โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การลดธงครึ่งเสา

ดัชนี การลดธงครึ่งเสา

การลดธงชาติไทยครึ่งเสา เพื่อถวายอาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ศูนย์ประชุมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น การลดธงครึ่งเสา (half-staff, half-mast) หมายถึง การชักธงขึ้นที่เสาธงใดๆ เพียง 1 ใน 3 หรือ 2 ใน 3 ของความยาวเสาธงหรือเสาธงเรือ (ขึ้นอยู่กับกรณีตามที่แต่ละประเทศกำหนด) เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความเคารพหรือการไว้ทุกข์ ต่อผู้ตาย ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ ธรรมเนียมการชักธงเพียงครึ่งเสาเริ่มต้นขึ้นเมื่อหลายศตวรรษก่อน เพื่อให้ธงแห่งความตายที่มองไม่เห็น (the invisible flag of death) ได้ชักอยู่บนยอดเสาธงนั้น อันหมายความถึงพลังอำนาจ การมีอยู่ และการปรากฏของความตาย สำหรับวิธีการลดธงครึ่งเสานั้น จะต้องเชิญธงขึ้นไปสู่ยอดเสาเสียก่อน จากนั้นจึงลดธงลงมาอยู่ในระดับครึ่งเสา (ตามระเบียบ นร.ได้กำหนดให้ลดลงจากยอดเสาเพียง ๑ ใน ๓ ของความสูงเสา หรืออีกนัยหนึ่ง ธงจะอยู่ที่ความสูง ๒ ใน ๓ ส่วน ของความสูงเสาธง) หรือตามระดับอื่นที่กำหนดไว้ในกฎหมาย นอกจากนั้น เมื่อจะมีการเชิญธงจากยอดเสาในเวลาสิ้นสุดของวัน จะต้องเชิญธงกลับขึ้นไปที่ยอดเสาเสียก่อน จึงจะลดธงได้เช่นกัน การไว้ทุกข์ด้วยธงชาติสำหรับบางประเทศยังอาจมีธรรมเนียมที่ต่างออกไป เช่น ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น จะมีการเพิ่มแถบผ้าสีดำไว้เหนือธงชาติ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการไว้ทุกข์ ธงชาติซาอุดีอาระเบียไม่มีการลดธงครึ่งเสา สำหรับธงชาติซาอุดีอาระเบีย ธงชาติโซมาลีแลนด์ ธงชาติอิหร่าน ธงชาติอัฟกานิสถานและธงชาติอิรัก ถือเป็นธงชาติที่จะไม่มีการลดธงครึ่งเสา เนื่องจากข้อความชะฮาดะฮ์ หรือ(และ)ตักบีร์บนธงมีความหมายถึง พระนามของอัลลอฮ์ (พระเจ้า) จึงไม่อาจใช้ธงนี้เป็นสัญลักษณ์ในการแสดงความอาลัยได้ การลดธงครึ่งเสาเพื่อแสดงความไว้อาลัยต่อการสูญเสียบุคคลสำคัญของประเทศครั้งแรกในสยามเกิดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อคราวสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีสวรรคต (ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ สิ้นพระชนม์) เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2404 บรรดาฝรั่งลดธงลงครึ่งเสา 3 วัน ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระยาศรีพิพัฒน์หัวหน้าคณะทูตสยามไปเจริญพระราชไมตรียังประเทศฝรั่งเศส มีข้อความว่า “แม่เพอยนี้ถึงในกรุงเทพฯ ท่านทั้งปวงว่าเป็นเจ้าเล็กเจ้าน้อยก็ดีแต่ในเมืองที่มาทำสัญญาไมตรีแลลูกค้าพาณิชต่างประเทศเป็นอันมากเขานับถือว่าเป็นคนโตคนใหญ่ ตั้งแต่วันสิ้นชีวิตลงแล้ว กงสุลต่างประเทศ บรรดาที่มีธงเขาก็ลดธงครึ่งเสาให้สามวัน เรือกำปั่นที่จอดทอดอยู่ในแม่น้ำทุกลำ กงสุลก็ป่าวร้องให้ลดธงแลไขว้เชือกแดงสำแดงให้รู้ว่าเศร้าโศกสามวัน...ก็หนังสือนี้จะมาถึงท่านทั้งปวงเมื่อใดที่ตำบลใดก็ยังไม่ทราบ ถ้าได้หนังสือนี้ที่เรือหรือที่บกควรจะยกธงกึ่งเสาเป็นคำนับสามวันหรือเจ็ดวันอย่างไร ก็จงคิดเป็นเกียรติยศแก่ข้าพเจ้าด้วย หรืออย่างหนึ่งเมื่อข่าวว่ามารดากวีนวิคตอเรียสิ้นชีพแล้วเข้ามาถึงกรุงเทพฯ พวกกงสุลอังกฤษเขายกธงกึ่งเสาสิบสี่วัน แล้วเขาแต่งด้วยเครื่องดำด้วยสิบสี่วัน แต่รายนี้จะทำสามวันหรือเจ็ดวันก็ควรอยู่แล้ว พวกทูตถ้ามีเครื่องดำแต่ง จะแต่งเครื่องดำด้วยก็ตาม พอให้เป็นเกียรติยศ แต่ถ้าจะสำแดงการอย่างนี้จงประกาศการให้ปรากฏก่อน อย่าให้กิตติศัพท์เลื่องลือผิดกลายเป็นตัวข้าพเจ้าเองไปได้ เพราคนในประเทศเป็นอันมาก แลนอกประเทศบางพวก มันนั่งเร่งนอนเร้าข้าพเจ้าอยู่ ท่านก็จะรู้อยู่แล้ว” จากประโยคที่ยกมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่าบรรดาชาวต่างชาติในพระราชอาณาจักรสยามเมื่อล่วงรู้ข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระราชเทวีซึ่งเป็นพระมารดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าของพระมหากษัตริย์ต่างแสดงความไว้อาลัยด้วยการป่าวร้องให้ลดธงในสถานกงสุลและบรรดาเรือลดธงลงครึ่งเสา จากนั้นมาธรรมเนียมสากลนี้ถูกนำมาใช้ปฏิบัติต่อเนื่อง แต่ประกาศให้คนทั่วไปได้ทราบข่าวเสียก่อน เพื่อเกรงความเข้าใจผิดพลาด และอาจส่งผลต่อความมั่นคง.

14 ความสัมพันธ์: ชะฮาดะฮ์มหาวิทยาลัยขอนแก่นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์อัลลอฮ์ธงธงชาติอัฟกานิสถานธงชาติอิรักธงชาติอิหร่านธงชาติซาอุดีอาระเบียธงชาติโซมาลีแลนด์ความตายตักบีร์เว็บไซต์เด็กดี.คอม

ชะฮาดะฮ์

(الشهادة "ปฏิญาณตน"; หรือ อัชชะฮาดะตาน (الشَهادَتانْ, "คำปฏิญาณทั้งสอง")) เป็นบทประกาศความเชื่อในศาสนาอิสลาม ถึงความศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว และแสดงความยอมรับว่านบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระเจ้า คำประกาศดังกล่าวในรูปแบบอย่างย่อที่สุด มีใจความดังนี้.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและชะฮาดะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Khon Kaen University; อักษรย่อ: มข.) เดิมชื่อมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น มีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและมหาวิทยาลัยขอนแก่น · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ตราจารย์ (พิเศษ) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ: 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับกาญจนาภิเษก,; สิ้นพระชนม์: 2 มกราคม พ.ศ. 2551 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เป็นสมเด็จพระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ พระองค์มีพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี และได้เข้าประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งวันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 02:54 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 84 พรรษ.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลลอฮ์

นาอิสลามเรียกพระเป็นเจ้าว่า อัลลอฮ์ บ้างก็สะกดว่า อัลลอฮฺ, อัลลอหฺ หรือ อัลเลาะห์ ตรงกับภาษาอังกฤษ "God" เชื่อว่าทรงเป็นพระผู้สร้างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล พระองค์ทรงมีโดยไร้จุดเริ่มต้น และทรงมีอยู่นิรันดร์โดยไม่มีจุดจบ พระองค์แตกต่างกับทุกสรรพสิ่งอย่างสิ้นเชิง ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง มิต้องทรงพึ่งพาสิ่งใด พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์เดียว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดอีกนอกเหนือจากพระองค์ ตามความเชื่อของอิสลาม อัลลอฮ์ทรงมีความสามารถในการบันดาลทุกสรรพสิ่ง ทรงรอบรู้โดยไม่จำกัดขอบเขต อัลลอฮ์เป็นพระปฐมนามแห่งพระองค์ พระองค์มีพระนามอันวิจิตรอื่น ๆ อีกมากถึง 99 พระนาม ซึ่งบ่าวของพระองค์สามารถใช้นามเหล่านั้นเรียกพระองค์ได้ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีบุตร ไร้ภาคี ทรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ เพราะทั้งสองสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดระบบและปัจจัยของทุกสรรพสิ่ง อีกทั้งยังได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งมวล อัลลอฮ์ คืออัตมันที่ทรงสิทธิในการได้รับการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอย่างเด็ดขาดที่ควรแก่การเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ ชาวมุสลิมถือว่าอัลลอฮ์คือพระยาห์เวห์ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและอัลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ธง

ง เป็นวัตถุใช้เป็นเครื่องหมายเพื่อสื่อสาร เช่น บอกชาติ ตำแหน่งในราชการ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่เป็นต้น ส่วนใหญ่ธงจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ยังมีธงสามเหลี่ยมหรือธงรูปร่างแบบอื่นต่างกันไป.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและธง · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอัฟกานิสถาน

งชาติสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน แบบปัจจุบันนี้ ประกาศใช้ในสมัยรัฐบาลชุดถ่ายโอนอำนาจของรัฐอิสลามของอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547) ลักษณะเป็นธงสามสี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวตั้ง เป็นสีดำ-แดง-เขียว กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน กลางธงมีรูปตราแผ่นดินของอัฟกานิสถาน ในลักษณะภาพลายเส้นสีขาว ลักษณะของธงชาติยุคนี้ คล้ายคลึงกับธงชาติในสมัยราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน ช่วง พ.ศ. 2473 - พ.ศ. 2516 โดยมีความแตกต่างสำคัญที่มีการบรรจุภาพอักษรที่เรียกว่า ชะฮาดะฮ์ เป็นข้อความซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "ข้าพเจ้านับถือว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากอัลลอหฺ และศาสดามุฮัมมัดคือ​ศาสนทูตแห่งอัลลอหฺ" ที่ตอนบนของภาพตรา วันที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการคือวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ในยุดก่อนสมัยการปกครองของกลุ่มตอลิบานและแนวร่วมอิสลามเพื่อการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน ธงชาติในยุคนี้มีการใช้ภาพตราแผ่นดินแบบเดียวกับกับธงยุคปัจจุบัน แต่แถบสีนั้นเป็นแถบสีดำ-ขาว-เขียว เรืยงแถบสีธงตามแนวนอน ประเทศอัฟกานิสถาน ถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธงชาติในสมัยต่างๆ ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มากครั้งที่สุด มากกว่าชาติอื่นใดในโลกนี้.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและธงชาติอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอิรัก

23x15px สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติอิรัก (อาหรับ: علم العراق) มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง จากความผันผวนทางการเมืองในประเทศ นับตั้งแต่การก่อตั้งประเทศใน พ.ศ. 2464 เป็นต้นมา ธงชาติแบบที่เปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดนี้ ได้ดัดแปลงจากธงชาติอิรัก พ.ศ. 2457-2551 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีแดง-ขาว-ดำ แบ่งตามแนวนอน มีความกว้างแต่ละแถบเท่ากัน กลางแถบสีขาวมีอักษรคูฟิก เขียนเป็นข้อความภาษาอาหรับว่า "อัลลอหุ อักบัร" แปลว่า พระอัลเลาะห์เจ้าทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโดยยกเอารูปดาวห้าแฉกสีเขียว 3 ดวงออกจากธงเดิมไป ธงดังกล่าวนี้จะใช้เป็นธงชาติอิรักเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการรับรองแบบธงชาติใหม่ใน พ.ศ. 2552 ควรรู้ด้วยว่า ด้านคันธงของธงที่มีอักษรอาหรับจารึกอย่างธงนี้อยู่ทางด้านขวา ไม่ใช่ทางด้านซ้ายของผู้สังเกตอย่างธงปกติทั่วไป.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและธงชาติอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอิหร่าน

งชาติสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ลักษณะเป็นธงสามสี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 4 ส่วน ยาว 7 ส่วน ภายในแบ่งเป็นแถบสีเขียว สีขาว และสีแดงตามแนวนอน ความกว้างแต่ละแถบเท่ากัน กลางธงมีรูปตราแผ่นดินสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่ถัดจากแถบสีขาวทั้งด้านบนและด้านล่างนั้น มีอักษรอาหรับเป็นข้อความ "อัลลอหุ อักบัร" เรียงซ้ำกันไปตามขอบแถบสีขาว รวม 22 ครั้ง ประกาศใช้ตามกฎหมายเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2523.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและธงชาติอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติซาอุดีอาระเบีย

งชาติซาอุดีอาระเบีย เป็นธงที่ใช้โดยรัฐบาลของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2506 มีลักษณะเป็นธงสีเขียวบนพื้นสีขาวที่มีจารึกภาษาอาหรับ และดาบ เป็นการประกาศความเชื่อตามหลักศาสนาอิสลาม (ชะฮาดะฮฺ) ดาบเป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม ธงสีเขียวที่มีตัวอักษรดังนี้หรืออักษรอาหรับอื่นมักถูกพบเห็นในศาสนาอิสลาม และระวังสับสนกับธงชาติซาอุดิอาระเบีย ธงอื่นโดยปกติแล้วจะไม่มีสัญลักษณ์ดาบ ธงดังกล่าวถูกผลิตขึ้นมาให้สมมาตรกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อเพื่อให้มั่นใจว่าชะฮาดะฮ์จะอ่านอย่างถูกต้อง ทั้งเมื่อเริ่มอ่านจากขวาไปซ้าย หรือซ้ายไปขวา ดาบจะชี้ไปทางซ้ายมือทั้งหน้าและหลัง ในทิศทางของอักษร ธงดังกล่าวจะถูกชักขึ้นทางซ้ายมือของเสาธง เมื่อมองจากด้านหน้า โดยเสาธงอยู่ทางขวามือของธง สีเขียวที่ใช้ในธงเป็น Pantone 330 c / CMYK (%) C 100 -- M 0 -- Y 50 -- K - 50.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและธงชาติซาอุดีอาระเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติโซมาลีแลนด์

งชาติสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ ธงชาติสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ (พ.ศ. 2534 - 2539) ธงชาติโซมาลีแลนด์ ที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยการรับรองจากการลงประชามติในประเทศ หลังจากที่มีการตั้งรัฐบาลปกครองตนเองในดินแดนของประเทศโซมาเลียตั้งแต่ พ.ศ. 2534 โดยที่นานาประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ มิได้ให้การรับรองฐานะความเป็นประเทศของโซมาลิแลนด์ ลักษณะของธงดังกล่าวเป็นธงแถบแนวนอนพื้นสีแดง-ขาว-เชียว โดยได้รับอิทธิพลจากสีกลุ่มพันธมิตรอาหรับ ที่แถบสีเขียวมีรูปอักษรที่เรียกว่า "ชาฮาดาห์" อย่างเดียวกับในธงชาติซาอุดิอาระเบีย รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโซมาลิแลนด์ ฉบับที่มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ระบุข้อความเกี่ยวกับธงชาติไว้ดังนี้.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและธงชาติโซมาลีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ตักบีร์

ตักบีร์ (تَكْبِير, Takbir) เป็นชื่อสำหรับใช้เรียกวลี "อัลลอหุ อักบัร" (الله أكبر) ซึ่งมีความหมายว่า "อัลลอหฺทรงยิ่งใหญ่" ("God is great") หรือ "อัลลอหฺยิ่งใหญ่ที่สุด" ("God is greatest") วลีดังกล่าวนี้ใช้โดยทั่วไปในหมู่ชาวมุสลิมเพื่อแสดงออกถึงความศรัทธาในพระเจ้า (อัลลอหฺ).

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและตักบีร์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บไซต์

หน้าหนึ่งในเว็บไซต์วิกิพีเดีย เว็บไซต์ (website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์ เว็บไซต์แห่งแรกของโลกถูกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยวิศวกรของเซิร์น.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและเว็บไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

เด็กดี.คอม

็กดีดอตคอม (Dek-D.com) เป็นเว็บไซต์ของไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจุดมุ่งหมายในการสร้างเว็บไซต์สำหรับการพบปะพูดคุยของเพื่อนวัยเดียวกัน และปัจจุบันเว็บไซต์เด็กดีดอตคอม ได้จดทะเบียนดำเนินธุรกิจเว็บไซต์และสื่ออินเทอร์เน็ตในนาม บริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกั.

ใหม่!!: การลดธงครึ่งเสาและเด็กดี.คอม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ลดธงครึ่งเสา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »