โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การมองอนาคต

ดัชนี การมองอนาคต

การมองอนาคต (foresight) เป็นกระบวนการที่ดำเนินอย่างเป็นระบบ ในการมองไปในอนาคตของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคม เพื่อการส่งเสริมให้เอื้อประโยชน์สูงสุดแก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การมองอนาคตไม่ใช่การทำนาย (forescast) ที่สันนิษฐานอนาคตเพียงรูปแบบเดียว หลักสำคัญของการมองอนาคตคือ การดำเนินการที่เป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน และมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ (stakeholders) เพื่อให้เข้าใจถึงแรงผลักดันต่างๆ ทั้งที่เห็นชัดและที่ยังไม่เห็นชัด ซึ่งจะกำหนดรูปแบบของอนาคต และทำให้เห็นลู่ทางที่จะต้องกระทำในวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น ปัจจุบันการมองอนาคตได้รับการยอมรับในหลายประเทศว่า เป็นวิธีการที่มุ่งเน้นความ พยายามของชุมชนชาววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การสร้างความมั่งคั่งและการยกระดับ คุณภาพชีวิต เหตุผลพื้นฐานคือเป็นที่ตระหนักกันโดยทั่วไปแล้วว่าว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ อาจพลิกโฉม หน้าอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และสภาวะแวดล้อมในระยะหลายทศวรรษที่จะมาถึง ซึ่งพัฒนา การของเทคโนโลยีเหล่านี้ ต้องพึ่งพาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อย่างมาก ดังนั้น ถ้าสามารถระบุ เทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งอยู่ในระยะเริ่มพัฒนาได้ รัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ก็จะสามารถจัดสรร ทรัพยากรเพื่อการวิจัยในสาขาเชิงยุทธศาสตร์เหล่านั้นได้ เพื่อให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีนั้นๆ อย่าง มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว.

13 ความสัมพันธ์: การวางแผนด้วยสถานการณ์การสร้างมโนภาพสิทธิบัตรการประมาณค่านอกช่วงการปรึกษาหารือวิธีเดลฟายวิทยาศาสตร์สังคมสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจเทคโนโลยีเทคโนโลยีที่สำคัญยิ่งเคน วิลเบอร์Causal layered analysis

การวางแผนด้วยสถานการณ์

การวางแผนด้วยสถานการณ์ (scenario planning) เป็นวิธีหนึ่งของการมองอนาคต สถานการณ์นั้นสร้างขึ้นมาโดยอาศัยโครงเรื่อง (plot) ที่มาจากแนวโน้ม (trends) ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันและความไม่แน่นอน (uncertainties) ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต สถานการณ์จึงมีได้หลายสถานการณ์ขึ้นอยู่กับชุดแนวโน้มและความไม่แน่นอนที่เลือกมาประกอบกันเป็นโครงเรื่อง เราจะเลือกโครงเรื่องที่แตกต่างกันและครอบคลุมเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตให้มากที่สุดโดยทั่วไปประมาณ 3-4 โครงเรื่อง ดังนั้น สถานการณ์คือ ภาพรวมเหตุการณ์ในอนาคตที่เป็นจริงได้ (plausible) และเกี่ยวข้องกับประเด็นที่อยู่ในความสนใจ (relevant) แต่ละภาพจะเป็นการดำเนินเรื่องเล่าที่ไม่มีการขัดแย้งภายใน และมีทั้งเหตุการณ์ที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ กระบวนการสร้างสถานการณ์จะกระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้กล้าคิดนอกกรอบปัจจุบัน กล้าหาวิธีการใหม่ในการแก้ไขปัญหาเดิม การสร้างสถานการณ์เป็นการซักซ้อมอนาคตให้เข้าใจถึงผลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงผลักดันต่างๆ ซึ่งอาจเสริมกันหรือหักล้างกัน ซึ่งอาจชักนำให้เกิดการตัดสินในในประเด็นที่คั่งค้างอยู่ในใจมานาน และทำให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ที่รอบคอบกว่าเดิม สิ่งที่จะต้องเน้นคือ การเขียนสถานการณ์มิใช่เป็นการทำนายอนาคต (forecasting) สถานการณ์ที่ดีจึงมิได้อยู่ที่ว่าจะสามารถบรรยายอนาคตได้ถูกต้องเพียงใด แต่อยู่ที่ว่าจะสามารถชักนำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีกว่าเดิมหรือไม่ การเขียนสถานการณ์มีสมมติฐานว่าอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่มีใครทำนายได้ จึงพยายามสร้างสถานการณ์หลายภาพ เพื่อให้ครอบคลุมอนาคตที่เป็นไปได้ให้มากที่สุด อนาคตยิ่งไกลออกไปก็ยิ่งมีความไม่แน่นอนมากขึ้น ดังนั้น การเขียนสถานการณ์จึงเหมาะสำหรับการมองอนาคตระยะกลางและระยะยาว ที่ไม่สามารถใช้การวางแผนเชิงกลยุทธ์โดยทั่วไปได้ เพราะขาดข้อมูลที่มีความชัดเจนพอ รวมทั้งปัญหาที่ซับซ้อนและไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว หรือผู้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ (stakeholders) มีหลากหลายและอาจมีผลประโยชน์ขัดแย้งกัน ในการนี้ การเขียนสถานการณ์ระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีข้อดีที่ทำให้ผู้เข้าร่วมระดมความคิดสามารถหยุดคิดถึงผลประโยชน์ส่วนบุคคลในปัจจุบันและกล้าคิดในสิ่งที่ปัจจุบันนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าในอีก 10 ปี ทุกคนจะไม่อยู่ในตำแหน่งเดิม หลายสิ่งจะเปลี่ยนไป ผู้เข้าร่วมระดมความคิดจึงมีอิสระที่จะวางแผนสำหรับคนรุ่นต่อไปได้.

ใหม่!!: การมองอนาคตและการวางแผนด้วยสถานการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างมโนภาพสิทธิบัตร

การสร้างมโนภาพสิทธิบัตร (patent visualisation) เป็นวิธีหนึ่งของการมองอนาคต ซึ่งเป็นเทคนิคมองอนาคตระยะใกล้ ใช้ฐานข้อมูลสิทธิบัตรในการระบุเทคโนโลยีใหม่และโอกาสในการประยุกต์ใช้ในสาขาอื่น ๆ เป็นเทคนิคที่ใช้กันแพร่หลายในการวางแผนการคิดค้นนวัตกรรมของบริษัทและการวิเคราะห์บริษัทคู่แข่ง อย่างไรก็ดีการใช้ฐานข้อมูลสิทธิบัตรเพื่อการวิเคราะห์แบบ “การมองอนาคต” ควรกระทำด้วยความระมัดระวังเนื่องจากข้อมูลระดับชาติส่วนมากมักลำเอียงไปทางประเทศเจ้าของสิทธิบัตร จึงไม่สามารถนำมาดำเนินการเปรียบเทียบระหว่างชาติได้อย่างแท้จริง ประโยชน์ของเทคนิคนี้คือสามารถทำการวิเคราะห์ผ่านฐานข้อมูลออนไลน์เป็นระยะเช่น รายปีโดยใช้แรงงานและค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำ บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศเยอรมนีใช้เทคนิคนี้ หมวดหมู่:คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ หมวดหมู่:อินโฟกราฟิกส์ หมวดหมู่:กฎหมายสิทธิบัตร หมวดหมู่:การสร้างภาพนามธรรม.

ใหม่!!: การมองอนาคตและการสร้างมโนภาพสิทธิบัตร · ดูเพิ่มเติม »

การประมาณค่านอกช่วง

การประมาณค่านอกช่วง (extrapolation) เป็นวิธีหนึ่งของการมองอนาคต โดยหลักเป็นวิธีการมองในระยะสั้นซึ่งสันนิษฐานว่าอนาคตเป็นตอนต่อจากปัจจุบันและเศรษฐกิจสังคม และเทคโนโลยีจะดำเนินต่อไปในรูปแบบคงที่ วิกฤตการทางการเงินในเอเชียที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นข้อบกพร่องของวิธีการนี้อย่างชัดเจน หมวดหมู่:การประมาณค่าในช่วง หมวดหมู่:การวิเคราะห์เชิงเส้นกำกับ.

ใหม่!!: การมองอนาคตและการประมาณค่านอกช่วง · ดูเพิ่มเติม »

การปรึกษาหารือ

การปรึกษาหารือ (public consultation, consultation) เป็นวิธีหนึ่งของการมองอนาคต วิธีการนี้ขอความเห็นจากชุมชนในวงกว้าง เพื่อพัฒนามุมมองในเรื่องอนาคตที่คาดหวัง อนาคตที่เป็นไปได้ และอนาคตที่พึงปรารถนาในระยะยาว อนาคตที่คาดหวังตั้งอยู่บนพื้นฐานการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งทิศทางและการขยายแนวโน้มต่อจากในปัจจุบัน อนาคตที่เป็นไปได้เป็นการให้ทางเลือกหลายทางแก่โลกซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในระยะยาว อนาคตที่พึงปรารถนา คือ อนาคตที่ชุมชนต้องการจะบรรลุ ซึ่งประกอบด้วยค่านิยมและความปรารถนาของปัจเจกชน ยุทธวิธีของภาคเอกชนและองค์กรในชุมชน และแผนการของรัฐบาล จากการเปรียบเทียบอนาคตทั้งสามแบบดังกล่าว จะช่วยบ่งชี้ประเด็นหลักและแรงผลักดันหลักในการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำมาพัฒนายุทธศาสตร์ของชาติเพื่อให้บรรลุอนาคตที่พึงปรารถนา และในขณะเดียวกันก็จัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เทคนิคนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ของกระบวนการในแง่การสื่อสาร การประสานงาน ความผูกพันและความเข้าใจที่กล่าวถึงก่อนหน้า เช่นเดียวกันวิธีวิธีเดลฟาย กระบวนการนี้ใช้เงินและเวลาสูงมากเนื่องจากใช้คนจำนวนมากในกระบวนการปรึกษา แต่ข้อแตกต่างคือ วิธีการนี้ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงในแต่ละประเทศและวัฒนธรรม จึงไม่สามารถนำผลลัพธ์แต่ละประเทศมาเปรียบเทียบกันได้โดยสะดวก ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ มีประสบการณ์ใช้เทคนิคการปรึกษา และเมื่อเร็ว ๆ นี้ อังกฤษใช้ทั้งเทคนิคการปรึกษาและวิธีเดลฟาย หมวดหมู่:การให้คำปรึกษา.

ใหม่!!: การมองอนาคตและการปรึกษาหารือ · ดูเพิ่มเติม »

วิธีเดลฟาย

วิธีเดลฟาย หรือ วิธีเดลฟี (Delphi method) เป็นวิธีการคาดการณ์ผลลัพธ์โดยวิธีการออกความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เทคนิคเดลฟายเป็นเทคนิคที่มีขั้นตอนและระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน โดยผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามจำนวนสองรอบหรือมากกว่านั้น โดยในแต่ละรอบผู้จัดทำจะสรุปคำตอบของรอบนั้นเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับตอบคำถามในรอบถัดไป โดยเชื่อว่าคำตอบในแต่ละรอบจะถูกเกลาให้ "ถูกต้อง" มากยิ่งขึ้น ซึ่งสุดท้าย การสอบถามจะหยุดลงเมื่อได้ข้อสรุปที่มั่นคง และคะแนนค่าเฉลี่ยหรือมัธยฐานจะเป็นตัวกำหนดคำตอบRowe and Wright (1999): The Delphi technique as a forecasting tool: issues and analysis.

ใหม่!!: การมองอนาคตและวิธีเดลฟาย · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: การมองอนาคตและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สังคม

กลุ่มคนในสังคม สังคม หรือ สังคมมนุษย์ คือการอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้.

ใหม่!!: การมองอนาคตและสังคม · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งแวดล้อม

งแวดล้อม หมายถึง.

ใหม่!!: การมองอนาคตและสิ่งแวดล้อม · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: การมองอนาคตและเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เทคโนโลยี

นาโนเทคโนโลยีเป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน เทคโนโลยี หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึงธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิร.

ใหม่!!: การมองอนาคตและเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

เทคโนโลยีที่สำคัญยิ่ง

เทคโนโลยีที่สำคัญยิ่ง (critical technologies) - เป็นวิธีหนึ่งของการมองอนาคต เทคนิคนี้ขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเล็กๆ ที่เลือกสรรแล้วเพื่อรวบรวมรายชื่อเทคโนโลยีที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต สหรัฐอเมริกาใช้วิธีการนี้ในการกำหนดเทคโนโลยีที่สำคัญยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมและการป้องกันประเทศ จุดเด่นคือ เป็นเทคนิคที่ค่อนข้างง่ายในเชิงปฏิบัติ แต่ข้อเสียก็คือ ก่อให้เกิดประโยชน์จากกระบวน “การมองอนาคต” เพียงเล็กน้อย เพราะผลที่ได้นั้นเป็นความคิดของคนกลุ่มเดียวและค่อนข้างจะเป็นหัวข้อเทคโนโลยีกว้างๆ ที่ไม่มีประโยชน์ในการพัฒนายุทธศาสตร์ที่ต้องการละเอียดหรือการจัดลำดับความสำคัญมากนัก หมวดหมู่:เทคโนโลยี.

ใหม่!!: การมองอนาคตและเทคโนโลยีที่สำคัญยิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เคน วิลเบอร์

น วิลเบอร์เคน วิลเบอร์ (Ken Wilber ชื่อเต็ม Kenneth Earl Wilber Jr.) เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ที่เมืองโอคลาโฮมาซิตี สหรัฐอเมริกา เป็น นักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักทฤษฎีคนสำคัญของโลก เขาพัฒนาทฤษฎีที่มีชื่อว่า ทฤษฎีบูรณาการ โดยวางอยู่บนกระบวนทัศน์แม่บท (meta-paradigm) คือ "ทุกคนถูกต้อง" เขาเขียนหนังสือเล่มแรกตั้งแต่อายุ 23 ปี ชื่อ The Spectrum of Consciousness หนังสือเล่มสำคัญเล่มอื่น ๆ ของเขาได้แก่ Sex, Ecology, Spirituality และ A Brief History of Everything.

ใหม่!!: การมองอนาคตและเคน วิลเบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

Causal layered analysis

Causal Layered Analysis (CLA) - เป็นวิธีการมองอนาคตที่สามารถนำไปใช้ได้ในหลายสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวางแผนด้วยภาพอนาคต (scenarios) วิธีการนี้อาศัยหลักการที่ว่า การพิจารณาประเด็นในเรื่องต่าง ๆ มักจะได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากวิถีทางที่เราเข้าใจเรื่องนั้นๆ อิทธิพลที่ว่านี้จึงเป็นข้อจำกัดที่ไปกำหนดกรอบของความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเกิดขึ้นได้ CLA แบ่งออกเป็นสี่ระดับ คือ.

ใหม่!!: การมองอนาคตและCausal layered analysis · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »