โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การออกเสียงประชามติ

ดัชนี การออกเสียงประชามติ

การออกเสียงประชามติ (referendum) คือ การนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สำคัญของประเทศ ไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่งซึ่งประชาชนมีส่วนมีเสียงโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดิน.

17 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2492พ.ศ. 2511พ.ศ. 2517พ.ศ. 2550กฎหมายการลงประชามติแยกเป็นเอกราชภาษาละตินรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ทวีปยุโรปประชาธิปไตยประชาธิปไตยโดยตรงประเทศไทย19 สิงหาคม

พ.ศ. 2492

ทธศักราช 2492 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1949.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและพ.ศ. 2492 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2511

ทธศักราช 2511 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1968 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและพ.ศ. 2511 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2517

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและพ.ศ. 2517 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติแยกเป็นเอกราช

การลงประชามติแยกเป็นเอกราช (Independence referendum) คือ การลงประชามติประเภทหนึ่งซึ่งพลเมืองในดินแดนหนึ่งตัดสินว่าดินแดนนั้นควรเป็นประเทศเอกราชใหม่หรือไม.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการลงประชามติแยกเป็นเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญ

มหากฎบัตร (Magna Carta) รัฐธรรมนูญ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบั..2525 ให้ความหมายว่า "รัฐธรรมนูญ" คือกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเท.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหม.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 มี 39 มาตรา เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หลังจากที่ได้กระทำการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ออกประกาศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้คณะปฏิรูปฯได้ออกประกาศคงบทบัญญัติบางหมวดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 ไว้ภายหลัง รัฐธรรมนูญฉบั..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยโดยตรง

การชุมนุมตามกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า Landsgemeinde ในแคนทอนกลารุสปี พ.ศ. 2549 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) หรือ ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (pure democracy.) เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนตัดสินการริเริ่มออกกฎหมาย/นโยบายต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะโดยออกเสียงลงคะแนนหรือลงประชามติเป็นต้น ซึ่งต่างจากรัฐประชาธิปไตยปัจจุบันโดยมากอันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ริเริ่มแล้วออกเสียงตัดสินนโยบายอีกทอดหนึ่ง ในระบอบนี้ ประชาชนอาจมีอำนาจการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร ริเริ่มแล้วตัดสินการออกกฎหมายทางฝ่ายนิติบัญญัติ เลือกตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ และดำเนินการทางฝ่ายตุลาการ ประชาธิปไตยโดยตรงมีรูปแบบหลัก ๆ สองอย่างคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประชาธิปไตยโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

19 สิงหาคม

วันที่ 19 สิงหาคม เป็นวันที่ 231 ของปี (วันที่ 232 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 134 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและ19 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Referendumการลงประชามติการแสดงประชามติลงประชามติประชามติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »