โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเขียนโปรแกรมเชิงลักษณะ

ดัชนี การเขียนโปรแกรมเชิงลักษณะ

การเขียนโปรแกรมเชิงลักษณะ (aspect-oriented programming - AOP) ในทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงลักษณะ (aspect-oriented software development - AOSD) เป็นความพยายามในการช่วยนักพัฒนาสำหรับแยกคอนเซินในการเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนเซินตัดขวาง (crosscutting concern) เพื่อเพิ่มความเป็น module การใช้งาน AOP อาจจะต้องทำการปรับเปลี่ยนภาษาในการพัฒนา ในขณะที่การใช้ AOSD จะรวมถึงความเกี่ยวข้องกับภาษา สภาพแวดล้อมและวิธีการพัฒนา หมวดหมู่:แบบอย่างการเขียนโปรแกรม.

1 ความสัมพันธ์: วิศวกรรมซอฟต์แวร์

วิศวกรรมซอฟต์แวร์

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (software engineering) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับวิศวกรรมด้านซอฟต์แวร์ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการดูแลการผลิต ตั้งแต่การเริ่มเก็บความต้องการ การตั้งเป้าหมายของระบบ การออกแบบ กระบวนการพัฒนา การตรวจสอบ การประเมินผล การติดตามโครงการ การประเมินต้นทุน การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์เป็นต้น วิศวกรรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมาย ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด วิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นศาสตร์ที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องมีการวิศวกรรมที่จะควบคุมและดำเนินการผลิต ที่มีประสิทธิภาพ สามารถวัดผลได้ และ สามารถตรวจหาข้อผิดพลาดพร้อมสาเหตุได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ตั้งแต่อยู่ในระหว่างการผลิตได้อีกทั้งยังมีการทบทวนและตรวจสอบ ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ใหม่!!: การเขียนโปรแกรมเชิงลักษณะและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Aspect-oriented programmingโปรแกรมเชิงลักษณะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »