โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเชื่อม

ดัชนี การเชื่อม

ณะเชื่อมโลหะ การเชื่อม (Welding) เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อวัสดุ ส่วนใหญ่เป็นโลหะและเทอร์โมพลาสติก โดยให้รวมตัวเข้าด้วยกัน ปกติใช้วิธีทำให้ชิ้นงานหลอมละลาย และการเพิ่มเนื้อโลหะเติมลงในบ่อหลอมละลายของวัสดุที่หลอมเหลว เมื่อเย็นตัวรอยต่อจะมีความแข็งแรง บางครั้งใช้แรงดันร่วมกับความร้อน หรืออย่างเดียว เพื่อให้เกิดรอยเชื่อม ซึ่งแตกต่างกับการบัดกรีอ่อน และการบัดกรีแข็ง ซึ่งไม่มีการหลอมละลายของชิ้นงาน มีแหล่งพลังงานหลายอย่างสำหรับนำมาใช้ในการเชื่อม เช่น การใช้เปลวไฟแก๊สอ็อกซิเจน, การอาร์กโดยใช้กระแสไฟฟ้า, ลำแสงเลเซอร์, การใช้อิเล็คตรอนบีม, การเสียดสี, การใช้คลื่นเสียง เป็นต้น ในอุตสาหกรรมมีการเชื่อมในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่นการเชื่อมในพื้นที่โล่ง, พื้นที่อับอากาศ, การเชื่อมใต้น้ำ, การเชื่อมในพื้นที่อันตราย เช่น ถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่, ภายในโรงงานผลิตสารเคมี และวัตถุไวไฟ การเชื่อมมีอันตรายเกิดขึ้นได้ง่าย จึงควรมีความระมัดระวังเพื่อป้องกันอันตราย เช่น เกิดจากกระแสไฟฟ้า, ความร้อน, สะเก็ดไฟ, ควันเชื่อม, แก๊สพิษ, รังสีอาร์ค, ชิ้นงานร้อน, ฝุ่นละออง ในยุคเริ่มแรกจนถึงศตวรรษที่ 19 มีการใช้งานเฉพาะการเชื่อมทุบ (Forge welding) เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อโลหะ เช่นการทำดาบในสมัยโบราณ วิธีนี้การเชื่อมที่ได้มีความแข็งแรงสูง และโครงสร้างของเหล็กมีคุณภาพอยู่ในระดับสูง แต่มีความล่าช้าในการนำมาใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม หลังจากนั้นได้มีการพัฒนามาสู่การเชื่อมอาร์ค และการเชื่อมโดยใช้เปลวไฟแก๊สอ็อกซิเจน และหลังจากนั้นมีการ เชื่อมแบบความต้านทานตามมา เทคโนโลยีการเชื่อมได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 20 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เทคโนโลยีการเชื่อมแบบใหม่ ได้มีการเร่งพัฒนาเพื่อรองรับต่อการสู้รบในช่วงเวลานั้น เพื่อทดแทนการต่อโลหะแบบเดิม เช่นการใช้หมุดย้ำซึ่งมีความล่าช้าอย่างมาก กระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ (SMAW) เป็นกระบวนการหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงนั้นและกระทั่งปัจจุบัน ยังคงเป็นกรรมวิธีที่ใช้งานกันมากที่สุดในประเทศไทย และประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย นอกจากโลหะแล้ว ยังมีการเชื่อมวัสดุประเภทอื่นอีก เช่น การเชื่อมพลาสติก การเชื่อมกระจกหรือแก้ว เป็นต้น.

20 ความสัมพันธ์: พอลิไวนิลคลอไรด์การเชื่อมการเชื่อมอาร์คการเชื่อมทิกการเชื่อมไฟฟ้ารัฐนิวเจอร์ซีย์รถไฟหม้อแปลงไฟฟ้าอะลูมิเนียมคลีฟแลนด์ความเค้นตกค้างตำหนิในงานเชื่อมนิกเกิลแก๊สปกคลุมแอมแปร์โลหะโลหะเจือเหล็กกล้าเทอร์โมพลาสติกเครื่องยนต์ไอพ่น

พอลิไวนิลคลอไรด์

อลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride; IUPAC: Polychloroethene) มีชื่อย่อที่ใช้กันทั่วไปว่า พีวีซี (PVC) เป็นเทอร์โมพลาสติกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: การเชื่อมและพอลิไวนิลคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

การเชื่อม

ณะเชื่อมโลหะ การเชื่อม (Welding) เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อวัสดุ ส่วนใหญ่เป็นโลหะและเทอร์โมพลาสติก โดยให้รวมตัวเข้าด้วยกัน ปกติใช้วิธีทำให้ชิ้นงานหลอมละลาย และการเพิ่มเนื้อโลหะเติมลงในบ่อหลอมละลายของวัสดุที่หลอมเหลว เมื่อเย็นตัวรอยต่อจะมีความแข็งแรง บางครั้งใช้แรงดันร่วมกับความร้อน หรืออย่างเดียว เพื่อให้เกิดรอยเชื่อม ซึ่งแตกต่างกับการบัดกรีอ่อน และการบัดกรีแข็ง ซึ่งไม่มีการหลอมละลายของชิ้นงาน มีแหล่งพลังงานหลายอย่างสำหรับนำมาใช้ในการเชื่อม เช่น การใช้เปลวไฟแก๊สอ็อกซิเจน, การอาร์กโดยใช้กระแสไฟฟ้า, ลำแสงเลเซอร์, การใช้อิเล็คตรอนบีม, การเสียดสี, การใช้คลื่นเสียง เป็นต้น ในอุตสาหกรรมมีการเชื่อมในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่นการเชื่อมในพื้นที่โล่ง, พื้นที่อับอากาศ, การเชื่อมใต้น้ำ, การเชื่อมในพื้นที่อันตราย เช่น ถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่, ภายในโรงงานผลิตสารเคมี และวัตถุไวไฟ การเชื่อมมีอันตรายเกิดขึ้นได้ง่าย จึงควรมีความระมัดระวังเพื่อป้องกันอันตราย เช่น เกิดจากกระแสไฟฟ้า, ความร้อน, สะเก็ดไฟ, ควันเชื่อม, แก๊สพิษ, รังสีอาร์ค, ชิ้นงานร้อน, ฝุ่นละออง ในยุคเริ่มแรกจนถึงศตวรรษที่ 19 มีการใช้งานเฉพาะการเชื่อมทุบ (Forge welding) เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อโลหะ เช่นการทำดาบในสมัยโบราณ วิธีนี้การเชื่อมที่ได้มีความแข็งแรงสูง และโครงสร้างของเหล็กมีคุณภาพอยู่ในระดับสูง แต่มีความล่าช้าในการนำมาใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม หลังจากนั้นได้มีการพัฒนามาสู่การเชื่อมอาร์ค และการเชื่อมโดยใช้เปลวไฟแก๊สอ็อกซิเจน และหลังจากนั้นมีการ เชื่อมแบบความต้านทานตามมา เทคโนโลยีการเชื่อมได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 20 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เทคโนโลยีการเชื่อมแบบใหม่ ได้มีการเร่งพัฒนาเพื่อรองรับต่อการสู้รบในช่วงเวลานั้น เพื่อทดแทนการต่อโลหะแบบเดิม เช่นการใช้หมุดย้ำซึ่งมีความล่าช้าอย่างมาก กระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ (SMAW) เป็นกระบวนการหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงนั้นและกระทั่งปัจจุบัน ยังคงเป็นกรรมวิธีที่ใช้งานกันมากที่สุดในประเทศไทย และประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย นอกจากโลหะแล้ว ยังมีการเชื่อมวัสดุประเภทอื่นอีก เช่น การเชื่อมพลาสติก การเชื่อมกระจกหรือแก้ว เป็นต้น.

ใหม่!!: การเชื่อมและการเชื่อม · ดูเพิ่มเติม »

การเชื่อมอาร์ค

การเชื่อมอาร์คโลหะ การเชื่อมอาร์ค (Arc welding) เป็นการเชื่อมโลหะชนิดหนึ่งที่ใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดเพื่อใช้สร้างอาร์คไฟฟ้าระหว่างลวดเชื่อมและฐานโลหะ แหล่งพลังงานสามารถเป็นได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรง (DC) หรือ ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และใช้ได้ทั้งแบบขั้วเชื่อมและลวดเชื่อม การเชื่อมชนิดนี้ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันแก๊ส ไอระเหย และขี้เชื่อม.

ใหม่!!: การเชื่อมและการเชื่อมอาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

การเชื่อมทิก

การเชื่อมทิก (Tungsten Inert Gas welding, TIG) หรืออีกชื่อหนึ่งคือการเชื่อมอาร์คทังสเตนแก๊สปกคลุม (Gas Tungsten Arc Welding, GTAW) เป็นกระบวนการเชื่อมแบบอาร์คชนิดหนึ่งที่ใช้ แท่งอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม บริเวณบ่อหล่อมจะมีแก๊สปกคลุมเพื่อป้องกันบ่อหลอมจากการปนเปื้อนหรือการทำปฏิกิริยากับอากาศรอบข้าง แก๊สเฉื่อยที่ใช้กันทั่วไปคืออาร์กอน หรือ ฮีเลี่ยม อย่างไรก็ตามแก๊สฮีเลี่ยมนั้นราคาแพงกว่าอาร์กอนมาก ในการเชื่อมมีทั้งแบบเติมลวดและไม่เติมลวดลงไปในบ่อหลอมthumb ในการเชื่อมมีกระแสไฟฟ้านี้เป็นตัวกระตุ้นให้แก๊สที่ปลายทังสเตนอิเล็กโทรดกลายเป็นไอออน และทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านระหว่างทังสเตนอิเล็กโทรดและบ่อหลอมเห็นเป็นลำพลาสมา การเชื่อมทิกนี้นิยมใช้กับชิ้นงานที่มีลักษณะบาง ทำจากสเตนเลสสตีล และโลหะกลุ่มที่ไม่ได้มีเหล็กเป็นองค์ประกอบหลักเช่น อะลูมิเนียมอัลลอย แมกนีเซียมอัลลอย ทองแดงอัลลอย นิกเกิลอัลลอย และไทเทเนียมอัลลอย เป็นต้น กระบวนการเชื่อมทิกมีข้อเด่นเหนือกระบวนการเชื่อมอื่นๆ เช่น shielded metal arc welding (SMAW) หรือ gas metal arc welding (GMAW) ในด้านการควบคุมคุณภาพและความแข็งแรงของแนวเชื่อม แต่ข้อด้อยคือ เป็นกระบวนการเชื่อมที่ต้องอาศัยทักษะของช่างเชื่อมสูง และไม่เหมาะกับแนวเชื่อมขนาดใหญ่ เนื่องจากกระบวนการเชื่อมทำได้ช้า ทีละน้อย องค์ประกอบต่างๆของการเชื่อมทิก.

ใหม่!!: การเชื่อมและการเชื่อมทิก · ดูเพิ่มเติม »

การเชื่อมไฟฟ้า

การเชื่อมไฟฟ้า (Shielded Metal Arc Welding, SMAW) การเชื่อมไฟฟ้า คือการเชื่อมอาร์คประเภทหนึ่ง ใช้อิเล็กโทรดหรือก้านธูปที่หุ้มด้วยฟลักซ์ ในการเชื่อมโลหะ กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการเชื่อมมีทั้งไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ สร้างอาร์คขึ้นระหว่างปลายอิเล็กโทรดกับผิวชิ้นงานที่เชื่อม  เปลวอาร์คทำให้ผิวชิ้นงาน และอิเล็กโทรดหลอมเหลว ที่ผิวชิ้นงานเกิดเป็นบ่อหลอมและเนื้อวัสดุจากอิเล็กโทรดหลอมลงไปในบ่อหลอม รวมกันเกิดเป็นเนื้อเชื่อม และแนวเชื่อม ฟลักซ์ที่หุ้มอิเล็กโทรดอยู่หลอมเหลวและเปลี่ยนสภาพกลายเป็นแก๊สปกคลุม และบางส่วนเกิดเป็่นสแลกปกคลุมแนวเชื่อม ซึ่งแก๊สปกคลุม และสแลกนี้ทำหน้าที่ป้องกันบรรยากาศรายรอบไม่ให้เข้าไปปนเปื้อนในเนื้อเชื่อม เนื่องจากกระบวนการเชื่อมนี้มีความยืดหยุ่น อาศัยอุปกรณ์และการปฏิบัติงานที่ไม่ซับซ้อน ทำให้กระบวนการนี้ใช้อย่างแพร่หลายที่สุด เมื่อเทียบกับกระบวนการเชื่อมอื่นๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุง และในการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ โหละที่เชื่อมด้วยกระบวนการนี้โดยมากคือกลุ่มเหล็ก ซึ่งรวมถึงสเตเลสด้วย นอกจากนี้ โลหะผสม กลุ่ม อะลูมิเนียม นิกเกิล และทองแดง ก็ใช้กระบวนการเชื่อมนี้ด้วยเช่นกัน การเชื่อมโลหะ (welding) หมายถึงการต่อโลหะ 2 ชิ้นให้ติดกันโดยการให้ความร้อนแก่โลหะจนหลอมละลายติดเป็นเนื้อเดียวหันหรือโดยการเติมลวดเชื่อมเป็นตัวให้ประสานกันก็ได้กรรมวิธีในการเชื่อมโลหะที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมีดังต่อไปนี้คือ 1.

ใหม่!!: การเชื่อมและการเชื่อมไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวเจอร์ซีย์

รัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุด ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ โดยอยู่ติดกับรัฐนิวยอร์ก ชื่อนิวเจอร์ซีย์มาจากชื่อของเกาะเจอร์ซีย์ บริเวณช่องแคบอังกฤษในยุโรป ชื่อเล่นของรัฐมีชื่อว่า "การ์เดนสเตต" (Garden State) ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ตั้งรกรากในนิวเจอร์ซีย์คือ ชาวสวีเดน และชาวเยอรมัน เมืองสำคัญในรัฐนิวเจอร์ซีย์ได้แก่ นูอาร์ก (น้วก) เจอร์ซีซิตี และ แอตแลนติกซิตี ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ นิวยอร์ก ไจแอนต์, นิวยอร์ก เจ็ต, นิวเจอร์ซีย์ เน็ต, นิวเจอร์ซีย์ เดวิลส์ และ เมโทรสตารส์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน.

ใหม่!!: การเชื่อมและรัฐนิวเจอร์ซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟ

ี-ซีรีส์ ของประเทศออสเตรเลีย รถไฟความเร็วสูง '''อีเซเอ''' ของประเทศเยอรมนี รถไฟ เป็นกลุ่มของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ไปตามรางเพื่อการขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รางส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยราง 2 เส้นขนานกัน แต่ยังหมายรวมถึงประเภทรางเดี่ยวหรือประเภทที่ใช้พลังแม่เหล็กด้วย รถไฟจะขับเคลื่อนด้วยหัวรถจักรหรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หลายๆตัวที่ติดอยู่ใต้ท้องรถ รถไฟสมัยใหม่จะใช้กำลังจากหัวรถจักรดีเซลหรือจากไฟฟ้าที่ส่งมาตามสายไฟที่อยู่เหนือตัวรถหรือตามรางสาม (Third Rail) เดิม รถไฟขับเคลื่อนโดยใช้หม้อต้มน้ำทำให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำทำให้เกิดแรงดัน แรงดันจะทำการขับเคลื่อนกลไกทำให้ล้อรถไฟเคลื่อนที่ได้ การที่ใช้ฟืนเป็นแหล่งพลังงานในการต้มน้ำ และฟืนที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ทำให้เรียกรถชนิดนี้ว่า รถจักรไอน้ำ รถไฟแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ หัวรถจักร, รถดีเซลราง, รถโดยสาร และ รถสินค้.

ใหม่!!: การเชื่อมและรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

หม้อแปลงไฟฟ้า

รงสร้างหลักของแม่เหล็กไฟฟ้า หม้อแปลง หรือหม้อแปลงไฟฟ้า (transformer) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานจากวงจรไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีกวงจรโดยอาศัยหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยปกติจะใช้เชื่อมโยงระหว่างระบบไฟฟ้าแรงสูง และไฟฟ้าแรงต่ำ หม้อแปลงเป็นอุปกรณ์หลักในระบบส่งกำลังไฟฟ้.

ใหม่!!: การเชื่อมและหม้อแปลงไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียม

มื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass).

ใหม่!!: การเชื่อมและอะลูมิเนียม · ดูเพิ่มเติม »

คลีฟแลนด์

ลีฟแลนด์ (Cleveland) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ในเขตคูยาโฮกาเคาน์ตี้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐโอไฮโอและริมชายฝั่งทางใต้ของทะเลสาบอิรี ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: การเชื่อมและคลีฟแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเค้นตกค้าง

Residual stress in a roll formed HSS tubing visible during band-saw slitting ความเค้นตกคาง (Residual stress) คือความเค้น (Stress) ที่เหลืออยู่ในวัสดุแข็งเกร็งหลังจากได้รับแรงจากภายนอกมากระทำ และการได้รับแรงนั้นสิ้นสุดลง ความเค้นตกค้างเป็นสิ่งที่ต้องการ และไม่ต้องการ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น การทำเคาะเพื่อคลายตัว (peening) เป็นการสร้างความเค้นกด เข้าสู่ชิ้นงานโลหะ เช่นชิ้นส่วนกังหันเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความสามารถในการต้านทานแรงดึง หรือกรณีกระจกหน้าของสมาร์ทโฟน จะช่วยทำให้กระจกมีความแข็งแรง และต้านทานการเกิดรอยขีดข่วนได้ดีขึ้น ในทางกลับกัน ความเค้นตกค้างสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้าง หรือเครื่องจักร ได้เนื่องจาก ทำให้ความสามารถในการรับภาระกรรมลดลง ความเค้นตกค้างสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุต่างๆ ทางกล เช่นการบิดเสียรูป การเกิดความแตกต่างของอุณหภูมิในแต่ละบริเวณอุณหภูมิของชิ้นงาน หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจุลภาคเช่นการเปลี่ยนเฟสของโลหะ ความร้อนจากกระบวนการเชื่อมสามารถทำให้เกิดการขยายตัวของบริเวณที่ได้รับความร้อน และเมื่อเย็นตัวลงจะเกิดการหดตัวที่ไม่เท่ากัน เกิดการดึงรั้งกัน ทำให้เกิดความเค้นตกค้างในโลหะ เป็นต้น.

ใหม่!!: การเชื่อมและความเค้นตกค้าง · ดูเพิ่มเติม »

ตำหนิในงานเชื่อม

ตำหนิในงานเชื่อม (welding defect) คือรอยบกพร่อง (flaw) ของวัสดุที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเชื่อมซึ่งมีความหลากหลาย ประเภทของรอยความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อมมีการระบุไว้ในมาตรฐาน ISO 6520 และระบุเกณฑ์การยอมรับความไม่สมบูรณ์เหล่านี้ไว้ในมาตรฐาน ISO 5817 และ ISO 10042 น.

ใหม่!!: การเชื่อมและตำหนิในงานเชื่อม · ดูเพิ่มเติม »

นิกเกิล

นิกเกิล (Nickel) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 28 และสัญลักษณ์คือ Ni อยู่ในตารางธาตุหมู่ 28 นิกเกิลเป็นโลหะที่มีความมันวาวสีขาวเงิน อยู่กลุ่มเดียวกับเหล็ก มีความแข็งแต่ตีเป็นแผ่นได้ ในธรรมชาติจะทำปฏิกิริยาเคมีกับกำมะถันเกิดเป็นแร่มิลเลอร์ไรต์ (millerite) ถ้าทำปฏิกิริยาเคมีกับสารหนู (arsenic) จะเกิดเป็นแร่นิกกอไลต์ (niccolite) แต่ถ้าทำปฏิกิริยาเคมีกับทั้งสารหนูและกำมะถันจะเป็นก้อนนิกเกิลกลานซ (nickel glance) ประเทศที่บริโภคนิเกิลมากที่สุดคือญี่ปุ่น ซึ่งใช้ 169,600 ตันต่อปี (ข้อมูลปี 2005).

ใหม่!!: การเชื่อมและนิกเกิล · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สปกคลุม

แก๊สปกคลุมเหนือบ่อหลอม และบริเวณต่างๆ ในการเชื่อม GMAW (1) ทิศทางการเคลื่อนที่ของหัวเชื่อม (2) Contact tube (3) Electrode (4) แก๊สปกคุลม (5) บ่อหลอม, (6) เนื้อเชื่อมที่แข็งตัวแล้ว (7) ชิ้นงาน แก๊สปกคลุมคือแก๊สเฉื่อยหรือกึ่งเฉื่อย ที่ใช้ในกระบวนการเชื่อมทิก (TIG หรือ GMAW) และการเชื่อมมิก (MIG หรือ GMAW) หน้าที่ของแก๊สปกคลุมในงานเชื่อมคือการป้องกันเนื้อเชื่อมจากการปนเปื้อนหรือการทำปฏิกิริยาจากอากาศและความชื้นที่อยู่รอบข้าง ซึ่งการปนเปื้อนของอากาศและความชื้นจะทำให้ได้คุณภาพของเนื้อเชื่อมต่ำกว่าปกติหรือทำให้ การเชื่อมทำได้ยากขึ้น แก๊สปกคลุมมีหลายชนิด การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะที่เชื่อมและกระบวนการเชื่อม การเลือกแก็สปกคลุมอย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดผลเสียในด้านคุณภาพของเนื้อเชื่อม และเสียเวลาในการแก้ไขชิ้นงาน หรือเสียเวลาในการกำจัดสะเก็ดเนื้อเชื่อมได้.

ใหม่!!: การเชื่อมและแก๊สปกคลุม · ดูเพิ่มเติม »

แอมแปร์

แอมแปร์ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า แอมป์ (สัญลักษณ์: A) เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า หรือปริมาณของประจุไฟฟ้าต่อวินาที แอมแปร์เป็นหน่วยฐานเอสไอ ตั้งชื่อตามอ็องเดร-มารี อ็องแปร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หนึ่งในผู้ค้นพบแม่เหล็กไฟฟ้.

ใหม่!!: การเชื่อมและแอมแปร์ · ดูเพิ่มเติม »

โลหะ

ลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น.

ใหม่!!: การเชื่อมและโลหะ · ดูเพิ่มเติม »

โลหะเจือ

ลหะเจือ โลหะผสม หรือ อัลลอย (alloy) คือวัสดุที่เกิดจากการรวมกันของโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยวัสดุโลหะเจือที่ได้จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากส่วนประกอบเดิมของมัน โลหะเจือถ้าเกิดจากโลหะ 2 ชนิด เรียกว่า ไบนารี่อัลลอย (binary alloy), 3 ชนิด เรียกว่า เทอร์นารี่อัลลอย (ternary alloy), 4 ชนิด เรียกว่า ควอเทอร์นารี่อัลลอย (quaternary alloy) ตามธรรมดาโลหะเจือจะถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติที่ต้องการมากกว่าการดูที่ส่วนผสมของมัน ตัวอย่างเช่น เหล็กกล้าจะแข็งแรงกว่าเหล็กซึ่งเป็นธาตุเหล็ก ทองเหลืองจะมีความทนทานมากกว่าทองแดง แต่มีความสวยงามน่าดึงดูดใจมากกว่าสังกะสี ต่างจากโลหะบริสุทธิ์ โลหะเจือหลายชนิดไม่ได้มีจุดหลอมเหลวจุดเดียว มันจะมีช่วงหลอมเหลว (melting range) แทน ซึ่งในวัสดุจะเป็นของผสมระหว่างเฟสของแข็งและของเหลว อุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวเริ่มเรียกว่า โซลิดัส (solidus) และอุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวหมดเรียกว่า ลิควิดัส (liquidus) โลหะเจือพิเศษสามารถจะออกแบบให้มีจุดหลอมเหลวเดียวได้ ซึ่งเรียกโลหะเจือนี้ว่า ยูทีติกมิกซ์เจอร์ (eutectic mixture) บางครั้งโลหะเจือตั้งชื่อตามโลหะพื้นฐาน เช่น ทอง 14 เค หรือ 14 การัต (58%) ทองคำ คือโลหะเจือที่มีทองอยู่ 58 % ที่เหลือเป็นโลหะอื่น เช่นเดียวกับ เงิน ใช้ในเพชร (jewellery) และอะลูมิเนียม โลหะเจือมีดังนี้.

ใหม่!!: การเชื่อมและโลหะเจือ · ดูเพิ่มเติม »

เหล็กกล้า

นเหล็ก สายเคเบิลที่ทำจากเหล็กกล้า เหล็กกล้า (steel) คือ เหล็ก (สัญลักษณ์ทางเคมี: Fe) ที่ผ่านกรรมวิธีเพิ่มสารอื่นๆเข้าไปเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของเหล็กให้ดีขึ้น เป็นโลหะผสมที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนอยู่ระหว่าง 0.2 – 2.04% โดยน้ำหนักขึ้นกับคุณภาพ คาร์บอนเป็นวัสดุผสมที่ลดต้นทุนของเหล็กแต่ก็มีการใช้ธาตุอื่นๆ เช่น แมงกานีส โครเมียม วานาเดียม และทังสเตน คาร์บอนและธาตุอื่นๆเป็นตัวทำให้แข็ง การเปลี่ยนปริมาณธาตุที่ผสมในโลหะผสมที่พบในเหล็กกล้า มีส่วนในการควบคุมคุณภาพทั้งด้านความแข็ง การรีดเป็นแผ่นได้ และความตึงของเหล็กกล้าที่ได้ เหล็กกล้าที่มีคาร์บอนมากขึ้นจะแข็งแกร่งและมีความแข็งมากกว่าเหล็ก แต่จะเปราะ ค่าสูงสุดในการละลายของคาร์บอนในเหล็กเป็น 2.14% โดยน้ำหนัก เกิดขึ้นที่อุณหภูมิ 1149 องศาเซลเซียสในการอบใช้อุณหภูมิประมาณ950 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้หรือหรืออุณหภูมิต่ำกว่านี้จะเกิดลักษณะเป็นซีเมนต์ โลหะผสมที่มีคาร์บอนมากจะเป็นเหล็กที่มีความแข็งมาก เพราะมีจุดหลอมเหลวต่ำ และมีความแข็ง เหล็กกล้าต่างจากเหล็กบริสุทธิ์ที่มีอะตอมของธาตุอื่นน้อยมาก แต่มีกากแร่ 1-3% โดยน้ำหนักในรูปของอนุภาคอยู่ในทิศทางหนึ่ง ซึ่งมีความทนทานกว่าเหล็กกล้า และโค้งงอง่ายกว่าแบ่งเป็น.

ใหม่!!: การเชื่อมและเหล็กกล้า · ดูเพิ่มเติม »

เทอร์โมพลาสติก

ทอร์โมพลาสติก เป็นพลาสติกที่มีจุดหลอมเหลว และมีจุดอ่อนตัว (ต่างจากเทอร์โมเซ็ทพลาสติก) มีโครงสร้างแบบสายยาวหรือแบบสาขาสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก เทอร์โมพลาสติกจะเกิดการอ่อนตัวและหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน และจะเกิดแข็งตัวเมื่อทำให้เย็นลง พลาสติกที่แข็งตัวแล้วสามารถนำมาหลอมซ้ำได้ ด้วยความร้อนเทอร์โมพลาสติก ดังนั้นเทอร์โมพลาสติกจึงเป็นวัสดุที่มีสมบัติเหมาะสม สำหรับการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เทอร์โมพลาสติกจะอ่อนตัว และหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อนและจะแข็งตัวเมื่อทำให้เย็นลง พลาสติกที่แข็งตัวแล้วสามารถนำมาหลอมซ้ำได้ ด้วยความร้อนเทอร์โมพลาสติก.

ใหม่!!: การเชื่อมและเทอร์โมพลาสติก · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยนต์ไอพ่น

รื่องยนต์แบบเทอร์โบแฟน F100 ของ Pratt & Whitney สำหรับ F-15 Eagle กำลังได้รับการทดสอบใน hush house ที่ฐานทัพการป้องกันทางอากาศ Florida. อุโมงด้านหลังเครื่องยนต์ห่อหุ้มเพื่อป้องกันเสียงและเป็นทางปล่อยให้ไอเสียออกไป การจำลองการไหลของอากาศของเครื่องยนต์แบบ low-bypass turbofan การไหลของอากาศของเครื่องยนต์ไอพ่นระหว่างการ take-off. (คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น) เครื่องยนต์ไอพ่น (jet engine) เป็นเครื่องยนต์แรงปฏิกิริยา (Reaction engine) ที่พ่นไอร้อนความเร็วสูงออกทางด้านหลังทำให้เกิดแรงผลัก (thrust) ไปข้างหน้า, การขับเคลื่อนของไอพ่น (Jet Propulsion) นี้สอดคล้องกับกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ที่ว่าแรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา นิยามของเครื่องยนต์ไอพ่นที่กว้างขวางนี้ครอบคลุมถึงเครื่องแบบเทอร์โบเจ็ท, เทอร์โบแฟน, เครื่องยนต์จรวด, แรมเจ็ท และพัลส์เจ็ท โดยทั่วไปเครื่องยนต์ไอพ่นเป็นชนิดสันดาบ (combustion engines) แต่ก็มีบางชนิดก็ไม่มีการสัน.

ใหม่!!: การเชื่อมและเครื่องยนต์ไอพ่น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Weldingการเชื่อมโลหะการเชื่อมโลหะ (Welding)การเชื่อมเหล็ก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »