โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การล้อมวอร์ซอ (1939)

ดัชนี การล้อมวอร์ซอ (1939)

การปิดล้อมวอร์ซอ คือส่วนหนึ่งของการรบในการบุกครองโปแลนด์เพื่อชิงกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์ ระหว่างกองทัพโปแลนด์ประจำกรุงวอร์ซอ (Armia Warszawa) กับกองทัพเยอรมัน การรบเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพอากาศเยอรมัน (Luftwaffe) เริ่มทำการทิ้งระเบิดในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 การรบภาคพื้นดินเริ่มขึ้นในวันที่ 8 กันยายน เมื่อหน่วยยานเกราะของเยอรมันเคลื่อนพลเข้ามายังเขตโวลา (Wola) และปริมณฑลทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง แม้ว่าทางเยอรมันจะประกาศทางวิทยุว่าได้ทำการเข้ายึดกรุงวอร์ซอแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น การบุกถูกสกัดไว้ได้ วอร์ซอจึงถูกปิดล้อม จนกระทั่งวันที่ 28 กันยายน เมื่อกองกำลังโปแลนด์ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกวาเลเรียน ทูมา (Walerian Czuma) ได้ยอมจำนน วันต่อมาทหารโปแลนด์ประมาณ 100,000 นายถูกจับเป็นเชลยศึก และถูกส่งออกนอกเมือง กองทัพบกเยอรมัน (Wehrmacht) เคลื่อนพลเข้ามาประจำการในวอร์ซอในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นของการเข้ายึดครองโปแลนด์ของเยอรมนีจนเกิดการก่อการกำเริบวอร์ซอ และสิ้นสุดลงในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1945 หมวดหมู่:การทัพโปแลนด์.

18 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2482พ.ศ. 2488กองทัพโปแลนด์การบุกครองโปแลนด์การก่อการกำเริบวอร์ซอรถถังลุฟท์วัฟเฟอวอร์ซอประเทศโปแลนด์นาซีเยอรมนีแวร์เนอร์ ฟอน ฟริทช์เชลยศึกเมืองหลวง1 กันยายน1 ตุลาคม17 มกราคม28 กันยายน8 กันยายน

พ.ศ. 2482

ทธศักราช 2561 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1939.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และพ.ศ. 2482 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2488

ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และพ.ศ. 2488 · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพโปแลนด์

กองทัพโปแลนด์ (Siły Zbrojne Rzeczypospolitej Polskiej, อักษรย่อSZ RP; คำเรียกโดยทั่วไป, Wojsko Polskie, อักษรย่อ WP หมายถึง "ทหารโปแลนด์") เป็นกองกำลังทหารของสาธารณรัฐโปแลน.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และกองทัพโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และการบุกครองโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การก่อการกำเริบวอร์ซอ

การก่อการกำเริบวอร์ซอ (powstanie warszawskie) เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อได้เกิดเหตุการณ์การจลาจลในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี 1944 ซึ่งประเทศโปแลนด์อยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีเยอรมนี การก่อจลาจลนั้นมาจากกองกำลังใต้ดินของกองทัพบ้านเกิดของประเทศโปแลนด์ในกรุงวอร์ซอได้ก่อจลาจลเพื่อปลดปล่อยประเทศโปแลนด์ให้เป็นอิสระจากนาซีเยอรมันให้ได้ก่อนสหภาพโซเวียตซึ่งกำลังรุกจากตะวันออก เนื่องจากเป็นวัตถุประสงค์ของสหราชอาณาจักรเพราะได้เล็งเห็นว่าสหภาพโซเวียตได้สนับสนุนคณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยโปแลนด์และหมายจะยึดครองโปแลนด์ให้กลายเป็นรัฐบริวารคอมมิวนิสต์ซึ่งได้พยายามขัดขวางไม่ให้ทำสำเร็จจึงได้สนับสนุนขบวนการใต้ดินของโปแลนด์ในการก่อจลาจลโดยได้ให้การสนับสนุนทางอากาศของตน โปลแลนด์ แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา ส่วนสหภาพโซเวียตได้แสดงเจตจำนงทำการสนับสนุนกองทัพบ้านเกิดของโปแลนด์ในการก่อจลาจลจึงได้ให้การสนับสนุนกองทัพอากาศเช่น การต่อสู้ได้ถูกดำเนินเป็นเวลา 2 เดือน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ปี 1944 กองทัพเยอรมันได้ปราบปรามการจลาจลอย่างราบคาบ กองกำลังใต้ดินโปแลนด์ได้ยอมจำนน และกรุงวอร์ซอถูกทำลายเสียหายยับเยินโดยกองทัพเยอรมัน สาเหตุที่การจลาจลล้มเหลวเพราะสหภาพโซเวียตไม่ได้สนับสนุนอย่างจริงจังแต่อย่างใดเลย และยังปฏิเสธไม่ให้กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาลงจอดในลานบินแดนโซเวียตเพื่อสนันสนุนโปแลน.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และการก่อการกำเริบวอร์ซอ · ดูเพิ่มเติม »

รถถัง

รถถัง Mark IV รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ รถถัง A7V ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่ อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะ ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่ ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือนๆ กัน.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และรถถัง · ดูเพิ่มเติม »

ลุฟท์วัฟเฟอ

ลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เป็นเหล่าทัพการสงครามทางอากาศของกองทัพเยอรมันเวร์มัคท์ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพอากาศเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ลุฟท์ชไตรท์แครฟเทอ (Luftstreitkräfte) แห่งกองทัพจักรวรรดิเยอรมัน และหน่วยนักบินทหารเรือ มารีเนอ-ฟีเกอร์อับไทลุงของไคแซร์ลีเชอ มารีเนอ (Kaiserliche Marine), ได้ถูกยุบในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และลุฟท์วัฟเฟอ · ดูเพิ่มเติม »

วอร์ซอ

วอร์ซอ (Warszawa) แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงวอร์ซอ วอร์ซอ (อังกฤษ: Warsaw; โปแลนด์: Warszawa วารฺชาวา) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศโปแลนด์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวิสทูลา ห่างจากชายฝั่งทะเลบอลติกประมาณ 370 กิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ในตัวเมืองประมาณ 1,726,581 (2014) คน และรวมเขตเมืองด้วยจะประมาณ 2,760,000 คน (ข้อมูล พ.ศ. 2548) ตัวเมืองวอร์ซอมีพื้นที่ 517.24 ตร.กม.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และวอร์ซอ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แวร์เนอร์ ฟอน ฟริทช์

ลเอก โทมัส ลุดวิจ แวร์เนอร์, ไฟร์แฮร์ ฟอน ฟริทช์(Thomas Ludwig Werner, Freiherr von Fritsch) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพเยอรมัน ตั้งแต่ ปี..

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และแวร์เนอร์ ฟอน ฟริทช์ · ดูเพิ่มเติม »

เชลยศึก

ลยศึก (prisoner of war) หมายถึง บุคคลที่อยู่ในการคุมขังของฝ่ายข้าศึกระหว่างหรือหลังการขัดกันด้วยอาวุธทันที ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นพลรบหรือผู้ที่มิใช่พลรบก็ตาม วลีดังกล่าวมีบันทึกว่าใช้ครั้งแรกประมาณ..

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และเชลยศึก · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวง

มืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวั.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

1 กันยายน

วันที่ 1 กันยายน เป็นวันที่ 244 ของปี (วันที่ 245 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 121 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และ1 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

1 ตุลาคม

วันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันที่ 274 ของปี (วันที่ 275 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 91 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และ1 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

17 มกราคม

วันที่ 17 มกราคม เป็นวันที่ 17 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 348 วันในปีนั้น (349 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และ17 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

28 กันยายน

วันที่ 28 กันยายน เป็นวันที่ 271 ของปี (วันที่ 272 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 94 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และ28 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

8 กันยายน

วันที่ 8 กันยายน เป็นวันที่ 251 ของปี (วันที่ 252 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 114 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การล้อมวอร์ซอ (1939)และ8 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การปิดล้อมวอร์ซอ (1939)การปิดล้อมวอร์ซอ (พ.ศ. 2482)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »