โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การลอกคราบ

ดัชนี การลอกคราบ

ักจั่นลอกคราบ ลอกคราบ หรือ สลัดขน (spelling differences.) เป็นศัพท์ทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นกับสัตว์บางสปีชีส์ - ecdysis ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสัตว์ลอกส่วนของร่างกายที่มักจะเป็นเปลือกนอก (แต่ก็ไม่เสมอไป) ออกไป หรือเปลี่ยนส่วนที่ปกคลุมภายนอกเช่นขนใหม่ การลอกคราบหรือสลัดขนอาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปี หรืออาจจะเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของสัตว์ก็ได้ การลอกคราบ หรือ การสลัดขนเป็นการเปลี่ยนหนังหนังกำพร้า (Epidermis), ขนสัตว์ (pelage) หรือเปลือกนอกของร่างกายที่มีลักษณะอื่น ในบางสปีชีส์บางส่วนของร่างกายอาจจะถูกสลัดตามไปด้วยเช่นปีกของแมลงบางสปีชีส์ ตัวอย่างของการลอกคราบ หรือ การสลัดขนก็ได้แก่การสลัดขนของนก หรือ การสลัดขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะสุนัข หรือ หมาจิ้งจอก) หรือการลอกคราบของสัตว์เลื้อยคลาน หรือการเปลี่ยนทั่งร่างสัตว์ขาปล้อง.

7 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาสัตว์ขาปล้องสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์หมาจิ้งจอกหนังกำพร้าขนสัตว์

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: การลอกคราบและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: การลอกคราบและสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: การลอกคราบและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: การลอกคราบและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอก

หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจอก (fox, jackal; อีสาน: หมาจอก) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

ใหม่!!: การลอกคราบและหมาจิ้งจอก · ดูเพิ่มเติม »

หนังกำพร้า

ตัดขวางของผิวหนัง หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นบริเวณชั้นนอกสุดของผิวหนัง ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าหรือออกจากร่างกาย และห่อหุ้มร่างกาย ประกอบด้วยเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวประเภทสแตรทิฟายด์ สแควมัส (stratified squamous epithelium) รองรับด้วยเบซัล ลามินา (basal lamina).

ใหม่!!: การลอกคราบและหนังกำพร้า · ดูเพิ่มเติม »

ขนสัตว์

สุนัขมีขนชั้นบนยาวกว่าและปกปิดขนชั้นล่างเอาไว้ ขนสัตว์บนหัวลูกแมวอายุห้าเดือน ขนสัตว์ หมายถึง ขนที่ปกคลุมร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่ใช่มนุษย์ แต่ก็ไม่ใช่ทุกชนิดที่จะมีขนสัตว์ ซึ่งจะใช้คำว่า เปลือย หรือ ไร้ขน ประกอบ เช่น สุนัขไร้ขน เป็นต้น ขนสัตว์ประกอบด้วยขนชั้นล่าง (ground/down hair) ขนชั้นบน (guard hair) และบางชนิดก็มีขนชั้นกลาง (awn hair) ขนชั้นล่างจะเป็นขนเส็นสั้นๆ เป็นฝอย แบน หยักศก และหนาแน่นกว่าชั้นบน เพื่อเก็บกักอากาศ ส่วนขนชั้นบนจะเป็นเส้นยาวและตรง ขนชั้นนี้จะเป็นชั้นที่มองเห็นได้ปกติทั่วไป และอาจมีสีและลวดลายอยู่ด้วย หมวดหมู่:ขนของสัตว์.

ใหม่!!: การลอกคราบและขนสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MoltMoltingMoultMoultingการสลัดขนลอกคราบสลัดขน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »