิชาชีพอาจตรวจติดตามโรคตาบางชนิด เช่น ต้อหิน ต้อกระจก และโรคจอตาเหตุเบาหวานเป็นต้น.

ใหม่!!: การเห็นภาพซ้อนและOrthoptics · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DiplopiaDouble visionการเห็นซ้อนสองเห็นภาพซ้อนเห็นซ้อนสอง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »