โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเคลื่อนที่แบบบราวน์

ดัชนี การเคลื่อนที่แบบบราวน์

มุมมองการเคลื่อนที่แบบบราวน์ 3 แบบที่แตกต่างกัน จากการเคลื่อนที่ 32 ครั้ง, 256 ครั้ง และ 2048 ครั้ง แสดงด้วยจุดสีที่อ่อนลงตามลำดับ ภาพเสมือนจริง 3 มิติของการเคลื่อนที่แบบบราวน์ ในกรอบเวลา 0 ≤ ''t'' ≤ 2 การเคลื่อนที่แบบบราวน์ (Brownian motion; ตั้งชื่อตามนักพฤกษศาสตร์ โรเบิร์ต บราวน์) หมายถึงการเคลื่อนที่ของอนุภาคในของไหล (ของเหลวหรือก๊าซ) ที่คิดว่าเป็นไปโดยสุ่ม หรือแบบจำลองคณิตศาสตร์ที่ใช้เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่แบบสุ่มดังกล่าว มักเรียกกันว่า ทฤษฎีอนุภาค มีการนำแบบจำลองคณิตศาสตร์ของการเคลื่อนที่แบบบราวน์ไปประยุกต์ใช้ในโลกจริงมากมาย ตัวอย่างที่นิยมอ้างถึงคือ ความผันผวนของตลาดหุ้น อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นอาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ซึ่งอาจไม่เกิดซ้ำกันอีก การเคลื่อนที่แบบบราวน์เป็นหนึ่งในกระบวนการสโตคาสติก (หรือความน่าจะเป็น) แบบเวลาต่อเนื่องที่ง่ายที่สุดแบบหนึ่ง ทั้งเป็นขีดจำกัดของกระบวนการทำนายที่ทั้งง่ายกว่าและซับซ้อนกว่านี้ (ดู random walk และ Donsker's theorem) ความเป็นสากลเช่นนี้คล้ายคลึงกับความเป็นสากลของการแจกแจงแบบปกติ ซึ่งสำหรับทั้งสองกรณีนี้ การนำไปใช้งานเน้นที่ความสะดวกในการใช้งานเชิงคณิตศาสตร์มากกว่าเรื่องของความแม่นยำของแบบจำลอง ทั้งนี้เนื่องจากการเคลื่อนที่ของบราวน์ (ซึ่งอนุพันธ์เวลาเป็นอนันต์เสมอ) เป็นการประมาณการอุดมคติสำหรับกระบวนการทางกายภาพแบบสุ่มที่เกิดขึ้นจริงที่กรอบเวลามักจำกัดอยู่ที่ค่าหนึ่งเสมอ.

6 ความสัมพันธ์: การแจกแจงปรกติอนุภาคฌ็อง แปแร็งตลาดหลักทรัพย์โรเบิร์ต บราวน์ (นักพฤกษศาสตร์)โครงการกูเทนแบร์ก

การแจกแจงปรกติ

ำหรับทฤษฎีความน่าจะเป็น การแจกแจงปรกติ (normal distribution) เป็นการแจกแจงความน่าจะเป็นของค่าของตัวแปรสุ่มที่เป็นค่าแบบต่อเนื่อง โดยที่ค่าของตัวแปรสุ่มมีแนวโน้มที่จะมีค่าอยู่ใกล้ ๆ กับค่า ๆ หนึ่ง (เรียกว่าค่ามัชฌิม) กราฟแสดงค่าฟังก์ชันความหนาแน่น (probability density function) จะเป็นรูปคล้ายระฆังคว่ำ หรือเรียกว่า Gaussian function โดยค่าฟังก์ชันความหนาแน่นของการแจกแจงปรกติ ได้แก่ โดย "x" แทนตัวแปรสุ่ม พารามิเตอร์ μ แสดงค่ามัชฌิม และ σ 2 คือค่าความแปรปรวน (variance) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้บอกปริมาณการกระจายของการแจกแจง การแจกแจงปรกติที่มีค่า และ จะถูกเรียกว่า การแจกแจงปรกติมาตรฐาน การแจกแจงปรกติเป็นการแจกแจงที่เด่นที่สุดในทางวิชาความน่าจะเป็นและสถิติศาสตร์ ซึ่งก็มาจากหลาย ๆ เหตุผล ซึ่งก็รวมถึงผลจากทฤษฎีบทขีดจํากัดกลาง (central limit theorem) ที่กล่าวว่า ภายใต้สภาพทั่ว ๆ ไปแล้ว ค่าเฉลี่ยจากการสุ่มค่าของตัวแปรสุ่มอิสระจากการแจกแจงใด ๆ (ที่มีค่าเฉลี่ยและค่าความแปรปรวนจำกัด) ถ้าจำนวนการสุ่มนั้นใหญ่พอ แล้วค่าเฉลี่ยนั้นจะมีการแจกแจงประมาณได้เป็นการแจกแจงปรกต.

ใหม่!!: การเคลื่อนที่แบบบราวน์และการแจกแจงปรกติ · ดูเพิ่มเติม »

อนุภาค

อนุภาค หมายถึงสสารที่มีปริมาณน้อยมากหรือเล็กมาก อาจหมายถึง; ในเคมี.

ใหม่!!: การเคลื่อนที่แบบบราวน์และอนุภาค · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง แปแร็ง

็อง บาติสต์ แปแร็ง (Jean Baptiste Perrin; 30 กันยายน ค.ศ. 1870 – 17 เมษายน ค.ศ. 1942) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี..

ใหม่!!: การเคลื่อนที่แบบบราวน์และฌ็อง แปแร็ง · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดหลักทรัพย์

ตลาดหลักทรัพย์ หรือ ตลาดหุ้น เป็นสถานที่สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ระยะยาว ของ บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งถือว่าเป็นตลาดรอง (Secondary Market) ทั้งนี้เนื่องจากจะทำการซื้อขายเฉพาะหลักทรัพย์ที่ได้ออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนโดยทั่วไปแล้วเท่านั้น หลักทรัพย์ระยะยาว จะประกอบไปด้วยตราสารหนี้ และตราสารทุนซึ่งประกอบไปด้วย หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิแบบต่าง ๆ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หุ้นกู้ และ หน่วยลงทุน เป็นต้น โดยเรียกว่าเป็นประเภทของตราสารเพื่อการลงทุนตลาดหลักทรัพย์มีอยู่แทบทุกประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: การเคลื่อนที่แบบบราวน์และตลาดหลักทรัพย์ · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต บราวน์ (นักพฤกษศาสตร์)

รเบิร์ต บราวน์ (Robert Brown; FRS; 21 ธันวาคม ค.ศ. 1773 - 10 มิถุนายน ค.ศ. 1858) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสก๊อตผู้มีบทบาทสำคัญในวิชาพฤกษศาสตร์อันเนื่องมาจากงานบุกเบิกในการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ ผลงานของเขารวมไปถึงการค้นพบนิวเคลียสของเซลล์ และ cytoplasmic streaming, การค้นพบการเคลื่อนที่ของบราวน์ และเป็นผู้แรกที่ตระหนักถึงความแตกต่างในระดับพื้นฐานระหว่าง gymnosperms กับ angiosperms เขายังมีส่วนสำคัญในการกำหนดพฤกษอนุกรมวิธาน รวมถึงชื่อตระกูลของพืชจำนวนมากซึ่งยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: การเคลื่อนที่แบบบราวน์และโรเบิร์ต บราวน์ (นักพฤกษศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

โครงการกูเทนแบร์ก

รงการกูเทนแบร์ก (Project Gutenberg หรือเรียกชื่อย่อว่า PG) เป็นโครงการอาสาสมัครเพื่อการแปรงานทางวัฒนธรรมเช่นงานวรรณกรรมเป็นดิจิทัลเพื่อการเก็บรักษาและเผยแพร่แก่สาธารณชน โครงการกูเทนแบร์กก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1971 โดยไมเคิล เอส ฮาร์ท (Michael S. Hart) และเป็นห้องสมุดดิจิทัลที่เก่าที่สุด สื่อที่สะสมเป็นหนังสือทั้งเล่ม (full text) ที่ลิขสิทธิ์หมดอายุและเป็นสมบัติของสาธารณชน โครงการกูเทนแบร์กพยายามทำให้สาธารณชนสามารถใช้หนังสือเหล่านี้โดยไม่ต้องเสียเงินเท่าที่จะทำได้ และในรูปแบบที่ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป (open format) ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 โครงการกูเทนแบร์กกล่าวว่ามีสื่อกว่า 24,000 สื่อในโครงการ โครงการกูเทนแบร์กเกี่ยวข้องกับโครงการอื่นๆ ที่เป็นองค์การอิสระอีกหลายโครงการที่มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกันและได้รับอนุญาตให้ใช้ตรา “Project Gutenberg” ถ้าเป็นไปได้ หนังสือหรือสื่อของโครงการกูเทนแบร์กจะเป็นเนื้อหาที่ไม่มีรูปแบบ (plain text) แต่รูปแบบอื่นก็มีให้เช่น HTML หนังสือหรือสื่อส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษแต่ก็มีบ้างที่เป็นภาษาอื่น โครงการมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ โครงการผู้ตรวจสอบ (Distributed Proofreaders หรือเรียกชื่อย่อว่า DP) ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครอินเทอร์เน็ตที่ช่วยตรวจสอบหนังสือและสือก่อนที่จะเผยแพร่แก่สาธารณชนในโครงการกูเทนแบร์ก.

ใหม่!!: การเคลื่อนที่แบบบราวน์และโครงการกูเทนแบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การเคลื่อนที่ของบราวน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »