โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การร่วมประเวณีกับญาติสนิทและโทษประหารชีวิต

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การร่วมประเวณีกับญาติสนิทและโทษประหารชีวิต

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท vs. โทษประหารชีวิต

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท"การร่วมประเวณีกับญาติสนิท" เป็นศัพท์ทางนิติศาสตร์ ส่วน "การสมสู่ร่วมสายโลหิต" เป็นศัพท์ทางแพทยศาสตร์ หรือ การสมสู่ร่วมสายโลหิต (Incest) หมายถึง การมีความสัมพันธ์ทางเพศในทุกรูปแบบกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งอาจหมายถึงคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ซึ่งถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและจารีตทางสังคม ในบางสังคม การล่วงละเมิดหมายอาจมีแค่ผู้ที่อยู่ร่วมเคหะสถานเดียวกัน หรือผู้ที่เป็นสมาชิกของเผ่าหรือมีผู้สืบสันดานเดียวกัน; ในบางสังคมมีความหมายรวมไปถึงคนที่สัมพันธ์กันทางสายเลือด; และในสังคมอื่น ๆ รวมไปถึงบุตรบุญธรรมหรือการแต่งงาน ในการศึกษาบางอย่างได้ระบุว่ารูปแบบของการล่วงละเมิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ระหว่างพ่อกับลูกสาว อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาอื่น ๆ เสนอว่าการร่วมประเวณีระหว่างพี่น้องเกิดขึ้นบ่อยเทียบเท่าหรือบ่อยครั้งกว่าการร่วมประเวณีกับญาติสนิทรูปแบบอื่น ๆ การล่วงละเมิดทางเพศเด็กโดยผู้ใหญ่ถูกพิจารณาว่าเป็นรูปแบบของการข่มขืนต่อเด็กรูปแบบหนึ่ง นักวิจัยได้ประมาณการว่าประชากรทั่วไปราว 10-15% เคยมีประสบการณ์การล่วงละเมิดทางเพศแบบดังกล่าวมากกว่าหนึ่งครั้ง ในขณะที่อีกประมาณ 2% เกี่ยวข้องกับการร่วมประเวณีหรือพยายามกระทำร่วมประเวณี ส่วนในผู้หญิง นักวิจัยได้ประมาณการตัวเลขไว้ที่ 20% ในสังคมส่วนใหญ่มักจะมีการหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดทางเพศของคนในครอบครัวเดียวกันในบางรูปแบบ ข้อห้ามการล่วงละเมิดของคนในครอบครัวเดียวกันถือว่าเป็นหนึ่งในข้อห้ามทางวัฒนธรรมในบางสังคม แต่ในทางกฎหมายการร่วมประเวณีกับญาติสนิทมีระดับการยอมรับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ บางประเทศถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและถือว่าเป็นอาชญากรรมที่มีบทลงโทษ บางประเทศยอมรับการเกิดขึ้นได้โดยไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมแต่จะไม่อนุญาตให้มีการแต่งงาน บางประเทศยอมรับด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนเช่นยอมให้พี่น้องแต่งงานกันได้แต่ห้ามการแต่งงานระหว่างบุพการีกับบุตร บางประเทศห้ามเฉพาะผู้ใหญ่กับญาติที่ยังเป็นผู้เยาว์เท่านั้น จนถึงบางประเทศที่กฎหมายเปิดเสรี. ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การร่วมประเวณีกับญาติสนิทและโทษประหารชีวิต

การร่วมประเวณีกับญาติสนิทและโทษประหารชีวิต มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การข่มขืนกระทำชำเรา

การข่มขืนกระทำชำเรา

การข่มขืนกระทำชำเรา (rape) เป็นการทำร้ายร่างกายทางเพศซึ่งปกติเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์หรือการใช้การล่วงล้ำทางเพศแบบอื่นต่อบุคคลโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวอาจโดยใช้กำลังทางกาย การบีบบังคับ การละเมิดอำนาจหรือต่อบุคคลที่ไม่สามารถให้ความยินยอมสมบูรณ์ได้ เช่น ผู้ที่หมดสติ ไร้ความสามารถหรืออายุต่ำกว่าอายุที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ตามกฎหมาย คำว่า "ข่มขืนกระทำชำเรา" บางครั้งใช้แทนคำว่า "การทำร้ายร่างกายทางเพศ" ได้ อุบัติการณ์การข่มขืนกระทำชำเราที่ตำรวจบันทึกทั่วโลกในปี 2553 แปรผันระหว่าง 0.2 ต่อ 100,000 คนในประเทศอาเซอร์ไบจาน ถึง 92.9 ต่อ 100,000 คนในประเทศบอตสวานา โดยมีค่า 6.3 ต่อ 100,000 คนในประเทศลิทัวเนียเป็นมัธยฐาน United Nations.

การข่มขืนกระทำชำเราและการร่วมประเวณีกับญาติสนิท · การข่มขืนกระทำชำเราและโทษประหารชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การร่วมประเวณีกับญาติสนิทและโทษประหารชีวิต

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ โทษประหารชีวิต มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.78% = 1 / (8 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การร่วมประเวณีกับญาติสนิทและโทษประหารชีวิต หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »